1 / 50

บทที่ ๑๓

การบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว จัดทำโดย 1. นางสาวศิริลักษณ์ อภิชัยณรงค์ รหัส 501743012002-1 2. นางสาววราพร ขาวจันทึก รหัส 501743012009-6 สาขาวิชา วิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ ( PP.E2 / 4 ). บทที่ ๑๓. บทที่ ๑๓. การบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว.

Download Presentation

บทที่ ๑๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวการบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว จัดทำโดย 1.นางสาวศิริลักษณ์ อภิชัยณรงค์ รหัส501743012002-1 2.นางสาววราพร ขาวจันทึก รหัส501743012009-6 สาขาวิชา วิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ(PP.E2/4) บทที่ ๑๓

  2. บทที่ ๑๓ การบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว

  3. การบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวการบรรจุหีบห่อผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากทำให้การขนย้ายและการเก็บรักษาทำได้สะดวกและง่ายแล้ว ยังช่วยปกป้องสินค้าให้อยู่ในสภาพดี ในการบรรจุหีบห่อผักและผลไม้แต่ละชนิดจะได้รับการบรรจุหีบห่อในลักษณะแตกต่างกันไป บางชนิดใช้ภาชนะขนาดเล็ก เช่น องุ่น บางชนิดบรรจุในภาชนะค่อนข้างโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น หอม บางชนิดไม่ใช้ภาชนะเลยก็มี เช่น ทุเรียน ความแตกต่างเหล่านี้มีสาเหตุมาจากความแตกต่างของลักษณะผลิตผลแต่ละชนิด ราคาผลิตผล ราคาของภาชนะบรรจุ กำลังซื้อของผู้บริโภค ระยะทางในการขนส่ง ฯลฯ ๑๓.๑ ความต้องการในการบรรจุของผลิตผลชนิดต่างๆ ผลิตผลแต่ละชนิดมีลักษณะและความต้องการในการบรรจุหีบห่อแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

  4. ลักษณะตามธรรมชาติของผลผลิต ผลิตผลแต่ละชนิดมีขนาด รูปร่าง และสรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน เช่น พริก องุ่น ไย มีขนาดเล็ก ส้ม ฝรั่ง ละมุด มีขนาดกลาง มะละกอ ส้มโอ แตงโม มีขนาดใหญ่ โดยทั่วไปผลไม้หรือผักขนาดใหญ่ย่อมมีน้ำหนักมาก ดังนั้นภาชนะจึงต้องแข็งแรงกว่าภาชนะที่ใช้บรรจุผลิตผลซึ่งมีน้ำหนักเบา ทั้งนี้เพราะผลขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก ซึ่งทำความเสียหายให้กับตัวมันเองได้ถ้าหากผิวค่อนข้างบาง รูปร่างลักษณะของผลิตผลมีส่วนสำคัญต่อการบรรจุเช่นเดียวกัน เช่น ทุเรียน ยิ่งทำให้มีปัญหามาก ก้านทุเรียนมีความสำคัญ เพราะบ่งบอกถึงความสดของทุเรียน ต้องระมัดระวังมิให้ขั้วเสียหาย ถึงกับมีการห่อขั้วด้วยใบตองหรือกระดาษ การบรรจุผลทุเรียนจึงต้องประหยัดเนื้อที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  5. ลักษณะทางธรรมชาติที่สำคัญ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ผลิตผลบางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆมากนัก เช่น ส้มชนิดต่างๆ แต่ผลไม้หลายชนิดยังคงมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดการสุก เป็นผลให้ความแข็งแรงทนทานต่อการบรรจุหีบห่อย่อมแตกต่างกันไป ผลไม้พวกส้มโอแม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ค่อนข้างตอบสนองได้ไวต่อสภาพองค์ประกอบของบรรยากาศในภาชนะบรรจุ หากมีออกซิเจนน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือ anaerobic respirationได้ง่าย เป็นผลให้มีการสะสมแอลกอฮอล์และอะซีตัลดีไฮน์ทำให้เกิดรสผิดปกติขึ้น(off-flavor) การบรรจุหีบห่อส้มจึงต้องจัดให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีพอสมควร

  6. ลักษณะโครงสร้างของผิวส่งผลต่อการบรรจุหีบห่อผลผลิตต่างๆด้วย การบรรจุในภาชนะจาไม้ไผ่ถ้าเป็นผลไม้หรือผักที่มีผิวบาง จำเป็นต้องบุผนังของเข่งด้วยกระดาษหรือใบตองเสียก่อน นอกจากนี้การบรรจุที่อัดแน่นเกินไปยังก่อให้เกิดการเสียหายจากการอัดตัว(compression) ของผลิตผลได้

  7. ความต้องการในการทำความเย็นของผลิตผลความต้องการในการทำความเย็นของผลิตผล การลดอุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาคุณภาพของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว เราสามารถลดอุณหภูมิของผลิตผลได้หลายวิธีได้แก่ room cooling, forced-cooling,hydro cooling,ice cooling และ vacuum coolingแต่ละวิธีเหมาะสำหรับผลิตผลแต่ละชนิดแตกต่างกับไป ดังนั้นภาชนะการบรรจุผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวจึงต้องเอื้ออำนวยต่อการทำให้เย็นด้วยวิธีต่างๆนี้ด้วย การทำให้เย็นโดยให้อากาศเป็นตัวกลางในการทำให้เย็นไม่ว่าจะเป็น room cooling หรือ forced-air coolingภาชะต้องมีช่องว่างหรือรูรอบๆภาชนะอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนได้ตามความต้องการของผลิตผล ภาชนะบรรจุผลิตผลที่ต้องการทำให้เย็นภายในเวลาอันสั้น ก็จำเป็นต้องมีช่องเปิดมากกว่าภาชนะบรรจุผลิตผลที่ไม่ต้องรีบทำให้เย็น ผลิตผลที่จะต้องทำให้เย็นด้วยวิธี hydro coolingหรือ ice cooling ส่วนมากจะถูกทำให้เย็นก่อนการบรรจุหีบห่อลงในภาชนะที่จะใช้ขนส่ง

  8. ความต้องการในการปกป้องจากการสูญเสียน้ำความต้องการในการปกป้องจากการสูญเสียน้ำ ผักและผลไม้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ และสูญเสียออกไปได้ง่าย หากเกิดการสูญเสียน้ำมากผลิตผลจะเหี่ยวย่นดังนั้นภาชนะบรรจุจะต้องป้องกันการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดี ความต้องการของผลิตผลในเรื่องนี้ขัดแย้งกับความต้องการในการทำให้เย็น ดังนั้นการออกแบบตลอดจนการเลือกใช้ภาชนะบรรจุจะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไป คือการถ่ายเทความร้อนได้ดี ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียน้ำมากเกินไป การจัดปัจจัย2 อย่างให้พอดีนี้ไม่ง่ายนัก จึงมีวิธีการอื่นๆเข้ามาช่วย เช่น การเคลือบผิวผลิตผล หรือการห่อผลิตผลด้วยฟิล์มพลาสติก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ชนิดของ wax และพลาสติกก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตผลด้วย

  9. ความต้องการการปฏิบัติพิเศษความต้องการการปฏิบัติพิเศษ ผลไม้หลายอย่างต้องถูกบ่มให้สุกก่อนการจำหน่ายด้วยก๊าซเอทิลีน บางอย่างใช้ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับผลิตผล นอกจากนั้นในระหว่างการเก็บรักษา ผลิตผลหลายชนิดตอบสนองกับสภาพดัดแปลงบรรยากาศได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาชนะบรรจุก็ต้องเอื้ออำนวยต่อวิธีการต่างๆ เหล่านี้ด้วย เช่น การรมแก๊ส so2ต้องคำนึงถึงการยอมให้ so2 ผ่านเข้าไปแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการยอมให้ so2 ออกจากภาชนะบรรจุภายหลังการรมได้ด้วย เพราะสาร so2 ที่ตกค้างอาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคได้ง่ายและภาชนะบรรจุจะต้องไม่ดูดซับเอา so2 ไว้

