1 / 9

การนำเข้าสินค้าเสียภาษีสรรพสามิต

N. S. P. ใบรับรองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าตลาดจีน. สินค้าที่ไม่ถูกจำกัดเพดานการส่งออก 5 ปี ภายใต้สิทธิ GSP. การนำเข้าสินค้าเสียภาษีสรรพสามิต. MD Says.

osmond
Download Presentation

การนำเข้าสินค้าเสียภาษีสรรพสามิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P ใบรับรองผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าตลาดจีน สินค้าที่ไม่ถูกจำกัดเพดานการส่งออก 5 ปี ภายใต้สิทธิ GSP การนำเข้าสินค้าเสียภาษีสรรพสามิต MD Says

  2. ปัจจุบันนี้เรามักจะพบเครื่องสำอางปลอมมากมายในท้องตลาดซึ่งเครื่องสำอางปลอมเหล่านี้เมื่อใช้แล้วก็จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังซึ่งแน่นอนว่าเครื่องสำอางเหล่านี้ไม่ได้ผ่านการรับรองคุณภาพด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอย่างแน่นอน จึงทำให้ต้องมีมาตรการรับรองการนำเข้าเครื่องสำอางทุกประเภท ในที่นี้เราจะมาพูดถึงเรื่องมาตรการของจีนในการรับรองการนำเข้าเครื่องสำอาง เมื่อเดือนที่แล้วทางบริษัทเราได้รับทราบมาว่าจีนได้กำหนดมาตรการนำเข้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์โดยกำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิดต้องได้รับใบรับรองก่อนให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศจีน เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพความปลอดภัย โดยต้องผ่านการทดสอบด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย (Safety and Health Quality Tests) การทดสอบปกติจะใช้เวลา 6 เดือน ส่วนค่าใช้จ่ายของการขอใบรับรองนี้จะอยู่ที่ระหว่าง 600-4,000 เหรียญสหรัฐ โดยขึ้นอยู่กับชนิดและความซับซ้อนของแต่ละผลิตภัณฑ์ ใบรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการนำเข้าเครื่องสำอางสู่ตลาดจีนมีดังนี้ 1. ใบรับรองสำหรับเครื่องสำอางนำเข้า (Certificate for Imported Cosmetics)จะออกโดยกระทรวงสาธารณสุขของจีน ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องยื่นเอกสารต่างๆเพื่อขอรับใบรับรองดังกล่าว ได้แก่ ตัวอย่างสินค้า สูตรการผลิต มาตรฐานคุณภาพสินค้า ใบอนุญาตจำหน่าย คู่มือและคำเตือนฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากหน่วยงาน Ministry of Health of P.R. China (MOH)Department of Health Supervision โดยผ่านทาง Web site: www.moh.gov.cn S N P ต่อหน้า 2

