E N D
การค้ามนุษย์ Human trafficking
การค้ามนุษย์หมายถึง การค้ามนุษย์ หมายความรวมถึง เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และพึงได้รับการช่วยเหลือ ในกรณีดังนี้ คือ เด็กหรือหญิงที่ถูกบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด รับไว้ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือ ซ่อนเร้น ซึ่งเด็กหรือหญิงโดยใช้อุบายล่อลวง ขู่เข็ญ ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร และการกระทำดังกล่าวทำให้เด็กหรือหญิงนั้น ตกอยู่ในสภาวะจำยอมกระทำการหรือยอมรับการกระทำใดๆ อันมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น การค้าบริการทางเพศ การข่มขู่บังคับจิตใจ การใช้แรงงานโดยกดขี่ทารุณ บังคับขู่เข็ญให้เป็นขอทาน งานรับใช้ในบ้านและหรือการกระทำอื่นใดที่ไร้คุณธรรม ซึ่งเด็กและหญิงนั้นหมายความรวมถึงเด็กและหญิงต่างชาติ หรือที่ไม่สามารถระบุสัญชาติได้เข้าประเทศไทยแบบถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
เป้าหมายการค้ามนุษย์ เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึง +เด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ+เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์+เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมาย แต่ภายหลังตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์+เด็กและหญิงที่มิได้มีสัญชาติไทย แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
สถานการณ์ของประเทศไทยกับการค้ามนุษย์ ประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องกับการค้าเด็กและหญิง ทั้ง 3 สถานะ คือเป็นทั้งประเทศต้นทาง ทางผ่านและปลายทาง + ประเทศต้นทาง คือ ประเทศที่มีการส่งเด็กและหญิงไปค้าต่างประเทศ+ประเทศทางผ่าน คือ ประเทศที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านของการนำเด็กและหญิงไปค้าในประเทศอื่นๆ+ประเทศปลายทาง คือ ประเทศที่มีการนำเด็กและหญิงเข้ามาค้าหรือแสวงหาประโยชน์ หรือมีการล่วงละเมิดสิทธิ
รายงานของ UNODC ปี 2549(United Nation Office on Drugs and Crimes) • กลุ่มคนที่ถูกซื้อขายมาจาก 127 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย และยุโรปตะวันออก • เหยื่อจะถูกส่งไปยังที่หมายปลายทางใน 137 ประเทศ • เหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายซื้อขายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก (ผู้หญิง 77% เด็ก 33% ผู้ชาย 9%)
รายงานของ UNODC ปี 2549(ต่อ) • การซื้อขายมนุษย์เพื่อบริการทางเพศมีจำนวนสูงขึ้น มากกว่าการลักลอบซื้อขายเพื่อใช้แรงงาน • รูปแบบการค้ามนุษย์ เกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ 87% การใช้แรงงาน 28%
การค้ามนุษย์ :การบังคับใช้กม. กฎหมายระหว่างประเทศ (1) อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) (2) พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ ค.ศ.2000(พ.ศ.2543) (3) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (4) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 182 ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ของการใช้แรงงานเด็ก ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535)
การใช้แรงงานเด็ก รูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก (อนุสัญญา 1 ฉบับที่ 182) • ทุกรูปแบบของการใช้ทาสหรือแนวทางปฏิบัติที่คล้ายกับการใช้ทาส • เช่น การขายและการขนส่งเด็ก แรงงานขัดหนี้ แรงงานไพร่ติดดิน • บังคับแรงงาน บังคับหรือเรียกเกณฑ์ -การใช้ จัดหาหรือเสนอเด็กเพื่อการค้าประเวณี เพื่อการผลิตสื่อลามก หรือเพื่อการแสดงลามก - การใช้ จัดหาหรือเสนอเด็กเพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ เพื่อการผลิต และขนส่งยาเสพติด - งานซึ่งโดยลักษณะของงานหรือ โดยสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพความปลอดภัยหรือศีลธรรมของเด็ก
ความหมายการค้ามนุษย์ :พิธีสาร การค้ามนุษย์ในพิธีสารข้อ 3 หมายถึง (1) การจัดหา ขนส่ง ย้าย จัดให้อยู่ในที่พักพิง หรือรับไว้ (2) ซึ่งบุคคล (โดยเฉพาะหญิงและเด็ก) (3) โดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ - ด้วยวิธีการข่มขู่ -คุกคามหรือใช้กำลัง -ด้วยการลักพาตัว - ด้วยการบังคับในรูปแบบอื่นใด - ด้วยการหลอกลวง - ด้วยการใช้อำนาจที่เหนือกว่าหรือความอ่อนแอของ ผู้ถูกกระทำ หรือ - มีการให้หรือรับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือประโยชน์ อย่างอื่น
ความหมายการค้ามนุษย์ :พิธีสาร(ต่อ) (4) เจตนาธรรมดา (5) เจตนาพิเศษหรือมูลเหตุชักจูงใจเพื่อนำผู้ถูกกระทำไปแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบซึ่งอย่างน้อยที่สุดต้องรวมถึง - การค้าประเวณีหรือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในรูปแบบอื่น - การบังคับแรงงานหรือบริการ - การเอาลงเป็นทาสหรือกระทำอย่างอื่นในลักษณะเดียวกัน - การจองจำ และ - การตัดอวัยวะออกจากร่างกาย
ความเป็นมา • เดิมประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ มาบังคับใช้เป็นการเฉพาะ แต่มีการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับมาใช้ให้เหมาะสมกับความผิด โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ประมวลกฎหมายอาญา และที่แก้ไขเพิ่มเติม (เพื่อบริการทางเพศ เช่น สนองความใคร่ อนาจาร เพื่อใช้แรงงาน เช่น เอาคนลงเป็นทาส การแสวงประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย) • พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 • พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 • พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปราม การค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 (ปัจจุบันถูกยกเลิก และประกาศใช้เป็นพ.ร.บ.ค้ามนุษย์ฯ พ.ศ.2551 แทน) • พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 • พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เกิดผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และปัญหาอุปสรรค รวมทั้งให้มีการดำเนินการและบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2551
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 • เนื่องจากพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิง และเด็ก พ.ศ. 2540 ยังมิได้กำหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุม การกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคล ที่มิได้จำกัดแต่เฉพาะหญิงและเด็ก และกระทำด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น เช่น การนำบุคคลเข้ามาค้าประเวณีในหรือส่งไปค้านอกราชอาณาจักร บังคับใช้แรงงาน บริการหรือขอทาน บังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่น ซึ่งในปัจจุบัน ได้กระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งใน
