1 / 0

บทที่ 4

บทที่ 4. สื่อโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ Online Advertising. ความหมายของการโฆษณาออนไลน์.

otis
Download Presentation

บทที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4

    สื่อโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ Online Advertising
  2. ความหมายของการโฆษณาออนไลน์ ความหมายของการโฆษณาออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) เป็นรูปแบบการให้ข้อมูล (Information) เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจ และก่อให้เกิดการซื้อขายกันตามมา โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) โดยเป็นการส่งข้อความที่เป็นทางการที่ดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้าผสมผสานเข้ากับสื่อน่าสนใจต่าง ๆ ได้แก่ อักษรเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การโฆษณาแบบ Contextual Ads สำหรับการแสดงผลบนเครื่องมือค้นหา (Search Engine), ป้ายโฆษณา (Banner Ads) , เครือข่ายโฆษณา (Advertising Networks) และ e-mail Marketing ซึ่งรวมถึง การส่ง e-mail โดยวิธี Spam เป็นต้น
  3. การโฆษณาผ่านป้ายโฆษณา (Banner Advertising) ป้ายโฆษณา (Banner) เป็นการแสดงโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตในรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้โฆษณานิยมใช้เพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ โดยป้ายโฆษณาจะเป็นวัตถุขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือจัตุรัส มีขนาดแตกต่างกันมีหน่วยเป็น Pixel มีการนำข้อความ รูปภาพ เป็นส่วนประกอบในการจัดทำ มีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของผู้โฆษณา หรือรายละเอียดของโฆษณาซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์แค่หน้าเดียว ส่วนมากป้ายโฆษณาออนไลน์จะมีลักษณะเป็นข้อความสั้น ๆ โดยเป็นข้อความเชิงการตลาดที่สั้นแต่จับใจความได้ และภาพกราฟิกเล็ก ๆ ที่สร้างความสนใจ เชิญชวน ดึงดูดให้มาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ป้ายโฆษณาสามารถจัดหาได้หลายรูปแบบ เช่น จ่ายค่าโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนโฆษณากับพันธมิตรธุรกิจ หรือลงในเว็บที่ให้ประกาศได้ฟรี
  4. รูปแบบการโฆษณาด้วยป้ายโฆษณา (Banner) Keyword Bannerป้ายโฆษณาที่ปรากฏก็ต่อเมื่อถูกค้นพบจากเครื่องมือ Search Engine โดยจะมีประสิทธิภาพมากสำหรับบริษัทที่ต้องการจำกัดขอบเขตของกลุ่มเป้าหมาย ปรับให้ตรงความต้องการของผู้โฆษณาเป็นลักษณะโฆษณาแบบ 1 ต่อ 1 Random BannerหรือRotation Bannerป้ายโฆษณาที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ถูกสุ่มไปทุกครั้งเมื่อมีการเปิดหน้าเว็บใหม่ Banner Swappingเป็นการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนป้ายโฆษณาระหว่างเว็บไซต์กับเว็บไซต์โดยตรง เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ยุ่งยากต่อการจัดเรียง Banner Exchange เป็นการแลกเปลี่ยนโฆษณาที่ง่าย จับคู่ระหว่างกันได้มากกว่า แลกกับหลาย ๆ เว็บไซต์ได้
  5. มาตรฐานป้ายโฆษณา ป้ายโฆษณามีอยู่ด้วยกันหลายขนาด หลายชนิดตามแต่ละเว็บไซต์ ได้กำหนดขึ้นโดยประมาณ 90% จะมีความกว้างอยู่ระหว่าง 120-500 IMU (IMU คือ Interactive Marketing Units) หรือในทางออกแบบใช้เป็นพิกเซล ความสูงอยู่ที่ 45-120 IMU หน่วยงานระดับสากลได้แก่ www.IAB.net (Interactive Advertising Bureau) และ CASIE (Coalition for Advertising Supported Information and Entertainment) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานของป้ายโฆษณา เพื่อให้ถือเป็นมาตรฐานร่วมกัน ซึ่งสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association-www.webmaster.or.th) ก็ได้นำมาตรฐานดังกล่าวมาอ้างอิงการในการลงโฆษณาในเว็บไทยเช่นกัน
  6. โฆษณาแถบยาวและปุ่ม (Banner and Buttons) Banner หรือ Electronic Billboards เป็นป้ายโฆษณาที่บรรจุด้วยข้อความสั้น หรือรูปภาพ เพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อขายสินค้า Leader Boardป้ายโฆษณาขนาดใหญ่พิเศษ 728x90 IMU มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ นิยมไว้บนสุด นำสื่อ Multimedia ในลักษณะ Rich Media มาประกอบ Full Bannerป้ายโฆษณาขนาด 468x60 IMU นิยมใช้กันมาก ส่วนใหญ่จะไปวางไว้บนสุดหรือล่างสุดของหน้าเว็บไซต์ Half Bannerป้ายโฆษณาขนาด 234x60 IMU ส่วนใหญ่นำมาตัดใส่ด้านบนในส่วนต่อจาก Logo เว็บไซต์ Vertical Bannerป้ายโฆษณาขนาด 120x240 IMU นิยมไปวางในขอบขวา หรือขอบด้านหนึ่งของเว็บไซต์ เนื่องจากใช้แสดงพื้นที่ในแนวดิ่ง ไม่รบกวนพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้แสดงเนื้อหาของเว็บไซต์มากนัก
  7. โฆษณาแถบยาวและปุ่ม (Banner and Buttons) Buttonเป็นป้ายโฆษณาแบบปุ่ม เป็นรูปภาพที่มีขนาดเล็กกว่าป้ายโฆษณาทั่วไป จึงเรียกว่า “ปุ่ม” Micro Barเป็นป้ายโฆษณาขนาดเล็กที่สุดในมาตรฐาน ที่มีขนาด 88x31 IMU นิยมใช้ในการแลกเปลี่ยน Link ระหว่างกันในหมู่เว็บไซต์
  8. ขนาดของโฆษณา Banner 728x90 IMU (Leader Board) อัตราส่วน 1:2 468x60 IMU (Full Banner) 234x60 IMU (Half Banner) 240x400 IMU (Vertical Rectangle) 120x240 IMU (Vertical Banner) 125x125 IMU (Square Banner) 120x90 IMU (Button 1) 120x60 IMU (Button 2)
  9. ขนาดของโฆษณา Banner อัตราส่วน 1:2 300x250 IMU (Medium Rectangle) 250x250 IMU (Square Pop-Up) 240x400 IMU (Vertical Rectangle) 336x280 IMU (Large Rectangle) 180x150 IMU (Rectangle)
  10. โฆษณาสี่เหลี่ยมและป๊อบ-อัพ (Rectangle and Pop-Up) Rectangleเป็นป้ายโฆษณาขนาดปกติ มีขนาดชัดมากทำให้มีเนื้อที่ที่สามารถออกแบบเนื้อหาได้ง่าย แต่การใช้เนื้อที่มากกินเนื้อที่ในเว็บส่งผลต่อภาพหลักของเว็บไซต์ที่ออกแบบได้ยากขึ้น Pop-Upเป็นรูปแบบการโฆษณาประเภทหนึ่งที่มีอัตราการคลิกสูงกว่าป้ายโฆษณาทั่วไปถึง 13 เท่า มีลักษณะปรากฏขึ้นอัตโนมัติอีกหน้าต่างหนึ่ง ที่ด้านหน้าของ Active Windows เมื่อได้รับการกระทำ(Action) นอกจากนี้ยังมีโฆษณาอีกประเภทเรียกว่า Pop-Under เป็นโฆษณาที่ปรากฏขึ้นภายใต้ Active Windows เมื่อเราทำการปิด Windows ที่ใช้งาน Pop-Under ก็จะปรากฏออกมา ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกรำคาญ จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมป้องกัน Pop-Up และได้มีการติดตั้ง Pop-Up Stopper ในโปรแกรม Internet Explorer โดยผู้เข้าเยี่ยมชมจะต้องอนุญาตเสียก่อนจึงจะเห็นโฆษณา ความนิยมใช้จึงลดน้อยลง
