1 / 52

ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม

หลักธรรมะที่นักศึกษาควรนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา

padvee
Download Presentation

ธรรมะสำหรับนักศึกษา : การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักธรรมะสำหรับนักศึกษาหลักธรรมะสำหรับนักศึกษา

  2. “อันเงินงาน การศึกษา หาเสียก่อน อย่ารีบร้อนไปหารัก งานจักเสีย ถ้าขาดเงิน ขาดงาน พาลขาดเมีย เพื่อนก็เขี่ย แฟนก็จาก รักก็จร” เรื่องรักๆ อย่ารีบร้อน

  3. ชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จ • ผู้ที่ต้องการดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จไม่ว่าจะด้านการศึกษา หรืออาชีพก็ตาม พึงปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้

  4. คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ที่เรียกว่าจักร(ธรรมประดุจล้อทั้งสี่ที่นำรถไปสู่จุดหมาย)ซึ่งมี ๔ ข้อ คือ ก. หลักความเจริญจักร ๔

  5. จักร ๔ • ๑) เลือกถิ่นที่เหมาะคือหาถิ่นที่อยู่ หรือ แหล่งเล่าเรียนดำเนินชีวิตที่ดี ซึ่งมีบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อำนวยแก่การศึกษาพัฒนาชีวิต การแสวงธรรมหาความรู้ การสร้างความดีงาม และความเจริญก้าวหน้า

  6. จักร ๔ • ๒) เสาะเสวนาคนดีคือ รู้จักเสวนาคบหา หรือร่วมหมู่กับบุคคลผู้รู้ ผู้ทรงคุณ และผู้ที่จะเกื้อกูลแก่การแสวงหาความรู้ ความก้าวหน้างอกงาม และความเจริญโดยธรรม

  7. จักร ๔ • ๓) ตั้งตนไว้ถูกวิถีคือ ดำรงตนมั่นอยู่ในธรรมและทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ดีงามแน่ชัด และนำตนไปถูกทางสู่จุดหมาย แน่วแน่ มั่นคง ไม่พร่าสาย ไม่เถลไถล

  8. จักร ๔ • ๔) มีทุนดีได้เตรียมไว้ทุนดีส่วนที่หนึ่ง คือความมีสติปัญญา ความถนัด และร่างกายดี เป็นต้น ที่เป็นพื้นมาแต่เดิม และอีกส่วนหนึ่ง คือ อาศัยพื้นเดิมเท่าที่ตัวมีอยู่ รู้จักแก้ไขปรับปรุงตน ศึกษาหาความรู้สร้างเสริมคุณสมบัติ ความดีงาม ฝึกให้ชำนิชำนาญ สร้างสรรค์ประโยชน์สุขและก้าวสู่ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

  9. ข. หลักความสำเร็จ • คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้นๆ ที่เรียกว่าอิทธิบาท (ธรรมให้ถึงความสำเร็จ)ซึ่งมี ๔ ข้อคือ

  10. อิทธิบาท ๔ • ๑) ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น และทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เป็นผลสำเร็จอย่างดี แห่งกิจการงานที่ทำ มิใช่สักว่าทำพอให้เสร็จหรือเพราะอยากได้รางวัลหรือกำไร

  11. อิทธิบาท ๔ • ๒) วิริยะ พากเพียรทำคือ ขยันหมั่นประกอบ หมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ทอดทิ้ง ไม่ท้อถอย ก้าวไปข้างหน้าจนกว่าจะสำเร็จ

  12. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

  13. เข็นครกขึ้นภูเขา

  14. พายเรือทวนน้ำ

  15. “อันวิชา มีมาก หลากชนิด ถ้าเรียนนิด รู้หน่อย แล้วถอยหลัง รู้อะไร หลายสิ่ง ไม่จริงจัง ทำได้ดัง ฝูงเป็ด เกร็ดวิชา” สู้ไม่ถอย

  16. “เช่นจะขัน ขันได้ ไม่เหมือนไก่ จะบินได้ ก็ไม่ทัน พันธุ์ปักษา จะว่ายน้ำ ก็ไม่ทัน กับพันธุ์ปลา เหมือนวิชา เรียนไว้ ไม่รู้จริง”

  17. อิทธิบาท ๔ • ๓) จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่คือตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย ใช้ความคิดในเรื่องนั้นบ่อยๆ เสมอๆ ทำกิจหรือการงานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ

  18. อิทธิบาท ๔ • ๔) วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวนคือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนเกินเลยบกพร่องขัดข้องเป็นต้น ในสิ่งที่ทำนั้น โดยรู้จักทดลอง วางแผน คิดแก้ไขปรับปรุง เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป

  19. คนที่เล่าเรียนศึกษา จะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนักค้นคว้า ก็ตาม นอกจากจะพึงปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับคนที่จะประสบความสำเร็จ คือ จักร ๔ และอิทธิบาท ๔ แล้ว ยังมีหลักการที่ควรรู้ และหลักปฏิบัติที่ควรประพฤติอีกดังต่อไปนี้

