1 / 22

ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ

ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ. การพูด คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาอาการ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้ และเกิดการตอบสนอง.

omer
Download Presentation

ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ • การพูดคือการใช้ถ้อยคำน้ำเสียงและกิริยาอาการเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดความรู้ประสบการณ์ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง

  2. การพูดที่ดีคือการใช้ถ้อยคำน้ำเสียงผสมผสานกิริยาอาการเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดความรู้ประสบการณ์และความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟังเพื่อให้เกิดการรับรู้ และเกิดผลการตอบสนองอย่างได้ผลตามความมุ่งหมายของผู้พูด

  3. ความมุ่งหมายของการพูดความมุ่งหมายของการพูด • ความมุ่งหมายของการพูดคือการแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟังและผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูดตลอดจนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ความมุ่งหมายของการพูดแบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆ 1.ความมุ่งหมายของการพูดโดยทั่วไป 2. ความมุ่งหมายเฉพาะ

  4. 1. ความมุ่งหมายโดยทั่วไปคือการพูดที่พยายามให้ผู้ฟังเกิด ก. ความสนใจ ข. ความเข้าใจ ค. ความประทับใจ

  5. 2. ความมุ่งหมายเฉพาะ ก. เพื่อให้ข่าวสารความรู้เป็นการพูดแบบเสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ฟังแต่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง ข. เพื่อความบันเทิงเป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังสนุกสนานครึกครื้น ค. เพื่อชักจูงใจคือการพูดที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังเปลี่ยนใจ เห็นคล้อยตามผู้พูดโดยใช้การเร้าอารมณ์เป็นที่ตั้ง

  6. การพูดเพื่อชักจูงใจ • การพูดเพื่อชักจูงใจเป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อและเพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วยทั้งทางความคิดและการกระทำตามความมุ่งหมายของผู้พูด • เป็นการพูดให้ผู้ฟังมีความเห็นคล้อยตามและปฏิบัติตามเป็นการพูดอย่างมีเหตุผลเพื่อโน้มน้าวจิตใจเกลี้ยกล่อมชักจูงให้ผู้ฟังคล้อยตาม

  7. จุดมุ่งหมายของการพูดจูงใจจุดมุ่งหมายของการพูดจูงใจ • เพื่อชักจูงให้ผู้ฟังเห็นด้วยคล้อยตามในข้อเรียกร้องวิงวอนหรือข้อประท้วงเพื่อให้เปลี่ยนความเชื่อความคิดเพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้ทำหรือปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง

  8. หลักการพูดจูงใจ *ให้ผู้ฟังสนใจในการพูด * ทำให้ผู้ฟังไว้วางใจและมีศรัทธาในถ้อยคำของผู้พูด * บรรยายถึงเหตุผลข้อเท็จจริงเพื่อเป็นความรู้แก่ ผู้ฟังเกี่ยวกับคุณค่าของปัญหาที่นำมาแสดง * พูดด้วยการวิงวอนคนจูงใจให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับ

  9. องค์ประกอบของการพูดจูงใจองค์ประกอบของการพูดจูงใจ องค์ประกอบของการพูดที่สมบูรณ์ประกอบด้วย • 1.     ผู้พูด • 2.     เนื้อเรื่องที่จะพูด • 3.     ผู้ฟัง • 4.     เครื่องมือสื่อความหมาย • 5.     ความมุ่งหมายและผลในการพูดแต่ละครั้ง

  10. ผู้พูด หรือผู้ส่งข่าวสาร (Source/Sender) • สาเหตุของความประหม่า 1. มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร 2.เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง 3. วาดภาพในใจไว้อย่างผิดๆ

  11. ข้อปฏิบัติเพื่อเอาชนะความประหม่าเวทีให้ได้ผลและสร้างความมั่นใจในตนเองข้อปฏิบัติเพื่อเอาชนะความประหม่าเวทีให้ได้ผลและสร้างความมั่นใจในตนเอง * เตรียมซ้อมเรื่องที่จะพูดมาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ * ให้ความสนใจในเรื่องราวที่จะพูดให้มากพอ * หาข้อมูลเกี่ยวกับคนฟังให้มากพอเพื่อจะได้ดัดแปลงเรื่องที่เราพูดให้เหมาะสมกับคนฟังให้มากที่สุด

  12. * ขณะที่พูดพยายามพูดกับคนฟังให้ทั่วถึงยิ่งจับตาคนฟังให้ทั่วถึงมากเพียงไรความกลัวก็จะหายไป * พยายามทรงตัวให้ดีขณะที่พูดการทรงตัวที่สมดุล จะทำให้ผู้พูดรู้สึกมั่นใจขึ้น * ตั้งใจให้มั่นคงเสมอว่าจะพยายามพูดให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  13. นักพูดที่ดีจะต้องพยายามเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนเสียงและลีลาของใครพยายามพูดให้เป็นแบบธรรมชาตินักพูดที่ดีจะต้องพยายามเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนเสียงและลีลาของใครพยายามพูดให้เป็นแบบธรรมชาติ • สิ่งที่ควรปฏิบัติ • * พูดให้เสียงดังฟังชัด • * จังหวะการพูดไม่ช้าหรือเร็วเกินไป • * อย่าพูดเอ้อ-อ้า • * อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือหรือท่องจำ • * พูดด้วยความรู้สึกที่จริงใจ

