1 / 114

Silicates 2

Silicates 2. Cyclosilicates หรือ Ring silicates. ไซโคลซิลิเกตประกอบด้วย SiO 4 เตตระฮีดรอน เชื่อมต่อกันเป็นวงปิด โดยมีอัตราส่วน Si:O = 1 : 3 การเชื่อมต่อกันมี 3 แบบ

paul
Download Presentation

Silicates 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Silicates 2

  2. Cyclosilicates หรือ Ring silicates ไซโคลซิลิเกตประกอบด้วย SiO4เตตระฮีดรอน เชื่อมต่อกันเป็นวงปิด โดยมีอัตราส่วน Si:O = 1 : 3 การเชื่อมต่อกันมี 3 แบบ • แบบ Si3O9เป็นแบบที่ง่ายที่สุด มี SiO4-เตตระฮีดรอน 3 ตัวเชื่อมต่อกัน แร่ที่มีโครงสร้างแบบนี้มีน้อยมาก เช่น เบนิโทไอต์ • แบบ Si4O12มี SiO4เตตระฮีดรอน เชื่อมต่อกัน 4 ตัว เช่น พาพาโกไอต์ • แบบ Si6O18คือ แบบี่มี SiO4เตตระฮีดรอน 6 ตัวเชื่อมกัน เช่น เบริล และทัวร์มาลีน

  3. Cyclosilicates หรือ Ring silicates แบบที่ 3 : Si6O18

  4. เบริล (Beryl) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนราบ (Hexagonal systems) • รูปผลึกทั่วไป: ลักษณะผลึกแสดงรูปปริซึมที่ชัดเจนมาก มักพบร่องหรือลายเส้นในแนวดิ่งบนหน้าผลึกได้บ่อย ผลึกเบริลที่มีธาตุซีเซียม (Cs) ปนมักจะมีหน้าราบในแนว {0001} • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักพบผลึกเป็นรูปแท่ง(columnar) และอยู่เกาะกลุ่มกันเป็นเนื้อแน่น(massive) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : Be3Al2Si6O18

  5. เบริล (Beryl) โครงสร้างของเบริล Beryl structure

  6. เบริล (Beryl) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 2.65 - 2.8 สี(colour): สีของเบริลจัดแบ่งตามวาไรตีดังนี้ Aquamarine อะความารีน : เบริลสีฟ้า หรือสีน้ำเงินอมเขียว Morganite มอร์แกไนต์ หรือ Rose beryl โรสเบริล : เบริลสีชมพูอ่อน หรือสีกุหลาบ Emerald มรกต : เบริลสีเขียว Golden beryl โกลเดนเบริล : เบริลสีเหลืองทอง Red beryl เรดเบริล : เบริลสีแดง Goshenite โกชีไนต์ : เบริลใสไม่มีสี สีผง(steak): ขาว (white)

  7. เบริล (Beryl) Aquamarine Emerald Red beryl

  8. เบริล (Beryl) Heliodor Morganite Goshenite

  9. เบริล (Beryl) ความแข็ง(hardness): 7 ½ - 8 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว (vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): แตกในแนว {0001} ไม่สมบูรณ์ รอยแตก(fracture): คล้ายฝาหอย (conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใส (transparent) ถึงโปร่งแสง (translucent) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ประกอบด้วย BeO 13.96% Al2O3 18.97% SiO2 67.07% • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) รูปผลึกที่เกิดเป็นแท่งprism

  10. เบริล (Beryl) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ เบริลพบอยู่ทั่วไปในหินเพกมาไทต์ และหินแกรนิต โดยส่วนใหญ่ฝังแน่นอยู่ในเนื้อหิน เป็นเบริลคุณภาพต่ำ ส่วนเบริลคุณภาพดีมักเกิดเป็นรูปผลึกอยู่ในช่องว่างของหินเพกมาไทต์ พบemeraldในหินmica schist และหินไนส์เช่นกัน emerald คุณภาพดีมาจากเมือง Muzo และ El Chivor ในประเทศColumbia พบในหินปูน โดยเกิดสัมพันธ์กับสายแร่น้ำร้อน แหล่งอื่นที่พบได้แก่ Brazil, Pakistan, Zambia, Nigeria, Afghanistan, China และแหล่งใหม่ที่พบคือ Madagascar • ประโยชน์ ใช้ทำอัญมณี

