300 likes | 423 Views
ผลการศึกษาการปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปเกษตรกร และการปฏิรูปการจัดการ ภายใต้โครงการศึกษาความเป็นไปได้ใน การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน 2549 16 กุมภาพันธ์ 2550. แนวคิดในการดำเนินการโครงการ. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน. แผนแม่บทเดิม. ส.ป.ก. ระยะที่ 1. จัดหาที่ดิน จ่ายแจก
E N D
ผลการศึกษาการปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปเกษตรกร และการปฏิรูปการจัดการ ภายใต้โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน 254916 กุมภาพันธ์ 2550
แนวคิดในการดำเนินการโครงการแนวคิดในการดำเนินการโครงการ
ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แผนแม่บทเดิม ส.ป.ก. ระยะที่ 1 จัดหาที่ดิน จ่ายแจก และออกเอกสารสิทธิ์ ระยะที่ 2 พัฒนาคน ชุมชน เกษตรกร พัฒนาอาชีพการจัดรูปที่ดิน กระบวนการมี ส่วนร่วมของชุมชน Model แก้ไขปัญหาความยากจน
พื้นที่ดำเนินการศึกษา 4,021,690 ไร่159 ตำบล 98 อำเภอ 17 จังหวัด
ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 659,193 ไร่: กำแพงเพชร และสุโขทัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พื้นที่ดำเนินการ 504,885 ไร่: นครสวรรค์ และพิจิตร มหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ดำเนินการ 307,862 ไร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่ 980,390 ไร่: สุรินทร์ อุดรธานี หนองบัวลำภู นครราชสีมา ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยนเรศวร พื้นที่ 344,367 ไร่: ชัยภูมิ
ภาคกลางและตะวันออก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พื้นที่ดำเนินการ 683,822 ไร่: กาญจนบุรี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา
ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พื้นที่ดำเนินการ 541,171 ไร่: สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ผู้เชี่ยวชาญตรวจปัญหาภาพรวมของพื้นที่ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ด้านกายภาพ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจและการเกษตร วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รายพื้นที่/รายครัวเรือน
ต่อ การพัฒนาตาม Model แก้ไขปัญหาความยากจน ระดับบุคคล - เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน - เพื่อเพิ่มรายได้ ระดับชุมชน/ตำบล - เพื่อสร้างการพึ่งพากันเองในชุมชน - เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ร่างแผนการพัฒนา 1. การปฏิรูปพื้นที่ 2. การปฏิรูปเกษตรกร 3. การปฏิรูปการจัดการ ทำประชาพิจารณ์กับชุมชน ปรับปรุงแผนแม่บทรายตำบล แผนแม่บทการพัฒนาในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน
สรุปปัญหา และข้อจำกัดในการพัฒนาตำบล
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • สภาพถนนส่วนใหญ่ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ และช่องทางสัญจรแคบ โดยเฉพาะถนนลูกรัง • แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ พบปัญหา ดังนี้ • ตื้นเขิน วัชพืชปกคลุม • ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ ทำให้ในฤดูแล้งเกษตรกร ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร • บางแหล่งน้ำอยู่ในที่ดอนไม่เหมาะสมกับการกระจายน้ำให้กับพื้นที่การเกษตร • ขาดการพัฒนา เช่น การปรับปรุง และขุดลอกให้สามารถใช้งานได้ • พื้นที่บางส่วน ประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้ผลผลิตเสียหาย
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • สภาพดินส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง • เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ และ หญ้าเลี้ยงสัตว์ • บางพื้นที่ พบการพังทลายของหน้าดิน และดินเป็นกรด • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • ไฟฟ้า ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีปัญหาไฟฟ้าดับและตกบ่อยเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว และประชากรบางส่วนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านกายภาพในการพัฒนาตำบล • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • ประปา พบปัญหาคุณภาพน้ำไม่สะอาดเป็นสนิมเหล็ก น้ำขุ่น เนื่องจากไม่มีระบบกรองที่ดี และการให้บริการยังไม่ทั่วถึง เพราะเป็นระบบประปาขนาดเล็ก ประกอบกับแหล่งน้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาไม่เพียงพอ • โทรศัพท์พื้นฐานมีให้บริการไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ส่วนโทรศัพท์สาธารณะที่ให้บริการมักจะชำรุด และไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การผลิตทางการเกษตร • ปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ยเคมี ยาและสารเคมี พันธุ์พืช ค่าจ้างแรงงาน และค่าขนส่ง ฯลฯ • พันธุ์พืชมีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตตกต่ำ • ขาดเงินทุนหมุนเวียนที่สนับสนุนการผลิตและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร • ในบางพื้นที่มีการอพยพแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้ ภาคการเกษตรขาดแรงงานในการผลิต • ขาดการจัดการระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การตลาด • ราคาผลผลิตตกต่ำ และมีราคาไม่แน่นอน เนื่องจากพ่อค้าคนกลาง กดราคา ดังนั้นรัฐบาลควรสนับสนุนการประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด • มาตรฐานชั่ง ตวง วัดผลผลิตทางการเกษตร ไม่เที่ยงตรง • ไม่มีตลาดกลางรองรับผลผลิตทางการเกษตร บางแห่งที่มีจะอยู่ไกลจากแปลงเพาะปลูก รวมถึงสภาพโครงข่ายคมนาคมในตำบลชำรุด ทำให้การขนส่งมีความยากลำบาก • เกษตรกรขาดการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