  14. ข้อเตือนที่ควรจดจำ • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมีความเข้าใจในเรื่องที่ท่านจะพูด • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมีความเชื่อเรื่องที่ท่านพูด • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความรู้สึก ตามเรื่องที่ท่านพูด

  15. ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจเกิดขึ้น • ผู้ฟังแสดงความไม่พอใจหรือไม่เป็นมิตรกับผู้พูด จงยิ้มเพราะการยิ้มแสดงถึงความรักความชอบ ความเป็นมิตร • ผู้ฟังหรือคู่สนทนาโต้เถียงกับท่าน จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียงควรรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวใช้ความสุขุมรอบคอบประนีประนอมและเห็นอกเห็นใจ

  16. ผู้ฟังหรือคู่สนทนาตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษท่านผู้ฟังหรือคู่สนทนาตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษท่าน จงพูดปรักปรำลงโทษตัวเองในประการต่างๆซึ่งจะเป็นการลดความขุ่นเคืองของผู้ฟังลงได้ จงใช้วิธีสุภาพอ่อนโยนนุ่มนวลแสดงความเป็นมิตร • เมื่อพูดกับฝูงชนที่กำลังคลั่งแค้นในลักษณะที่บ้าคลั่ง จงหลีกเลี่ยงการให้เหตุผลเมื่อแรกพบ วิธีที่ดีที่สุดคือพยายามพูดให้ฝูงชนรู้สึกว่าเราเห็นใจเขาและเป็นฝ่ายเดียวกับเขาพร้อมกับพยายามพูดชักจูงเพื่อเบนความ สนใจหรือได้คิด ได้ไตร่ตรอง จากนั้นจึงเสนอแนะให้พวกเขาหาทางออกด้วยวิธีอื่นต่อไป

  17. เมื่อพูดกับฝูงชนที่เสนอข้อเรียกร้องเมื่อพูดกับฝูงชนที่เสนอข้อเรียกร้อง ผู้พูดจะต้องตั้งสติให้มั่นอย่าแสดงอาการตกใจหรือรู้สึกหวาดหวั่นมากเกินไป ไม่ควรจะตอบรับหรือตอบปฏิเสธทันทีควรพูดรับแต่เพียงว่า “จะขอรับข้อเสนอทั้งหมดไว้ให้ผู้มีอำนาจพิจารณา”หรือ หากท่านเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอาจตอบอย่างมีความหวังว่า “ ขอรับข้อเรียกร้องทั้งหมดนี้ไว้พิจารณาและจะให้ความเป็นธรรมแก่ ทุกคน”

  18. เมื่อพูดกับฝูงชนที่บีบคั้นให้ตอบคำถามที่ไม่มีทางเลือกเมื่อพูดกับฝูงชนที่บีบคั้นให้ตอบคำถามที่ไม่มีทางเลือก เช่น“จะจัดการหรือไม่”“จะทำหรือไม่”“จะเพิ่มเติมหรือไม่”หรือ“จะแก้ไขหรือไม่” ควรตอบว่าตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงจะต้องทราบข้อเท็จจริงเสียก่อนจึงจะตอบให้ทราบโดยพยายามใช้คำพูดแสดงความตั้งใจที่จะช่วยเหลือและให้ความร่วมมือเช่นพูดว่าเห็นใจเขาเข้าใจพวกเขาดีจะพยายามหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุดจะประชุมกรรมการด่วนจะพิจารณาให้คำตอบโดยเร็วที่สุดเป็นต้น

  19. ข้อควรระวังในการพูดให้เกิดอารมณ์ขันข้อควรระวังในการพูดให้เกิดอารมณ์ขัน “การพูดให้เกิดอารมณ์ขันต้องสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม” * อย่าบอกผู้ฟังด้วยประโยคทำนองนี้ “ต่อไปนี้เป็นเรื่องขำขัน...”“อยากจะเล่าเรื่องตลกให้ฟัง...”“มีเรื่องสนุกๆจะเล่าให้ท่านฟัง...” * อย่าตลกเองหัวเราะเองพยายามอย่าหัวเราะก่อนผู้ฟังเป็น อันขาด * อย่าให้เรื่องตลกกลายเป็นสาระสำคัญของเรื่องให้เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น

  20. * ระวังการล้อเลียนเสียดสีประชดประชันบุคคลหรือสถาบันให้ดีอย่าให้มากจนเกินขอบเขตจะเป็นผลร้าย มากกว่าผลดี * อย่าพูดเรื่องหยาบโลนหรือตลกสองแง่สองง่ามแม้จะเรียก เสียงฮาได้แต่ก็เป็นการลดค่าตัวเองให้ต่ำลง * ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมศาสนาและสิ่งที่คนทั่วไปเคารพสักการะอย่านำมาล้อเลียนพูดเล่นเป็นอันขาด * อารมณ์ขันที่ดีต้องสุภาพนิ่มนวลและแนบเนียนไม่นอกลู่นอกทาง

  21. เอกสารอ้างอิง • พัชนี เชยจรรยา, เมตตา กฤตวิทย์ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์.แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ:เจริญผล,2534. • ภูสิต เพ็ญสิริ.การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ. (เอกสารประกอบการบรรยาย),2549. • ประเสริฐ บุญเสริม.บทความศิลปะการพูด.(ออนไลน์)

More Related