  3. หน้า 2 • ใบรับรองสำหรับฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าและส่งออก (Certificate for Labeling of Import and Export Cosmetics) จะออกโดย State General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine (AQSIQ) ซึ่งกระบวนการรับรองจะใช้เวลาทำการประมาณ 90 วัน เสียค่าใช้จ่าย 200 เหรียญสหรัฐและต้องยื่นเอกสารโดยตรงแก่ AQSIQทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ AQSIQโดยผ่านทาง Web site: www.aqsiq.gov.cn • เนื่องจากกระบวนการขอรับใบรับรองต่างๆค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนอีกทั้งใช้เวลาค่อนข้างนานในการดำเนินการ หากผู้ประกอบการท่านใดไม่สะดวกที่จะดำเนินการขอรับใบรับรองเองหรือไม่คุ้นเคยกับการประกอบธุรกิจในประเทศจีน ท่านสามารถมอบหมายให้หน่วยงานตัวแทนของจีนดำเนินการขอรับใบอนุญาต หรือมอบให้ผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่ายของท่านดำเนินการแทนในการขอรับใบอนุญาตก็ได้ โดยทางตอนใต้ของจีนจะมีตัวแทนคอยรับดำเนินการขอรับใบอนุญาตโดยเฉพาะอยู่ภายใต้สมาคมเสริมสวยในแทบมณฑลกวางตุ้ง ทั้งนี้หากผู้ประกอบการท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการที่จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น พี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 111ได้ตลอดเวลาทำการ หรือสามารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ Quality and Technology Certification and Consultation Service Center 1202B East Tower, gang Feng Building, No.286 Xihua Road, Guangzhou, Guangdong 510170 China Tel: (8620) 81074301  Fax: (8620) 81074255 E-mail: gdcentrecn@21cn.com S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. S ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจโดยสังเขปก่อนว่าระบบ GSP นั้นคือระบบการให้สิทธิ พิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศที่พัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าแก่สินค้าที่มีอยู่ในข่ายได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าทั้งนี้ประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ จะเป็นผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเดือนที่แล้วทางบริษัทเราได้รับทราบมาว่า กรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยถึงเรื่องการใช้สิทธิ GSP ของไทยไปตลาดสหรัฐฯเมื่อปี 2551 ว่า ไทยได้ใช้สิทธิ GSP ไปมูลค่า 3,014.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งนับว่าสูงมาก ถ้าคิดเป็นสัดส่วนก็จะได้ร้อยละ 87 ของมูลค่าสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.7 ซึ่งเป็นสาเหตุจากปี 2550 นี้เองที่ทำให้สินค้าที่ไทยเคยใช้สิทธิสูง อย่างเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า เครื่องรับโทรทัศน์สี ถูกสหรัฐฯระงับสิทธิ GSP N P ต่อหน้า 2

  5. หน้า 2 สินค้าที่ไทยสามารถส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ โดยไม่ถูกจำกัดเพดานการนำเข้ากรณี CNL (Competitive Need Limits) ปี 2551 สหรัฐฯ กำหนดเท่ากับ 135 ล้านเหรียญสหรัฐฯมีจำนวน 2 รายการ ได้แก่ เครื่องประดับทำจากโลหะเงิน และยางเรเดียลรถบรรทุก เนื่องจากสหรัฐฯ ได้คืนสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าวให้ไทยกรณี CNL Waiver ซึ่งสหรัฐฯได้กำหนดหลักเกณฑ์การทบทวนใหม่ หากสินค้าใดได้รับการยกเว้นเพดานการนำเข้าไม่เกิน 5 ปี ก็จะไม่ถูกพิจารณายกเลิก CNL Waiver หรือถูกตัดสิทธิ GSP โดยสินค้าดังกล่าวจะถูกพิจารณาทบทวนอีกครั้งในปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ส่งออกทั้งหลายจึงควรใช้สิทธิ GSP ในสินค้าดังกล่าวให้มากที่สุด ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจต้องการที่จะรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่ธุรกิจของท่าน ทางบริษัทเรายินดีบริการให้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมโดยท่านสามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น. พี หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 501 คุณพงษ์ศักดิ์ สุวรรณน้อย ได้ตลอดเวลาทำการ หรือสามารถติดต่อสอบถามผ่านทาง www.export@snp.co.th และ www.dft.go.thได้โดยตรง S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  6. S ภาษีสรรพสามิต คือภาษีการนำเข้าสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและล่อแหลมต่อศีลธรรม สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสินค้าเหล่านี้ก่อนที่จะนำเข้ามาสู่ตลาดภายในประเทศ ผู้ประกอบการจะต้องทำการเสียภาษีสรรพสามิตก่อน ถ้าไม่เสีย ฝ่าฝืนกฎหรือทำการทุจริตลักลอบนำเข้าด้วยประการใดก็ตามหรือโดยมิได้ตั้งใจก็ตาม ผู้ประกอบการจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่ห้าเท่าถึงยี่สิบเท่าของค่าภาษีที่จะต้องเสีย หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 147 ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้ประกอบการท่านหนึ่งได้เข้ามาปรึกษากับทางบริษัทเราว่า เขาได้นำเข้าสินค้าประเภทแบตเตอรี่จากประเทศจีน พิกัดที่ 8507.80.90 โดยใช้บริการจากบริษัทฯตัวแทนออกของอนุญาตไทยรายหนึ่งเป็นตัวแทนดำเนินการนำเข้าให้ แต่แล้วเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯนั้นไม่ได้ทำการตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนว่า สินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตก่อนการนำเข้า N P ต่อหน้า 2