  10. ๑๓.๒ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงระหว่างการขนส่งและการตลาด มาตรฐานต่างๆในการขนส่งหรือการวางขาย ในปัจจุบันการขนส่งระหว่างประเทศมีข้อตกลงร่วมกันในหลายๆประเทศมากขึ้น ขนาดของรถบรรทุก รถไฟ หรือตู้สินค้า (container) มักมีกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการขนส่ง ดังนั้นภาชนะบรรจุผัก ผลไม้ และดอกไม้ก็ควรมีขนาดเหมาะสมกับมาตรฐานเหล่านี้ เพราะจะทำให้สามารถพื้นที่ในการขนส่งได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันการแท่นรองสินค้ากลายเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดมาตรฐานของฐานรองสินค้าคือ 80x120 และ 100x120 ซม. อย่างไรก็ตามภาชนะบรรจุแทบทุกชนิดจะมีการป่องหรือพองตัวอยู่บ้างเล็กน้อย ดังนั้นการออกแบบก็ต้องเผื่อการป่องของภาชนะด้วย สำหรับการขนส่งทางเครื่องบิน ตู้สินค้าที่จะขึ้นเครื่องมีหลายลักษณะและหลายขนาดตามขนาดเครื่องบิน การเลือกใช้ภาชนะบรรจุจึงต้องเลือกหรือออกแบบให้เหมาะสม

  11. สภาพบรรยากาศระหว่างการขนส่ง การเก็บรักษา และการวางขาย อุณหภูมิ ความชื้น และองค์ประกอบของอากาศในระหว่างการขนส่ง การตลาด และการวางขาย แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้มีผลโดยตรงต่อผลิตผลแล้วยังส่งผลต่อภาชนะบรรจุด้วย เช่น ในสภาพที่มีอากาศชื้นมากๆ จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำ ทำให้ภาชนะบรรจุเปียกชื้นและอ่อนแอลงได้

  12. การตรวจสอบคุณภาพและการกักกันพืชการตรวจสอบคุณภาพและการกักกันพืช เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากจะมีการตรวจสอบรายละเอียดในแหล่งผลิตแล้ว ยังมีการสุ่มตรวจคุณภาพที่สนามบิน หรือท่าเรือก่อนส่งออกอีกด้วย การตรวจสอบของด่านกักกันพืชในประเทศที่นำเข้าผลิตผล ดังนั้นภาชนะบรรจุควรเอื้ออำนวยให้สามารถตรวจสอบได้ง่าย

  13. การวางขายผลิตผล ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตผักและผลไม้ ผู้บริโภคมักนิยมเลือกซื้อผลิตผลที่ไม่ได้บรรจุ หรือบรรจุในภาชนะขนาดใหญ่ ซึ่งผู้บริโภคสมารถเลือกเอาเฉพาะผลหรือหัวหรือดอกที่ต้องการ แต่ในประเทศหรือเขตที่มิได้เป็นผู้ผลิต หรือนอกฤดูการผลิต ราคาผลิตผลค่อนข้างสูง ผู้ขายมักห่อผลิตผลเป็นห่อเล็กๆ การบรรจุเพื่อการขายปลีกเช่นนี้จะต้องดึงดูดผู้ซื้อให้มาก จึงมักนิยมใช้ฟิล์มพลาสติกใสห่อให้ผู้ซื้อสามารถมองเห็นได้รอบด้านโดยไม่ต้องหยิบหรือจับต้องมากนัก

  14. การเลือกใช้ฟิล์มพลาสติกจึงต้องเป็นชนิดที่มีความใสมากและยอมให้ไอน้ำผ่านได้พอควร ภาชนะบรรจุเพื่อขายปลีกเช่นนี้ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการวางขายเพราะการวางขายผลิตผลที่บรรจุแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเลือกมาก ตรงข้ามกับการวางขายผลิตผลที่ยังไม่บรรจุในภาชนะใดๆที่ต้องมีพื้นที่กว้างขวางพอสำหรับลูกค้าเลือกผลิตผล การบรรจุเพื่อการวางขายมีการปฏิบัติกันตั้งแต่ในแปลงปลูก ขณะที่กำลังทำการเก็บเกี่ยว ในโรงคัดบรรจุ ในตลาดขายส่ง ตลอดจน ณ ที่ขายปลีก สิ่งที่จะใช้พิจารณาว่าควรทำการบรรจุเพื่อการวางขาย ณ ที่ใดจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  15. ลักษณะของผลิตผล ผลิตผลที่ค่อนข้างทนทานต่อการบอบช้ำ มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่ำ สามารถบรรจุลงในภาชนะสำหรับการวางขายได้ในแปลงปลูก โดยเฉพาะผลิตผลที่ไม่ต้องการการล้างทำความสะอาดและคัดขนาด เช่น ผักกาดหอมห่อ ผลิตผลที่บอบบางมากๆ เช่น สตรอเบอรี ก็บรรจุลงในภาชนะสำหรับการวางขายตั้งแต่อยู่ในแปลงเช่นกัน ทั้งนี้เพราะผลสตรอเบอรีจะบอบช้ำเมื่อถูกจับต้องด้วนนิ้วมือ ไม่สามารถทนต่อการคัดบรรจุหลายครั้งได้ • ลักษณะการขนส่ง หากการขนส่งจากแหล่งปลูกไปถึงตลาดปลายทาง ภาชนะบรรจุจะต้องสามารถป้องกันการกระทบกระเทือนได้ดี

