1 / 37

จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท

จักรวาลในพุทธปรัชญา หัวข้อในการนำเสนอ ความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยา, จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท, โลกในพุทธปรัชญาเถรวาท, การกำเนิดและความเสื่อมของจักรวาล, โลกและมนุษย์

padvee
Download Presentation

จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาทจักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท

  2. หัวข้อในการนำเสนอ • ความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยา • จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท • โลกในพุทธปรัชญาเถรวาท • การกำเนิดและความเสื่อมของจักรวาล โลกและมนุษย์

  3. ความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยาความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยา

  4. ความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยาความรู้เบื้องต้นเรื่องจักรวาลวิทยา • “จักรวาล” หมายถึง • ปริมณฑล ประชุม หมู่ บริเวณโดยรอบของโลก (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน) • “จักรวาลวิทยา” หมายถึง • ความรู้ที่ว่าด้วยเรื่องโลกและบริเวณโดยรอบของโลก หรือความรู้เกี่ยวกับโลกและสรรพสิ่ง ๑ ๑

  5. จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาทจักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท • จักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ • การศึกษาเรื่องความเป็นไปของโลก จักรวาล และสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และการเสื่อมสลายไป โดยการศึกษาจากคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เพื่อเตือนสติให้ผู้ศึกษาเข้าใจชีวิตได้อย่างถูกต้อง

  6. จักรวาลทางพุทธปรัชญา จักรวาลทางวิทยาศาสตร์ ๒ ๒

  7. ลักษณะของ “จักรวาล” • “จักรวาล” ตามรูปศัพท์ในภาษาบาลีท่านใช้คำว่า “จกฺกวาฬ” • ซึ่งวิเคราะห์ตามศัพท์ว่า ย่อมผันไปราวกะจักร อธิบายว่า เคลื่อนไป คือ หมุนไป ราวกะล้อของรถ คือ ย่อมเป็นวงกลมราวกะล้อรถ พระสิริมังคลาจารย์, จักรวาฬทีปนี, หน้า ๑.

  8. ขอบเขตและจำนวนของจักรวาลขอบเขตและจำนวนของจักรวาล • ในโรหิตัสสสูตร ที่ ๑ ขยายนัยของประเด็นนี้เอาไว้ว่า • “ฤาษีตนหนึ่งชื่อ “โรหิตัสสะ” มีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ มีความปรารถนาที่จะค้นพบเส้นขอบแห่งจักรวาลที่สุดแห่งโลก ท่านงดเว้นการกิน การดื่ม การขับถ่าย การนอนหลับพักผ่อน แล้วเหาะไปหาที่สุดแห่งจักรวาล ก็ไม่พบเส้นขอบของโลกและจักรวาลสักที พบแต่ความกว้างไกลหาที่สุดมิได้” ดูรายละเอียดใน องฺ.จตุกฺก (ไทย) ๒๑/๔๕/๗๓-๗๕. ๓

  9. ขอบเขตและจำนวนของจักรวาลขอบเขตและจำนวนของจักรวาล • ในจูฬนิกาสูตรได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ว่ามีโลกธาตุอื่นๆ อีกจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน “อานนท์ (โลก) นี้เรียกว่าโลกธาตุ ขนาดเล็ก ซึ่งมีจำนวน ๑,๐๐๐ จักรวาล โลกคูณด้วยส่วนพันแห่งโลกธาตุขนาดอย่างเล็ก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ จักรวาลนั้น เรียกว่า โลกธาตุขนาดกลาง ซึ่งมีจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล โลกคูณด้วยส่วนพันแห่งโลกธาตุขนาดกลางมีล้านจักรวาลนั้น เรียกว่าโลกธาตุขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล” ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก.(ไทย) ๒๐/๘๑/๓๐๖. ๔

  10. ขอบเขตและจำนวนของจักรวาลขอบเขตและจำนวนของจักรวาล • ในทัศนะของอรรถกถาจารย์ • “จักรวาลหนึ่งมีความยาว ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ แผ่นดินนั้นมีความหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ น้ำสำหรับรองแผ่นดินนั้น มีความหนาประมาณ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ และมีลมสำหรับรองรับน้ำนั้น ขยายอาณาเขตไปจนถึงท้องฟ้าประมาณ ๙๖,๐๐๐ โยชน์” วิ.อ. (บาลี) ๑/๑/๑๑๐. อ้างใน พระมหาหรรษา, พุทธจักรวาลวิทยา, หน้า ๑๘ ๕

  11. อนนฺตานิ จกฺกวาฬานิจักรวาลนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด วิสุทฺธิ. (บาลี) ๑/๑๓๗/๒๒๖.

  12. นักดาราศาสตร์เหล่านี้ก็เชื่อว่า จักรวาลมีความกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขต หรือที่สิ้นสุดมิได้

  13. องค์ประกอบของจักรวาล ในจูฬนิกาสูตร • “ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป ๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่าสหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก” ดูรายละเอียดใน องฺ.ติก.(ไทย) ๒๐/๘๑/๓๐๖-๓๐๗. ๓

  14. องค์ประกอบของจักรวาล • มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ส่วนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ทั้งหลาย คือ เทหวัตถุหมุนเวียนรอบเขาพระสุเมรุ • ดังที่พรรณนาไว้ใน มันธาตุราชชาดก ว่า : • “พระจันทร์ พระอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนรอบเขาสิเนรุราช ส่องรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศโดยกำหนดที่เท่าใด” ขุ.ชา.ติก (ไทย) ๒๗/๒๒/๑๒๔. ๓