  11. ขนาดของโฆษณา Banner *New*300x100 IMU (3:1 Rectangle) *New*720x300 IMU (Pop-Under)
  12. ตัวอย่าง Popup Ad
  13. โฆษณาแบบทรงสูง (Skyscrapers) ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะแคบแต่สูง มักจะวางไว้อยู่ที่ริมด้านขวาของหน้าเว็บไซต์ จะกินเนื้อที่ในพื้นที่ของหน้าเว็บไซต์ค่อนข้างมาก มักจะนำสื่อ Multimedia มาผสมผสาน เพื่อสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้น รูปแบบแพ็คเกจโฆษณามาตรฐาน ได้แก่ ป้ายโฆษณา 728x90 IMU (Leader Board), 300x250 IMU (Medium Rectangle) , 180x150 IMU (Rectangle), 160x600 IMU (Wide Skyscraper) นอกจากนี้ยังมีป้ายโฆษณาอันไม่พึงประสงค์ เช่น Spyware Banner เป็นรูปแบบโปรแกรมที่ทำการสนับสนุนโฆษณา โดยผู้เยี่ยมชมเว็บได้รับและติดตั้งโดยไม่ได้ตั้งใจ
  14. ขนาดของโฆษณา Banner 160x600 IMU (Wide Skyscraper) *New*120x600 IMU (Skyscraper) 300x600 IMU (Half Page Ads)
  15. หลักในการพิจารณาทำป้ายโฆษณา หลักในการพิจารณาทำป้ายโฆษณา ประเมินงบประมาณ สำหรับการโฆษณาว่ามีมากน้อยเพียงใด ตัดสินใจว่าจะทำการบริหารดูแลโฆษณาด้วยตนเองหรือใช้บริการเครือข่ายโฆษณา หรือตัวแทนโฆษณา ซึ่งจะมีการเก็บค่าบริการ พิจารณาถึงเว็บไซต์ว่าจะต้องมีคนสนใจที่จะซื้อสินค้าของธุรกิจมากขึ้น ซึ่งต้องเลือกเว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมมีความสนใจในสิ่งที่ธุรกิจกำลังนำเสนอ ผู้ลงโฆษณาต้องทำการพิจารณาถึงข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของเว็บที่จะทำการลงโฆษณา เช่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเว็บไซต์และผู้ดูแลเว็บ, ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์, ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติความนิยมของเว็บ จำนวนหน้าเว็บเพจ จำนวนสมาชิกที่เข้าชม หรือลงทะเบียน, ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและราคาค่าโฆษณา พิจารณาประเภทของโฆษณา เช่น ขนาด ตำแหน่ง ความถี่ในการนำเสนอ
  16. วิธีการออกแบบป้ายโฆษณา วิธีการออกแบบป้ายโฆษณา ข้อความ เนื้อหา คำพูด ต้องมีลักษณะจูงใจ ดึงดูดใจ นำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า เช่น “คลิกด่วน”, “กดที่นี่”, “โอกาสสุดท้าย”, “ฟรี”, “คุณคือผู้โชคดี”, “ลุ้นโชค”, “ถูกที่สุด”, “ดีที่สุด” เป็นต้น ภาพประกอบ น่าสนใจ เกิดอารมณ์ร่วม Theme และสีที่ใช้ในการออกแบบต้องโดดเด่น ขนาดไฟล์ของป้ายโฆษณาที่มีขนาดใหญ่ การออกแบบหน้าแสดงผลต้องให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่จัดทำและสื่อให้เห็นตรงกับข้อความที่โฆษณา ควรจัดให้อยู่ภายในหน้าเดียวไม่ต้องคลิกไปหลายชั้น ทำการทดสอบจริงก่อนนำไปขึ้นจริง ว่าแสดงผลได้ตามต้องการมีผลกระทบต่อการใช้โปรแกรม Web Browser ที่แตกต่างกันหรือไม่ เนื่องจากป้ายโฆษณาออนไลน์ถูกแสดงตลอดเวลา จึงควรทำการปรับเปลี่ยนป้ายบ่อย ๆ หรือมีการสำรองเอาไว้ล่วงหน้า
  17. เทคนิคในการลงโฆษณาออนไลน์ เทคนิคในการลงโฆษณาออนไลน์ เลือกโฆษณาในเว็บไซต์หรือหมวดหมู่ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย กำหนดตำแหน่ง หรือพื้นที่ในการแสดงโฆษณา เพื่อให้มีโอกาสผ่านสายตาผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มากที่สุด อาจเลือกให้อยู่หน้าแรก ตำแหน่งบนของเว็บให้ง่ายต่อการมองเห็น หลีกเลี่ยงการลงป้ายโฆษณาบางประเภท เช่น Pop Up , Pop Under, Floating Ad แม้ว่าสังเกตง่าย แต่อาจเป็นการรบกวนผู้เยี่ยมชมและนำไปสู่ประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อสินค้าเราได้
  18. การพิจาณาค่าใช้จ่ายจากการลงโฆษณา การพิจาณาค่าใช้จ่ายจากการลงโฆษณา CPI หรือ CPM (cost per impression) การคิดราคาค่าโฆษณาต่อการแสดงผล CPC (Cost Per Click) คิดราคาต่อจำนวนครั้งของการคลิกป้ายโฆษณา Fixed Fee เป็นการคิดราคาโฆษณาโดยเหมาเป็นรายเดือน Cost Per Lead การคิดราคาโดยวัดจากจำนวนผู้แสดงความต้องการที่จะซื้อสินค้า
  19. ปัจจัยในการพิจารณาอัตราค่าโฆษณา ปัจจัยในการพิจารณาอัตราค่าโฆษณา ความนิยมของเว็บไซต์ที่เราสนใจที่จะทำการโฆษณา ขนาดและประเภทองโฆษณา ตำแหน่งการวางป้ายโฆษณา จำนวนโฆษณาที่ถูกแบ่งในตำแหน่งเดียวกัน จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่แสดงทั้งหมดของการโฆษณา(ROS:Run of Sited) ความถี่ ความยาว หรือความต่อเนื่องของการแสดงผลของป้ายโฆษณาเป็นอย่างไร
  20. การวัดผลสำเร็จจากการทำป้ายโฆษณา การวัดผลสำเร็จจากการทำป้ายโฆษณา Reachวัดความสำเร็จจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ Impressionเป็นการนับจำนวนครั้งของโฆษณาที่ได้ถูกแสดง โดยจะต้องแสดงผลผ่านทาง Web Browser จากแหล่งข้อมูลบน Web Server โดยตรง Click Ratioการวัดอัตราส่วนความสำเร็จที่ผู้เข้าชมได้ทำการคลิกป้ายโฆษณา
  21. การโฆษณาผ่าน Rich Media เป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับป้ายโฆษณามากขึ้น ด้วยการนำสื่อ Multimedia อื่น ๆ มาผสมเข้ากับป้ายโฆษณาแบบปกติ ด้วยการนำเทคโนโลยี Video Presentation และ Flash Animation เข้ามาใช้ประกอบ เราเรียกโฆษณาประเภทนี้ว่า Rich Media Banner
  22. การโฆษณาด้วยการแลกเปลี่ยน Link เป็นการสร้างพันธมิตรระหว่างกัน ด้วยการแลกเปลี่ยนการเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะต่างตอบแทนกัน โดยมีวัตถุประสงค์คือเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ส่งเสริมให้เว็บไซต์ที่เกิดใหม่สามารถค้นพบเจอได้จากการเชื่อมโยงผ่านเว็บต่าง ๆ และจะยิ่งได้ผลมากถ้าสามารถแลกเปลี่ยนกับเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และมีผู้เข้าเยี่ยมชมจำนวนมาก ดังนั้นข้อความ Link หรือป้ายโฆษณาที่ทำการแลกเปลี่ยนต้องน่าสนใจ ดึงดูดใจ หรือตรงความต้องการ
