1 / 63

วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศ.ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.

Download Presentation

วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศ.ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

  2. “ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มกำลังความสามารถด้วยอุดมคติ ด้วยความเข้มแข็งเสียสละและระมัดระวังให้การทุกอย่างในหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และเที่ยงตรงเป็นกลาง ด้วยความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่า การปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานของตนมีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและของประชาชนทุกคน” พระบรมราโชวาทพระราชทาน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2543 วันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2543

  3. หลัก 4 ป. ในการบริหารประเทศของ ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. “เป็นธรรม”หมายถึง การมีการปฏิบัติอย่างมีความระมัดระวัง ให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง และ เที่ยงตรงเป็นกลาง การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนตลอดรวมไปถึงการรับฟังและการจัดการกับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยอำนวยความสะดวกให้เกิดความเสมอภาคต่อประชาชนทุกกลุ่ม

  4. ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 2. “โปร่งใส”หมายถึง การดำเนินงานและการตัดสินใจที่เปิดเผย เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของบุคคลในชาติ ทั้งนี้รวมถึง ส่วนราชการเปิดเผยข้อมูลทุกขั้นตอนในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้ประชาชนรู้และเข้าใจวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการในการปรึกษาหารือร่วมกันในการวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ

  5. ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 3. “ประสิทธิภาพ”กล่าวคือ มีการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนงานเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น

  6. ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 4. “ประหยัด”หมายถึง การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กล่าวคือ การตระหนักไว้อยู่เสมอว่า สิ่งที่ปฏิบัติและการดำเนินการเป็นเงินภาษีอากรของประชาชน เราอยู่ได้เพราะได้รับความไว้วางใจ และประชาชนเชื่อว่าระบบราชการจะสนองตอบต่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้อาจกระทำได้โดยการพจารณาในเชิงเปรียบเที่ยบระหว่างปัจจัยนำเข้า กับ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ

  7. สัจธรรม • ความจริง ความรู้และศีลธรรม ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม • เงิน ทรัพยากร และอำนาจ ยิ่งใช้ ยิ่งหมด • ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม งอกงามเพิ่มพูนจากความสัมพันธ์ตามแนวขวาง • ความชั่วร้าย อำนาจดิบ ความป่าเถื่อนเพิ่มพูนจากความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง

  8. จริยธรรมของผู้นำผู้กำหนดนโยบายจริยธรรมของผู้นำผู้กำหนดนโยบาย • ดี สุจริต ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม • มีคุณธรรม • มีความสามารถ • มีความเป็นกลางทางการเมือง • มีทศพิธราชธรรม • มีประชาธรรม

  9. จริยธรรมของผู้นำทางการเมืองจริยธรรมของผู้นำทางการเมือง • ไม่คอรัปชั่น • ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • ไม่ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องดีงาม • ไม่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี • มีสำนึกรับผิดรับชอบตอการตัดสินใจ • เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้

  10. จริยธรรมของผู้นำ: สำนักคิดนิติศาสตร์ • โปร่งใส • ไม่ละเลยต่อการทำหน้าที่ • ไม่เลือกปฏิบัติ • สุจริต • เป็นกลาง • ไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน

  11. จริยธรรมของผู้นำ: สำนักคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ • มุ่งสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง • มีจิตคิดเยี่ยงผู้ประกอบการ • มุ่งเน้นที่ลูกค้า • จัดการบริการที่รวมศูนย์ • มุ่งเน้นผลงาน • ไม่ทำเองหากไม่จำเป็น • มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

  12. จริยธรรมของผู้นำ: สำนักการจัดการความรู้ • ส่งเสริมวัฒนธรรมกล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม • ส่งเสริมวัฒนธรรมการเล่าสู่และแบ่งปัน (Story Telling) • ทำงานเป็นทีม • เป็นมิตรกับความรู้ (Knowledge-friend Culture) • สร้างคนเก่งเป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Worker) • สร้างชุมชนของการปฏิบัติ (Community of Practice)

  13. จริยธรรมของผู้นำ: สำนักชุมชนเข้มแข็ง • มีศาสนาธรรม • พึ่งตนเอง เชิดชูภูมิปัญญาชาวบ้าน • วิสาหกิจชุมชน หนุนนำความสามัคคี • ความเป็นไทย • ความรับผิดชอบต่อสังคม