  11. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนราบ (Hexagonal systems) • รูปผลึกทั่วไป: ประกอบด้วยผลึก 3 หน้า ของ trigonal prism และหน้าผลึก 6 หน้าของ second order hexagonal prism เมื่อมองในแนวตัดขวางจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม บางครั้งแสดงขอบโค้งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของทัวร์มาลีน มักพบเส้นstriation ขนานไปกับผลึก • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักเกิดเป็นผลึกเดี่ยวที่มีรูปผลึกสมบูรณ์ บางครั้งอาจรวมกันเป็นกลุ่ม (massive) หรือเรียงตัวเป็นรัศมี หรือเกิดเป็นผลึกเล็กยาวเหมือนเป็นเส้นใยอยู่รวมกัน

  12. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : XR3Al6B3Si6O2.7(OH)4โดยตำแหน่ง X และ R แตกต่างกัน ตามชนิดแร่ ดังนี้ Elbaite : X = Na R = Al และ Li Liddicoatite : X = Ca R = Al และ Li Dravite : X = Na R = Mg Uvite : X = Ca R = Mg Schorl : X = Na R = Fe และ Mg

  13. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.) : 3.06 สี(colour) : พบทุกสี แต่สีที่พบบ่อยที่สุดคือ สีดำ ชนิดที่เป็นอัญมณี ส่วนใหญ่อยู่ในประเภท elbaite และ liddicoatite และประเภท dravite สีผง(steak) : ขาว (white) ความแข็ง(hardness) : 7 - 7 ½ ประกาย(Luster) : คล้ายแก้ว (vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage) : ไม่เด่นชัด รอยแตก(fracture) : ไม่เรียบ (uneven) ความโปร่งใส(Diaphenity) : โปร่งใส (transparent) ถึงโปร่งแสง (translucent)

  14. ทัวร์มาลีน (Tourmaline)

  15. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ทัวร์มาลีน เป็นแร่ซิลิเกตที่มีโครงสร้างซับซ้อนของธาตุ B และ Al ซึ่งมีการแทนที่ของธาตุเหล่านี้คือ Ca เข้าแทนที่ Na บริเวณจุดศูนย์กลางของช่องว่างที่เป็นวงแหวน Mg และ Al แทนที่ Li ในระหว่างการจับตัวกัน ของเตตระฮีดรอนแต่ละอัน ของวงแหวน Si6O18และกลุ่ม BO3Fe3+และ Mn3+เข้าแทนที่ Al ในรูปเหลี่ยมหลายหน้าที่จับกับวงแหวน Si6O18 • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ภาพสามเหลี่ยมโค้งในแนวหน้าตัดตามขวางของแท่งผลึก

  16. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ ทัวร์มาลีนมักเกิดในหินเพกมาไทต์ ที่มีองค์ประกอบเป็นแกรนิต (Granite pegmatite) และในหินข้างเคียงที่อยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังพบป็นแร่รองในหินอัคนีและหินแปร ทัวร์มาลีนส่วนใหญ่ที่เกิดในเพกมาไทต์จะมีสีดำ และเกิดร่วมกับแร่ไมโครไคลน์ แอลไบต์ ควอรตซ์ และมัสโคไวต์ เพกมาไทต์ยังเป็นแหล่งของทัวร์มาลีนซึ่งมีLi เป็นองค์ประกอบ จะมีสีจางและเกิดร่วมกับแร่เลพิโดไลต์ เบริล อะพาไทต์ ฟลูออไรต์ และแร่หายากอื่นๆ ส่วนทัวร์มาลีนสีน้ำตาล พบในหินปูนที่ตกผลึกใหม่