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 (ต่อ) ลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร จึงสมควรกำหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทำดังกล่าว เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สอดคล้องกับพันธกรณีของอนุสัญาและพิธีสารจัดตั้งกองทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งปรับปรุงการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฯ • บังคับใช้กับความผิดฐานค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ • ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหญิงและเด็กชาย • ยกเลิกพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 • ให้ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
กำหนดคำนิยามที่สำคัญ • แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ “การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม” • การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ “การข่มขืนใจให้ทำงานหรือให้บริการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของผู้อื่น โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้”
“การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” หมายความว่า - การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี - การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก - การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น - การเอาคนลงเป็นทาส - การนำคนมาขอทาน - การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ - การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า - หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล ไม่ว่า บุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ( นิยาม ตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.ค้ามนุษย์)
“การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” หมายความว่า การข่มขืนใจให้ทำงานหรือบริการ - โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น - โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ - โดยใช้กำลังประทุษร้าย - หรือโดยทำให้บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ( นิยาม ตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.ค้ามนุษย์)
กำหนดคำนิยามที่สำคัญ (ต่อ) • องค์กรอาชญากรรม “คณะบุคคลซึ่งมีการจัดโครงสร้างโดยสมคบกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนมีการกำหนดบทบาทของสมาชิกอย่างแน่นอน หรือมีความต่อเนื่องของสมาชิกภาพหรือไม่ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง หรือหลายฐานที่มีอัตราโทษจำคุกชั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไป หรือกระทำความผิดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม” • เด็ก “หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี”
หมวด 1: บททั่วไป • กำหนดลักษณะการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ - ผู้ใดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำการอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้ • เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจ โดยมิชอบ.... • เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งเด็ก
เด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยไม่มีผู้เป็นธุระจัดหาไม่เป็นการเด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยไม่มีผู้เป็นธุระจัดหาไม่เป็นการ ค้ามนุษย์ เพราะไม่มีผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากเด็ก และเด็กอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ เช่น ความผิดฐาน เข้าติดต่อ ชักชวนฯ มั่วสุมในสถานการค้าประเวณี โฆษณาเพื่อการค้าประเวณี (เด็กเป็นผู้กระทำความผิด) • เด็กสมัครใจค้าประเวณีโดยมีผู้เป็นธุระจัดหาเป็นการค้ามนุษย์ เพราะมีผู้แสวงหาประโยชน์จากเด็ก เด็กเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (เด็กเป็นเหยื่อ) • เด็กไม่สมัครใจค้าประเวณีโดยมีการบังคับ ล่อลวง ฯ เป็นการ ค้ามนุษย์ เด็กเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (เด็กเป็นเหยื่อ)
ผู้หญิง ผู้ชายสมัครใจค้าประเวณีไม่เป็นการค้ามนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชายอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้กระทำความผิด) • ผู้หญิง ผู้ชายสมัครใจค้าประเวณีโดยมีผู้เป็นธุระจัดหา ไม่เป็นการค้ามนุษย์ ถ้าไม่มีการล่อลวง บังคับ ฯลฯ ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้เป็นธุระจัดหา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นผู้กระทำความผิด) • ผู้หญิง ผู้ชายไม่สมัครใจค้าประเวณีมีการล่อลวง บังคับฯลฯ เป็นการค้ามนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชาย เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ (ผู้หญิง ผู้ชายเป็นเหยื่อ)
หมวด 2: คณะกรรมการระดับชาติ • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) • นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน • คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) • รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
หมวด 3: พนักงานเจ้าหน้าที่ • อำนาจหน้าที่ทั่วไป • จัดให้มีการคุ้มครองชั่วคราว • การได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสาร
หมวด 4: การช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์ • มาตรา 29: คุ้มครองป้องกันภัยแก่บุคคลที่มีเหตุอันควร เชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ • มาตรา 33: ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ • มาตรา 34: เรียกค่าสินไหมทดแทน • มาตรา 36: คุ้มครองพยาน • มาตรา 41: ห้ามมิให้ดำเนินคดีกับผู้เสียหาย
หมวด 5: กองทุน • การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ • ช่วยเหลือผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่ • ช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเอกชนฯ
หมวด 6: บทกำหนดโทษ • ระวางโทษ ต่ำสุดจำคุกตั้งแต่สี่ปี ถึงสิบห้าปี • ปรับ ต่ำสุดตั้งแต่แปดหมื่นบาท ถึงหนึ่งล้านบาท