  14. จริยธรรมของผู้นำ:แนวคิดI AM READY • ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี (Integrity) • ขยันตั้งใจทำงาน (Activeness) • มีศีลธรรม คุณธรรม (Morality) • ปรับตัวทันโลกตรงกับสังคม (Relevancy) • มีประสิทธิภาพ (Efficiency) • รับผิดรับชอบต่องานต่อสังคม (Accountability) • มีจิตประชาธิปไตย โปร่งใส มีส่วนร่วม (Democracy) • มุ่งเน้นผลงาน (Yield)

  15. ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล นำสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน คุณลักษณะทั่วไปของผู้นำ: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)

  16. Financial Perspective Long-term Shareholder Value Productivity Revenue Growth High Performance Organization เก่ง ดี Customer Perspective Highly Ethical Organization Partnership Price Quality Time Function Brand ภายนอก Integrity/Social Responsibility มีความรับผิดชอบต่อประชาชน/สังคม มีสุจริตธรรม + กล้ายืนหยัดต่อสู้กับสิ่งผิด Internal Process Perspective Learning and Growth Perspective มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง (ผู้บริหาร) ค่าชีวัดตามบัตรคะแนนสมดุล (BSC) ยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ Manage Operations Manage Customers Manage Innovation Manage Regulatory & Social Process Compliance ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปลอดจากการกระทำผิดวินัยและการละเมิดกฎหมาย ค่าชี้วัดด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล (Ethics Measurement) ภายใน Information Capital Social Capital Human Capital + +

  17. Building Organizations of Integrity

  18. Tools • Exemplary leadership • Ethics Training • Codes and Oaths • Ethics Audits • Human Resources Management

  19. Walk-the-Talk • Effective ethical managers must demonstrate through their behavior that they believe what they say. • Hillsborough County, Florida • Mayor Steve Brown, Peachtree City

  20. Ethics Training • Ethics training was a cottage industry in the United States a short while ago. No longer–it is now a big time enterprise in both the private and public sectors. • the compliance model vs the integrity model

  21. City/County Experiences • Should formal or informal ethics management strategies be adopted? • How much ethics training is taking place among cities in this population category?

  22. Ethics Training in the States • Ethics training in the states lags behind federal and local government ethics training initiatives.

  23. Codes and Oaths • Public officials, elected and appointed, typically express a very positive attitude toward codes of ethics. The conventional wisdom is that codes have a positive influence in governance, especially in deterring unethical acts by ethically motivated public servants.

  24. Ethics Audits • Although not widely employed in the public sector in the United States, an ethics audit can prove to be a very useful tool for public managers.

  25. Ethics Audits--illustrations U.S. Office of Government Ethics Audit United Nations Ethics Audit

  26. Human Resources Management • Hiring • Annual Evaluations • Promotions • Ethics Counselors

  27. Conclusion • Public administrators must use all tools available to them to put into place a comprehensive and integrated ethics management program. • No single tool is more effective than another.

  28. Financial Perspective Long-term Shareholder Value Productivity Revenue Growth High Performance Organization เก่ง ดี Customer Perspective Highly Ethical Organization Partnership Price Quality Time Function Brand ภายนอก Integrity/Social Responsibility มีความรับผิดชอบต่อประชาชน/สังคม มีสุจริตธรรม + กล้ายืนหยัดต่อสู้กับสิ่งผิด Internal Process Perspective Learning and Growth Perspective มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง (ผู้บริหาร) ค่าชีวัดตามบัตรคะแนนสมดุล (BSC) ยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ Manage Operations Manage Customers Manage Innovation Manage Regulatory & Social Process Compliance ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปลอดจากการกระทำผิดวินัยและการละเมิดกฎหมาย ค่าชี้วัดด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล (Ethics Measurement) ภายใน Information Capital Social Capital Human Capital + + การริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว นอกจากสามารถดำเนินการโดยต่อยอดจากสิ่งที่หน่วยงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว ยังช่วยพัฒนาบุคลากรและองค์กรไปสู่ความเก่งและความดี ขับเคลื่อนด้วยแผนงาน-โครงการตามคำของบประมาณ ขับเคลื่อนด้วยโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว (Quick Win Initiative) ด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล

  29. คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในแนวทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตแลเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา โดยการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน โดยเงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย

  30. คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • มีความตระหนักในคุณธรรม • มีความซื่อสัตย์สุจริต • มีความอดทน • มีความเพียร • ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต • ไม่โลภและไม่ตระหนี่

  31. การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการเพื่อมุ่งเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการนั้น มีเป้าหมายเพื่อมุ่งหวังให้ภาคราชการทำงานด้วยความตระหนักในหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานด้วยความโปร่งใส ประหยัด เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีจิตสำนึกเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รัฐบาลนำแนวคิดและเป้าหมายมากำหนดเป็นวาระแห่งชาติด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในภาคราชการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ จะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

  32. วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาลในภาคราชการ รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมย์อย่างจริงจังดังคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2549 ในการแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง รวมถึงปัญหาความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  33. วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาลในภาคราชการ วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการเป็นไปเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและหน่วยงานภาคราชการ รวมถึงตัวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ โดยเฉพาะการใช้อำนาจรัฐและการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ การบริหารราชการแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ

  34. วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมฯ ครอบคลุมยุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ อย่างสมดุล ทั้งใน 2 แนวคิดแนวทาง 1. การผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม/จรรยาบรรณอย่างจริงจัง (Compliance-based approach) และ 2. การเสริมสร้าง กระตุ้น ยกระดับ ให้หน่วยงานภาคราชการและตัวข้าราชการเกิด “ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเฉพาะการเตรียมตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถไตร่ตรองใช้เหตุผลอย่างรอบครอบ มีการปฏิบัติราชการได้อย่างเหมาะสม กล้าเผชิญกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจและกระทำไป ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดูแลป้องกันรักษาปกป้องไม่ให้การปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติตนเกิดความเสียหายหรือเกิดความเสี่ยงต่อความไม่ดีงามใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (Integrity-based approach)

  35. มีเป้าประสงค์สำคัญ สองประการ ได้แก่ 1. ลดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ลดความสูญเสียและขจัดรูรั่วไหล ในการปฏิบัติราชการ 2. สร้างจิตสำนึกในการประพฤติมิชอบ ให้ยึดมั่นในหบักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความสุจริต ซื่อตรงเที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติรวมถึงการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด เกิดความคุ้มค่า มีคุณภาพมาตรฐาน ถูกต้อง และตอบสนองความต้องการของประชาชน

  36. ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ในระดับตัวบุคคลขึ้นไปยังระดับองค์การ ในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการดังกล่าวนี้ จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในปัจจัยองค์ประกอบแห่งความสำเร็จอย่างน้อย 3 ด้าน (ดังที่แสดงไว้ตัวแบบข้างล่าง) กล่าวคือ 1.การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบที่ดีเพื่อเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และขยายผล 2.การจัดวางและการพัฒนาระบบย่อยต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้อง เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยมและวัฒนธรรม การฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในรูปแบต่าง ๆ การจัดให้มีการให้คำปรึกษาแนะนำ

  37. และการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลและการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม/จรรยาบรรณ การวางระบบการบริหาร จริยธรรม การวัดผลและการตรวจสอบ เป็นต้น 3.การวางระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เช่น การออกกฎหมายและจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง การสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปิดให้ประชาชนเข้ามามีสาวนร่วมและการติดตามสถานการณ์ของบรรดาองค์กร/กลุ่มพลังต่างๆ ในสังคม รวมถึงการศึกษาวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาขั้นต่อไป เป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ จึงประกอบขึ้นด้วยยุทธศาสตร์รวมทั้งสิ้น 5 ประการ ซึ่งในแต่ละยุทธศาสตร์จะมีกลยุทธ์หลักต่าง ๆ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเป็นแผนงาน/ โครงการ สำหรับนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลต่อไป

  38. ผู้นำ / องค์การต้นแบบ วัดผล และ ตรวจ สอบ ปรับกระบวนทัศน์ ค่านิยมพัฒนา ข้าราชการ กฎหมาย หน่วยงาน หลัก การมีส่วน ร่วมของ ประชาชน การสื่อสาร เพื่อการ เปลี่ยนแปลง การ ศึกษา วิจัย ตัวแบบการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ

  39. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบ องค์การที่มีศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม (integrity) หมายถึง สถานที่ที่มีบุคคลมาอยู่รวมกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความเอื้ออาทร มีความเคารพในความเป็นปัจเจกชนของสมาชิกทุกคน เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันใช้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานด้วยความภาคถูมิใจรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและการตัดสินใจของตนเองรวมทั้งให้ความสนใจต่อสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจต้องการ และคาดหวังจากองค์กรและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน จากคำจำกัดความดังกล่าว การที่ภาคราชการจะพัฒนาไปสู่องค์การแห่งศักดิ์ศรีและจริยธรรมได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารและข้าราชการทุกระดับเพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน

  40. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบ ภาวะผู้นำนับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในองค์การ เพราะผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อองค์การ การที่ผู้นำปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำในที่นี้หมายถึงผู้บริหารในทุกระดับขององค์การ เมื่อผู้นำมีค่านิยม ความเชื่อ ที่ตนเองยึดมั่นอย่างไร ก็มักแสดงพฤติกรรมที่ตรงกับสิ่งที่ตนเชื่อถือออกมา ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะดีหรือไม่ ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมาก และส่งผลต่อการที่พวกเขายึดถือปฏิบัติตาม ฉะนั้น เมื่อผู้นำในองค์การได้แนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตนอย่างๆร จำเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองจะทำในสิ่งที่ตนได้พูดอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ภาคราชการจำเป็นต้องสร้างผู้นำและองค์กรต้นแบบ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ข้าราชการเรียนรู้และปฏิบัติตาม

  41. กลยุทธ์หลัก 1.การพัฒนาผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรมในภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างแบบอย่างที่ดี (Role Model) ของผู้นำที่มีคุณลักษณะตรงตามเงื่อนไขคุณธรรมแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมายถึงปฏิบัติราชการโดยตระหนักในหลักคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเพื่อการทำงานที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน

  42. 2. การพัฒนาองค์การแห่งศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม องค์การที่มีศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม (integrity)หมายถึงสถานที่ที่มีบุคคลอยู๋รวมกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความเอื้ออาทรมีความเคราพในการเป็นปัจจเจกชนของสมาชิกทุกคนเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน ใช้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและการตัดสินใจของตนเองรวมทั้งให้ความสนใจต่อสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ ต้องการ และคาดหวังจากองค์กรและบุคคลากรผ็ปฏิบัติงาน จากคำจำกัดความดังกล่าว การที่ภาคราชการจะพัฒนาไปสู่องค์การแห่งศักดิ์ศรีและจริยธรรมได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารและข้าราชการทุกระดับ เพื่อเดินทางๆไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน

  43. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับเปลี่ยนค่านิยม กระบวนทัศน์ และการพัฒนาจริยธรรมข้าราชการ การพัฒนาจริยธรรมให้กับข้าราชการเป็นการมุ่งพัฒนาทักษะ ความสาสมาถของข้าราชการให้เกิดความเข้าใจ หยั่งรู้ ตระหนักถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อสร้างและนำพาตนเองสู่การเป็นผู้มีจริยธรรม และมีความสามรถในการพิจารณาถึงเหตุและผลเพื่อแสดงเห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีจริยธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติต่อผู้อื่น เป็นต้น การปรับเปลี่ยนค่านิยมและกระบวนทัศน์ I AM READY ดังนั้น ภาคราชการจึงต้องมุ่งพัฒนาข้าราชการในทุกระดับอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม

  44. กลยุทธหลัก 1. การน้อมนำแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดีตามรอยพระยุคลบาทสู่การปฏิบัติเป็นการพัฒนาข้าราชการให้มีจริยธรรม โดยการเรียนรู้จากพระราชกรณียกิจ พระราชจิยวัตร และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานให้แก่ข้าราชการทุกคน 2. การพัฒนาด้านคุณธรรมและคุณธรรมของข้าราชการ เป็นการมุ่งพัฒนาข้าราชการทุกระดับโดยส่งเสริมการฝึกอบรมด้านจริยธรรมอย่างเข้มข้นผลักดันให้ทุกส่วนราชการเร่งส่งเสริมข้าราชการในสังกัดให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการมีจริยธรรม 3. การจัดทำและผลักดันให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม จรรยาบรรณของข้าราชการ เป็นการผลักดันให้ส่วนราชการจัดทำและ/หรือทบทวนประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ซึ่งกำหนดพฤติกรรม