  20. คือ รู้จักองค์ประกอบที่เป็น ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา ๑) องค์ประกอบภายนอกที่ดีได้แก่ มีกัลยาณมิตร ๒) องค์ประกอบภายในที่ดีได้แก่ โยนิโสมนสิการ

  21. ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา • มีกัลยาณมิตรหมายถึง รู้จักหาผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อน หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่ดี ที่เกื้อกูล กระต้นให้เกิดปัญญา ตลอดจนรู้จักเลือกใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์

  22. ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา • โยนิโสมนสิการหมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น คือ มองสิ่งทั้งหลายด้วยความพิจารณาสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย จนเข้าถึงความจริง และแก้ปัญหาหรือทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้

  23. ๑) คิดอะไรก็ให้มีวิธีคิด ๒) ตั้งดวงจิตแน่วแน่ไม่แปรผัน ๓) ใช้เหตุผลแก้ปัญหาสารพัน ๔) ต้องใจมั่นตามครรลองมองแง่ดี วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

  24. เมื่อจิตอ่อนโยนมีศรัทธาย่อมพร้อมที่จะพัฒนาไปตามลำดับ ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า อนุบุพพสิกขา หรือ “แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม” คือการเรียนไปตามลำดับ ๗ ขั้น ดังนี้ ความศรัทธาเป็นรุ่งอรุณแห่งการศึกษา

  25. ๑) มีศรัทธาแล้วเข้าไปหาอาจารย์ ๒) ศึกษาคำสอนของท่าน ๓) จดจำเรื่องที่ศึกษา ๔) พิจารณาความหมายของคำที่จดจำมานั้น ๕) เกิดความเข้าใจเพราะเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบ ๖) เกิดฉันทะ คือ ความพอใจ การศึกษาต้องสร้างฉันทะนี้ให้ได้ ๗) อุตสาหะ คือรับไปปฏิบัติ แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม

  26. วุฒิธรรม ๔ หลักสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ค. ทำตามหลักเสริมสร้างปัญญา • ๑) เสวนาผู้รู้ คือ รู้จักเลือกหาแหล่งวิชา คบหาท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณความดี มีภูมิธรรมภูมิปัญญาน่านับถือ

  27. วุฒิธรรม ๔ • ๒) ฟังดูคำสอน คือ เอาใจใส่สดับตรับฟังคำบรรยาย คำแนะนำสั่งสอน แสวงหาความรู้ ทั้งจากตัวบุคคล และจากหนังสือ

  28. วุฒิธรรม ๔ • ๓) คิดให้แยบคาย คือ รู้ เห็นได้อ่าน ได้ฟังสิ่งใด ก็รู้จัก คิดพิจารณาด้วยตนเอง โดยแยกแยะให้เห็นสภาวะและสืบสาวให้เห็นเหตุผล

  29. วุฒิธรรม ๔ • ๔) ปฏิบัติให้ถูกหลัก นำสิ่งที่ได้เล่าเรียนรับฟังและตริตรองเห็นชัดแล้ว ไปปฏิบัติหรือลงมือทำ ให้ถูกต้องตามหลักตามความมุ่งหมาย

  30. คือจะศึกเล่าเรียนอะไร ก็ทำตนให้เป็นพหูสูตในด้านนั้น ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แจ่มแจ้งชัดเจนถึงขั้นครบองค์คุณของพหูสูต (ผู้ได้เรียนมาก หรือ ผู้คงแก่เรียน)๕ ประการ คือ ง. ศึกษาให้เป็นพหูสูต

  31. องค์คุณของพหูสูต ๕ • ๑) ฟังมาก คือ เล่าเรียนสดับฟัง รู้เห็น อ่าน สั่งสม ความรู้ ในด้านนั้นไว้ให้มากมายกว้างขวาง

  32. องค์คุณของพหูสูต ๕ • ๒) จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ท่องจำเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระไว้ได้แม่นยำ

  33. วิธีเรียนดี “จำขึ้นใจ ในวิชา ดีกว่าจด จำไม่หมด จดไว้ดู เป็นครูสอน ทั้งจดจำ ทำวิชา ให้ถาวร อย่านิ่งนอน รีบจำ หมั่นทำเอย”

  34. องค์คุณของพหูสูต ๕ • ๓) คล่องปาก คือ ท่องบ่น หรือใช้พูดอยู่เสมอ จนแคล่วคล่องจัดเจน ใครสอบถามก็พูดชี้แจงแถลงได้

  35. องค์คุณของพหูสูต ๕ • ๔) เจนใจ คือ ใส่ใจนึกคิดจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัดเจน มองเห็นโล่งตลอดไปทั้งเรื่อง

  36. องค์คุณของพหูสูต ๕ • ๕) ขบได้ด้วยทฤษฎี คือ เข้าใจความหมายและเหตุผลแจ่มแจ้งลึกซึ้ง รู้ที่ไปที่มา และความสัมพันธ์ของเนื้อความ