  17. ทัวร์มาลีน (Tourmaline) แหล่งทัวร์มาลีนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อิตาลี บราซิล รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยพบทัวร์มาลีนสีดำในหินเพกมาไทต์ทั่วๆไป สีเขียวพบที่ จ.เชียงใหม่ และจันทบุรี สีชมพูพบที่ จ.ชุมพร • ประโยชน์ ใช้ทำอัญมณี ใช้ทำมาตรวัดความดัน เพื่อวัดความกดดันที่เกิดจากแรงระเบิด

  18. Inosilicates หรือ Chain silicates อิโนซิลิเกตมีลักษณะเด่น คือ ในโครงสร้างประกอบด้วย SiO4 เตตระฮีดรอน เชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ยาว โดยไม่ขาดตอนตลอดผลึก โดยแต่ละเตตระฮีดรอนจะใช้ออกซิเจนไอออนร่วมกับเตตระฮีดรอนอื่นๆ จำนวน 2 ไอออน หรือ 2 ½ ไอออน จากลักษณะโครงสร้างดังกล่าว ทำให้รูปผลึกของแร่กลุ่มนี้มักยาวตามทิศทางของลูกโซ่ หรือยาวไปตามแนวแกน C เสมอ แร่ในหมู่อิโนซิลิเกตแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะโซ่ ได้แก่

  19. Inosilicates หรือ Chain silicates • กลุ่มไพรอกซีน (Pyroxene group : Single chain) เป็นกลุ่มแร่ที่ SiO4 เตตระฮีดรอนเชื่อมต่อกันเป็นโซ่เดี่ยวๆ ตามแกน c โดยใช้ออกซิเจนร่วมกัน 2 ไอออน (SiO3 chain) แต่ละแนวลูกโซ่จะเชื่อมต่อกันทางด้านข้างด้วยไอออนบวกและในแนวลูกโซ่จะมีการซ้ำกันของโครงสร้างทุกๆ 2 เตตระฮีดรอน เป็นระยะทางประมาณ 5.2 อังสตรอม

  20. Inosilicates หรือ Chain silicates • กลุ่มไพรอกซีนอย (Pyroxenoid group) มีลักษณะการเรียงตัวของ SiO4เตตระฮีดรอนเช่นเดียวกับไพรอกซีน ต่างกันที่ลูกโซ่เตตระฮีดรอนจะมีการบิดเบี้ยว หรือหมุนเป็นระยะๆ ทำให้การซ้ำกันของโครงสร้างเกิดขึ้นทุกๆ 3, 5, 7 เตตระฮีดรอน ซึ่งต่างจากไพรอกซีน

  21. Inosilicates หรือ Chain silicates • กลุ่มแอมฟิโบล (Amphibole group : Double chain)แร่ในกลุ่มนี้มีโครงสร้างเป็นโซ่คู่ เกิดจากโซ่เดี่ยวๆ ดังเช่นไพรอกซีนมาจับเป็นคู่ โดยมีการใช้ออกซิเจนไอออน ร่วมกัน 2 และ 3 ไอออนสลับกันไปในแต่ละเตตระฮีดรอน ซึ่งต่างกับในไพรอกซีนที่จะมีการซ้ำกันทุกๆ 2 เตตระฮีดรอน

  22. Inosilicates หรือ Chain silicates • กลุ่มแร่ไพรอกซีนที่สำคัญ คือ • Enstatite – Ferrosilite series Enstatite MgSiO3 Ferrosilite FeSiO3 Pigeonite Ca0.25(Mg, Fe)1.75Si2O6 • Diopside – Hedenbergite series Diopside CaMgSi2O6 Hedenbergite CaFeSi2O6 Augite XY(Z2O6) Sodium pyroxene group Jadeite NaAlSi2O6 Aegirine NaFe3+Si2O6 Spodumene LiAlSi2O6