  45. ที่มีจริยธรรมที่ข้าราชการพึงปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อจริยธรรม เพื่อสื่อสารและจูงใจให้ข้าราชการทุกคนประพฤติตนเองให้สอดคล้องกับจริยธรรมขององค์การ 4.การตรวจสอบจริยธรรม การตรวจสอบจริยธรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดตามการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการตรวจราชการและการเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบภาคประชาชน โดยการสร้างกลไกและการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจริยธรรมของภาคราชการ

  46. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นจริยธรรม การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นเครื่องมือหนึ่งที่วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างจริยธรรมในองค์การ โดยการเชื่อมโยงเรื่องจริยธรรมไว้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกประเมินผลการปฏิบัติงาน กลยุทธ์หลัก 1. การทดสอบข้าราชการเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม เป็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเป็นการทดสอบคุณธรรม จริยธรรม ของข้าราชการซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนพัฒนาข้าราชการด้านจริยธรรม คุณธรรม 2. การจัดทำสมุดพกข้าราชการและบันทึกผลงานและคุณงามความดี เป็นการจัดทำแฟ้มผลงานข้าราชการเพื่อบันทึกพฤติกรรมที่ดีและมีปัญหาของข้าราชการแต่ละคนซึ่งแฟ้มผลงานดังกล่าวจะเป็นการประเมินพฤติกรรม

  47. ในลักษณะการสะสมผลงานและความดีที่เป็นธรรมและเป็นจริงซึ่งจะมีผลต่อการสร้างกำลังใจสำหรับข้าราชการที่ประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นการสร้างระบบคานอำนาจ และเกิดความโปร่งใส 3.การพัฒนาระบบประเมินผลจริยธรรมตนเองของข้าราชการ เป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ตนเองได้ประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎระเบียบและจริยธรรมที่สามารถหยั่งรู้ความถูกต้องได้ด้วยตนเอง สามารถประเมินตนเองทั้งในด้านที่เป็นพฤติกรรมเชิงบวกและเชิงลบ รวมทั้งแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง

  48. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การวางระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานด้ายจริยธรรมและธรรมาภิบาล การวางระบบการสนับสนุนและโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานทางด้านจริยธรรม เพื่อเอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ทั้งในด้านของการควบคุม การชี้นำและส่งเสริมให้เกิดขึ้นในภาคราชการอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์หลัก 1.การสร้างระบบสนับสนุนเพื่อยกระดับประเทศสู่มาตรฐานด้านจริยธรรม เป็นการสนับสนุนและผลักดันให้มีการลงสัตยาบันตามอนุสัญญาของค์องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชั่นรวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและอนุวัติตามอนุสัญญาเพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวของทุกภาคส่วนในสังคม

  49. 2.การพัฒนากฎหมายเพื่อการส่งเสริมจริยธรรม2.การพัฒนากฎหมายเพื่อการส่งเสริมจริยธรรม เป็นการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวงราชการ เพื่อเป็นบรรทัดฐานและการควบคุมข้าราชการให้มีจริยธรรม 3.การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการ เป็นการเร่งรัดและผลักดันให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในฝ่ายบริหาร โดยรับผิดชอบกรณีกระทำความผิดประพฤติมิชอบของข้าราชการตั้งแต่ระดับ 8 ลงมา

  50. 4.การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม4.การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม เป็นการพัฒนาเพื่อวางระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านคุณธรรม จริยธรรม แก่ข้าราชการ ทั้งระบบตั้งแต่ การพัฒนาที่ปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม (Ethics Counselor) การวางระบบข้อมูลและการจัดการความรู้ด้านจริยธรรม รวมทั้งเปิดให้บริการสายด่วนจริยธรรม (Ethics Hotline) เพื่อให้คำปรึกษารับความคิดเห็นและตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม 5.การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านจริยธรรม เป็นการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และเผยแพร่ให้ข้าราชการตระหนักและรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อนำไปสู่ข้าราชการที่มีจริยธรรมสูง

More Related