1 / 32

ความจำกัดของรายได้

ความจำกัดของรายได้ ความจำกัดของรายได้แทนด้วยเส้นงบประมาณ ( budget line) เส้นงบประมาณ คือ คู่ทุกคู่ของสินค้าบริการที่ผู้บริโภคอาจเลือกซื้อหาได้ด้วยรายได้ทั้งหมดที่มีอยู่

Download Presentation

ความจำกัดของรายได้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความจำกัดของรายได้ ความจำกัดของรายได้แทนด้วยเส้นงบประมาณ (budget line) เส้นงบประมาณ คือ คู่ทุกคู่ของสินค้าบริการที่ผู้บริโภคอาจเลือกซื้อหาได้ด้วยรายได้ทั้งหมดที่มีอยู่ สมมติว่าผู้บริโภคซื้อสินค้าเพียง 2 ชนิด โดยใช้รายได้ทั้งหมด (ไม่มีการออม) เส้นงบประมาณจะมีสูตรดังนี้ PfF + PCC = I

  2. สมมติให้ Pf = 1 บาทต่อหน่วย และ Pc = 2 บาทต่อหน่วย และมีรายได้ = 80 บาทต่อวัน เขาจะสามารถใช้รายได้ไปซื้อ F และ C แบบต่างๆ ได้ดังนี้ market basket F C รายจ่ายทั้งหมด A 0 40 80 B 20 30 80 C 40 20 80 D 80 0 80

  3. จุดต่างๆสอดคล้องกับเงื่อนไข (หรือสมการ) นี้ F + 2C = 80 เมื่อแบ่งแยก F และ C ออกละเอียดขึ้นๆ ก็จะได้เส้นงบประมาณขึ้นมา (ดูรูปถัดไป) ความชันของเส้นงบประมาณแสดงการชดเชยของ F และ C ในกรณีนี้ ความชันเป็น C / F = -1/2 ค่าความชันตรงกับสัดส่วนของต้นทุน (ราคาของ) F ต่อ C

  4. Clothing (units per day) • A Budget Line F + 2C = 80 (I/PC) = 40 • B 30 Slope C / F = -1/2 = - Pf /Pc 10 • D 20 20 • E 10 G • Food (units per day) 20 40 60 80 = (I/Pf)

  5. PfF + PCC = I PCC = I - PfF C = (I / PC) - (Pf / PC)F เส้นงบประมาณจะมีความชันเป็น - (Pf / PC) และ จุดตัดแกนตั้งที่ (I / PC) PfF = I - PcC F = (I / Pf) - (Pc / Pf)C จุดตัดแกนตั้งและจุดตัดแกนนอนจะบอกว่าเขาจะซื้อสินค้า F ได้เท่าไรด้วยรายได้ทั้งหมดและ C ได้เท่าไรด้วยรายได้ทั้งหมด

  6. ผลของการเปลี่ยนแปลงในรายได้และราคา รายได้ (I) เปลี่ยนไปจะมีผลอย่างไร ดูได้จาก C = (I / PC) - (Pf / PC)F จะมีผลต่อปริมาณการซื้อ F และ C แต่ไม่มีผลต่อสัดส่วนของราคา (ความชันของเส้นงบประมาณ) I เปลี่ยนไปทำให้เส้นงบประมาณขนานไปจากเส้นเดิม ถ้า I เพิ่มขึ้น เส้นงบประมาณ shift ออกไป ถ้า I ลดลง เส้นงบประมาณ shift เข้ามา

  7. Clothing (units per day) 80 60 I = 160 40 L1 L2 I = 80 20 L3 I = 40 Food (units per day) 40 80 120 160

  8. ถ้าราคาสินค้าเพียงชนิดหนึ่งเปลี่ยนไปมีผลอย่างไร ขณะที่ราคาสินค้าอื่นคงที่ ดูจาก C = (I / PC) - (Pf / PC)F สมมติให้ Pfลดลงครึ่งหนึ่งเป็น 0.50 บาท (I / PC) ไม่เปลี่ยน แต่ (Pf / PC) เปลี่ยนจาก 1/2 เป็น 0.5/2 เส้นงบประมาณหมุน (rotate) ออกไปจากเดิม ผลจะไม่ปรากฏกับการบริโภค C แต่จะเกิดกับ F นั่นคือ บริโภค F ได้มากขึ้น หรือ อำนาจในการซื้อ F เพิ่มขึ้น

  9. Clothing (units per day) 40 L2 L1 Pf = 1/2 L3 Pf = 1 Pf = 2 Food (units per day) 40 80 120 160

  10. ถ้าราคาของสินค้าทั้งสอง (ทั้งหมด) เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดียวกัน จะทำให้ความชันของเส้นงบประมาณไม่เปลี่ยนแปลง แต่จุดตัดแกนตั้งและจุดตัดแกนนอนเปลี่ยนไป นั่นคือ (I / PC)และ(I / Pf) ต่างไปจากเดิม ทำให้เส้นงบประมาณ shift ออกไปขนานกับเส้นเดิม หากรายได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกับราคาของสินค้าทั้งสอง (ทั้งหมด) จะทำให้เส้นงบประมาณไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