  23. รูปแบบการแลกเปลี่ยน Link แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) การแลก Link แบบต่างตอบแทน (Reciprocal Link) การแลก Link แบบนี้เป็นเงื่อนไขที่เว็บไซต์หนึ่ง โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ให้บริการ Submit Directory จะทำการสร้าง Link เชื่อมโยงให้แก่เว็บไซต์เรา ก็ต่อเมื่อทำการวาง Link ของเว็บไซต์เขาตอบแทนกลับมาก่อน 2) การแลก Link กันในกลุ่ม (Link Exchange) จะอนุญาตให้ทำการเลือกเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตร เพื่อที่จะทำการขอแลกเปลี่ยนการเชื่อมโยงระหว่างกันในกลุ่มพันธมิตร
  24. การตลาดด้วย Search Engine Search Engine แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ การค้นหาจาก Keyword เป็นเว็บที่ช่วยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือเนื้อหาในเว็บที่ได้ผ่านการสำรวจ และทำการบันทึกจัดเก็บข้อความที่อยู่ในโครงสร้างคำสั่งภาษา HTML อย่างน้อย 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บไซต์นั้น ๆ ไว้ในฐานข้อมูล ทำงานโดย Intelligence Agents ทำการสร้าง Index ขึ้นมา เช่น Google, Yahoo, MSN, ASK(Ask’s Web Crawler)
  25. การตลาดด้วย Search Engine การค้นหาจาก สารบัญเว็บไซต์ (Web Directory or Classified Directory) อาจจะเรียกว่า Subject Categories หรือ Subject Browsing เป็นเว็บที่ช่วยค้นหาข้อมูลโดยมีวิธีใช้เหมือนกับสมุดหน้าเหลือง ได้จัดดัชนีแบ่งตามเนื้อหาก่อนบันทึกลงในฐานข้อมูล การค้นหาแบบอ้างอิงชุดคำสั่ง Meta Tag (Meta Tag Engine) เป็นเว็บที่ช่วยค้นหาข้อมูลโดยอิงจากชุดคำสั่ง Meta Tag ที่เป็นชุดคำสั่งในการประกาศข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของหน้าเว็บไซต์เช่น ชื่อผู้พัฒนา,เจ้าของเว็บ, รายละเอียดของเว็บอย่างย่อ, คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหน้าเว็บ และคำสั่งในการควบคุม Search Engine ต่าง ๆ ซึ่งจะปรากฏในส่วน Head ของโครงสร้างภาษา HTML
  26. การตลาดด้วย Search Engine Subject Specific Search Engine หรือบางครั้งเรียก Subject Gateway เป็นเครื่องมือค้นหาในรูปแบบเดียวกับ Web Directory แต่จะมีความเฉพาะด้านมากกว่า คือ มีการสืบข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเนื้อหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (Subject Area) การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา เป็นรูปแบบการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ในการโปรโมตเว็บไซต์ ให้สามารถค้นหาหน้ารายละเอียดของการโฆษณา หรือหน้าเว็บไซต์หนึ่งได้โดยง่ายด้วยวิธีใด ๆ โดยทำการพิมพ์คำสำคัญ หรือเลือกดัชนีที่สนใจ โดยผู้ทำการตลาดสามารถเลือกคำเฉพาะหรือหมวดหมูเฉพาะให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการตลาด
  27. การตลาดด้วย Search Engine ประเภทของการทำ Search Engine Marketing ทำได้ 2 วิธีคือ 1. การทำการตลาดด้วยวิธีการทำอันดับ หรือ SEO (Search Engine Optimization)เป็นการปรับปรุงเว็บให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นจาก Search Engine แบ่งเป็น On Page Optimization การปรับแต่งเว็บไซต์จากปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ของเราเอง Off Page Optimization การปรับแต่งเว็บไซต์จากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบภายนอกเว็บไซต์ของเรา
  28. การตลาดด้วย Search Engine 2. การทำการตลาดด้วยการลงโฆษณากับ Search Engine(Paid Search Advertising) เป็นการจ่ายค่าโฆษณาเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นจาก Search Engine แบ่งเป็น Paid Placement การจ่ายค่าโฆษณาตามอัตราคงที่ Paid Inclusion การจ่ายค่าโฆษณาตามอัตราส่วน เช่น การจ่ายตามจำนวนที่ลูกค้าทำการคลิก
  29. การตลาดด้วย Search Engine ประโยชน์ของการทำ Search EngineMarketing ก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน ได้แก่ การทำเว็บไซต์ติดอันดับผลการค้นหาคำสำคัญ โดยเฉพาะ 1 ใน 20 อันดับแรก หรือติดตั้งโฆษณาใด ๆ บนหน้าแสดงผลการค้นหามีผลต่อการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในระดับสูง ช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้ตลอดเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ จะได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เนื่องจากผลการค้นหาจากผู้ใช้งานและการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก สามารถทำการเปลี่ยนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลายเป็นลูกค้าได้ โดยนำเสนอข้อความสื่อสารทางการตลาดในการจูงใจให้ซื้อสินค้าได้ ซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการและเพิ่มโอกาสทางการค้า นำมาสู่การเพิ่มผลกำไรทางธุรกิจ
  30. การตลาดด้วย Search Engine สามารถทำการตลาดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ของธุรกิจที่ยังไม่เป็นที่รู้จักให้สามารถเข้าเยี่ยมชมได้โดยสะดวก ตรงตามความต้องการของผู้ค้นหา และสามารถนำเสนอสินค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็วเหนือคู่แข่งขัน สามารถทำการตลาด โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และสามารถควบคุมงบประมาณตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย
  31. การตลาดด้วย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ e-mail Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่นำ e-mail มาใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นรูปแบบการตลาดทางตรงแบบหนึ่งซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ที่สามารถวัดผลตอบสนองได้โดยใช้ e-mail เป็นเครื่องมือสื่อสารถึงผู้รับปลายทางเพื่อประโยชน์ทางการค้าและการตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า (สร้างความเข้มแข็ง ความจงรักภักดีในตราสินค้า เกิดการซื้อซ้ำ ตามมา) รวมถึงส่งเสริมการรับรู้ เป็นการส่งข้อมูลไปยังลูกค้า เพื่อเป็นการค้นหาลูกค้าใหม่ หรือจูงใจลูกค้าเก่าให้ตัดสินใจซื้อสินค้าทันที ปัจจุบันนักการตลาดหันมาใช้ e-mail Marketing กันมากเนื่องจากมีประสิทธิภาพต้นทุนต่ำเมื่อเทียบต้นทุนโดยเฉลี่ย 200 บาทต่อ 1,000 e-mail กับ 30,000 บาทในการส่ง Direct Mail ทางไปรษณีย์ใน 1,000 ฉบับ
