1 / 25

โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ. โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.

oral
Download Presentation

โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

  2. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในการดำเนินการด้านจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 244 (2) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการด้านจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 279 วรรค 3 และมาตรา 280

  3. มาตรา 279 มาตรฐานทางจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงาน เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ

  4. มาตรา 279 วรรค 3 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา 270

  5. มาตรา 280 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะ หรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279 วรรคสาม ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม มีลักษณะร้ายแรงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได้

  6. ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำประมวลจริยธรรมผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำประมวลจริยธรรม 1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 1.1 ระดับชาติ ได้แก่ ส.ส. / ส.ว. / ข้าราชการการเมือง 1.2 ระดับท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิก สภาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล 2. ข้าราชการแต่ละประเภท (แยกตามกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการแต่ละประเภท / หรือตามคณะกรรมการบริหารงานบุคคลแต่ละประเภท) 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท 3.1 รัฐวิสาหกิจ 3.2 องค์การมหาชน 3.3 องค์กรอิสระ / องค์กรตาม รธน. 3.4 เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่นๆ รัฐธรรมนูญมาตรา 304 บัญญัติให้ดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (วันที่ 24 สิงหาคม 2550)

  7. ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน 1. เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ กำหนดมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ ซึ่งทุกองค์กรและหน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมของแต่ละองค์กรและหน่วยงาน ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการจัดทำประมวลจริยธรรมเพื่อให้เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน เป็นศูนย์กลางข้อมูลประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศ โดยจัดทำระบบการจัดเก็บประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อสะดวกแก่การสืบค้นข้อมูล

  8. ค่านิยมหลัก (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ • การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม • การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ • การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย • การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ • การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ • การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

  9. ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เพื่อให้ผู้รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ดำเนินการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม มีลักษณะร้ายแรง หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได้ 2.

  10. 5 6 1 2 3 4 การรายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เห็นว่าไม่ ฝ่าฝืน ยุติ ส่งผู้รับผิดชอบในการบังคับการเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการร้องเรียน ตรวจสอบรายงาน เห็นว่าฝ่าฝืน กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอน รายงานผล การสอบสวน ส่งเรื่อง • การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะร้ายแรง • มีเหตุอันควรเชื่อว่าการดำเนินการจะไม่เป็นธรรม ให้ผู้รับผิดชอบในการบังคับการ ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ของหน่วยงานดำเนินการสอบสวน อาจไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะ

  11. ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม 3. สร้างเครือข่าย จัดกิจกรรม จัดสัมมนา และฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ

  12. แนวทางการสร้างเครือข่ายและประสานงานแนวทางการสร้างเครือข่ายและประสานงาน กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม

  13. กลุ่มต่างๆทางด้านจริยธรรมกลุ่มต่างๆทางด้านจริยธรรม สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน/สังคม สถาบันการเมืองการปกครอง เครือข่ายจริยธรรม อื่นๆ

  14. บิดามารดาเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูก บิดามารดาเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูก • บิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพ • ลูกมีความเคารพรักและเชื่อฟังบิดามารดา • ลูกหลานขยัน สนใจศึกษาเล่าเรียน และช่วยเหลืองานในบ้าน • ใช้หลักศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อทำความดี • ปลูกฝังความเชื่อของเด็กในเรื่องความรู้คู่คุณธรรม หรือหากเป็นคนดีก็จะเรียนดีเอง • ญาติพี่น้องอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อบอุ่น ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน • มีกิจกรรมด้านส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรมร่วมกันตามสมควร • สิ่งแวดล้อมภายในบ้านต้องเอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก • ให้ความสำคัญในการสั่งสอนหรือให้คำแนะนำด้วยเหตุด้วยผล มากกว่าการลงโทษรุนแรง • ฯลฯ สถาบันครอบครัว พ่อแม่ บุตรหลาน ญาติพี่น้อง กิจกรรม การอบรมสั่งสอน สิ่งแวดล้อม / เครือข่าย

  15. รัฐมีนโยบายด้านคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาทุกระดับ • ครูอาจารย์ทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรม • ครูอาจารย์ทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด จะต้องสอดแทรกจริยธรรมในเนื้อหาวิชา ที่ตนรับผิดชอบด้วย • หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มีการสอดแทรกเรื่องจริยธรรม ทั้งที่เป็นวิชาหลัก และสอดแทรกไว้ในวิชาอื่นๆ • นอกจากคะแนนสอบแล้ว ใช้คุณสมบัติทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ในการพิจารณาคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาในทุกระดับ • ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ความสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ทั้ง ครูอาจารย์ทุกคน บุคลากรในสถานศึกษา และนักเรียน • ผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมใน สถานศึกษา ตลอดจนทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม • ในการส่งเสริมหรือมอบรางวัลให้แก่สถานศึกษา หรือให้แก่นักเรียน ให้พิจารณาถึง ผลงานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ของสถานศึกษาหรือนักเรียนโดยภาพรวมด้วย • สถานศึกษาต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม • ส่งเสริมให้สถานศึกษามีกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม โดยมุ่งเน้นความมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน • จัดประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านจริยธรรม • ฯลฯ สถาบันการศึกษา สถาบัน ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน หลักสูตร / กิจกรรม เครือข่าย