  23. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนต่าง (Orthorhombic systems) • รูปผลึกทั่วไป: มีลักษณะเป็นแท่ง แต่พบได้น้อยมาก • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน คล้ายเส้นใย หรือเป็นแผ่นซ้อนกัน • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : Enstatite MgSiO3 Ferrosilite FeSiO3

  24. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.2 - 3.6 สำหรับเอนสตาไตต์ที่บริสุทธิ์ ถ.พ.จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณ Fe สี(colour): เทา เขียว เหลืองเข้ม เหลืองน้ำตาล น้ำตาลอมเขียว น้ำตาล และดำ (Gray, green, dark yellow, yellow-brown, greenish-brown, brown, black) สีผง(steak): น้ำตาลอ่อน ถึง ขาวอมเทา (light brown to grayish white) ความแข็ง(hardness): 5 ½ - 6 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว, ไหม, กึ่งโลหะ และด้าน (Vitreous, silky, submetallic, dull)

  25. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) แนวแตกเรียบ(cleavage): มีแนวแตกเรียบ {210} ดี รอยแตก(fracture): ไม่เรียบ (uneven) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงทึบแสง (transparent to opaque) Ferrosilite Enstatite

  26. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) องค์ประกอบของ Fe2+อาจเข้าแทนที่ Mg ได้เกือบหมดจนถึง 90% เป็น FeSiO3เอนสตาไตต์ที่บริสุทธิ์จะประกอบด้วย MgO 40 % SiO2 60% และมี CaO ไม่เกิน 1.5% โดยน้ำหนัก ส่วนเฟอร์โรซิไลต์พบน้อยมากในธรรมชาติ ในการจัดแบ่งระหว่างแร่เอนสตาไตต์และแร่เฟอร์โรซิไลต์นั้น แร่ที่มีปริมาณของ Mg และ Fe อยู่ด้วย ในบางตำราใช้เรียกว่า Hyperstene บางตำราใช้คำว่า Orthopyroxene

  27. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) • Enstatite is magnesium silicate. However, it is usually contains some iron replacing some magnesium. When a significant amount of iron present, the mineral is called Hypersthene (magnesium iron silicate). [Most authorities agree that Hypersthene contains a ratio of magnesium to iron about 1:1. If only a small amount of iron is present, the mineral is still Enstatite.] In many reference guides, Hypersthene is categorized as a variety of Enstatite, and not as a separate mineral. Enstatite forms a series with Ferrosillite (FeSi2O6), in which the intermediary member is Hypersthene. Specimens of pure Enstatite (without any iron) are not common, and specimens of pure Ferrosillite (without any magnesium) are virtually unknown.

  28. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite)

  29. เอนสตาไตต์ (Enstatite)และเฟอร์โรซิไลต์ (Ferrosilite) • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) สี แนวแตกเรียบ และความวาว (colour, cleavage and luster ) วาไรตีที่มีปริมาณ Fe สูง จะมีสีดำ และแยกจากแร่ Augite ได้ยาก หากไม่ใช่วิธีตวรจคุณสมบัติทางแสง • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ ออโทไพรอกซีนที่มี Mg มาก มักพบเป็นแร่ประกอบหิน Perridotite Gabbro Basalt และเกิดร่วมกับClinopyroxene ที่มี Ca มาก (Augite) แหล่งที่สำคัญคือ USA • ประโยชน์ใช้ทำอัญมณี

  30. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) • Diopside และ Hedenbergite เกิดเป็นอนุกรมผลึกผสมเนื้อเดียวอย่างสมบูรณ์ โดยมีคุณสมบัติทางกายภาพ และทางแสงแปรเปลี่ยนไปตามส่วนประกอบ ส่วนAugite เป็น Clinopyroxene ที่มี Na เข้าแทนที่ Ca บางไอออน ส่วน Al เข้าแทนที่ทั้ง Mg และ Si ถึงแม้ผลึกจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็พอที่จะบรรยายลักษณะต่างๆไปร่วมกันได้