  32. ประโยชน์การนำ e-mail Marketing มาใช้ ประหยัด เป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ เป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิผล สามารถวัดผลหรือเช็คสถิติต่าง ๆ ได้ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า เช่นส่งสารหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเปิดตัวสินค้าใหม่ การจัดกิจกรรรมหรือโปรโมชั่น หรือสร้างแบบสอบถามผ่านออนไลน์เพื่อวัดระดับความพึงพอใจภายหลังได้ซื้อสินค้า บริการหลังการขายเป็นอย่างไร เพื่อปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น
  33. กระบวนการในการจัดทำ e-mail Marketing กำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์ในการจัดทำ e-mail Marketing ตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล การเลือกที่จะทำ e-mail เอง หรือใช้บริการมืออาชีพ (In-House or Outsource) การจัดหาและเก็บข้อมูล e-mail ของลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย
  34. ลักษณะรูปแบบในการแสดงผลของ e-mail e-mail ที่มีแต่ข้อความ(Plain-Text e-mail) มีลักษณะเนื้อหาประกอบด้วยข้อความเพียงอย่างเดียว มีการจัดรูปแบบตัวอักษร ช่องว่างและการขึ้นบรรทัดใหม่ ข้อดีคือขนาดในการรับส่งมีขนาดเล็ก ส่งได้รวดเร็ว อ่านได้ทั้ง Email Software และ Email Webbase ข้อด้อยกว่าคือจะสูญเสียการจัดรูปแบบอักษร ชื่ออักษร ขนาดอักษร แทรกรูปให้ปะปนกับข้อความไม่ได้ e-mail ที่มีแต่เนื้อหา (HTML e-mail หรือ Rich-Text e-mail) มีลักษณะเนื้อหาประกอบด้วยการจัดรูปแบบครบทุกรูปแบบ สามารถกำหนดรูปแบบอักษร แทรกภาพ ร่วมกับข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว มีข้อเสียคือขนาดในการส่งใหญ่ขึ้น
  35. หลักการออกแบบเนื้อหาของ e-mail ความน่าเชื่อถือของ e-mailคือ e-mail address หรือ ชื่อที่แสดงการรับ e- mail ควรเป็นที่เชื่อถือได้ เช่น e-mail ของบริษัทจะดีกว่าเมล์ส่วนตัว การออกแบบหัวเรื่องของ e-mailส่วนของ Subject ต้องมีความกระชับ ชัดเจน หรือจูงใจให้เปิดอ่าน ไม่ควรส่ง e-mail ที่ไม่มีหัวเรื่องเด็ดขาด การจัดส่งไปยังผู้รับ มีอยู่หลายวิธี (To,CC หรือ BCC) ในการส่งไปยังผู้รับโดยตรงหรือช่อง To โดยไม่มีสำเนาถึงผู้อื่น หรือเรียกว่าส่ง CC(Carbon Copy) เพราะการใช้กระดาษคาร์บอนซ้อนในการพิมพ์จดหมายเหมือนสมัยก่อนจะแสดงถึงการให้ความสำคัญแก่ผู้รับ วิธีการทำสำเนาทางอ้อมโดย BCC(Blind Carbon Copy) จะแสดงให้เห็นถึงผู้ส่งส่งให้โดยตรง จะไม่เห็นชื่อผู้รับคนอื่น ๆ ในรายชื่อผู้รับคนอื่น ๆ ด้วย
  36. การวัดประเมินผลจากการทำ e-mail Marketing อัตราการถูกตีกลับ (Bounce Rate)เป็นอัตราส่วนของที่อยู่ที่ไม่สามารถส่งได้ด้วยหลายเหตุผล เช่น ที่อยู่ไม่ถูกต้อง หรือยกเลิกการใช้งาน อัตราการเปิดอ่าน e-mail (Open Rate)เป็นตัววัดว่า e-mail ที่ส่งไปนั้นมีผู้คลิกเข้าไปอ่านกี่เปอร์เซ็นต์ ค่า Open Rate ที่ได้แสดงถึงความน่าเชื่อถือของผู้ส่ง e-mail ในความคิดของผู้รับว่าเหตุใดจึงเปิดอ่านหรือไม่อ่าน นอกจากนี้ยังแสดงถึงประสิทธิภาพของการตั้ง Subject ว่าดึงดูดให้ผู้รับเปิดอ่านมากน้อยเพียงใด Open Rate = จำนวน e-mail ที่ได้รับและเปิดอ่าน อัตราการคลิกผ่าน e-mail (Click Through Rate or CTR) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพของ Massage ที่ส่งไปว่าได้รับผลลัพธ์เช่นไร 100 จำนวน e-mail ที่ส่งออกไป
  37. การโฆษณาผ่านทาง Landing Page การโฆษณาผ่าน Landing Page หรือ Lead Capture Page หรือเรียกว่า “หน้าปิดการขายในหน้าเดียว” ปรากฏขึ้นหลังจากที่กลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าโดยทำการคลิกบนสื่อโฆษณาของเรา แล้วนำไปแสดงผลที่หน้า Landing Page แสดงเนื้อหาโดยขยายต่อจากเนื้อความเดิมของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยผ่านป้ายโฆษณา ,จากข้อความใน e-mail ,จากผลที่ได้จากการค้นหาด้วยเครื่องมือ Search Engine โดยทำการคลิก Link เชื่อมโยงไปหา ซึ่งมีความสำคัญต่อการปิดการขาย
  38. ส่วนประสมของ Landing Page แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Verbal Componentsคือ ส่วนของการโฆษณาที่เป็นคำพูด ข้อความโฆษณาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย ส่วนหัวเรื่อง (Head Line) ส่วนหัวเรื่องรอง (Sub Head Line) อธิบายเพิ่มเติมความหมายของหัวเรื่อง ข้อความโฆษณา (Body Copy) เนื้อหารายละเอียดที่จะอธิบายความหัวเรื่อง คำบรรยายใต้ภาพ (Caption) อธิบายความหมายหรือสื่อของภาพ ชื่อสินค้า (Brand Name) ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ใช้เป็นตัวแทนธุรกิจ คำขวัญ (Slogan) คำที่สะท้อนถึงคุณประโยชน์ของตราสินค้าของธุรกิจ ส่วนบรรทัดท้าย (Base Line) ผู้ให้การสนับสนุน ผู้ผลิต
  39. ส่วนประสมของ Landing Page 2. Non Verbal Componentsคือ ส่วนของโฆษณาที่เป็นสัญลักษณ์ ซึ่ง ประกอบด้วย ภาพประกอบ (Illustration) การจัดองค์ประกอบ (Layout) เช่น ตัวอักษร รูปแบบอักษร ขนาดอักษร สี เครื่องหมายการค้า (Brand Logo) เสียงประกอบ (Sound Effect), เสียงดนตรี (Music) หรือเพลงโฆษณา(Jingle) แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล หรือปุ่มสำหรับการชำระเงินโดยทันที
  40. ตัวอย่างกิจกรรมใน Landing Page
  41. หลักในการจัดทำ Landing Page กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำ Landing Page ว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องนำเสนอ (what), ใครคือเป้าหมายที่มาดู (who), ทำไมกลุ่มเป้าหมายต้องสนใจในสิ่งที่นำเสนอ (why), จะให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาทำอะไร(Call to Action) ออกแบบ Landing Page ให้ดูน่าสนใจ เนื้อหาในการนำเสนอในหน้า Landing Page ตัดเอาส่วนประกอบที่ไม่สำคัญออกไป สรุปให้จบภายในหน้าเดียว ให้กรอกแบบฟอร์มเฉพาะส่วนสำคัญ
  42. หลักในการจัดทำ Landing Page สร้างช่องทางในการซื้อได้ในทันที ทำการทดสอบ ติดตามและวัดผล