  16. องค์กรปกครองส่วนท้องที่ มีนโยบายด้านการบริหารงานและให้บริการ ประชาชนโดยมุ่งเน้นแนวทางคุณธรรมจริยธรรม • ผู้บริหารชุมชนทุกระดับ เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมจริยธรรม • สมาชิกในชุมชนและสังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแล กวดขัน และเฝ้าระวังเรื่อง การฝ่าฝืนคุณธรรมจริยธรรม • ชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมร่วมกันตามระยะอันสมควร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน • การชมเชย หรือมอบรางวัลแก่ชุมชน หรือสมาชิกในชุมชนที่มีความ โดดเด่นหรือสมควรได้รับการยกย่องทางด้านจริยธรรม • ฯลฯ สถาบันชุมชน / สังคม สถาบันในชุมชน ผู้บริหาร อปท. สมาชิกในชุมชน กิจกรรม การเฝ้าระวัง การยกย่องชมเชย

  17. ร่วมกันสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้คุณธรรมจริยธรรม เป็นวาระแห่งชาติ / แผนจริยธรรมระดับชาติ • ผู้นำทางศาสนา และบุคลากรทางศาสนา จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ประชาชน • ผู้นำทางศาสนา และบุคลากรทางศาสนาทุกระดับ จะต้องเป็นหลักสำคัญในการ ปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้กับผู้คนในชุมชน • สร้างความผูกพันระหว่างสถาบันต่างๆ ในสังคมและสถาบันทางศาสนา โดยกิจกรรมต่างๆ ตามสมควร • กวดขัน สอดส่อง ดูแล มิให้บุคลากรทางศาสนา กระทำการฝ่าฝืนด้านคุณธรรม จริยธรรม • ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมทางศาสนาที่เป็นการปลูกฝังคุณธรรมสจริยธรรม ให้เหมาะสม ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย • พัฒนาบุคลากรทางศาสนาในด้านเทคนิคการถ่ายทอดและปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยและเนื้อหา • ฯลฯ สถาบันทางศาสนา ผู้นำทางศาสนา บุคลากร การเผยแพร่ การเฝ้าระวัง การพัฒนา กิจกรรม

  18. สถาบันทางการเมือง ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของชาติ • ร่วมผลักดันคุณธรรมจริยธรรม เป็นวาระแห่งชาติ / แผนจริยธรรมของชาติ • ผู้นำทางการเมืองทุกระดับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี ในด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป • ผู้นำทางการเมืองทุกระดับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องกวดขันให้บริวาร และผู้ใกล้ชิด มีคุณธรรมจริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างเคร่งครัด • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่โดยเห็นแก่ประโยชน์ของชาติ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน • สถาบันทางการเมือง ต้องกวดขัน และเฝ้าระวัง มิให้สมาชิกกระทำการ ฝ่าฝืนคุณธรรม จริยธรรม มีระบบการตรวจสอบและลงโทษอย่างเคร่งครัด • ฯลฯ สถาบันการเมืองการปกครอง นโยบาย นักการเมือง ผู้ใกล้ชิด กิจกรรม การเป็นตัวอย่างที่ดี / การเฝ้าระวัง เครือข่าย

  19. เสริมสร้างเครือข่ายด้านจริยธรรมในทุกภาคส่วนและทุกระดับ เสริมสร้างเครือข่ายด้านจริยธรรมในทุกภาคส่วนและทุกระดับ • เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการดำเนินการด้านจริยธรรม ในความรับผิดชอบ • สร้างสรรค์กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม ให้สมาชิกของเครือข่าย และประชาชนทั่วไป • เสริมสร้างความร่วมมือทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่าย เพื่อดำเนินการด้านปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม • ผู้นำเครือข่ายต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านจริยธรรมให้กับสมาชิกใน เครือข่ายและประชาชนทั่วไป • พิจารณาจัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของสถาบันต่างๆในสังคม และเครือข่ายอื่นๆ • ฯลฯ เครือข่ายด้านจริยธรรม สร้างเครือข่าย การพัฒนา ความร่วมมือ การเป็นตัวอย่างที่ดี กิจกรรม การมีส่วนร่วม / เครือข่าย

  20. องค์ประกอบหลักของประมวลจริยธรรมองค์ประกอบหลักของประมวลจริยธรรม • มาตรฐานทางจริยธรรม • กลไกและระบบบังคับการ • 3. ขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรง

  21. มาตรฐานทางจริยธรรม มาตรฐานทางจริยธรรม อันเป็นค่านิยมหลัก (Core Value) 9 ประการ มาตรฐานทางจริยธรรม ขององค์กร จรรยาวิชาชีพ (ถ้ามี)

  22. กลไกและระบบบังคับการ กลไก ระบบบังคับการ

  23. ขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรง การลงโทษ ความร้ายแรง แนวทางการพิจารณาความร้ายแรง

  24. การประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมจะถือเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาจาก พฤติกรรมของการฝ่าฝืน ความจงใจหรือเจตนา มูลเหตุจูงใจ ความสำคัญและระดับตำแหน่งตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฝ่าฝืน สภาพแวดล้อมแห่งกรณี อายุ ประวัติและความประพฤติในอดีต ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน เหตุอื่นอันควรนำมาประกอบการพิจารณา

  25. ขอขอบคุณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 www.ombudsman.go.th

More Related