  16. ต้นทุน การบรรจุเพื่อการวางขาย ณ ตลาดขายปลีกนั้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในทุกๆด้าน ต้องเสียทั้งทั้ง ค่าแรง ค่าสถานที่ นอกจากนี้ยังเปลืองพื้นที่ในการเก็บรักษาอีกด้วย การบรรจุเพื่อการวางขายนี้ อาจจะเห็นว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้น แต่ถ้าได้เลือกสถานที่ๆจะทำการบรรจุและเลือกให้เหมาะสม ร่วมกับผลประโยชน์อื่นๆที่จะได้รับ เช่น การเพิ่มความดึงดูดใจกับผู้ซื้อ จะพบว่าการบรรจุเพื่อการวางขายนั้นให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า

  17. ๑๓.๓ ภาชนะบรรจุ ภาชนะบรรจุ หมายถึงวัสดุหรือสิ่งที่ใช้ในการรองรับสินค้าเพื่อการจัดการกับสินค้านั้นหรือเพื่อการขนส่งหรือเพื่อการวางขาย หน้าที่ของภาชนะบรรจุ หน้าที่หลักของภาชนะบรรจุมี ๓ ประการด้วยกันคือ ก.รองรับ(contain)สินค้าหรือผลิตผลให้อยู่เป็นหน่วยเดียวกันเพื่อความสะดวกในการจัดการต่างๆ เช่น การขนย้าย การเก็บรักษา หรือการบ่ม ข.ป้องกัน(protect)ผลิตผลภายในภาชนะบรรจุจากการสูญเสียระหว่างการขนย้ายหรือเก็บรักษา ค..ให้ข้อมูล(inform)เกี่ยวกับผลิตผลภายในภาชนะบรรจุ ได้แก่ ชนิด คุณภาพ แหล่งผลิต ผู้ผลิต และข้อมูลเกี่ยวกับการตลาด

  18. ลักษณะของภาชนะบรรจุที่ดีลักษณะของภาชนะบรรจุที่ดี ก.วัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุ ควรทำการขนส่งได้ง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ และไม่หนัก ข.การประกอบวัสดุเป็นภาชนะบรรจุ ตลอดจนการบรรจุ การปิด ทำได้ง่าย ใช้แรงงานหรือใช้เครื่องทุ่นแรงที่ไม่ยุ่งยาก ค.รูปร่างและขนาด เหมาะสมกับผลิตผล ง.ขนาดเหมาะสมกับความต้องการของตลาดหรือผู้ซื้อ จ.ราคาวัสดุไม่แพง ค่าใช้จ่ายในการขึ้นรูป การบรรจุ และการขนส่งจะต้องไม่สูงด้วย ฉ.ง่ายต่อการปฏิบัติต่อผลิตผลภายในบางกรณี เช่น การบ่ม และการรมยา

  19. การเลือกใช้ภาชนะบรรจุการเลือกใช้ภาชนะบรรจุ ก.วัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุ ควรทำการขนส่งได้ง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ และไม่หนัก ข.การประกอบวัสดุเป็นภาชนะบรรจุ ตลอดจนการบรรจุ การปิด ทำได้ง่าย ใช้แรงงานหรือใช้เครื่องทุ่นแรงที่ไม่ยุ่งยาก ค.รูร่างและขนาด เหมาะสมกับผลิตผล ง.ขนาดเหมาะสมกับความต้องการของตลาดหรือผู้ซื้อ จ.ราคาวัสดุไม่แพง ค่าใช้ง่ายในการขึ้นรูป การบรรจุ และการขนส่งจะต้องไม่สูงด้วย ฉ.ง่ายต่อการปฏิบัติต่อผลิตผลภายในบางกรณี เช่น การบ่ม และการรมยา