  43. ไวรัสทางการตลาด (Viral or Buzz Marketing) เป็นเทคนิคการตลาดที่อาศัยการเชื่อมโยงระหว่างกันในสังคมที่มีอยู่ก่อน แล้วเป็นตัวผลักดันให้เกิดการผลิตการรับรู้ในตราสินค้า โดยเป็นการสร้างกลไกตลาดโดยใช้แรงผลักดันด้าน “ความคิด” แทนที่จะเอาเงินจำนวนมากไปจ่ายค่าโฆษณาบนสื่อต่าง ๆ แต่เป็นการทำการตลาดโดยให้เหล่ามวลชนทำงานแทน ศ.Jeffrey F.Rayport ได้สร้างไวรัสทางการตลาดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2539 คือแบ่งปันสิ่งที่มีให้ผู้อื่นต่อไปเรื่อย ๆ หรือ แบบปากต่อปาก (Word of Mouth) ซึ่งบอกในแง่บวกหรือแง่ลบก็ได้ โดยใช้กระบวนการสร้างข่าว (Creating a Buzz) และใช้อำนาจของสื่อ จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคตัดสินใจซื้อจากการบอกต่อ ๆ กันไปถึง67% และซื้อจากโฆษณาที่เห็นเพียง 14%
  44. ไวรัสทางการตลาด (Viral or Buzz Marketing) การนำเอา Viral Marketing มาใช้บนโลกออนไลน์นั้น ช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต จากกระบวนการ Word of Web เช่น Webboard, Chat Room, Blog และ e-Mail รูปแบบของ Viral Marketing มีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ Traditional Viral Marketing Commerce Viral Marketing ProfessionalViral Marketing
  45. ไวรัสทางการตลาด (Viral or Buzz Marketing) Traditional Viral Marketingเช่น การส่งเมล์เพื่อลดราคาสินค้า เมื่อลูกค้าได้รับก็จะทำการส่งเมล์ไปหาคนรู้จักเพื่อบอกต่อ Commerce Viral Marketingเช่น การรับผลประโยชน์จากการสมัครสมาชิกและหากส่งเมล์ต่อไปหาผู้อื่น ผู้นั้นก็จะได้รับรางวัลด้วย ProfessionalViral Marketingเช่นการปล่อยข่าว ปล่อยกระแสผ่านเว็บไซต์หรือตาม Webboard
  46. เทคนิคการทำ Viral Marketing เรื่องที่ทำให้เกิดการพูดปากต่อปาก ทำให้คนทั่ว ๆ ไปรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สื่อโดยใจ หรือสร้างสิ่งกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก โดยเราต้องทำให้คนเกิดความรู้สึกต่อสื่อ ทำสิ่งที่ไม่คาดคิด อย่างใช้แค่การโฆษณาอย่างเดียว เน้นการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจด้วย สร้างผลลัพธ์ที่ต่อเนื่อง เช่น ภาคต่อของตอนแรกจาก Video Clip หรือเบื้องหลังการจัดทำ ทำให้คนเกิดความสนใจต่อเนื่อง ทำการกระจายเนื้อหาออกไป อนุญาตให้มีการแบ่งปันได้ การนำเอา Raid Marketing (การตลาดแบบจู่โจม) มาประยุกต์ใช้ เช่น Chat Room, Forums
  47. ต่อเนื้อหาในสัปดาห์ถัดไป ต่อเนื้อหาในสัปดาห์ถัดไป
  48. การตลาดด้วย Affiliate “การตลาดแบบร่วมมือ”, “การตลาดแบบพันธมิตร”, “การตลาดแบบฝากขาย” เรียกกันได้หลายแบบ การตลาดแบบนี้เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2539 เมื่อเว็บไซต์ CDNow ได้ออกแบบโปรแกรม BuyWeb สำหรับขาย CD ให้ค่ายเพลง Geffen Records โดยรูปแบบ Cost per Click คือเมื่อมีการคลิกผ่านเว็บไซต์สมาชิกมายังเว็บของเขาจะมีการแบ่งรายได้ให้กับเว็บสมาชิกด้วย ปัจจุบันการแบ่งค่าคอมมิชชั่นที่เกิดขึ้นจากหลายธุรกิจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของ Affiliate Marketing ให้ตื่นตัวมากขึ้น
  49. ตัวแทนขาย พาลูกค้า ไปให้เจ้าของสินค้า เจ้าของสินค้า ทำการปิดการขาย ลูกค้าที่ตัวแทนขายพามา ตัวแทนขายได้รับผลตอบแทน จากการช่วยพาลูกค้ามาซื้อสินค้าสำเร็จ กระบวนการ Affiliate Marketing
  50. แผนภาพการทำงานของ Affiliate Provider Model ตัวแทนขาย จะโฆษณาสินค้าแทนธุรกิจ เช่น ผ่านป้ายโฆษณา, Email เพื่อได้รับผลตอบแทนจากเจ้าของสินค้า
  51. ประโยชน์จาก Affiliate Marketing เข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็ว ผู้เข้าร่วมพันธมิตรสามารถทำธุรกิจได้โดยไม่ต้องมีสินค้าเป็นของตนเอง ลงทุนต่ำแต่รับผลตอบแทนจากการขายสูง
  52. ผลตอบแทนจาก Affiliate Marketing Cost Per Sale (CPS)ผลตอบแทนจากส่วนแบ่งของการขายสินค้า Cost Per Action (CPA)ผลตอบแทนเมื่อได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้จนสำเร็จ เช่น จากการซื้อสินค้า,จากการกรอกแบบฟอร์ม เป็นต้น Cost Per Lead (CPL)ผลตอบแทนจากการช่วยพาลูกค้าเข้ามาเพื่อให้ธุรกิจทำการปิดการขาย โดยให้ผลตอบแทนตามจำนวนการชักชวน Cost Per Click (CPC)ผลตอบแทนโดยการคิดค่าใช้จ่ายจากการนับจำนวนการคลิกโฆษณาที่เกิดขึ้นจากผู้ชมโฆษณาแล้วคลิกเพื่ออ่านรายละเอียดต่อ Cost Per Mille (CPM)ผลตอบแทนโดยการคิดค่าใช้จ่ายจากการนับจำนวนการแสดงโฆษณาเมื่อมีผู้เห็นครบ 1,000 ครั้ง
  53. การตลาดด้วย e-Marketplace e-Marketplace คือ ? เว็บไซต์ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัทจำนวนมาก มีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ของสินค้าอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้าจากร้านต่าง ๆ ภายในตลาดได้อย่างสะดวกง่ายดาย เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน รูปแบบของการสร้างเว็บไซต์เป็นแค็ตตาล็อกสินค้า เหมือนกับตลาดนัดออนไลน์ ขนาดใหญ่ เป็นที่สำหรับการค้าขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B: Business to Business)
  54. รูปแบบของ e-Marketplace ลักษณะของอุตสาหกรรม (Market Industry)เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลของธุรกิจ ให้บริการเฉพาะในอุตสาหกรรมเช่น www.farms.com หรือ www.foodmarketexchange.com สำหรับอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะซื้อขายทีละมาก ๆ เช่น ข้าว,กุ้ง ฯลฯ พื้นที่ที่ให้บริการ(Market Location)แยกตามพื้นที่หรือประเทศในการให้บริการเช่น www.BestSme.com เป็น e-Marketplace ของประเทศเกาหลี, www,bizviet.net ของประเทศเวียดนาม, www.Taradb2b.com ของไทย เปิดโอกาสให้คนไทยสามารถค้าขายกันในรูปแบบค้าส่ง หรือค้าจำนวนมาก สามารถสร้างแคตาล็อกฟรี สามารถทำได้ถึง 5 ภาษาเช่น ไทย จีน อังกฤษ ญี่ปุ่น เวียดนาม
  55. รูปแบบของ e-Marketplace ประเภทของการทำธุรกิจ(Business Type)แบ่งตามธุรกิจ เช่น B2C e-Marketplace คือตลาดกลางสินค้าระหว่างธุรกิจร้านค้าตรงไปยังคนทั่วไป โดยรูปแบบเหมือนกับ Shopping Mall ขนาดใหญ่สามารถซื้อสินค้าลักษณะขายปลีก จำนวนไม่มากผ่านระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) B2B e-Marketplace ตลาดกลางสินค้าระหว่างผู้ทำธุรกิจ ด้วยกันเอง เช่น การซื้อสินค้าหรือวัสดุจากผู้ผลิต เพื่อนำไปแปรรูปหรือไปขายยังผู้บริโภคอีกที โดยเป็นการซื้อทีละมาก ๆ ต้องมีการสอบถามราคา (Inquiry) เพื่อนำเสนอราคาในการซื้อขายแต่ละครั้ง