  31. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) • ระบบผลึก: ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic systems) • รูปผลึกทั่วไป: ในผลึกมีลักษณะเป็นแท่งprism แสดงหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือรูป 8 เหลี่ยม • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักเกาะกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นรูปเสา (columnar) และเป็นแผ่นซ้อนกัน (lamellar) อาจพบผลึกแฝดซ้อนขนานบนแนว {001} หรือบนแนว {100} • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : Diopside CaMgSi2O6 Hedenbergite (Ca,Fe) Si2O6 Augite (Ca,Na)(Mg,Fe,Al)(Si,Al)2O6

  32. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.) : 3.2 – 3.3 สี(colour): Diopside มีสีขาวถึงเขียว สีจะเข้มขึ้นตามปริมาณ Fe (white to dark green, up to the amount of Fe ) Augite มีสีดำ (black) Hedenbergite มีสีเขียวถึงเขียวเข้ม น้ำตาลอมเขียว น้ำตาล เทา ดำ (Green to dark green, brownish-green, brown, gray, black) สีผง(steak): เขียวอ่อน จนถึง ขาว (light green to white) ความแข็ง(hardness) : 5 - 6 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว (vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): แตกในแนว {110} ไม่สมบูรณ์ (imperfect) รอยแตก(fracture): ไม่เรียบ (uneven) ความโปร่งใส(Diaphenity) : โปร่งใสถึงโปร่งแสง (transparent to translucent)

  33. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) Diopside Hedenbergite Augite

  34. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ในอนุกรมไดออปไซด์และฮีเดนเบอร์ไจต์ Mg และ Fe2+จะแทนที่กันได้ทุกสัดส่วน สำหรับ Augite จะมี Mg และ Fe2+ไม่คงที่ Al สามารถเข้าแทนที่ได้ทั้ง Mg และ Si อาจพบ Mn Fe3+ Ti และ Na ปรากฏอยู่บ้าง • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ลักษณะรูปร่างผลึก และแนวแตกเรียบที่ทำมุม 87oและ 93oที่ไม่สมบูรณ์

  35. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ Diopside และ Hedenbergite เกิดในหินแปร Diopside มักเกิดร่วมกับ Forsterite และ Calcite ซึ่งการเกิดแร่เหล่านี้ เป็นผลมาจากการแปรสภาพโดยได้รับอิทธิพลของความร้อนของหินปูน หรือโดโลไมต์ที่มีซิลิกาและแมกนีเซียมสูง ดังสมการต่อไปนี้ CaMg(CO3)2 + 2SiO2 -----------------> CaMgSi2O6 + 2CO2Dolomite Quartz Diopside

  36. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) ส่วน Hedenbergite เกิดในหินแปรที่มี Fe สูง Diopsideและ Hedenbergite เกิดจากการตกผลึกของหินอัคนี โดยในช่วงแรกนั้น แร่ Clinopyroxene ที่มี Ca สูงจะตกผลึกก่อน และในช่วงสุดท้ายอาจมีแร่ Hedenbergite ตกผลึกออกมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของ Fe ที่หลงเหลืออยู่ในหินหนืดด้วย แหล่งที่สำคัญได้แก่ East Greenland, Russia, Austria, Swisserland, Italy, Sweden, USA

  37. ไดออปไซต์ (Diopside) ฮีเดนเบอร์ไจต์ (Hedenbergite) และออไจต์ (Augite) ส่วน Augite เป็นแร่ไพรอกซีนที่สามัญที่สุด และเป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญ พบในหินอัคนีสีเข้ม เช่น Gabbro, Perridotite แหล่งที่สำคัญเช่น East Greenland, Italy สำหรับในประเทศไทยพบแร่ออไจต์เป็นแร่ประกอบหินอัคนี เช่นหิน Andesite • ประโยชน์ วาไรตีที่โปร่งใสของไดออปไซต์ใช้ทำอัญมณี