  20. ๑๓.๔ วัสดุที่ใช้ในการทำภาชนะบรรจุ • ไม้ ไม้เป็นวัสดุที่ใช้ในการบรรจุเก่าแก่และยังคงมีใช้ในปัจจุบัน ในประเทศไทยไม้ไผ่ถูกนำมาใช้เป็นภาชนะบรรจุผักและผลไม้อย่างกว้างขวางเป็นเวลานาน เพราะหาได้ง่าย ราคาถูก และมีน้ำหนักเบา เช่น เข่ง ชะลอม แต่มีข้อเสียหลายประการได้แก่ ความแข็งแรง การต้านทานแรงกดต่ำ ข้อดีของภาชนะที่ทำจากไม้คือ มีความแข็งแรงดีมาก ทนต่อแรงกดสูง การยุบตัวหรือโป่งพองต่ำ ทนน้ำ ถ่ายเทอากาศดี นอกจากนั้นยังนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง ส่วนข้อเสีย ได้แก่ ผิวหยาบ ทำให้เกิดอันตรายต่อผลิตผลได้ง่าย การขึ้นรูป การเก็บรักษา การขนย้าย การพิมพ์ข้อ ความทำได้ยาก และมีราคาแพง

  21. กระดาษ ในปัจจุบันกระดาษในรูปของกระดาษลูกฟูก หรือcorrugate paper ได้ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุในการบรรจุผักและผลไม้อย่างกว้างขวาง เพราะกระดาษลูกฟูกมีข้อเสียหลายประการได้แก่ กระดาษมีผิวเรียบไม่ทำอันตรายแก่ผิวของผลิตผลและสามารถพิมพ์ข้อความต่างๆได้ง่าย และสวยงาม ลอนลูกฟูกช่วยป้องกันการกระทบกระแทกของผลิตผลภายในได้ดี มีน้ำหนักเบา เป็นต้น สำหรับข้อเสียได้แก่ ยอมให้อากาศถ่ายเทได้น้อย และกระดาษดูดความชื้นทำให้แข็งแรงลดลง โดยเฉพาะในการขนส่งที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง

  22. คุณลักษณะของแผ่นกระดาษลูกฟูกคุณลักษณะของแผ่นกระดาษลูกฟูก กระดาษที่ใช้ทำกระดาษลูกฟูกเป็นกระดาษแข็ง(paper board)หนากว่า 0.009 นิ้ว เนื้อหยาบ มีน้ำหนักสูงกว่า 26 ปอนด์/1000 ฟุต2 ทำขึ้นจากเส้นใย (fiber) มีความแข็งแรง ทั้ง tensile และ tear strengths สูง กระดาษลูกฟูก ประกอบด้วยลอนลูกฟูกและกระดาษปะหน้า ซึ่งมีหลายแบบดังในภาพที่ 13.6 โดยทั่วไปกระดาษปะหน้ามักจะทำจากเส้นไยใหม่อย่างน้อย85%ลอนลูกฟูกนั้นมักจะทำจากเส้นไยจากกระดาษใช้งานแล้วและมีความแข็งแรงน้อยกว่ากระดาษปะหน้า ลอนลูกฟูกที่ใช้กันในปัจจุบันมี4ชนิดคือ A,B,CและE แตกต่างกันที่จำนวนลอนต่อความยาว1ฟุต ความสูงของลอนลูกฟูกกระแทกได้ดีกว่าลอนอื่นๆและสามารถเรียงซ้อนกันได้มากชั้นกว่าชนิดอื่นๆแต่การพับกล่องทำได้ยาก ความแข็งแรงของแผ่นลูกฟูกยังขึ้นกับน้ำหนักของกระดาษที่ใช้ทำแผ่นลูกฟูกด้วย ยิ่งกระดาษมีน้ำหนักมากยิ่งแข็งแรงมากขึ้น ดังแสดงในตารางที่13.4

