240 likes | 737 Views
ทบทวนทฤษฎี แนวคิด และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. ขั้นตอนการวิจัย. ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล.
E N D
ทบทวนทฤษฎี แนวคิด และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการวิจัย
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผลส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล การเขียนรายงานผลผลการวิจัยประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญ3 ส่วน (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2537 อ้างถึงใน ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล, 2554) คือ ส่วนนำ (preliminary) ส่วนเนื้อเรื่อง (text) และส่วนอ้างอิง (reference) 1. ส่วนนำ ประกอบด้วย - ปก (title page) - คำอุทิศ (dedication) - บทคัดย่อ (abstract) - คำนำและ/หรือกิตติกรรมประกาศ (preface and acknowledgement) - สารบาญ (content)
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผลส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล 2. ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 2.1 บทนำ (Introduction) จะกล่าวถึงหัวข้อต่างๆ ดังนี้ - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา - วัตถุประสงค์ของการวิจัย - สมมติฐานในการวิจัย - ขอบเขตของการวิจัย - ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย - นิยามศัพท์ 2.2 วิธีการดำเนินการวิจัย จะกล่าวถึงแหล่งของข้อมูล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผลส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล 2.3 ผลการวิจัย จะกล่าวถึง วิธีที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์การแปลความหรือตีความของข้อมูล และการอภิปรายผลการวิจัย 2.4 ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ จะกล่าวถึงวิธีการดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ 3. ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย เชิงอรรถ บรรณานุกรม อัญประกาศ ภาคผนวก ดัชนี ประวัติผู้ทำการวิจัย
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล (สำหรับรายวิชา PCC3801 การวิจัยและประเมินผลฯ) • บทคัดย่อ (abstract) บทคัดย่อไม่ควรเกิน 1-2 หน้า A4 เป็นการสรุปประเด็นสำคัญของการวิจัย ผู้อ่านส่วนใหญ่อ่านบทคัดย่อเพื่อตัดสินใจว่าต้องการที่จะอ่านส่วนที่เหลือของรายงานหรือไม่ • สารบาญหรือสารบัญ (content) • บทที่ 1 บทนำ 1ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา5ขอบเขตของการวิจัย 2วัตถุประสงค์ในการวิจัย 6คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 3ปัญหานำวิจัย 7ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4สมมติฐานในการวิจัย
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล (สำหรับรายวิชา PCC3801 การวิจัยและประเมินผลฯ) • บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of the Literature) หาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและใช้สำหรับอ้างอิงและสรุปผลการวิจัย • บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - ตัวแปรในการวิจัย - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล (สำหรับรายวิชา PCC3801 การวิจัยและประเมินผลฯ) • บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results) - การวิเคราะห์ข้อมูล ให้ระบุว่าจะใช้สถิติอะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น - การบรรยายข้อค้นพบ ควรชี้ประเด็นที่โยงสมมติฐานและคำถามในการวิจัยว่าเป็นอย่างไร - ตาราง แผนภูมิ กราฟ ฯลฯ ควรนำเสนออย่างย่นย่อ
ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและประเมินผล (สำหรับรายวิชา PCC3801 การวิจัยและประเมินผลฯ) • บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Summary) - สรุปผลการวิจัย - อภิปรายผลการวิจัย โดยเปรียบเทียบทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นไปตามทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นๆหรือไม่ อย่างไร - ข้อจำกัด - ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป • รายการอ้างอิง (Reference) • ภาคผนวก (Appendix) ได้แก่ แบบสอบถาม จดหมายติดต่อ หรือสำเนาเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง
การตั้งชื่อหัวข้อการวิจัย (Research Topic) • ควรตั้งชื่อเรื่องให้สั้น กะทัดรัด และชัดเจน • ควรตั้งชื่อให้ตรงประเด็นกับที่ต้องการศึกษา • ควรตั้งชื่อเรื่องโดยสามารถบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัยซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นงานวิจัยประเภทใด เช่น การสำรวจทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการโฆษณาสินค้าแฝงในละครโทรทัศน์ การวิเคราะห์แผนการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกองทัพอากาศ
การตั้งชื่อหัวข้อการวิจัย (Research Topic) • ควรระบุประชากรเป้าหมายหรือสถานที่ เช่น ภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรในเขตสถานีตำรวจนครบาลยานนาวาในความคิดเห็นของชาวยานนาวา ภาพลักษณ์ของครูประถมศึกษา / สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง / ตามทัศนะของผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง
การตั้งชื่อหัวข้อการวิจัย (Research Topic) • ควรบอกถึงตัวแปรหรือสิ่งที่ต้องการวิจัยให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร เช่น การแสวงหาข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพ • ต้องเป็นประโยคบอกเล่าที่เรียบเรียงข้อความอย่างสละสลวย ทราบทันทีว่าหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร ที่ไหน อย่างไร • ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยผู้อื่น แม้ว่าประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกัน
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา(Rationale/ Problem Statement) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นส่วนที่ผู้วิจัยต้องกล่าวถึงที่มาของปัญหาที่จะศึกษาว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการทำการวิจัยเรื่องนี้ขึ้น เป็นการชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัย โดยชี้ให้เห็นว่าหากทำวิจัยนี้แล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไรและจะนำไปสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้อย่างไร ในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาอาจอ้างทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือคำกล่าวที่น่าเชื่อถือของบุคคลอื่นเพื่อให้มีน้ำหนักความสมบูรณ์ โดยเขียนในลักษณะกว้างๆ ก่อน แล้วค่อยๆ แคบลง เข้าไปสู่จุดสำคัญหรือประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัย
อิทธิพลของโฆษณาในโรง-ภาพยนตร์ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครอิทธิพลของโฆษณาในโรง-ภาพยนตร์ที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย (Scope of the Study) คือ การกำหนดกรอบของเรื่องที่จะศึกษาโดยคำนึงถึงว่าครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง ขอบเขตของการวิจัยมักเขียนครอบคลุมองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ • ประชากรเป้าหมายและพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล • ระยะเวลาที่ทำการวิจัย • ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัย
ตัวอย่าง หัวข้อวิจัย: การเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจรายการข่าว ภาคเช้าทางโทรทัศน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ขอบเขตของการวิจัย: 1. การวิจัยนี้มุ่งศึกษารายการข่าวภาคเช้าที่เสนอทาง สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง คือ ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9, ช่อง 11 และ ช่อง ITV ที่ออกอากาศตั้งแต่ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2547 ในช่วงเวลา 05.30 – 09.30 น. ซึ่งรวมถึงข่าวทุกประเภท 2. กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดรับชม รายการข่าวภาคเช้าทางโทรทัศน์เท่านั้น เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของสื่อมวลชน ประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง ตลอดจนพื้นที่ใน กทม. ประกอบด้วยประชาชนหลายกลุ่ม หลายอาชีพ หลายระดับการศึกษา และมี ฐานะความเป็นอยู่แตกต่างกัน
คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย เป็นการอธิบายหรือการให้ความหมายตัวแปรหรือคำศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่าน มีความเข้าใจตรงกับผู้วิจัย เช่น รายการข่าวภาคเช้า หมายถึง รายการข่าวภาคเช้าทางโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง ได้แก่ช่อง 3, ช่อง 5, ช่อง 7, ช่อง 9, ช่อง 11 และช่อง ITV การเปิดรับข่าวสาร หมายถึง ความบ่อยครั้งในการเปิดรับชมรายการข่าวภาคเช้าในแต่ละสัปดาห์ และระยะเวลาที่ชมข่าวภาคเช้าในแต่ละครั้ง การใช้ประโยชน์จากรายการ หมายถึง การนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับชมจากรายการข่าวภาคเช้าไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านต่าง ๆ ลักษณะทางประชากร หมายถึง เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรมประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม 1. ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าในแต่ละประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการศึกษานั้น มีผู้ใดเคยศึกษามาก่อนแล้วบ้าง ผลการศึกษานั้นเป็นอย่างไร ตลอดจนปัญหา ข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไป 2. ทำให้ผู้วิจัยคาดเดาทิศทางได้ถูกต้องแม่นยำว่าจะศึกษาตัวแปรใดบ้างและตัวแปรน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างกรอบแนวคิดงานวิจัยและการตั้งสมมติฐาน 3. ทำให้ผู้วิจัยสามารถนิยามตัวแปรในเชิงปฏิบัติการที่เชื่อมโยงไปยังความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้ดีขึ้น 4. เป็นการเตรียมป้องกันความคลาดเคลื่อนของตัวแปรแทรกซ้อนและตัวแปรสอดแทรกต่างๆ 5. ทำให้ผู้วิจัยกำหนดกรอบ แนวทาง ขอบเขตของการวิจัยได้ดีขึ้น 6. ช่วยให้ผู้วิจัยมีความรอบรู้ในเรื่องที่จะกระทำการศึกษามากยิ่งขึ้น 7. สามารถนำแนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิงในการอภิปรายผลงานวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูล • หนังสือ • วารสาร • วิทยานิพนธ์ • รายงานการวิจัย • หนังสือพิมพ์ • เอกสารทางราชการ • บทคัดย่อ (Abstracts), บทวิจารณ์ (Reviews) • การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต • ฐานข้อมูลต่าง ๆ และห้องสมุด
การใช้ทฤษฎีอ้างอิงและกำหนดตัวแปรในการวิจัยการใช้ทฤษฎีอ้างอิงและกำหนดตัวแปรในการวิจัย การวิจัย เป็นการดำเนินงานตามกระบวนการของศาสตร์เพื่อมุ่งหาคำตอบ หรือข้อเท็จจริงซึ่งสิ่งนั้นต้องสามารถสังเกตหรือพิสูจน์ความถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องอาศัยกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีประกอบในการดำเนินการวิจัย หรือบางครั้งข้อเท็จจริงที่ค้นพบโดยกระบวนการวิจัยก็สามารถนำมาสรุปเป็นทฤษฎีได้เช่นกัน ทฤษฎี คือ ชุดของข้อความที่ระบุถึงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริง (Fact) ปัจจัย (Factors) หรือตัวแปร (Variables) ต่าง ๆ ในทางที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระเบียบและเชื่อมโยงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้เป็นระบบและง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ว่าเมื่อเกิดสิ่งหนึ่งขึ้นสิ่งใดจะตามมา หรือเมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นจะมีอะไรเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ หรือสามารถนำไปใช้ในการสร้างหลักการทั่วไป (Generalization) จึงสามารถนำทฤษฎีมาตั้งเป็นกฎ (Law) หรือใช้ในการทำนาย (Prediction) เหตุการณ์บางเหตุการณ์ล่วงหน้าได้
ทฤษฎีได้มาจากการรวบรวมข้อมูลหลายชนิดโดยการสำรวจ การจดบันทึกอย่างมีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ และเสนอในรูปของข้อสรุปของความจริงหรือข้อเท็จจริง เพื่อวางเป็นกฎทั่วไปที่จะใช้ในการทำนายปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น ทฤษฎีและการวิจัยจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมาก กล่าวคือ ข้อสรุปจากทฤษฎีสามารถนำมาใช้อ้างอิงหรือเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย หรือในบางกรณีผลจากการวิจัยก็สามารถนำไปสรุปเป็นทฤษฎีได้ ดังภาพ ทฤษฎี การวิจัย
ประโยชน์ของทฤษฎีที่มีต่อการวิจัยประโยชน์ของทฤษฎีที่มีต่อการวิจัย ประโยชน์ของทฤษฎีที่มีต่องานวิจัยนั้นมีหลายประเด็น เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้ดำเนินการวิจัยได้อย่างมีทิศทาง ทฤษฎีเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการวิจัย คือ ทฤษฎีช่วยสร้างปัญหาของการวิจัยเป็นแนวทางในการกำหนดสมมติฐาน เป็นแนวทางในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนช่วยให้ผู้วิจัยคาดคะเนผลลัพธ์ของการวิจัยได้แม่นยำ และช่วยให้ผู้วิจัยมั่นใจในผลลัพธ์ตลอดจนผลสำเร็จของการวิจัย การวิจัยสามารถให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในการสร้างทฤษฎีใหม่ และช่วยพิสูจน์ข้อเท็จจริงของทฤษฎีว่าข้อเท็จจริงใดถูกหรือผิด ในสถานการณ์ที่ต่างออกไป นอกจากนี้การวิจัยยังช่วยให้หลักทั่วไป (Generalization) ของทฤษฎีมีขอบเขตที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์(Maslow's hierarchy of needs) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เสนอโดย อับราฮัม มาสโลว์