  56. บริการต่าง ๆ ใน e-Marketplace สารบัญธุรกิจ (Business Directory) แบ่งออกเป็นหมวดหมู่และประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สามารถค้นหา หรือเลือกดูสินค้าหรือบริษัท ที่ต้องการได้อย่างง่ายและสะดวก ประกาศความต้องการทางธุรกิจ (Trade Leads)เราสามารถประกาศต้องการซื้อ สินค้า วัตถุดิบ หรือต้องการขายสินค้าของเราในส่วนนี้ได้ โดยกรอกรายละเอียดและใส่รูปภาพสินค้าทำให้ผู้ค้า-ขายกับเราทั่วโลกสามารถเห็นความต้องการของเราและทำธุรกิจกับเราได้โดยตรง บริการจัดทำเว็บไซต์สำเร็จรูป หรือ แค็ตตาล็อกสินค้าออนไลน์ หลังจากสร้างเว็บไซต์แล้วชื่อเว็บไซต์เราจะถูกรวบรวมและแยกหมวดหมู่ไว้ในสารบัญธุรกิจในเว็บไซต์นั้นๆ และจะมีบริการส่งใบเสนอราคาออนไลน์
  57. การตลาดด้วยโทรศัพท์มือถือ (Mobile Marketing) เป็นกลยุทธ์ด้านการตลาดแนวใหม่ที่นำเทคโนโลยีทางโทรศัพท์มือถือมาประกอบใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง ทุกที่ ทุกเวลาทั่วโลก มีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่าชัดเจนกว่าสื่อโฆษณาประเภทอื่น เช่น ป้ายโฆษณาเคลื่อนที่ ที่ติดกับท้ายรถประจำทาง รถสามล้อ , การจัดขบวนคาราวานแรลลี่ เป็นต้น
  58. ข้อดีของ Mobile Marketing มั่นใจได้ว่าการโฆษณาสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้แน่นอนเพราะโทรศัพท์มือถือ ต้องพกพาติดตัวอยู่แล้ว เป็นสื่อรูปแบบใหม่ ช่องทางใหม่ ที่สร้างการรับรู้ สร้างความสัมพันธ์และการจดจำที่ดีแก่ลูกค้า สามารถสื่อสารระหว่างบุคคล ระดับมวลชน และเข้าถึงในระดับบุคคลได้ เข้าถึงผู้ใช้โทรศัพท์ได้หลายล้านคนในประเทศและต่างประเทศได้สะดวกรวดเร็ว สามารถทำการตลาดได้หลายรูปแบบ เช่น SMS Marketing, WAP Marketing, BlueCast Marketing เป็นต้น เทคโนโลยี 3G ทำให้การนำเสนอโฆษณาผ่านมือถือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  59. รูปแบบการโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ รูปแบบการโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ SMS (Shot Message Service) MMS (Multimedia Message Service) IVR (Interactive Voice Response) WAP Marketing Bluecast Marketing Proximity Advertising 2D Barcode Mobile Blog
  60. ประโยชน์การใช้ SMS สามารถส่งข้อความได้ทันทีรวดเร็ว ไม่สูญหาย ส่งข้อความได้ทั่วโลก ตามโครงข่ายของโทรศัพท์มือถือ ส่งข้อความได้ง่าย วิธีจัดส่งไม่ยุ่งยาก สามารถส่งได้ด้วยตนเอง สามารถคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ และสามารถทำการตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดต้นทุนการทำการตลาด แต่มีประสิทธิผลเข้าถึงความเป็นบุคคลสูง
  61. เทคนิคการโฆษณาผ่าน SMS ควรส่งในช่วงพักกลางวัน ก่อนเลิกงานหรือสุดสัปดาห์ เพราะกลุ่มเป้าหมายจะมีเวลาเปิดอ่าน หรือมีโอกาสตอบกลับมากกว่าช่วงเวลางาน ควรใช้กับสินค้าที่ต้องการผลตอบรับทางโปรโมชั่น มีสิ่งจูงใจให้กับลูกค้าและต้องรู้จักลูกค้าและมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เหมาะกับสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่ใช้เป็นประจำ เหมาะกับธุรกิจที่มีงบทางการตลาดที่จำกัด ใช้เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น Vote ทายผลในรายการโทรทัศน์ การชิงโชค ใช้เพื่อการแจกรางวัลเพื่อจูงใจผู้ชมรายการโทรทัศน์ โดยระบุเงื่อนไขขอบเขตวันเริ่มต้นและสิ้นสุด สถานที่ในการรับรางวัล และมูลค่าของรางวัลให้ชัดเจน
  62. การตลาดด้วย IVR ระบบตอบรับหรือการให้ข้อมูลอัตโนมัติผ่านทางโทรศัพท์ โดยการโต้ตอบข้อมูลด้วยเสียง ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้ล่วงหน้าโดยผู้ที่โทรเข้ามาสามารถเลือกฟังก์ชันข้อมูลได้ด้วยตนเองไม่จำกัดเวลา ตลอด 24 ชั่วโมงและหลาย ๆ คู่สายในเวลาเดียวกัน ซึ่งระบบนี้นำมาใช้ลดปริมาณการติดต่อ โดยให้บริการพื้นฐานแก่ลูกค้าก่อนนำมาใช้กับกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในลักษณะ Call Center
  63. การตลาดด้วย WAP Site WAP (Wireless Application Protocol เป็นมาตรฐานสากล ในการเข้าถึงข้อมูลและบริการอินเตอร์เน็ต บนเครื่องมือสื่อสารไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ, วิทยุติดตามตัว, อุปกรณ์ PDA โดยใช้ภาษา WML เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่หน้าจอแสดงผล ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดข้อมูลให้เล็กลง
  64. การตลาดด้วย Proximity Advertising เป็นการปล่อยข้อความโฆษณาไปตามพื้นที่ซึ่งมีขนาดที่กว้างขวางกว่าการใช้ Bluetooth โดยการใช้ Location Base เป็นตัวกำหนดขอบเขตของกลุ่มในการรับข้อความ ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินเข้าสู่บริเวณงานแสดงสินค้าก็จะได้ข้อความต้อนรับการเข้าเยี่ยมชมงาน หรือเดินผ่านหน้าร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จะได้รับโปรโมชั่นจากร้านค้านั้น ๆ
  65. การตลาดด้วย Bluecast (Bluecast Marketing) เป็นการตลาดที่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Bluetooth ซึ่งจะสามารถรับข้อมูลข่าวสารเมื่อเจ้าของโทรศัพท์ได้เปิดรับสัญญาณบลูทูธ และอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ให้บริการ โดยมีพื้นที่ระยะ รัศมีไม่เกิน 10 เมตร โดยการส่งข้อความโฆษณาผ่านสัญญาณบลูทูธ
  66. การตลาดด้วย 2D Barcode 2D Barcode คือรูปภาพที่เป็นรหัสผสมกันตามแนวตั้งและแนวนอนในลักษณะ 2 มิติ ที่ใช้พื้นที่น้อยกว่า Barcode แบบดั้งเดิมแต่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าบางแห่งเรียกว่า QR Code (Quick Response Code) เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อไม่ต้องให้คนคอยพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในระบบต่าง ๆ แค่เพียงแค่ใช้กล้องถ่ายรูปหรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือทำการจับภาพเท่านั้น ระบบจะนำภาพไปตีความหมายของรหัสตามมาตรฐาน แล้วแปลงออกมาเป็นข้อมูลหรือการบริการลักษณะต่าง ๆ