สรุปปัญหา และข้อจำกัดด้านการเกษตร ในการพัฒนาตำบล • การรวมกลุ่มและองค์กร • ขาดการรวมกลุ่ม หรืออาจมีการรวมกลุ่มที่ไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง • ขาดความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มและองค์กร • ขาดการติดตามประเมินผลและให้คำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดินแผนแม่บทการพัฒนาในเขตปฏิรูปที่ดิน
แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • โครงข่ายการคมนาคม • ก่อสร้างถนนลาดยาง คอนกรีต และลูกรัง และวางท่อระบายน้ำเพื่อความสะดวกในการเดินทางและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร • ปรับปรุง และซ่อมแซมผิวถนนสาธารณะ และถนนเข้าสู่แปลง • ดิน • ประเมินคุณภาพและวิเคราะห์ปัญหาดินในตำบล • ปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกพืชหมุนเวียน • การอนุรักษ์และจัดการดินในพื้นที่ลาดชัน เช่น การปลูกหญ้าแฝก การทำการเกษตรแบบขั้นบันได
แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • แหล่งน้ำทางการเกษตร • สร้างและขยายแหล่งน้ำสาธารณะเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร เช่น สระน้ำสาธารณะ ฝายกั้นน้ำ และประตูปิด-เปิดน้ำหรือรางระบายน้ำ เป็นต้น • ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม เช่น ขุดลอกสระน้ำสาธารณะให้มีความลึกประมาณ 5 เมตร ปรับปรุงฝายที่มีอยู่เดิม • ขุดเจาะบ่อบาดาล • จัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อการบริโภคและอุปโภค
แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปพื้นที่ (Land Reform) • ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ • สำรวจและติดตั้งระบบไฟฟ้า ขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน และเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ไฟฟ้า • สร้าง ขยายระบบประปาเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาล โดยใช้ระบบเติมอากาศและกรองน้ำ ประปา • ขยายเขตให้บริการคู่สายโทรศัพท์และติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะเพิ่มขึ้น โทรศัพท์
แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปเกษตรกร (Farmer Reform) • ส่งเสริมและฝึกอบรมความรู้ด้านการผลิตพืชและสัตว์หลักของตำบล เช่น การจัดการการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ผลผลิต และรายได้ของเกษตรกร • จัดตั้งแหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรใช้พื้นที่และทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด • การพัฒนาคุณภาพผลผลิต (พันธุ์ เก็บเกี่ยว คัดเลือก และแปรรูป) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร • สนับสนุนกองทุนเพื่อการลงทุนในท้องถิ่น ให้เกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนทางการเกษตร
แผนการพัฒนาด้านปฏิรูปการจัดการ (Management Reform) • ส่งเสริมการรวมกลุ่ม/องค์กรทางการเกษตรหรือกลุ่มต่างๆสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพได้ • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการตลาด โดยใช้ระบบ Contract Farming โดยอาศัยความร่วมมือของไตรภาคี ได้แก่ อบต. ส.ป.ก. และบริษัทเอกชน • ฝึกอบรมการบริหารและจัดการกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่ม • ส่งเสริมการรวมกลุ่ม/องค์กรทางการเกษตรหรือกลุ่มต่างๆที่จัดตั้งตลาดการเกษตรในชุมชน
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาข้อเสนอแนะจากการศึกษา • การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบล ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนแม่บทและตรงกับความต้องการของชุมชน • เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบล การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาตำบลต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างบูรณาการ อาทิเช่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา (ต่อ) • การจัดทำแผนแม่บทในระดับตำบล พบว่ามีหลายหน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขาดการดำเนินการแบบบูรณาการ • คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ควรพิจารณาแผนแม่บทตำบลในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีหลายๆแผน มาดูจุดเด่นหรือโครงการที่ควรดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา (ต่อ) • แผนแม่บทที่จัดทำขึ้นโดยประชาชนหรือชุมชน ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบสนองความต้องการที่ประชาชนรู้สึกว่าตนเองมีความต้องการ (Felt Need) แต่การจัดทำแผนแม่บทของ ส.ป.ก. ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง (Real Need) และจากการศึกษา พบว่าหากผู้นำชุมชนเข้มแข็ง มีความรู้ความสามารถ เป็นปราชญ์ของชุมชน ก็สามารถที่จะค้นหาความต้องการที่แท้จริงได้เช่นกัน