  7. หน้า 2 S จึงทำให้ผู้ประกอบการรายนั้นไม่ได้จ่ายค่าภาษีสินค้าแบตเตอรี่ซึ่งเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในประเภทที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีการถูกปรับหรือถูกระวางโทษตามมาภายหลัง ผู้ประกอบการรายนั้นแจ้งว่าจึงต้องเสียค่าปรับตามมาตราที่ระบุไว้ จากสถานการณ์ที่ได้กล่าวข้างต้นได้เป็นเครื่องเตือนใจแก่ผู้ประกอบการทุกรายให้ระมัดระวังเรื่องการตรวจสอบประเภทของสินค้าที่จะต้องเสียภาษีตามประเภทให้ดีก่อนการนำเข้า เนื่องจากสินค้าบางประเภทนั้นมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยการสอบถามกับทางตัวแทนออกของเพื่อเป็นการกระตุ้นทางหนึ่งให้มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนการนำเข้าสินค้าประเภทนั้น หากผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเสียภาษีต่างๆ ทางบริษัทฯเรายินดีให้บริการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการเสียภาษีนำเข้า โดยสามารถโทรเข้ามาสอบถามได้ที่กลุ่มบริษัท เอส. เอ็น. พี. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 208 คุณไพบูลย์คำคุณ ได้ตลอดเวลาทำการ N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. S การขอใช้สิทธิพิเศษของ FTA ไทย – จีน ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ทำการตกลงการค้าเสรีระหว่าง ไทย – จีน ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เเละช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ทำการค้าเกี่ยวกับการนำเข้า เเละส่งออกให้มีช่องทางในการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น แต่มีผู้ประกอบการหลายรายที่มักจะประสบกับปัญหาเรื่องแหล่งกำเนิดของสินค้าที่แท้จริง เนื่องจากมีสินค้าหลายรายการที่ผลิตในประเทศจีน เเต่วัตถุดิบนั้นได้ทำการสั่งซื้อมากจากฮ่องกง โดยที่เอกสาร หลักฐานทั้งหมดก็สำเเดงว่ามาจากประเทศฮ่องกง ทำให้ไม่สามารถขอใช้สิทธิในการชดเชย หรือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีอื่นๆได้ ตามประกาศของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เลขที่ พณ.0611/41 ความว่า “ตามหนังสือที่อ้างถึง กรมศุลกากรได้สอบถามว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ภายใต้กรอบความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับจีนหรือไม่ ความละเอียดทราบเเล้ว นั้น N P ต่อหน้า 2

  9. หน้า 2 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขอเรียนว่า กรอบความตกลงดังกล่าว รวมทั้งความตกลงด้านการค้าสินค้าเป็นความตกลงที่เป็นผลจากการเจรจาระหว่างอาเซียนเเละจีน เเละเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งภายใต้กรอบ WTO ทั้งจีน เเละฮ่องกงต่างก็เป็นสมาชิกของ WTO ดังนั้น ฮ่องกงจึงไม่ได้เป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน เเละไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์ใดๆ ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน” ดังนั้น ก่อนที่ผู้ประกอบการจะเจรจาการค้า หรือ ติดต่อซื้อขายกับ Shipper นั้น ควรตรวจสอบเอกสารให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของท่านในภายหลัง สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 31/03/09 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related