310 likes | 565 Views
ความเป็นโมฆะของการสมรส. เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ. เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ มาตรา 1449 เป็นญาติสืบสายโลหิต หรือเป็นพี่น้องระหว่างกัน มาตรา 1450 เป็นการสมรสซ้อน มาตรา 1452 ขาดเจตนาสมรส มาตรา 1458. บทนำ.
E N D
ความเป็นโมฆะของการสมรสความเป็นโมฆะของการสมรส กฎหมายครอบครัว
เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ • เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ • เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ มาตรา 1449 • เป็นญาติสืบสายโลหิต หรือเป็นพี่น้องระหว่างกัน มาตรา 1450 • เป็นการสมรสซ้อน มาตรา 1452 • ขาดเจตนาสมรส มาตรา 1458 กฎหมายครอบครัว
บทนำ • การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นแต่เพียงเหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ มิใช่เหตุที่แสดงในตัวเองว่าการสมรสเป็นโมฆะ นอกจากนี้ศาลไม่มีทราบได้เองว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ จึงต้องมีผู้แสดงเหตุให้ศาลทราบ • การสมรสเป็นโมฆะตามาตรา 1496 และมาตรา 1497 นั้น มีข้อแตกต่างจากนิติกรรมเป็นโมฆะทั่วไป ซึ่งกำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นได้โดยไม่จำต้องฟ้องศาล แต่เนื่องจากการสมรสเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานะของบุคคล การจะแสดงถึงสถานะดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรจึงจำต้องอาศัยคำพิพากษาของศาล เพราะเกี่ยวข้องกับทะเบียนสมรสอันเป็นเอกสารมหาชนดังกล่าว กฎหมายครอบครัว
ในทางกลับกัน การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนกฎหมาย ถ้ายังไม่มีผู้ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือมีการยกขึ้นกล่าวอ้าง การสมรสนั้นก็ยังไม่เป็นโมฆะ • ฎีกาที่ 3898/2548 เมื่อศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามาตรา 1496 วรรคหนึ่ง ถือว่าการสมรสยังคงมีอยู่ ผู้ร้องจึงเป็นคู่สมรสที่มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย • การสมรสอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และมาตรา 1458 นั้น ย่อมเป็นโมฆะโดยไม่ต้องคำนึงว่าชายหรือหญิงผู้สมรสจะทำการสมรสโดยสุจริตหรือไม่ กฎหมายครอบครัว
การขอให้การสมรสตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449,1450 และ มาตรา 1458 • คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449,1450 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ • ผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ จะต้องเป็นผู้ซึ่งกฎหมายให้อำนาจเท่านั้น ได้แก่ • คู่สมรส บิดา มารดา ผู้สืบสันดาน • บิดา ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย • ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา • ฎีกาที่ 5280/2544 ผู้สืบสันดานไม่จำกัดว่าจะต้องมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกหรือไม่ เพราะเมื่อยังปรากฏความเป็นโมฆะอยู่โดยยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นโมฆะ ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของผู้สืบสันดาน กฎหมายครอบครัว
พนักงานอัยการตามการร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียพนักงานอัยการตามการร้องขอของผู้มีส่วนได้เสีย • ถ้าไม่บุคคลข้างต้น ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้พนักงานอัยการดำเนินการร้องขอต่อศาลก็ได้ • ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บุตรบุญธรรม นายทะเบียนครอบครัว หรือทายาทผู้จะได้รับมรดกหรือเสียสิทธิในการรับมรดก กฎหมายครอบครัว
มาตรา 1496 “คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้” กฎหมายครอบครัว
การขอให้การสมรสตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 • การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ • ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ • เหตุที่ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ ทั้งที่กล่าวอ้างขึ้นได้ เพราะหากไม่มีการร้องขอให้ศาลพิพากษาแล้ว ก็ไม่อาจนำมาอ้างกับบุคคลภายนอกได้ (ม.1497/1) • การกล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะนั้นเป็นเรื่องการแจ้งปรากฏการณ์หรือแจ้งเรื่องให้ทราบถึงความเสียเปล่าของการสมรส ไม่ใช่เรื่องของการบอกล้างหรือเพิกถอนการสมรส กฎหมายครอบครัว
ผู้มีส่วนได้เสีย : คู่สมรส บิดามารดาของคู่สมรส ผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุคคลตามมาตรา 28 บุคคล ทายาทตามกฎหมายมรดก เป็นต้น • การสมรสซ้อน แม้ชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตายไปแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลได้(ฎีกาที่ 594/2506,220/2541, 6788/2541) มาตรา 1497 “การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้” กฎหมายครอบครัว
