690 likes | 1.15k Views
บิดามารดากับบุตร. ความเป็นบิดามารดา. มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 1546 “เด็ก เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น” ฎีกาที่ 1303/2518 บิดา การบิดากับบุตร กฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ไว้ 2 ลักษณะ เด็กในสมรส
E N D
บิดามารดากับบุตร กฎหมายครอบครัว
ความเป็นบิดามารดา • มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย • มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” • ฎีกาที่ 1303/2518 • บิดา • การบิดากับบุตร กฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ไว้ 2 ลักษณะ • เด็กในสมรส • เด็กนอกสมรส กฎหมายครอบครัว
เด็กในสมรส • กฎหมายได้สันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย จำแนกได้ 4 ประการ คือ • เด็กเกิดจาการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง) • เด็กเกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ (มาตรา 1536 วรรคสอง) • เด็กเกิดจาการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1453 (มาตรา 1537) • เด็กเกิดจากการสมรสซ้อนมาตรา 1538 กฎหมายครอบครัว
เด็กเกิดจาการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง) มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี” • ระยะเวลาตั้งครรถ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 1536 นั้น มาจากหลักในทางการแพทย์ที่ถือว่านับแต่วันปฏิสนธิ เด็กจะคลอดได้เร็วที่สุดภายใน 180 วัน และเด็กจะอยู่ในครรภ์มารดาได้นานที่สุดไม่เกิน 310 วัน เหตุนี้เด็กจะคลอดก่อน 180 วัน หรือหลัง 310 วัน นับแต่วันปฏิสนธิไม่ได้ • บทสันนิษฐานตามมาตรา 1536 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ถือเป็นเด็ดขาด เหตุนี้หากชายมั่นใจว่าเด็กนั้นไม่ใช่บุตรของตน ก็สามารถฟ้องปฏิเสธไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ ในทำนองเดียวกัน เด็กกับมารดาเด็กก็สามารถฟ้องปฏิเสธตความเป็นบิดาของชายได้เช่นเดียวกัน กฎหมายครอบครัว
เด็กเกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ (มาตรา 1536 วรรคสอง) มาตรา 1536 “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น” กฎหมายครอบครัว
เด็กเกิดจาการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1453 (มาตรา 1537) มาตรา 1537 ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่นั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1453และคลอดบุตรภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ผู้เป็นสามีคนใหม่ และห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น กฎหมายครอบครัว
เด็กเกิดจากการสมรสซ้อนมาตรา 1538 มาตรา 1538 “ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรส ฝ่าฝืนมาตรา 1452เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรสที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จด ทะเบียนสมรสครั้งหลัง ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็น สามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานในมาตรา 1536มาใช้บังคับ ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้ บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่ สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ด้วย” กฎหมายครอบครัว
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร • ในกรณีกฎหมายสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีของหญิง จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ว่า • ตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์คือ ระหว่าง 180 วัน ถึง 310 วันก่อนเด็กเกิดหรือ • ตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่นเช่น พิสูจน์ว่าตนมีอวัยวะสืบพันธ์ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นหมัน ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวของตน หรือที่มีความสัมพันธ์กับหญิงเท่านั้นจะพิสูจน์ในส่วนความประพฤติของเด็ก หรือขอให้ศาลพิจารณาจากการพิสูจน์โดยวิธีทางการแพทย์ระหว่างตนกับเด็กไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
เด็กเกิด นานเกินไป ช่วงเวลาที่จะมีการปฎิสนธิ น้อยเกินไป 130 วัน 180 วัน ช่วงเวลาที่ชายอยู่ร่วมกับมารดาเด็ก กฎหมายครอบครัว
อายุความการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร มาตรา 1542 • กรณีทั่วไป ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้การเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก • การสมรสฝ่าฝืน มาตรา 1537 หรือ 1538 กรณีที่หญิงสมรสใหม่ภายใน 310 วัน นับแต่การสมรสิ้นสุดลงและคลอดบุตรในระยะเวลาดังกล่าวตามมาตรา 1537 หรือหญิงทำการสมรสซ้อนและคลอดบุตรในระหว่างสมรสซ้อน หรือภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาว่าการสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1538 หากชายผู้เป็นสามีคนใหม่หรือชายที่จดทะเบียนสมรสซ้อนได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร และต่อมาศาลพิพากษาแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ หรือชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง กฎหมายจะสันนิษฐานว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีเก่าของมารดาเด็ก เช่นนี้ ชายซึ่งเป็นอดีตสามีหรือสามีคนเก่าสามารถฟ้องไม่รับเด็กนั้นเป็นบุตรของตนได้เช่นเดียวกัน โดยมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้คำพิพากษาถึงที่สุด กฎหมายครอบครัว
ข้อห้ามในการฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรมาตรา 1541 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้ถ้าปรากฏว่าตนเป็นคนแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนหรือจัดหรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว กฎหมายครอบครัว
การรับมรดกความในคดีฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรการรับมรดกความในคดีฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร มาตรา 1543 “ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรแล้ว และตายก่อนคดีนั้นถึงที่สุด ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของ เด็กนั้นจะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่หรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีก็ได้” • ผู้ที่จะขอรับมรดกความ คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก ซึ่งต้องมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานเช่นเดียวกับเด็ก และในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาตามมาตรา 1629 และคู่สมรสของชาย ตามมาตรา 1629 วรรค 2 • ส่วนผู้ที่จะเสียสิทธิรับมดรกเพราะการเกิดของเด็ก หมายถึง ผู้ที่เสียสิทธิในการรับมรดกหากเด็กนั้นเกิดขึ้นมา เพราะถ้าไม่มีเด็กนั้นตัวเขาก็จะเป็นทายาทโดยธรรมที่จะได้รับมรดก แต่เพราะการเกิดของเด็กทำให้เขาไม่ได้รับมรดก กฎหมายครอบครัว
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรโดยบุคคลอื่น • จะฟ้องได้เฉพาะ 2 กรณีเท่านั้น • ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีของมารดาเด็กตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะพึงฟ้องได้ • คือก่อนพ้นระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1542 คือ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก ซึ่งการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณีเช่นนี้ จะต้องฟ้องภายในหกเดือนนับแต่วันรู้ถึงการตายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี • เด็กเกิดภายหลังการตายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี • ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องคดีภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการกาเรกิดของเด็ก แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันเกิดของเด็ก กฎหมายครอบครัว
วิธีการฟ้องคดี • มาตรา 1544 วรรคท้าย ให้นำมาตรา 1539 มาใช้บังคับโดยอนุโลม • ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้เสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็กจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องทั้งเด็กและมารดาเด็กเป็นจำเลยร่วมกัน ถ้ามารดาเด็กไม่มีชีวิติอยู่ จะฟ้องเด็กเป็นจำเลยผู้เดียวก็ได้ • พิสูจน์ว่า ชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีของมารดาเด็กไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์ คือ ระหว่าง ก่อนเด็กเกิด หรือชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีนั้นไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอื่น • แต่ถ้าหากชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีนั้นเป็นผู้แจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเด็กที่เกิดนั้นเป็นบุตรของตน หรือจัดหรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรไม่ได้ (มาตรา 1541) กฎหมายครอบครัว