  15. องค์ประกอบของจักรวาล ๓ ๖

  16. องค์ประกอบของจักรวาล

  17. โลกในพุทธปรัชญาเถรวาทโลกในพุทธปรัชญาเถรวาท

  18. โลกคืออะไร ??? • ความหมายในเชิงมนุษย์ศาสตร์ • “โลก” หมายถึง หมู่มนุษย์ “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงเที่ยวไป เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข และเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก” • คำว่าโลก มาจากคำว่า “โลกานุกัมปายะ” วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐ ๗ ๔

  19. โลกคืออะไร ??? • ความหมายในเชิงภูมิศาสตร์ • “โลก” หมายถึง แผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์ “เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี ถึงที่สุดของโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เป็นผู้สงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้วย่อมไม่ปรารถนาโลกนี้ และโลกอื่น” สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๐๗/๑๑๙

  20. โลกคืออะไร ??? • ความหมายในเชิงจริยศาสตร์ • “โลก” คือ สังขาร “นี่แนะอาวุโส เราบัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก ความดับโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในร่างกายอันยาวประมาณ ๑ วา มีสัญญาและใจ” สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๑๐๗/๑๑๙

  21. โลกคืออะไร ??? • ความหมายในเชิงจิตวิทยา • “โลก” ได้แก่ ความแตกสลาย “อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดาสิ่งนั้นเราเรียกว่า “โลก” ก็อะไรเล่าชื่อว่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดาสลาย คือ จักขุ....รูป...จักขุวิญญาณ...จักขุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดาแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา” ดูรายละเอียดใน สํ.สฬา. (ไทย) ๑๘/๘๔/๗๗.

  22. กล่าวโดยสรุปโลกคือ..... • คำว่า “โลก” จากความหมายโดยภาพรวมของพระพุทธเจ้านั้นครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต นั่นเอง

  23. โลกมีกี่ประเภท ????

  24. แบ่งประเภทของโลกในเชิง ภูมิศาสตร์ (๑) มนุษยโลก หมายถึง หรือโลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ (๒) เทวโลกหมายถึง โลกที่เทวดาอาศัยอยู่ (๓) พหรมโลกหมายถึง โลกที่พรหมอาศัยอยู่

  25. แบ่งประเภทของโลกในเชิง จริยศาสตร์ (๑) กามโลก หมายถึง โลกของหมู่สัตว์ผู้เกี่ยวข้องอยู่ในกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น (๒) รูปโลก หมายถึง โลกของหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหม ๑๖ ชั้น (๓) อรูปโลก หมายถึง โลกของหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม ๔ ชั้น

  26. แบ่งโลกตามทัศนะของพระพุทธโฆษาจารย์แบ่งโลกตามทัศนะของพระพุทธโฆษาจารย์ (๑) โอกาสโลก หมายถึง โลกคือแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (๒) สังขารโลก หมายถึง โลกคือสังขาร ของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมไปถึงการปรุงแต่งทางอารมณ์ด้วย (๓) สัตวโลกหมายถึง โลกคือหมู่สัตว์ ซึ่งได้แก่สัตว์ในภูมิต่างๆ

  27. ๑. โลกภายใน ๒. โลกภายนอก • เมื่อกล่าวโดยรวมแท้จริงแล้วโลกมี ๒ ประเภทเท่านั้น คือ ๘

  28. โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ???

  29. มูลเหตุของการเกิดขึ้นของโลกมูลเหตุของการเกิดขึ้นของโลก - พระเจ้าเป็นผู้สร้าง - ทฤษฎีบิ๊กแบง - เกิดขึ้นจากพัฒนาการของธรรมชาติ และสรรพสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ๕ ๙

  30. ในทัศนะของพุทธปรัชญาโลกเกิดจาก ??? เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๓๗/๗๙. ๑๐

  31. วิเคราะห์อัคคัญญสูตร • แรกเริ่มนั้นโลกถูกห้อหุ้มด้วยน้ำและปกคลุมด้วยความมืดมิด ไม่มีดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ส่องแสง • เมื่อง้วนดินปรากฏขึ้น เพราะความหอมของง้วนดิน จึงทำให้เทวดาที่ลงมาจุติเป็นมนุษย์พากันชิมง้วนดิน • เป็นเหตุทำให้มนุษย์ติดใจในรสชาติของง้วนดิน • หลังจากนั้น เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ปรากฏ กลางวัน กลางคืนก็ปรากฏขึ้น ดูรายละเอียดใน ที.ปา. ๑๑/๑๑๑-๑๔๐/๘๔-๑๐๒ ๗ ๑๑

  32. โลกจะสิ้นสุดอย่างไร ???

  33. ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๘/๒๘. • “มีบางสมัยบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลอันยืดยาว โลกนี้จะพินาศไป” • “โลกนี้จะถูกทำลายด้วยไฟ”” องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๖๖/๑๓๒-๑๓๖ ๑๒ ๘

  34. บทสรุป • จักรวาลและโลกเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุและปัจจัย มิได้มีผู้สร้างหรือบันดาลให้เกิดขึ้น • การแสวงหาจุดกำเนิดโลกและจักรวาลนั้นเป็น “อจินไตย” • แต่จุดมุ่งหมายหลักในการนำเสนอเกี่ยวกับโลกและจักรวาลของพระพุทธเจ้านั้น มีเป้าหมายเพียงเพื่อแง่มุมทาง จริยศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่ความจริงสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ “นิพพาน” นั่นเอง..... ๙ ๑๓

  35. หากผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ สวัสดีครับ......

  36. ติดตามผลงานอื่นๆ ของเราได้ที่ www.padvee.com

More Related