  67. ตัวอย่างการนำ 2D Barcode ไปใช้ประโยชน์ CS Loxinfo ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ทำการติดบาร์โค้ดที่แพ็คเกจชั่วโมงอินเตอร์เน็ตเพื่อให้เสนอขายโปรโมชั่นต่าง ๆ Honda ติดบาร์โค้ดที่แผ่นโฆษณา เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถยนต์แต่ละรุ่น บริการชำระเงินผ่านมือถือ ของเอ็มเพย์ ทำการติดบาร์โค้ด บนสัญลัษณ์ของเอ็มเพย์ตามหน้าเคาน์เตอร์หรือร้านค้าต่าง ๆ และในสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์เพื่อให้ลิงค์เข้าใช้บริการบนหน้า WAP Portal ของเอ็มเพย์ได้สะดวก
  68. การตลาดด้วย Mobile Blog บริการ Mobile Web 2.0 มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาที่ชื่นชอบได้ง่าย สามารถแบ่งปันหรือสร้างชุมชนบนโทรศัพท์มือถือได้ง่าย สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น จากเครือข่าย 3G โดยกำหนดความสัมพันธ์กับการใช้งาน Blog บนเว็บไซต์ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถอัพเดทข้อมูลบน Blog ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  69. การตลาดเครือข่ายทางสังคม (Social Network Marketing) รูปแบบการสร้างตลาดผ่านชุมชนออนไลน์ เป็นกลยุทธ์เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างสมาชิกแบบต่อเนื่อง และเป็นการสื่อสารสนทนากันในสิ่งที่ผู้เข้าร่วมมีความต้องการหรือสนใจโดยเฉพาะ Blog หรือ WeBlog (อ่านว่า We+Blog หรือ Web+Log ก็ได้) เป็นการบันทึกเรื่องราวบทความ ข้อคิดเห็นของตนเองบนเว็บแล้วทำการนำเสนอเปิดให้ผู้อื่นสนใจเข้ามาอ่านหรือทำการนำเสนอเฉพาะกับกลุ่มสนใจ ในเรื่องเดียวกัน เหมือนกันเป็นการนำเสนอบทความเฉพาะด้าน
  70. การตลาดด้วย Social Bookmarketing
  71. การตลาดด้วย Social Bookmarketing การคั่นหน้าแบบรวมกลุ่ม หรือการทำบัญชีรายชื่อบนเว็บไซต์>เป็นบริการบนเว็บที่ได้แบ่งปันการคั่นหน้า (Bookmark) เนื้อหาต่าง ๆ ที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต จากทั่วโลก โดยผู้ใช้งานทำการจดบันทึกการเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่มีเนื้อหาที่ดี น่าสนใจ แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ ด้วยการใช้ Tags (คำสั้น ๆ ที่บรรยายลักษณะประเภทสิ่งนั้น ๆ) แล้วแบ่งปันการค้นหาที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานอื่นทั่วไป หรือเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเว็บที่ให้บริการ เช่น Digg.com, Del.icio.us ของ Yahoo, Furl.net, Reddit.com, Google Bookmarks, Technoratti.com, Stumbleupon.com ของ Ebay
  72. การทำการตลาดด้วย Blog การตลาดด้วย Social Bookmarking การค้นหาข้อมูลข่าวสารที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน หรือเฉพาะด้านตามความสนใจ จึงเกิด Social Bookmarking เป็นการคั่นหน้าแบบรวมกลุ่ม หรือทำบัญชีรายชื่อบนเว็บไซต์ เป็นบริการบนเว็บที่ได้แบ่งปันการคั่นหน้าเนื้อหาต่าง ๆ แบ่งเป็นหมวดหมู่ ด้วยการใช้ Tags(คำสั้นๆ ที่บรรยายลักษณะ) เช่น เว็บ Digg.com, Del.icio.us Furl.net Reddit.com, Google Bookmarks, Technoratti.com และ Stumbleupon.com
  73. การทำการตลาดด้วย Blog การรวบรวม Bookmark ใช้ Keyword หรือคำสำคัญจำนวนหนึ่งที่เรียนกว่า Tags มาใช้ในการจัดกลุ่มแทนการจัดกลุ่มตามลำดับชั้นหรือแยกเป็น Folder การจัดกลุ่มประเภทข้อมูลแบ่งเป็นหมวดหมู่และทำการค้นคืนเว็บไซต์, Blogs, PDF, รูปภาพ,วีดิโอ, เสียง, เนื้อหา โดยทำการติด Tags ที่ไม่จำกัดข้อความ Social Bookmarking เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างประโยชน์ทางการตลาดได้ โดยหลักการเข้าเยี่ยมชมเว็บสามารถเข้าถึงเนื้อหาให้มากที่สุด และกลับมาดูอีก
  74. การทำการตลาดด้วย Blog การตลาดด้วย RRS Feed (Really Simple Syndication Marketing) เป็นการนำเสนอข่าวสารบทความไปยังผู้รับบนอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง โดยจัดอยู่ในรูปแบบ XML : eXtensible Markup Language เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้กำหนดรูปแบบคำสั่งภาษา HTML โดยเทคโนโลยี RSS มีประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น นำเสนอสินค้าใหม่ โปรโมชั่นส่วนลด ไปยังลูกค้า
  75. การทำการตลาดด้วย Blog การนำ RSSมาใช้ประโยชน์ทางการตลาด ถือเป็นการเปลี่ยนวิธีการนำเสนอสินค้าเนื่องจากสามารถส่งข้อมูลได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเข้าเยี่ยมชมเว็บทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลา
  76. การทำการตลาดด้วย Blog การตลาดด้วย Wikis (Wikis Marketing) สารานุกรมออนไลน์ เป็นเว็บที่อนญาตให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสร้างหรือเพิ่มเติมข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข หรือลบ โดยไม่ต้องลงทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้เป็นประวัติทุกครั้ง ปัจจุบันการให้บริการ 250 ภาษา การนำเข้ามาร่วมกับ Blog สนับสนุนการทำงานของ Wiki ทำให้การเสนอบทความบน Blog สามารถแก้ไขได้โดยบุคคลใด ๆ หรือกลุ่มที่ได้รับอนุญาต
  77. การทำการตลาดด้วย Blog หลักในการทำการตลาดด้วย Wiki บทความต้องมีลักษณะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่นห้ามนำไปใช้เพื่อการโฆษณาแอบแฝงโดยเด็ดขาด เขียนงานเป็นกลาง ดังนั้นถ้านำมาใช้ในการตลาดต้องระวังไม่ให้ผิดจากเงื่อนไขที่เว็บไซต์ตั้งไว้ นำเสนอบทวิจารณ์สินค้าที่เนื้อหาไม่เน้นไปทางโฆษณาหรือ จูงใจให้ซื้อสินค้า แต่นำเสนอเชิงให้รายละเอียด ส่วนประกอบ คุณภาพ หรือฟังก์ชันการทำงาน รางวัลหรือมาตรฐานรับรองสินค้า
  78. การทำการตลาดด้วย Blog ทำการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริการ ที่ลูกค้าสงสัยหรือ ยากที่จะเข้าใจเพิ่มเติม เว็บไซต์ Wiki มีพื้นที่การสนทนาในเนื้อเรื่องเฉพาะ หรือเป็น Forums เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน โดยภายหลังจากที่ได้นำเสนอสินค้าหรือบริการใด ๆ ลงบน Wiki เพื่อนำผลตอบรับของลูกค้า มาปรับปรุงสินค้า สร้างโครงข่ายเชื่อมโยงกับสมาชิกอื่น ๆ ในเว็บ Wiki เพื่อกระจายโอกาสในการรับรู้บทความที่เกี่ยวกับสินค้าบริการให้กว้างมากที่สุด