การฟ้องคดีปฏิเสธการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายการฟ้องคดีปฏิเสธการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีที่มีข้อสันนิษฐานว่าเด็กบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงต่อเด็กว่าตนมิได้เป็นบุตรสืบสายโลหิตของชายผู้เป็นสามีของมารดาตน กฎหมายให้สิทธิเด็กปฏิเสธการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นได้ วิธีการ - เด็กต้องขอให้อัยการฟ้องคดีแทน ฟ้องคดีเองไม่ได้เพราะจะเป็นคดีอุทลุม กำหนดระยะเวลาฟ้องคดี - ฟ้องคดีภายใน 1 กฎหมายครอบครัว
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดี • ถ้ารู้ข้อเท็จจริงก่อนบรรลุนิติภาวะอัยการจะต้องดำเนินการฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติภาวะ • ถ้ารู้ข้อเท็จจริงหลังบรรลุนิติภาวะ อัยการจะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เด็กรู้เหตุนั้น • แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติภาวะ กฎหมายครอบครัว
ผลของการที่ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งว่าเด็กมิใช่บุตรของชายผู้เป็นสามีของมารดา หรือเคยเป็นสามีของมารดานั้น • ผลของการที่เด็กนั้นมิใช่บุตรที่เกิดจากการฟ้องคดีตามมาตรา 1545 จึงย่อมมีผลมาตั้งแต่เริ่มแรกขณะที่เด็กคลอดออกมา หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ • นอกจากนี้คำพิพากษาของศาลที่ว่าเด็กมิใช่บุตรนั้นไม่มีผลทำให้เด็กนั้นกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นซึ่งอาจตกอยู่ในบทสันนิษฐานสำรองแห่งบทบัญญัติในมาตรา 1536-1538 ดังนั้น ชายผู้เป็นบิดาโดยแท้จริงจึงจะต้องดำเนินการให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของตนอีกชั้นหนึ่ง กฎหมายครอบครัว
ข้อสังเกต การฟ้องคดีปฎิเสธการเป็นบุตร • การฟ้องคดีปฏิเสธการเป็นบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของเด็ก ดังนั้น บุคคลอื่น เช่น มารดา หรือผู้มีส่วนได้เสีย จะฟ้องคดีปฎิเสธความเป็นบุตรไม่ได้ โดยไม่ต้องคำถึงว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นจะมีประโยชน์ได้เสียในทางทรัพย์สินกับเด็กด้วยหรือไม่ ดังนั้น ในกรณีที่เด็กถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีปฎิเสธความเป็นบุตรได้ หรือหากอัยการจะได้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวไปแล้ว หากเด็กตาย คดีก็ย่อมระงับ • กรณีที่ สามีของผู้เป็นมารดาเด็กได้ถึงแก่ความตาย ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หย่า ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรส หรือพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ เด็กจะฟ้องดคีปฏิเสธการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ได้หรือไม่ ? กฎหมายครอบครัว
บุตรนอกสมรส มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร” • บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ 3 กรณี • บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง • บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร • ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร กฎหมายครอบครัว
บิดามารดาได้สมรสกันภายหลังบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง • บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง มีผลเป็นทำใหเด็กมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาของบิดานับแต่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิขอบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันไม่ได้ (มาตรา 1557) • ข้อสังเกต • ถ้าบิดามารดาสมรสกันภายหลังจากบุตรถึงแก่ความตายแล้ว จะมีผลเกี่ยวกับมรดกอย่างไร กฎหมายครอบครัว
บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร • ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเป็นบิดาที่แท้จริงของเด็ก โดยชายผู้เป็นบิดาต้องไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต่อนายทะเบียน หากเด็กและมารดาเด็กไปด้วย นายทะเบียนจะให้ผู้ร้องและบุคคลทั้งสองลงนามให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน • แต่หากเด็กและมารดาเด็กไม่มาแสดงตนเพื่อให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน นายทะเบียนจะต้องสอบปากคำผู้ร้องให้รากฎข้อเท็จจริงว่า เด็กหรือมารดาเด็กที่ไม่มานั้นมีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด แล้วมีหนังสือแจ้งการขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนั้นไปยังเด็กและมารดาเด็กเพื่อสอบถามว่าจะให้ความยินยอมในการจดทะเบียนครั้งนี้หรือไม่ • ถ้าไม่ทราบภูมิลำเนา ก็ประกาศหนังสือพิมพ์ หรือโดยวิธีการใดๆ ก็ได้ กฎหมายครอบครัว
ถ้าเด็กได้และมารดาเด็กได้ทราบ และให้ความยินยอม นายทะเบียนก็สามารถจดทะเบียนได้ • ถ้านายทะเบียนได้รับคำตอบจากเด็กและมารดาเด็กว่าไม่ยินยอม หรือคัดค้าน หรือนายทะเบียนไม่ได้รับคำตอบจากเด็กและมารดาเด็กว่ายินยอมหรือแสดงการคัดค้านภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กและมารดาเด็ก หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเด็กและมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม นายทะเบียนจะจดทะเบียนไม่ได้ • ผู้ขอจดทะเบียนถ้าประสงค์จะรับเด็กเป็นบุตร ต้องนำคดีไปสู่ศาล (มาตรา 1548 วรรค 3 ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศษล) กฎหมายครอบครัว
ข้อสังเกต • กรณี “เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้” เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา หรือมารดาเด็กถึงแก่ความตาย • เด็ก หรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้เพียงเหตุผลเดียว คือ ผู้ขอจดทเบียนไม่ใช่บิดา กฎหมายครอบครัว
การแจ้งว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองการแจ้งว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง • แม้ว่าบิดาจะขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรได้ แต่เด็กหรือมารดาเด็กก็มีสิทธิที่จะโต้แย้งว่าชายนั้นไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กบางส่วนหรือทั้งหมดได้ ตาม มาตรา 1549 และมาตรา 1551 โดยมีวิธีดำเนินการแจ้งฯ ดังนี้ (ดูหน้าต่อไป) กฎหมายครอบครัว
นายทะเบียนแจ้งการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนายทะเบียนแจ้งการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร • เด็ก หรือมารดาเด็ก คัดค้าน ไม่ยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอม • นำคดีไปสู่ศาล • แม้ศาลจะพิพากษาให้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร เด็กหรือมารดาเด็กจะขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแม้จะเป็นบิดาของเด็ก ก็เป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด (มาตรา 1551) • เด็กหรือมารดาเด็กยินยอม • เด็กหรือมารดาเด็กสามารถแจ้งเรื่องไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ให้นายทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันแจ้งการขอจดทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก • ผล • บิดาใช้อำนาจปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้จนกว่า • เด็ก หรือมารดาเด็กไม่ได้ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่เป็นสมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดภายใน 90 วันนับแต่แจ้งเรื่องให้นายทะเบียน • ศาลพิพากษาให้บิดาของเด็กใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด(เด็ก หรือมารดาเด็กได้ร้องต่อศาล กฎหมายครอบครัว
ผลของการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรผลของการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตใน ระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จด ทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้” • ข้อสังเกต • การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรจะกระทำภายหลังเด็กตายได้หรือไม่ กฎหมายครอบครัว
การถอนทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรการถอนทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร มาตรา 1554 “ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนเด็กรับเป็นบุตร เพราะเหตุว่าผู้ขอให้จดทะเบียนนั้นมิใช่บิดาก็ได้ แต่ต้องฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้การจดทะเบียนนั้น อนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันจดทะเบียน” มาตรา 1559 “เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้” • ข้อสังเกต • ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลเพิกถอน หมายถึง ใครบ้าง เด็ก บิดาที่แจ้งจริงของเด็ก และมารดาของเด็ก ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับเด็ก ผู้ที่จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร และผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กฎหมายครอบครัว
ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร • การฟ้องคดีให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าเด็กเป็นชอบด้วยกฎหมายของชาย • ยกเว้นแต่ เมื่อมีข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงตามเงื่อนไขของกฎหมายก็เป็นอันเพียงพอที่กฎหมายจะสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น..... แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมาย.....คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะ ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว” กฎหมายครอบครัว
ซึ่งใน มาตรา 1555 ก็มีข้อสันนิษฐานว่าในข้อเท็จจริงใดบ้างที่กฎหมายสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่นำสืบว่าชายเป็นบิดาของบุตรน้อย ส่วนกรณีอื่นผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่นำสืบเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเต็มบริบูรณ์ ตามหลักสุภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบ” • เมื่อผู้ฟ้องคดีได้นำสืบข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเงื่อนไขของข้อสันนิฐานของกฎหมายได้แล้ว ก็จะต้องด้วยสิ่งที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ คือ เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายทันที ซึ่งฝ่ายชายก็มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานโต้แย้งกับข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ซึ่งในที่นี้ก็คือ เป็นบิดาของเด็ก หากฝ่ายบิดาไม่นำสืบหรือนำสืบพยานหลักฐานโต้แย้งกับข้อสันนิษฐานไม่ได้ เด็กก็จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ตามข้อสันนิษฐาน กฎหมายครอบครัว
ข้อเท็จจริงที่ ได้รับการสันนิษฐาน (presumed facts) ข้อเท็จจริงที่เป็น เงื่อนไขของข้อสันนิษฐาน (basic facts) คู่ความฝ่ายได้รับประโยชน์ไม่ต้องนำสืบ คู่ความฝ่ายที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานต้องนำสืบ
ข้อเท็จจริงที่ ได้รับการสันนิษฐาน (presumed facts) ข้อเท็จจริงที่เป็น เงื่อนไขของข้อสันนิษฐาน (basic facts) คู่ความฝ่ายไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานต้องนำสืบโต้แย้งว่า ไม่ได้เป็นไปตามข้อสันนิษฐาน คู่ความฝ่ายที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานต้องนำสืบ
ผลของข้อสันนิษฐานต่อหน้าที่นำสืบผลของข้อสันนิษฐานต่อหน้าที่นำสืบ • คู่ความฝ่ายที่ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน หรือถูกข้อเท็จจริงที่ได้รับการสันนิษฐานยัน จะโต้แย้งว่ามิได้มีข้อเท็จจริงตามที่ได้รับการสันนิษฐานเกิดขึ้น จะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้ง หากนำสืบโต้แย้งข้อสันนิษฐานไม่ได้ คู่ความฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายแพ้คดี
สำหรับข้อเท็จจริงที่เป็นข้อสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มี 7 ประการ ดังนี้ • 1. เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง หญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ • ข่มขืนกระทำชำเรา หมายถึง การร่วมประเวณีกับหญิงโดยหญิงนั้นมิได้ยินยอมสมัครใจ • หน่วงเหนี่ยว กักขัง ต้องกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คือ หญิงนั้นไม่ได้สมัครใจ อันเป็นการกระทำเข้าลักษณะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 ทำให้หญิงมารดานั้น ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย • การข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง ไม่จำกัดว่าหญิงนั้นจะต้องเป็นหญิงโสดหรือหญิงมีสามีแล้ว หรือเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว กฎหมายครอบครัว
2. เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงอาจตั้งครรภ์ได้ • ลักพา เป็นเรื่องชายหญิงลักลอบพากันหนีไปอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยหญิงยินยอมไปกับชาย ไม่ว่าฝ่ายชายจะมีการใช้อุบายหลอกลวงหญิงหรือไม่ก็ตาม • การล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดา เป็นเรื่องที่หญิงนั้นสมัครใจร่วมประเวณีกับชาย เพียงแต่ความสมัครใจของหญิงนั้นมีขึ้นเนื่องจากถูกหลอกลวง กฎหมายครอบครัว
3. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน • เป็นเอกสารที่บิดาทำไว้ต่อบุคคลใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นมารดาของบุตร • เป็นเอกสารที่บิดามิได้ทำขึ้นโดยสมัครใจก็ได้ (ฎีกาที่ 2698/2536) • เป็นเอกสารที่ทำขึ้นขณะเด็กยังอยู่ในครรภ์มารดาก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องกระทำหลังคลอดเท่านั้น (ฎีกาที่ 21/2486) กฎหมายครอบครัว
4. เมื่อปรากฎในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตร โดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น • พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 11 “เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งดังต่อไปนี้ • คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ทีเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด • คนเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่เกิดหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่อาจแจ้งได้” กฎหมายครอบครัว
5. เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้ • การอยู่ร่วมกันอย่างเปิดเผย จะต้องเป็นการแสดงออกโดยเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไป ด้วยตั้งใจว่าเป็นสามีภริยากัน ไม่ใช่เพียงแต่ลักลอบได้เสียกันโดยคนทั่วไปเข้าใจว่าไม่มีอะไรกัน หรืออยู่ในฐานะอื่น กฎหมายครอบครัว
6. เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น • เหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของชายอื่น เช่น หญิงมารดาได้ร่วมประเวณีกับชายอื่น หรือหญิงมารดาสำส่อนในทางประเวณีเป็นที่รู้กันทั่วไป • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2532 จำเลยไม่เคยยอมรับว่าได้เสียกับมารดาโจทก์ ทั้งพยานโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อระแวงสงสัยและไม่มีผู้ใดรู้เห็นเหตุการณ์ว่าจำเลยได้ร่วมประเวณีกับมารดาโจทก์ในระยะเวลาที่อาจตั้งครรภ์ได้ เพียงแต่ฟังคำเล่าลือของชาวบ้านว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้เสียกันจนมีบุตรเท่านั้น ส่วนรายงานตรวจโลหิตที่ปรากฏว่ามารดาโจทก์โลหิตหมู่โอ จำเลยโลหิตหมู่บีโจทก์โลหิตหมู่บีสามีของมารดาโจทก์โลหิตหมู่โอบีนั้น เนื่องจากคนไทยจะมีโลหิตหมู่โอ มากที่สุด รองลงมาได้แก่หมู่บีเอและเอบี ตามลำดับ ในภาคอีสานที่เหตุคดีนี้เกิดขึ้นนั้นจะเป็นหมู่บีมากกว่าหมู่โอ เล็กน้อย ผลการตรวจโลหิตดังกล่าวจึงชี้ไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุตรจำเลย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ร่วมประเวณีกับมารดาโจทก์ในระยะเวลาที่อาจตั้งครรภ์ โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 1367/2540 ชายหญิงอยู่กินกันฉันสามีภริยาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และไปพักค้างคืนในที่อื่นติตต่อกันถึงเดือนมีนาคมอันเป็นเดือนที่หญิงตั้งครรภ์ น่าเชื่อว่าได้ร่วมประเวณีกันในระยะเวลาที่หญิงตั้งครรภ์ แม้หญิงจะเคยมีสามีมาก่อน แต่ไม่ได้ความว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว หญิงติดต่อหรือมีพฤติกรรมในทาชู้สาวกับบุคคลที่เป็นสามีของหญิงมาก่อน จึงฟังได้ว่าเด็กเป็นบุตรของหญิงที่เกิดจากชาย กฎหมายครอบครัว
7. มีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดว่าเป็นบุตร • เป็นพฤติการณ์ทั่วไปที่บิดาได้ปฎิบัติต่อบุตรอันบุคคลธรรมดาสามัญจะพึงเห็นได้ว่าเป็นการปฎิบัติต่อบุตรชอบด้วยกฎหมาย • เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดู หรือยอมให้เด็กใช้ชื่อสกุลของตน • แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาแม้มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของบิดา ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กัน ถือว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอด(ฎีกาที่ 1646/2548) • การที่บิดาเลี้ยงดูบุตรโดยไม่เปิดเผย หรือไม่ได้แสดงต่อบุคคลทั่วไป เพียงแต่บอกกับบุคคลบางคนว่าเด็กนั้นเป็นบุตร เช่นนี้ ถือว่าไม่เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป (ฎีกาที่ 2276/2521, ที่ 248/2531) • พฤติการณ์อาจเกิดระหว่างที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ก็ได้ • จัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ (ฎีกาที่ 1469/2526) กฎหมายครอบครัว
บุคคลผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 1555 • ผู้แทนโดยชอบธรรณกรณีเด็กอายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ • ตัวเด็กเอง • ถ้าเด็กอายุกว่า 15 ปีบริบูรณ์ เด็กสามารถฟ้องคดีได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม • ถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว ต้องฟ้องเองภายใน 1 ปีนับแต่บรรลุนิติภาวะ • ผู้แทนเฉพาะคดี • กรณีเด็กมีอายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์และไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ทำหน้าที่ไม่ได้ กฎหมายครอบครัว
15 ปี 20 ปี 21 ปี -ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือ -ญาติสนิทของเด็ก หรือ -อัยการ -เด็ก กฎหมายครอบครัว
ผู้สืบสันดานของเด็กที่ตาย ถ้าเด็กยังมีสิทธิฟ้องคดี • ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ผู้สืบสันดานสามารถฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรได้ • ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย • ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย • ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่ตาย กฎหมายครอบครัว
นายดี ได้เสียกับนางสาว แดง จนมีบุตร 1 คน คือ ด.ช. ดำ เมื่อนาย ดำอายุได้ 19 ปี นาย ดำ ได้สมรสกับ นางสาวฟ้า และมีบุตรคือ ด.ช.เมฆ เมื่อ นาย ดำ อายุได้20 ปีนายดำประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เช่นนี้ • นางสาวฟ้า ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ช. เมฆ สามารถฟ้องนายดี ให้รับ นาย ดำ เป็นบุตรได้ เพราะนายดำ ยังมีสิทธิฟ้องคดีอยู่ กฎหมายครอบครัว
19 ปี 20 ปี 1ปี นายดำแต่งงาน กับ นางสาว ฟ้า นายดำตาย อายุความ ฟ้องนาย ดำ กฎหมายครอบครัว
ข้อสังเกต • ถ้าเด็กรู้ว่าใครเป็นบิดา เมื่อเด็กอายุได้ 25 ปี เด็กจะฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรได้หรือไม่ กฎหมายครอบครัว
วิธีการฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรวิธีการฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร • วิธีการ • ในขณะที่มีการฟ้องคดี บิดายังมีชีวิตอยู่ • การเสนอคดีต้องเสนอคดีเป็นข้อพิพาท คือ ฟ้องบิดาเด็กเป็นจำเลย • ในขณะที่มีการฟ้องคดี บิดาถึงแก่ความตาย • การเสนอคดีต้องเสนอคดีเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188(1) • เด็กจะฟ้องทายาทของผู้ตายเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าตนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายไมได้ (ฎีกาที่ 8504/2544) กฎหมายครอบครัว
นายดี ได้เสียกับนางสาว แดง จนมีบุตร 1 คน คือ ด.ช. ดำ เมื่อนาย ดำอายุได้ 19 ปี นาย ดำ ได้สมรสกับ นางสาวฟ้า และมีบุตรคือ ด.ช.เมฆ เมื่อนาย ดำ อายุได้20 ปีนายดำประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เช่นนี้ • นางสาวฟ้า ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ช. เมฆ สามารถฟ้องนายดี ให้รับ นาย ดำ เป็นบุตรได้ เพราะขณะนั้นนายดำ ยังมีสิทธิฟ้องให้นายดี รับตนเป็นบุตร 21 ปี 19 ปี 20 ปี นายดำแต่งงานกับ นางสาว ฟ้า นายดำตาย กฎหมายครอบครัว
แต่ถ้านาย ดำ ตายเมื่อได้อายุ 25 ปีนางสาวฟ้า ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ช. เมฆ ไม่สามารถฟ้องนายดี ให้รับ นาย ดำ เป็นบุตรได้ เพราะขณะนั้นนายดำ สิ้นสิทธิฟ้องให้นายดี รับตนเป็นบุตรแล้ว 19 ปี 21 ปี 25 ปี นายดำตาย นายดำแต่งงานกับ นางสาว ฟ้า กฎหมายครอบครัว
ผลของคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรผลของคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตใน ระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จด ทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้” กฎหมายครอบครัว