ผลของคำพิพากษาแสดงการสมรสที่เป็นโมฆะผลของคำพิพากษาแสดงการสมรสที่เป็นโมฆะ • ผลระหว่างชายหญิง • ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน • การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา(มาตรา 1498) เพราะความไม่สมบูรณ์หรือความเสียเปล่าของการสมรสนั้นเริ่มมีขึ้นตั้งแต่วันที่ทำการสมรสจนกระทั่งวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ • มีประเด็นพิจารณาดังนี้ • ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสหรือกรรมสิทธิ์รวม จึงไม่มีสิทธิที่จะแบ่งทรัพย์สินจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเจ้าของรวม (ฎีกาที่ 1426/2537) กฎหมายครอบครัว
การสมรสที่เป็นโมฆะถ้าศาลยังไม่มีคำพิพากษาแสดงการสมรสว่าเป็นโมฆะ แม้การสมรสจะขัดต่อเงื่อนไขตามมาตรา 1449,1450 และ 1458 แต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างว่าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนหรือในระหว่างสมรสเป็นของตนเพียงฝ่ายเดียวยังไม่ได้ จนกว่าศาลจะได้พิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ • ส่วนการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 นั้น เนืองจากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียสามารถจะกล่าวอ้างขึ้นได้เอง ดังนั้นคู่สมรสจึงสามารถอ้างได้ว่าทรัพย์สินที่ตนทำมาหาได้ก่อนหรือในระหว่างสมรสเป็นของตนเพียงฝ่ายเดียวได้ตามมาตรา 1497 กฎหมายครอบครัว
ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ ศาลจะเห็นสมควรเป็นประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึง ภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวง • ภาระในครอบครัว ได้แก่ การที่คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือเป็นผู้ต้องรับภาระในกิจการต่างๆ ในครอบครัว เช่น การจัดซื้อสิ่งของต่างๆมาใช้สอยภายในบ้าน • ภาระในการหาเลี้ยงชีพ ศาลอาจจะคำนึงว่าคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้รับภาระในการจัดทำกิจการต่างๆมากน้อยกว่ากันเพียงใด เช่น สามีเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและรับผิดชอบในการจำหน่ายสินค้าตลอดจนการจ้างพนักงานต่างๆ ส่วนภริยามีหน้าที่ในการจัดทำบัญชีเท่านั้น ศาลอาจจะให้สามีได้รับส่วนแบ่งมากกว่าภริยาก็ได้ • ฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยคำนึงถึงการประกอบกิจการนั้นๆว่า คู่สมรสฝ่ายเป็นผู้ลงทุนมากน้อยกว่ากัน กฎหมายครอบครัว
กรณีที่มีการทำสัญญาก่อนสมรส ก็ไม่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ตามสัญญาก่อนสมรสได้เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะแล้ว ย่อมมีผลไปถึงสัญญาก่อนสมรสว่าหมดสภาพในการบังคับโดยปริยาย คู่สมรสไม่จำต้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนสัญญาก่อนสมรสดังกล่าว ตามมาตรา 1467 • กรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างสมรสคู่สมรสก็ไม่จำต้องบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส • แต่การที่ชายหญิงที่การสมรสเป็นโมฆะเพราะเหตุสมรสซ้อน ได้ตกลงจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาระหว่างสมรสตามมาตรา 1469 ซึ่งปกติต้องจัดแบ่งทรัพย์สินตามมาตรา 1498 วรรคสอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามาตรา 850 (ฎีกาที่ 2496/2544) กฎหมายครอบครัว
มาตรา 1498 “การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว” กฎหมายครอบครัว
บทคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายสุจริตบทคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายสุจริต • แม้การสมรสจะไม่มีผลก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน แต่หากชายหรือหญิงใดได้ทำการสมรสโดยสุจริต กฎหมายก็ให้ความคุ้มครองแก่คู่สมรสซึ่งสุจริตไว้ 3 ประการ • คู่สมรสที่สุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรส • อย่างไรจะเรียกว่า “สุจริต” หรือ “ไม่สุจริต” ในที่นี้พิเคราะห์จากการรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสที่เป็นโมฆะหรือไม่เท่านั้น เช่น รู้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริต หรือเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงหรือไม่ • สิทธิที่ได้มา ยังมีความไม่แน่ชัดว่า หมายถึง สิทธิในทางใดบ้าง • สิทธิที่ได้มาเพราะการสมรส อาจเป็นการได้มาโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ • สิทธิในทางตรง เช่น สิทธิในความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน หรือสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ่ง • สิทธิในทางอ้อม เช่น สิทธิในการรับมรดก การได้รับสัญชาติ การได้รับสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีเพราะมีคู่สมรส สิทธิในการรับบำเหน็จตกทอด กฎหมายครอบครัว
เฉพาะสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสเท่านั้น ที่จะต้องพิจารณาความสุจริต ของคู่สมรส ส่วนสิทธิซึ่งมิได้มาจากการสมรส แม้จะไม่สุจริต คู่สมรสก็ไม่เสื่อมสิทธิ • เช่น ชายสมรสกับหญิงทั้งที่รู้ว่าเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หลังจากสมรสหญิง ให้ทรัพย์สินแก่ชาย เช่นนี้ ชายไม่เสื่อมสิทธิในทรัพย์ที่หญิงยกให้นั้น เพราะมิได้เป็นสิทธิที่ได้มาเพราะมาสมรสนั้น กฎหมายครอบครัว
ประเด็นพิจารณาปลีกย่อย • ของหมั้น • ไม่ว่าหญิงจะสุจริตหรือไม่ กฎหมายก็ให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีโดยไม่จำต้องมีการสมรส • ส่วนชายจะเรียกคืนได้หรือไม่ต้องดูมาตรา 1439,1442 • สิทธิในการรับมรดก • คู่สมรสซึ่งสุจริต มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม (ฎีกาที่ 1924/2522) • เว้นแต่ การสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 • การสมรสที่เป็นโมฆะทุกกรณี คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม กฎหมายครอบครัว
ประเด็นพิจารณาปลีกย่อย (ต่อ) • ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว • ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัวที่เคยมีมาก่อนศาลพิพากษาจะถูกกระทบกระเทือนหรือไม่ • ค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งได้รับไว้ในขณะที่สุจริต ย่อมไม่ถูกกระทบกระเทือน • ชายก็จะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินหญิงไปในทำนองชู้สาว ได้หรือไม่ • หญิงจะเรียกทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับชายในทำนองชู้สาว ได้หรือไม่ • ชายหรือหญิงจะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้คู่สมรสตนถึงแก่ความตายได้หรือไม่ กฎหมายครอบครัว
ประเด็นน่าคิด • ก. สมรสกับ ข. • แล้วต่อมา ก. สมรสกับ ค. อีก • ต่อมา ข. ถึงแก่ความตาย • หลังจากนั้น ก. สมรสกับ ง. • เช่นนี้ การสมรสของ ค. และ ง. จะเป็นโมฆะเพราะสมรสซ้อนหรือไม่ • ฎีกาที่ 6186/2545 การที่คู่สมรสคนแรกถึงแก่ความตายก็ไม่มีผลให้การสมรสครั้งหลังกลับมามีผลสมบูรณ์ กฎหมายครอบครัว
สิทธิเรียกค่าทดแทน • หากชายหรือหญิงฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียวเป็นผู้ทำการสมรสโดยสุจริต ฝ่ายนั้นก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ • ถ้าชายหญิงไม่สุจริตด้วยกันทั้งสองฝ่าย เช่น จดทะเบียนสมรสหลอกกันหวังได้รับมรดก ชายหญิงจะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ • ชายหญิงต่างสมรสโดยสุจริตทั้งคู่ ก็จะเรียกค่าทดแทนจากกันไม่ได้ • ค่าทดแทนความเสียหาย ดูมาตรา 1440 เป็นแนวทาง กฎหมายครอบครัว
สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพ • ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพต้องเป็นผู้ทำการสมรสโดยสุจริต และต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ • ต้องยากจนลง • ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆียะ หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของตนเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 • การสมรสอาจทำให้อีกฝ่ายต้องเปลี่ยนงานหรือออกจากงานโดยหวังจะครองคู่กับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีความสุข ทำให้เสียประโยชน์จากรายได้ที่เคยมีมา กฎหมายครอบครัว
ศาลจะกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้เพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ ค่าเลี้ยงชีพศาลจะให้ชำระเป็นเงินโดยชำระเป็นงวดๆ หรือเป็นครั้งคราวตามที่กำหนดหรือจะให้ชำระเป็นอย่างอื่นก็ได้ • หากพฤติการณ์เกี่ยวกับรายได้หรือฐานะของฝ่ายที่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพเปลี่ยนไป เมื่อฝ่ายที่ให้ค่าเลี้ยงชีพแสดงให้ปรากฏต่อศาล ศาลจะสั่งแก้ไขใหม่โดยเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพก็ได้ • ฝ่ายที่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจะฟ้องหรือฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ • และแม้จะไม่ได้เรียกค่าเลี้ยงชีพมาในคำฟ้องหรือฟ้องแย้งหากมีเหตุให้ต้องฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพในภายหลัง ก็ย่อมกระทำได้ภายในอายุความ 2 ปี ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1499 วรรคท้าย กฎหมายครอบครัว
สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพหมดลงเมื่อสมรสใหม่ • ถ้าคู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิรับค่าเลี้ยงชีพได้สมรสใหม่ ย่อมมีผลให้เกิดความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันกับคู่สมรสใหม่ตามมาตรา 1461 วรรคสอง กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับค่าเลี้ยงชีพอีกต่อไป • อายุความในเรียกค่าเลี้ยงชีพ มีกำหนดอายุความ • กรณีฝ่าฝืน มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด • กรณีฝ่าฝืนมาตรา 1452 มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายครอบครัว
ผลต่อบุคคลภายนอก มาตรา 1500“การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตซึ่งได้มาก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรสตามมาตรา 1497/1” • ถ้าบุคคลภายนอกรู้ข้อเท็จจริงว่าการสมรสเป็นโมฆะ แม้ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะแล้ว ยังก่อนิติสัมพันธ์กับชายหรือหญิงถือว่าไม่สุจริต จึงไม่ได้ความคุ้มครองใดๆ เกี่ยวกับสิทธิที่ได้มาอันมีผลให้คู่สมรสอีกฝ่ายโต้แย้งโดยปฏิเสธความรับผิดหรือเรียกทรัพย์คืนจากบุคคลภายนอกได้ • สิทธิที่บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตนั้นไม่ต้องคำนึงว่ามีการเสียค่าตอบแทนหรือไม่ แม้ได้รับมากเพราะการให้โดยเสน่หา ซึ่งตามมาตรา 1476(5) กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง หากทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้ให้เพียงฝ่ายเดียวก็ไม่ต้องได้รับความยินยอม โดยอาศัยผลจากมาตรา 1498 วรรคสอง แต่หากเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกัน ก็คงผูกพันเฉพาะเจ้าของรวม เว้นแต่ต้องด้วยมาตรา 1361 วรรคสอง กฎหมายครอบครัว
ความสุจริตของบุคคลภายนอกต้องเกิดขึ้นก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส กล่าวคือ แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะแล้ว หากนายทะเบียนยังมิได้บันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส บุคคลภายนอกผู้สุจริตก็ยังได้รับความคุ้มครองอยู่ เมื่อนายทะเบียนบันทึกความเป็นโมฆะเมื่อใด แม้บุคคลภายนอกจะอ้างว่าตนสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครองอีกต่อไป • การสมรสเป็นโมฆะเพระสมรสซ้อนตามมาตรา 1452 ก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะสิ้นสุดการสมรสด้วยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้าง หรือร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ตาม กฎหมายครอบครัว
ผลของคำพิพากษาแสดงการสมรสที่เป็นโมฆะผลของคำพิพากษาแสดงการสมรสที่เป็นโมฆะ • ผลต่อบุตร • บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันแต่วันนั้น กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามีของหญิง มาตรา 1536 “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น” กฎหมายครอบครัว
บุตรที่เกิดจากชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรสที่ฝ่าฝืนหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จด ทะเบียนสมรสครั้งหลัง มาตรา 1538 “ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรส ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรสที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จด ทะเบียนสมรสครั้งหลัง ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็น สามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536 มาใช้บังคับ ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้ บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่ สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ด้วย” กฎหมายครอบครัว
ผู้ใช้อำนาจปกครอง ม.1499/1 • เมื่อได้มีคำพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ ชายหญิงจึงไม่อาจที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปได้ กฎหมายจึงจึงเปิดช่องให้คู่สมรสสามารถตกลงในระหว่างกันว่าใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวนเท่าใด โดยต้องทำความตกลงเป็นหนังสือ • เมื่อทำความตากลงเป็นหนังสือแล้วอำนาจปกครองย่อมอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียวทันทีตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) หากอีกฝ่ายผิดข้อตกลงนำบุตรไปเลี้ยงดูเอง ฝ่ายที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็มีสิทธิเรียกบุตรคืนได้ตามมาตรา 1567(4) • ข้อตกลงระหว่างคู่สมรสเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด และต้องบันทึกให้ชัดเจน หากระบุข้อตกลงเพียงว่าให้มารดามีภาระหน้าที่ปกครองอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่านั้น ไม่ได้มุ่งหมายถึงการใช้อำนาจปกครอง อำนาจปกครองบุตรจึงยังคงอยู่กับบิดาด้วย (ฎีกาที่ 2460/2539) กฎหมายครอบครัว
ขอบคุณครับ กฎหมายครอบครัว