  38. เจไดต์ (Jadeite) • ระบบผลึก: ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic systems) • รูปผลึกทั่วไป: ลักษณะผลึกทั่วไปพบได้ยากมาก • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักพบเป็นกลุ่มก้อน (massive) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : NaAlSi2O6

  39. เจไดต์ (Jadeite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.3 – 3.5 สี(colour): มีหลายสีตั้งแต่ ขาว เขียว เหลือง ส้มอมแดง น้ำตาล เทา ดำ และม่วงอ่อน (white, green, yellow, reddish orange, brown, gray, black, lavender) สีผง(steak): ขาว (white) ความแข็ง(hardness): 6 ½ - 7 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว ถึงคล้ายน้ำมัน (vitreous and greasy) แนวแตกเรียบ(cleavage): แตกในแนว {110} แต่ในก้อนหยกจะเหนียวมาก แตกหักยาก รอยแตก(fracture) : แบบเม็ด ถึง แบบเสี้ยน (granular to splintery) ความโปร่งใส(Diaphenity): กึ่งโปร่งแสงถึงทึบแสง (subtranslucent to opaque)

  40. เจไดต์ (Jadeite)

  41. เจไดต์ (Jadeite) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ประกอบด้วย Na2O 15.4% Al2O3 25.2% SiO2 59.4% Jadeite มีองค์ประกอบอยู่ระหว่างNepheline (NaAlSiO4) และ Albite (NaAlSi3O8) แต่ไม่ได้เกิดในสภาวะการตกผลึกเหมือนแร่ทั้งสอง แต่จะเกิดในสภาวะความดันสูง (10 – 25 กิโลบาร์) และในอุณหภูมิสูง 600 – 1000 o C • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) ลักษณะเด่นที่สีเขียว และเป็รการเกาะกลุ่มผลึกที่เหนียวมาก ผลึกมีลักษณะคล้ายเส้นใยอัดตัวกันแน่น ผิวที่ขัดมันแล้วจะมีความวาวคล้ายแก้ว

  42. เจไดต์ (Jadeite) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ Jadeite พบในหินแปรเท่านั้น เกิดร่วมกับแร่ Glaucophane, Aragonite, Muscovite, Lawsonite, Quartz แหล่งที่สำคัญเช่น เทือกเขา Alpes, USA, Mynmar, Thailand พบที่เชียงใหม่ • ประโยชน์ ใช้ทำเครื่องประดับตกแต่ง ภาชนะ เครื่องประดับ

  43. สปอดูมีน (Spodumene) • ระบบผลึก: ระบบหนึ่งแกนเอียง (Monoclinic systems) • รูปผลึกทั่วไป: เป็นแท่ง Prism มักเป็นแผ่นแบตามแนว {100} มีร่องลึกตามแนวตั้งของผลึก ผลึกมักหยาบและหน้าผลึกขรุขระ • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักพบเป็นกลุ่มก้อน (massive) • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : LiAlSi2O6

  44. สปอดูมีน (Spodumene) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.15 – 3.20 สี(colour): สีขาว ไม่มีสี เทา ชมพู ม่วง เขียว เหลือง และน้ำตาล (White, colorless, gray, pink, violet, green, yellow, brown) วาไรตีที่มีสีม่วงคล้ายดอกไลแลก โปร่งใส เรียกว่า คุนไซต์ (Kunzite) ส่วนสีเขียวมรกต โปร่งใส เรียก ฮิดเดนไนต์ Hiddenite สีผง(steak): ขาว (white) ความแข็ง(hardness): 6 ½ - 7 ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว (vitreous) แนวแตกเรียบ(cleavage): แตกในแนว {100} รอยแตก(fracture): แบบไม่เรียบ และแบบสี้ยน (uneven and splintery) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงทึบแสง (transparent to opaque)