  23. .รูปแบบของกล่องกระดาษลูกฟูก.รูปแบบของกล่องกระดาษลูกฟูก • กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถออกแบบได้หลายรูปร่างเพื่อให้เหมาะสมกับผลิตผลชนิดต่างๆ การออกแบบกล่องนอกจากจะต้องคำนึงถึงรูปร่างของผลิตผลแล้ว ความแข็งแรงของกล่องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก กล่องต่างแบบกันมีความสามารถในการรับน้ำหนักแตกต่างกัน การออกแบบจะต้องให้แนวของลอนลูกฟูกในผนังด้านข้างของกล่องอยู่ในแนวตั้งจึงจะรับน้ำหนักได้ดี • การเรียงกล่องหากเรียงกล่องให้ขอบตรงกันพอดีน้ำหนักของกล่องด้านบนจะกดลงบนผนังกล่องด้านล่างเท่าๆกันแต่ถ้าเรียงกล่องไม่ดีน้ำหนักของกล่องด้านบนอาจกดลงบริเวณกลางกล่องมากกว่าส่วนอื่นๆทำให้กล่องด้านล่างยุบตัวลงได้ • กระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุผักและผลไม้เพื่อการส่งออกของไทยมีหลายรูปแบบ ศูนย์บรรจุหีบห่อไทยได้ทำการวิจัยออกแบบอย่างมีมาตรฐานดังแสดงในตาราง13.5 สามารถใช้ในการค้าระหว่างประเทศได้

  24. กล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับความต้องการพิเศษของผลิตผลกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับความต้องการพิเศษของผลิตผล ก) รู เพื่อให้ผลิตผลซึ่งบรรจุภายในกล่องกระดาษลูกฟูกได้รับการถ่ายเทความร้อนมีการหายใจได้อย่างเพียงพอ มีการสูญเสียน้ำไม่มากเกินไปกล่องจึงควรมีรูอย่างเพียงพอไม่ควรเจาะรูให้มีพื้นที่รูมากกว่า5%ของพื้นที่ทั้งหมด รูไม่ควรอยู่ใกล้กันและไม่ควรอยู่ใกล้มุมกล่องรูขนาดเล็กหลายๆรูจะช่วยการระบายอากาศให้เกินได้ทั่วกล่องมากว่ารูขนาดใหญ่จำนวนน้อย ตำแหน่งไม่ควรจะตรงพอดีกับบริเวณกลางผลิตผลที่บรรจุอยู่ภายในรูควรอยู่ตำแหน่งระหว่างผลิตผลมากกว่า ผลิตผลที่มีการหายใจต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เช่น แอปเปิ้ล ต้องการการถ่ายเทอากาศไม่มากนัก กล่องแอปเปิ้ลจึงมักไม่มีรู

  25. ข)กล่องเคลือบไข กล่องกระดาษลูกฟูกจะอ่อนตัวลง50%ในสภาพที่มีความชื้นสูง90%ผลิตผลที่ต้องการความชื้นสูง ต้องทำให้เย็นโดยใช้น้ำจำเป็นต้องใช้ภาชนะที่ทนน้ำได้ กล่องเคลือบไขเป็นภาชนะที่ได้รับความนิยมในระยะหนึ่งในปัจจุบันลดลงเพราะกำจัดยาก

  26. ค)กล่องเปิด • กล่องเปิดสำหรับบรรจุผลิตผล ภาพที่ 13.6เป็นภาพกล่องเปิดสำหรับบรรจุสตรอเบอรี่ กล่องนี้มี partition กั้นกลางเพื่อเสริมความแข็งแรงเพราะเป็นกล่องที่มีความยาวค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับความกว้าง บริเวณปลายกล่องด้านยาวทั้งสองด้านมีติ่งกระดาษโผล่ขึ้นมาเพื่อใช้สอดเข้ากับช่องด้านล่างของกล่องที่ซ้อนอยู่ด้านบนทำให้กล่องที่เรียงกันเป็นตั้งทรงตัวอยู่ได้ดี

  27. พลาสติก พลาสติกมีบทบาทในการบรรจุหีบห่อผลิตผลทางการเกษตรมากเนื่องจากคุณสมบัติที่ดีของพลาสติกสามารถผลิตเป็นภาชนะบรรจุได้หลายรูปแบบ พลาสติกแข็งมีความสามารถรับน้ำหนักได้ดีทนการเรียงซ้อนได้สูงและยังมีผิวเรียบไม่ทำอันตรายต่อผลิตผล ทนน้ำ ทนความชื้นและนำกลับมาใช้ใหม่ได้แต่พลาสติกมีราคาค่อนข้างแพง พลาสติกมีหลายชนิดที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่polyethylene,polypropylene ,polystyrene ,polyviyl chlorde มีสูตรโครงสร้างดังภาพ13.10 เมื่อทำเป็นภาชนะบรรจุแบ่งได้เป็นสองชนิดคือแบบแข็งและแบบอ่อน

