1 / 20

ทางเลือกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ทางเลือกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. เมื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีอาการของโรคถึงระยะสุดท้าย มีทางเลือกของการรักษา 3 ทางคือ. 1. การรักษาด้วยยา และการควบคุมอาหาร เป็น การรักษาประคับประคองอาการ จำเป็นต้องใช้ วิธีที่ 2 และ 3 ร่วมด้วยเสมอ.

paul2
Download Presentation

ทางเลือกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทางเลือกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทางเลือกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

  2. เมื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีอาการของโรคถึงระยะสุดท้าย มีทางเลือกของการรักษา 3 ทางคือ 1. การรักษาด้วยยา และการควบคุมอาหาร เป็น การรักษาประคับประคองอาการ จำเป็นต้องใช้ วิธีที่ 2 และ 3 ร่วมด้วยเสมอ

  3. 2. การล้างไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ โดยการใส่สายยางทางผนังหน้าท้องเพื่อสวนล้างช่อง ท้องด้วยน้ำยาล้างไต

  4. 3. การผ่าตัดเปลี่ยนไต (ปลูกถ่ายไต) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด สามารถทำงานได้เหมือนคน ปกติ

  5. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นกระบวนการรักษาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่เลือกรักษา ด้วยวิธีผ่าตัดเปลี่ยนไต จำเป็นต้องทำการฟอกเลือดขณะรอการผ่าตัด และหลังผ่าตัดเมื่อการผ่าตัดไม่ประสบผลสำเร็จ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้วล้มเหลว ไตที่ได้รับเข้าไปใหม่ไม่ทำงาน เกิดอาการของภาวะไตวายอีก

  6. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไปแล้ว ถ้าไตใหม่ล้มเหลวด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยต้องกลับมาทำการฟอกเลือดรอเปลี่ยนไตครั้งต่อไป มีผู้ป่วยบางคนได้รับการเปลี่ยนไตถึง 3-4 ครั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ การ ขาดแคลนไตที่จะนำมาให้ใหม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญที่มีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก ดังนั้นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไปแล้ว ควรปฏิบัติดูแลตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เพื่อทะนุถนอมไตใหม่ให้ทำหน้าที่ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

  7. ผู้ป่วยที่ไม่ควรเลือกวิธีการรักษาโดยการปลูกถ่ายไต 1. อายุมากเกินไป (ยกเว้นอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์) 2. สุขภาพร่างกายอ่อนแอเกินไป 3. โรคมะเร็งที่ไม่หายขาด 4. โรคเอดส์

  8. 5. โรคตับอักเสบเรื้อรัง 6. โรคติดเชื้อที่กำลังคุกคามผู้ป่วยอยู่ 7. โรคติดยาเสพติดและพิษสุราเรื้อรัง 8. โรคจิตประสาท 9. โรคร้ายแรงอื่นๆ ที่แพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สมควรรับการเปลี่ยนไต

  9. ข้อควรปฏิบัติโดยทั่วๆ ไปหลังการเปลี่ยนไต 1. รับการตรวจและพบแพทย์ ต้องมาตามนัดอย่าง สม่ำเสมอ 2. ห้ามเพิ่มหรือลดยาเอง การเพิ่มหรือลดยาควร ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

  10. 3. อาหารและน้ำ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานแตกต่างกัน เช่นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยไตที่เกิดจากเบาหวาน, อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยไตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง, อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยไตที่เกิดจากไขมันเลือดสูง, อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตที่เกิดจากกรดยูริคสูง ฯลฯ อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ทั่วไปหลังเปลี่ยนไต คืออาหาร และน้ำที่บริโภคต้องสะอาด เพราะทานยากดภูมิต้านทานอยู่ อาจจะติดเชื้อทางเดินอาหารได้ง่าย

  11. 4. การทำงานและการออกสังคม โดยปกติแล้วหลัง ผ่าตัดเปลี่ยนไตประมาณ 6-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็สามารถออกไปทำงาน และออกงานสังคมได้

  12. 5. การออกกำลังกาย -หลังจากเปลี่ยนไตได้ 1-2 วันถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน และไตทำงานดีแพทย์จะเริ่มสนับสนุนให้ผู้ป่วยเริ่ม ยืนและเดินช้าๆ -ช่วงเวลา 1-2 สัปดาห์หลังไตเปลี่ยนไต เริ่มเดินและ เคลื่อนไหวมากขึ้นจนสามารถช่วยตนเองได้ในโรง พยาบาล

  13. - หลังจากเปลี่ยนไตใน 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนมากอาจ จะเริ่มเดินเร็ว ๆ จน เหงื่อออก ครั้งละ 15-30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง -หลังเปลี่ยนไต 8 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจจะเริ่มออกกำลังกายได้ตามปกติการออกกำลังกายที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การออกกำลังกายที่มีความรุนแรงซึ่งอาจกระแทกไต จนเป็นอันตราย เช่น ชกมวย, ยูโด, มวยปล้ำ, รักบี้ ฯลฯ

  14. 6. การแต่งงาน และการตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธ์นั้น โดยทั่วๆ ไป และแพทย์จะแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ประมาณ 8 สัปดาห์ หลังการเปลี่ยนไต สำหรับผู้ป่วยหญิงหลังการเปลี่ยนไตควรคุมกำเนิดไว้ประมาณ 1-2 ปี จึงจะตั้งครรภ์ได้

  15. 7. ตรวจเลือดดูระดับกรดยูริค (Uric acid) 8. ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (SGOT, SGPT, Alkaline Phosphatase) 9. ตรวจเลือดดูระดับเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว, เกล็ดเลือด (CBC, Hb (Hemoglobin) Hct (Hematocrit) , WBC, platelet)

  16. 10. ตรวจเลือดดูระดับยา Cyclosporinที่ใช้ในการเปลี่ยน ไตหรือยาอื่นๆ ที่ใช้ 11. ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการตรวจอุลตราซาวน์ เพื่อดูเนื้อไต, ดูการไหลเวียนของเลือดที่เส้นเลือด แดง, เส้นเลือดดำ, กรวยไต, ดูว่ามีการบวมหรือมีการ อุดตันของท่อปัสสาวะหรือไม่

  17. หากมีความจำเป็นแพทย์อาจพิจารณาทำการเจาะดูดชิ้นเนื้อไตตรวจดูพยาธิสภาพในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีภาวะสลัดไตหากมีความจำเป็นแพทย์อาจพิจารณาทำการเจาะดูดชิ้นเนื้อไตตรวจดูพยาธิสภาพในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีภาวะสลัดไต

  18. อาการที่ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์อาการที่ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ เนื่องจากอาจจะเกิดภาวะสลัดไตชนิดเฉียบพลัน 1. เจ็บบริเวณไตที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต 2. ไข้ 3. ปัสสาวะออกน้อยลง หรือเป็นฟอง หรือมีสีแดง หรือมีเลือดปน 4. ความดันโลหิตสูง 5. อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร

More Related