  79. การทำการตลาดด้วย Blog การตลาดด้วย Podcast (Podcast Marketing) เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมปลาย พ.ศ.2548 บนอินเตอร์เน็ต POD(Personal On-Demand)ความต้องการส่วนบุคคล Broadcasting : การนำสื่อมัลติมีเดียทำการออกอากาศเผยแพร่ยังบุคคลภายนอก เทคโนโลยีนี้สามารถถ่ายทอดไปยังสื่อต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่น MP3, โทรศัพท์ที่เป็น Music Phone
  80. การทำการตลาดด้วย Blog การนำ Podcast เป็นนวัตกรรมทางการตลาดได้เห็นภาพและเสียงแทนที่จะอ่านข้อมูลอย่างเดียว การนำ Podcast มาช่วยในการตลาดเช่น นำมาใช้สัมภาษณ์ผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงธุรกิจ ดารานักร้อง หรือกกลุ่มลูกค้าที่มีความประทับใจในสินค้า สร้างคำแนะนำการใช้งานสินค้าหรือความรู้เพิ่มเติม นำเสนอข้อมูล การอัพเดทของธุรกิจ โดยทำเหมือนรายการทีวี นำเสนอสินค้า บริการด้วยภาพ บรรยากาศประกอบและเสียงดนตรี ช่วยเพิ่มความน่าสนใจอย่างมาก เช่น ธุรกิจโรงแรมนำเสนอภาพห้องพักพร้อมบรรยากาศโดยรอบเช่น เสียงคลื่น หรือนกร้อง http://www.proudphufah.com/intro.html
  81. การตลาดด้วยวิดีโอ การโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต (Video Marketing) เป็นรูปแบบที่นำเอาวิดีโอ มาเพิ่มความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เช่นการนำเสนอสินค้าและบริการ โดยการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรพิจารณาสิ่งสำคัญต่อไปนี้ก่อนนำไปจัดทำโฆษณาผ่านวิดีโอ
  82. การทำการตลาดด้วย Blog เนื้อหาและกิจกรรมทางการตลาดส่งตรงไปยังผู้บริโภค การนำเสนอต้องดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ฉับไว เนื้อหาต้องดึงดูดความสนใจให้ติดตามดูตั้งแต่ต้นจนจบ อาจนำโลโก้ สโลแกน หรือสินค้าประกอบในการนำเสนอเพื่อช่วยการจดจำ การนำเสนอต้องสอดคล้องกลมกลืนกัน การนำข้อความตัวอักษรมาใช้ การใช้สี ภาพประกอบ ฉากหลังเสียงดนตรีที่เหมาะสม เนื้อหา ควรใช้ข้อความและใช้เสียงประกอบกัน เพื่อช่วยสื่อสารแม้ผู้ชมปิดเสียง โดยน้ำเสียงต้องชัดเจน มีจังหวะ น่าฟัง ระบุเวลาเพื่อให้ผู้ชมรับทราบว่าเวลานำเสนอเท่าไหร่ ไม่ควรยาวเกินไป
  83. การทำการตลาดด้วย Blog การวางตำแหน่งในการนำเสนอต้องเห็นง่าย เมื่อมีผู้เข้ามาชมเว็บ หรือวางไว้ส่วนบนของเว็บ จากการศึกษาการ Double Click ปี 2549 ขนาดหน้าจอโฆษณาด้วยวิดีโอที่ส่งผลตอบรับมากที่สุด จากกลุ่มตัวอย่าง 301 กิจกรรมได้แก่ Button1(120x90) รองลงมา Large Rectangle(336x280), Medium Rectangle(300x250), Skyscraper(120x600) Wide Skyscraper(160x600) และ Leader Board(728x90) ประกาศชักชวนผู้ที่ได้เข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บให้คลิกชมวิดีโอหรือป้ายโฆษณาที่จูงใจ กระตุ้นให้เกิดการคลิก
  84. การทำการตลาดด้วย Blog เทคนิคการนำเสนอวิดีโอให้น่าสนใจต่อผู้ที่ได้เข้ามาดูมีดังนี้ การปรับปรุงวิดีโอให้ทันสมัย ใหม่ตลอดเวลา นำเสนอเนื้อหาที่มีความแตกต่าง แปลกใหม่ น่าสนใจ ดึงดูดให้เข้าชมและชมจนจบ รวมถึงบอกต่อไปยังผู้อื่น นำเสนอวิดีโอ ไปยังเว็บที่เป็นชุมชนในการแบ่งปัน เช่น Youtube.com, video.Google.com, video.Yahoo.com เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือความสนใจจากผู้เข้าเยี่ยมชม ทำการ Submit Video ในเว็บไซต์ที่เป็นชุมชนในการแบ่งปัน โดยให้กลุ่มหรือหมวดหมู่ตามเนื้อ เพื่อตรงกับกลุ่มเป้าหมาย สำรวจพฤติกรรมการเข้าเยี่ยมชม เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดทำต่อไป
  85. การตลาดด้วยวิดีโอเกม (Video Game Marketing) เป็นสิ่งยอดนิยมและก่อให้เกิดผู้ผลิตรายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเพราะสามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา เกมที่เล่นกับโทรทัศน์ (Console Game) เกมที่สามารถพกพา (Handheld Game) เกมตู้ (Arcade Game) เกมที่เล่นกับคอมพิวเตอร์ (PC Game) เกมที่เล่นกับอินเตอร์เน็ต (Online Game) เกมที่เล่นบนโทรศัพท์ (Mobile Game)
  86. การตลาดด้วยวิดีโอเกม (Video Game Marketing) มุมมองนักการตลาด จากการใช้โฆษณาผ่านเกม พบว่า มีผลช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจดจำสินค้า ได้เพิ่มขึ้น 35% และช่วยให้สร้างการจดจำสินค้าได้ถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่ได้ใช้การโฆษณาผ่านทางเกม รูปแบบการโฆษณาผ่านเกมมี 2 ลักษณะได้แก่ การโฆษณาแบบ AdverGame(เกมที่เจ้าของสินค้าผลิตเอง) และ การโฆษณาแบบ InGame(เกมที่เจ้าของสินค้ามองหาเองทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่กำลังฮิตแล้วติดต่อซื้อพื้นที่โฆษณาในเกมคล้ายกับขอซื้อเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์) จากการศึกษาประสิทธิภาพของการโฆษณาในประเทศเยอรมัน70% มีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าที่โฆษณาใน InGame และหากเทียบรายได้ของการขายสินค้าที่ได้จากการโฆษณาผ่านเกม InGame จะทำรายได้ดีกว่า AdverGame
  87. การตลาดแบบล่องหน (Stealth Marketing) เป็นเทคนิคการโฆษณารูปแบบใหม่ที่ผู้บริโภคได้รับสื่อโฆษณาจากการชม การฟัง และการอ่าน ผ่านสื่อใด ๆ โดยไม่ทันรู้ตัว โดยผู้รับสื่ออาจจะเห็นโฆษณานี้หลายครั้งแล้ว แต่ไม่ทันคิดว่านั่นคือ การโฆษณา ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง สายลับ 007จะใช้เทคโนโลยียานยนต์เป็นพาหนะซึ่งก็จะให้รถยนต์จากค่ายรถต่าง ๆ มาแสดงร่วมในฉากสำคัญ ๆ ของแต่ละภาค เช่น Aston Martin DB5, BMW Z8, BMW 750 iL เป็นต้น
  88. การตลาดแบบล่องหน (Stealth Marketing) รูปแบบของ ตลาดแบบล่องหน คือ Product Placement การแสดงหรือโชว์สินค้าไว้เบื้องหลังที่อยู่ในจุดสังเกตง่าย ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ป้ายโฆษณาอยู่เบื้องหลังของเกม Product Movement สอดแทรกหรือกล่าวถึงโดยอาจจะเป็นลักษณะผู้ให้การสนับสนุน เช่น โฆษณาที่เป็นส่วนนำก่อนที่เกมจะเริ่มขึ้น Product Excitement การนำสินค้าไปสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับโฆษณาเกิดประสบการณ์ร่วมกับสินค้านั้น ๆ
More Related