  45. สปอดูมีน (Spodumene)

  46. สปอดูมีน (Spodumene) • องค์ประกอบและโครงสร้าง(crystal structure) ประกอบด้วย Li2O 8.0 % Al2O3 27.4% SiO2 64.6% อาจพบ Na เข้าแทนที่ Al ได้ • ลักษณะที่ใช้จำแนก (Diagnostic features) แนวแตกเรียบตามแนว prism (cleavage) • การเกิด และแหล่งแร่ที่สำคัญ สปอดูมีนส่วนใหญ่พบเฉพาะในหินเพกมาไทต์ที่มี Li มาก แม้ว่าเป็นแร่ที่ค่อนข้างหายาก แต่อาจพบก้อนแร่ขนาดใหญ่ เช่นที่ เหมืองเอทตา (Etta Mine) ที่รัฐเซาท์ดาโกตา (South Dakota) ซึ่งแต่เดิมเป็นเหมืองถลุงแร่ Li

  47. สปอดูมีน (Spodumene) แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ Brazil และ Afganistan ส่วนประเทศไทยมีรายงานว่าพบที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช • ประโยชน์ ใช้ทำอัญมณีและเป็นแหล่งสินแร่ลิเทียม (Lithium Ore) ซึ่งนำไปใช้ในการผสมกับจารบี เอรักษาสภาพการหล่อลื่น นอกจากนี้ยังใช้ในเซรามิกส์ แบตเตอร์รี่ เครื่องปรับอากาศ และเป็นน้ำประสานในการเชื่อม

  48. กลุ่มไพรอกซีนอยด์ (Pyroxenoid group) • แร่ในกลุ่มนี้มีสมมาตรต่ำกว่ากลุ่มไพรอกซีน คือ อยู่ในระบบสามแกนเอียง (Triclinic systems) โครงสร้างมีลักษณะเป็นลูกโซ่ ทำให้คุณสมบัติบางประการมีลกษณะเด่น เช่น มีรอยแตกแบบเสี้ยน และบางครั้งผลึกจะมีลักษณะคล้ายเส้นใย แร่ในกลุ่มนี้ได้แก่ Wollastonite CaSiO3 Rhodonite MnSiO3 Pectolite Ca2NaH(SiO3)3

  49. โรโดไนต์ (Rhodonite) • ระบบผลึก: ระบบสามแกนเอียง (Triclinic systems) • รูปผลึกทั่วไป: โดยปกติผลึกมีรูปแบน (tabular) ที่ขานตามแนว {001} มักมีผิวผลึกขรุขระและขอบผลึกกลมมน • การเกาะกลุ่มกันของผลึก: มักเกาะกลุ่มกันเป็นก้อนแน่น(massive) หรือลอกออกเป็นแผ่น(lamellar) บางครั้งพบเป็นผลึกฝังตัวในหิน • คุณสมบัติทางเคมี สูตรเคมี : MnSiO3

  50. โรโดไนต์ (Rhodonite) • คุณสมบัติทางกายภาพ ความถ่วงจำเพาะ(S.G.): 3.4 – 3.7 สี(colour): สีแดงกุหลาบ ชมพู น้ำตาล เพราะเกิดการออกซิเดชันที่ผิว (rose red, pink, brown cause of oxidation) สีผง(steak): ขาว (white) ความแข็ง(hardness): 5 ½ - 6 ½ ประกาย(Luster): คล้ายแก้ว และคล้ายมุก (vitreous and pearly) แนวแตกเรียบ(cleavage): แตกในแนว {110} สมบูรณ์ รอยแตก(fracture): แบบไม่เรียบ และแบบฝาหอย (uneven and conchoidal) ความโปร่งใส(Diaphenity): โปร่งใสถึงโปร่งแสง (transparent to translucent)

More Related