  37. “ถ้าหมั่นเรียน เรียนอะไร ก็ต้องรู้ ถ้าหมั่นดู ดูอะไร ก็ต้องเห็น ถ้าหมั่นทำ ทำอะไร ก็ต้องเป็น ถ้าไม่เล่น หมั่นแต่ทำ จักจำเริญ” ถ้าหมั่นเรียน

  38. “ถ้าคร้านเกียจ เรียนอะไร ก็ไม่รู้ ถ้าคร้านดู ดูอะไร ก็ไม่เห็น ถ้าคร้านทำ ทำอะไร ก็ไม่เป็น ต้องลำเค็ญ เป็นขอทาน เพราะคร้านเอย” ถ้าเกียจคร้าน

  39. องค์คุณของพหูสูต ๕ ฟังมาก จำได้ คล่องปาก เจนใจ ขบได้ด้วยทฤษฎี

  40. คุณธรรมพื้นฐาน คือ ความกตัญญูกตเวที • กตัญญู = รู้คุณ • กตเวที = ตอบแทนคุณ

  41. “พ่อแม่ไม่มี เงินทอง จะกองให้จงตั้งใจ พากเพียร เรียนหนังสือหาวิชา ความรู้ เป็นคู่มือเพื่อยึดถือ เอาไว้ ใช้เลี้ยงกาย พ่อกับแม่ มีแต่ จะแก่เฒ่าจะเลี้ยงเจ้า เรื่อยไป นั้นอย่าหมายใช้วิชา ช่วยตน ไปจนตายเจ้าสบาย แม่กับพ่อ ก็ชื่นใจ” จดหมายถึงลูก กตัญญูกตเวทีต่อ พ่อแม่

  42. หน้าที่บุตรที่ดี “อันลูกดี มีองค์ห้า ท่านว่าไว้ ๑. เอาใจใส่ บำรุงเลี้ยง พ่อแม่ตน ๒. พึงขวนขวาย ช่วยทำงาน ทุกแห่งหน ๓. รีบสร้างตน เป็นคนดี ในสกุล ๔. ช่วยรักษา สมบัติท่าน ที่ให้ไว้ ๕. ส่งผลบุญ ไปให้ เมื่อท่านสูญ สมบัติ คือหน้าที่ ลูกเพิ่มพูน ไม่เสื่อมสูญ หมั่นทำไว้ ได้เจริญ”

  43. ลด ละ เลิก อบายมุข ๖ ผีร้าย • ผีที่หนึ่ง ชอบสุรา เป็นอาจิณ ไม่ชอบกิน ข้าวปลา เป็นอาหาร • ผีที่สอง ชอบเที่ยว ยามวิกาล ไม่รักบ้าน รักลูก รักเมียตน

  44. ลด ละ เลิก อบายมุข ๖ ผีร้าย • ผีที่สาม ชอบดู การละเล่น ไม่ละเว้น บาร์คลับ ละครโขน • ผีที่สี่ คบคนชั่ว มั่วกับโจร หนีไม่พ้น อาญา ตราแผ่นดิน

  45. ลด ละ เลิก อบายมุข ๖ ผีร้าย • ผีที่ห้า ชอบเล่นม้า กีฬาบัตร สารพัด ถั่วโป ไฮโลสิ้น • ผีที่หก เกียจคร้าน การทำกิน มีทั้งสิ้น หกผี อัปรีย์เอย

  46. กตัญญูกตเวทีต่อ พ่อแม่

  47. ไม้เท้าคนเฒ่า ยังดีกว่า ลูกเต้าอกตัญญู “มีไม้เท้า ใช้ยัน ยุดกันร่าง คลำหาทาง แกว่งกวัด สัตว์ร้ายหนี ป้องกันตัว ติดตน ผลทวี ดีกว่ามี ลูกรั้น อกตัญญู”

  48. กตัญญูกตเวทีต่อ ครูอาจารย์ “ศรต้องมีพิษ ศิษย์ต้องมีครู ศิษย์มีครู เหมือนงูมีพิษ ศิษย์ไม่มีครู เหมือนงูไม่มีพิษ ศิษย์ดีต้องมีคุณธรรม ศิษย์ไม่ได้ความ คุณธรรมไม่มี”

  49. “พระคุณที่สาม งดงามแจ่มใส แต่ว่าใครหนอใคร เปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง พลาดจากความจริง ยิ่งเห็นว่าผิดทาง มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู บุญเคยทำมาแต่งปางใด ใดเรายกให้ท่าน ตั้งใจกราบกราน ระลึกคุณท่านกตัญญู โรคและภัยอย่าหมายแผ้วพานคุณครู ขอกุศลผลบุญค้ำชู ให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร์..” กตัญญูกตเวทีต่อ ครูอาจารย์

  50. ๑) ต้องมีความเคารพ ๒) คบการศึกษา ๓) กล้ารับความผิด ๔) คิดช่วยครู ๕) กตัญญูต่อสถาบัน หน้าที่ของศิษย์ที่ดี

More Related