  11. ทางเลือกที่ผู้บริโภคได้เลือก ทางเลือกที่ผู้บริโภคได้เลือก ผู้บริโภคจะเลือกสินค้าที่ทำให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด (maximize the satisfaction) ภายใต้รายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด เงื่อนไข 2 ประการที่ทำให้เป็นเช่นนี้ 1) ตระกร้าสินค้าต้องอยู่บนเส้นงบประมาณ (ไม่เช่นนั้น จะใช้รายได้ไม่หมดหรือรายได้ไม่พอที่จะใช้ ) 2 ) ตระกร้าสินค้าต้องให้ความพึงพอใจมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

  12. ปัญหาของการทำให้ได้ความพึงพอใจสูงสุด ภายใต้รายได้คงที่เป็นปัญหาของการเลือกจุดที่เหมาะสมบนเส้นงบประมาณ จุดที่เหมาะสมคือ จุดสัมผัสของเส้น IC และเส้นงบประมาณทำให้ความชันของทั้งคู่เท่ากัน MRS = - C/ F = Pf / Pc หากให้ IC สะท้อนความพึงพอใจ ( benefit ) และเส้นงบประมาณแสดงถึงต้นทุน ( cost ) ณ จุดที่เหมาะสม marginal benefit = marginal cost

  13. Clothing (units per week) 40 • D Budget Line • B 30 -10C U3 A • 20 U2 +10F U1 Food (units per week) 20 40 80

  14. ถ้า MRS > Pf / Pc นั่นคือ - C / F > Pf / Pc จะบริโภค F มากขึ้นและ C น้อยลงเพราะว่า F ถูกลง ทำให้ - C / F ลดลงจนในที่สุด - C / F = Pf / Pc การปรับเข้าสู่ระบบดุลยภาพนี้จะเคลื่อนไปตามเส้นงบประมาณจนได้เงื่อนไขข้างต้น

  15. Corner solution เป็นปรากฏการณ์ที่ผู้บริโภคเลือกที่จะบริโภคสินค้าเพียงบางอย่าง และไม่เลือกที่จะบริโภคสินค้าบางชนิด จุดดุลยภาพของผู้บริโภคไปอยู่มุมหนึ่งของเส้นงบประมาณ ซึ่งทำให้เขามีความพอใจสูงสุดด้วย ในทางเทคนิค, MRS >Pi / Py Pyต้องลดลงมามากๆ จนทำให้มีการบริโภค y บ้าง

  16. Frozen Yogurt (cups per month) • A U3 U2 U1 • Ice cream (cups per month) B

  17. Revealed Preference เป็นแนวคิดด้านกลับของ Consumer choice เป็นการระบุความพึงพอใจของผู้บริโภคจากตระกร้าสินค้าที่ผู้บริโภคได้เลือกได้แล้ว โดยมีหลักการว่า การที่ผู้บริโภคเลือกตระกร้าสินค้าหนึ่งจากหลายๆตระกร้าสินค้า และหากตระกร้าสินค้าที่เลือกแพงกว่าตระกร้าสินค้าอื่นๆ แสดงว่าเขาพึงพอใจในตระกร้าสินค้านั้น

  18. วิธีการเปรียบเทียบ 1) ระบุตระกร้า 2 จุดบนเส้นงบประมาณ 2) เลือกจุดที่เป็น Consumer choice 3) ให้ราคาเปลี่ยนไป ( ถูกลง ) จนทำให้เส้นงบประมาณใหม่ผ่านจุดที่ไม่เลือก 4) ตีกรอบจุดที่เหนือจุดที่เป็น Consumer choice ( เป็นกรอบบน ) ตีกรอบจุดอื่นๆที่เลือกหากราคาเปลี่ยนไป ( เป็นกรอบล่าง ) 5) เส้น IC จะอยู่บนพื้นที่ของ 2 กรอบนี้

  19. Clothing (units per month) l1 • A l2 • B D • Food (units per month)

  20. Clothing (units per month) l3 l1 • l4 • A G • l2 • B Food (units per month)

  21. Marginal utility กับ Consumer choice เป็นการใช้แนวทางของ Marginal utility (MU)มาอธิบายดุลยภาพของผู้บริโภค แทนที่จะใช้เส้นกราฟ ใช้ตัวเลขแทน MU คือ อรรถประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อได้บริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วย diminishing marginal utility เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งมากขึ้นๆ จะทำให้ MU ลดลงๆ

  22. จุดดุลยภาพของผู้บริโภคจะกำหนดได้จากการเคลื่อนตามเส้น IC ไปจนถึงจุดที่สัมผัสเส้นงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงบน IC จะทำให้ MU ที่สูญไปจากการลดบริโภคสินค้าชนิดหนึ่งไปชดเชย MU ที่เพิ่มจากการเพิ่มบริโภคสินค้าอีกชนิด MUf F + MUc C = 0 - C / F = MUf / MUc

  23. เนื่องจาก MRS = - C / F = Pf / Pc ฉะนั้น MUf / MUc = Pf / Pc MUf / Pf = MUc / Pc ดุลยภาพของผู้บริโภคจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่ออรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มต่อราคาของสินค้าทุกประเภทเท่ากัน Equal marginal principle