  28. ภาชนะพลาสติกแบบคงรูป ใช้เป็นภาชนะหมุนเวียนที่รับน้ำหนักมากๆเช่นลังส้มมักทำจากpolyethyleneพวกที่มีลักษณะเป็นโฟมทำจากpolystyreneเป็นรูพรุนเหมะสำหรับใช้เป็นวัสดุกันกระแทก เช่นถาดรองผลไม้ซึ่งโฟม มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อนที่ดี ภาชนะพลาสติกแบบคงรูปชนิดที่บางมีความใสมากมักใช้กันโดยเฉพาะสำหรับการขายปลีกทำจากpolyester หรือpolyethylene terephthelate(PET) ยอมให้น้ำและอากาศผ่านได้น้อยจึงต้องเจาะรูให้อากาศถ่ายเทด้วย

  29. ภาชนะพลาสติกแบบอ่อน ก.กระสอบใช้บรรจุผลิตผลสดถักจากแถบพลาสติกpolyethylene ชนิด high density หรือ polypropyleneมักเป็นกระสอบโปร่งถ่ายเทอากาศดีใช้บรรจุหอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น ข.ถุงพลาสติกส่วนใหญ่ทำจากpolyethylene low density polyethylene(LDPE)และ high densitypolyethylene(HDPE) LDPEมีความใสกว่าแต่ถุงที่ทำจาก HDPEขุ่นและแข็งแรงมากกว่า ค.ฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อผักและผลไม้สำหรับกรขายปลีกมีทั้งทำจาก LDPE,HDPE,PVC,PVDCซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันการเลือกใช้จึงควรคำนึงถึงการหดตัวการยืดตัวการปิดผนึกและการยอมให้อากาศและน้ำผ่านได้

  30. ฟิล์มยืดใช้กันมากที่สุด ยืดหยุ่นได้และเกาะติดกันเองได้เรียกว่าcling filmใช้ในการบรรจุผักและผลไม้สำหรับการขายปลีกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคเพราะฟิล์มนี้ให้ความใสและความเป็นเงาสูง ฟิล์มหดใช้กับผลไม้บางชนิดเช่นส้ม ใช้ความร้อนทำให้ฟิล์มหดตัวแนบกับผิวส้มช่วยลดการสูญเสียน้ำยอมให้อากาศผ่านเข้าออกได้ดีมีพื้นที่ผิวในการถ่ายเทอากาศมากเมื่อเทียบกับการห่อตามปกติ

  31. 13.5การบรรจุ หลักของการบรรจุมีหลักการที่สำคัญ3ประการคือ 1.บรรจุให้ได้มากคือการบรรจุให้ได้มากเพื่อประหยัดต้นทุนในการขนส่งและประหยัดวัสดุที่ใช้ในการบรรจุไปในตัว 2.บรรจุให้ผลิตผลอยู่กับที่ เพื่อไม่ให้ผลิตผลเกิดการเสียหายจากการกระทบกระทั่งกันเอง 3.กระจายการรับน้ำหนักของการรับผลิตผลให้ได้มากที่สุดซึ่งจะช่วยลดปัญหาของการบอบช้ำได้มาก

  32. รูปแบบของการบรรจุ แบ่งได้เป็น4รูปแบบคือ 1.jumble pack คือการบรรจุแบบสุ่มโดยการบรรจุผลิตผลใส่ลงในภาชนะโดยไม่มีการจัดเรียงซึ่งจะทำได้เร็วแต่จะทำให้ภาชนะมีช่องว่างเหลืออยู่มาก 2.pattern pack คือการบรรจุโดยจัดเรียงแบบเป็นแถวเป็นแนว ได้ผลดีถ้าผลิตผลได้รับการคัดขนาดให้มีความสม่ำเสมอก่อนการบรรจุทำให้บรรจุได้แน่นและมีจุดสัมผัสมากพบว่าการจัดแบบFCC(face-centered cubic)ทำให้ความหนาแน่นในการบรรจุสูงถึง74%มีจุดสัมผัสสูง12จุด

  33. 3.tray pack เป็นการบรรจุโดยมีถาดหนุนรองใต้ผลิตผลทุกชั้น การบรรจุแบบนี้ทำได้ช้าแต่ผลิตผลได้รับการป้องกันจากความเสียหายได้ดีที่สุด 4.retail packการบรรจุเพื่อการวางขายเน้นการแสดงตัวผลิตผล ความหนาแน่นในการบรรจุจึงต่ำ การกระจายน้ำหนักนั้นคำนึงถึงน้องเพราะบรรจุเพียงชั้นเดียว

More Related