  24. Cost-of-living indexes (ดัชนีวัดต้นทุนของการครองชีพ) Cost of living (CL) คือ สัดส่วนของต้นทุนในปัจจุบันที่ใช้ซื้อกลุ่มสินค้าบริการเทียบกับต้นทุนในอดีตที่เป็นปีฐาน Ideal CL เป็นการเปรียบเทียบที่กำหนดให้ความพึงพอใจของบุคคลในทั้งสองช่วงเวลาเท่ากัน ( ให้ IC คงที่ ) แต่ประเด็นคือ ต้นทุนของราคาสินค้าแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นแตกต่างกันไป ทำให้มีการทดแทนการบริโภคสินค้าต่างๆได้ โดยที่อรรถประโยชน์ยังคงไว้ในระดับเดิมได้

  25. ตัวอย่างเช่น S กับ R มีค่าใช้จ่ายใน 2 ปี ที่ทำให้มีความพึงพอใจเท่ากัน ดังนี้ รายการ S (1990) R (2000) ราคาหนังสือ 20 บาท/เล่ม 100 บาท/ เล่ม จำนวนหนังสือ 15 เล่ม 6 เล่ม ราคาอาหาร 2 บาท/กก. 2.20 บาท/กก. ปริมาณอาหาร 100 กก. 300 กก. ค่าใช้จ่าย 500 บาท 1,260 บาท

  26. Books (per quarter) 25 l1 U1 A • 15 l2 B • 5 Food (lb. per quarter) 100 250 300 600

  27. Ideal CL เป็น 1,260 / 500 = 2.52 มักจะใช้ปีฐานเป็นดัชนีที่มีค่าเป็น 100 ดังนั้น Ideal CL จึงมีค่าเป็น 252 ในปี 2000 เทียบกับปี 1990 ที่มีค่าเป็น 100 หรือ CL เพิ่มขึ้น152%

  28. แต่ Ideal CL ไม่สามารถวัดได้ เพราะไม่สามารถวัดอรรถประโยชน์ของบุคคลหรือประชากรได้ จึงใช้การบริโภค หรือกลุ่มสินค้าบริการที่ซื้อมาบริโภคแทนอรรถประโยชน์ Laspeyres price index (LPI) เป็นการวัดว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อกลุ่มสินค้าบริการ ในปัจจุบันเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในอดีต นั่นคือ ต้นทุนในการซื้อสินค้าบริการในปัจจุบันหารด้วยต้นทุนในปีฐาน โดยใช้การบริโภคตระกร้าสินค้าแบบเดียวกัน

  29. โดยใช้ตัวอย่างข้างต้น มูลค่าในปี 2000 จะเป็น ( 100x15) + (2.2x100) = 1,720 LPI เป็น ( 1,720/500) x100 = 344 เมื่อเปรียบเทียบ LPI กับ ICL จะพบว่า LPI จะให้ค่าที่สูงกว่า ICL เพราะว่าไม่มีการทดแทนกันระหว่างสินค้าสองชนิดที่มีการเพิ่มขึ้นที่ไม่เท่ากัน LPI เสมือนหนึ่ง shift เส้นงบประมาณให้สูงขึ้นจากเดิม ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนการบริโภคด้วยเส้นงบประมาณที่สูงขึ้นนี้ ผู้บริโภคก็อยู่บน IC ที่สูงกว่าได้ LPI สมมติว่าผู้บริโภคไม่เปลี่ยนรูปแบบการบริโภค

  30. Books (per quarter) 25 l1 U1 A • 15 l2 l3 B • 5 Food (lb. per quarter) 100 250 300 600

  31. Paasche price index (PPI) เหมือนกับ LPI แต่ต่างกันที่จะใช้การบริโภคสินค้าบริการของปีปัจจุบันเป็นหลัก PPI เป็นการวัดว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อกลุ่มสินค้าบริการที่บริโภคในปัจจุบันเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในอดีตในการบริโภคสินค้าชุดนั้น ใช้ตัวอย่างข้างต้น มูลค่าในปี 1990 จะเป็น ( 20x6 ) + ( 2x300 ) = 720 PPI เป็น ( 1,260 /720 ) x 100 = 175 PPI ให้ค่าต่ำกว่า ICL เพราะว่าใช้ต้นทุนต่ำกว่าที่ในการซื้อกลุ่มสินค้านี้

  32. เปรียบเทียบ LPI กับ PPI ด้วยสูตรดังนี้ LPI = ( Pft x Fb ) + ( Pct x Cb ) / ( Pfb x Fb ) + ( Pcb x Cb ) = 344 PPI = ( Pft x Ft ) + ( Pct x Ct ) / ( Pfb x Ft ) + ( Pcb x Ct ) = 175 สังเกตว่าทั้งสองเป็น fixed weight index โดยที่ LPI ใช้ปริมาณสินค้าในปีฐานคงที่ PPI ให้ปริมาณสินค้าปีปัจจุบันคงที่ แต่ LPI ให้ค่าสูงกว่า PPI

More Related