1 / 31

รศ.ดร. สุ รพล เศรษฐ บุตร ภาควิชา ส่งเสริมและเผยแพร่ การเกษตร คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.ดร. สุ รพล เศรษฐ บุตร ภาควิชา ส่งเสริมและเผยแพร่ การเกษตร คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กระบวนวิชา 352323 การ พัฒนาชุมชนและการพัฒนาการเกษตร ( Community and Agricultural Development). บทที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน.

oihane
Download Presentation

รศ.ดร. สุ รพล เศรษฐ บุตร ภาควิชา ส่งเสริมและเผยแพร่ การเกษตร คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตรภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กระบวนวิชา 352323 การพัฒนาชุมชนและการพัฒนาการเกษตร (Community and Agricultural Development) บทที่ 2 ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชน • ความเป็นมาของชุมชน • ความหมาย • องค์ประกอบ • โครงสร้าง • ประเภท • หน้าที่ • การตั้งถิ่นฐาน

  3. ประวัติประชากรมนุษย์ (Human population history) Homo habilis 3 ล้านปีมาแล้ว (ความสามารถในการใช้มือ ใช้ Simple stone tools) Homo erectus กว่า 1 ล้านปีมาแล้ว (ลำตัวตรง อพยพสู่ยุโรป เอเชีย เรียกว่า Neanderthal man) Homo sapiens 1.25 ล้านปีมาแล้ว มนุษย์ยุคใหม่ หรือยุคปัจจุบัน พบในอัฟริกา

  4. Homo sapiens อพยพสู่ ยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย 40,000-100,000 ปีมาแล้ว อพยพแพร่กระจายไปทั่วโลกประชากรประมาณ 10 ล้านคน 13,000 ปีมาแล้ว จำนวนประชากรมนุษย์ 600 ล้านคน 300 ปีที่ผ่านมา(ค.ศ. 1700) จำนวนประชากรมนุษย์ 1,600 ล้านคน ค.ศ. 1900 จำนวนประชากรมนุษย์ 2,500 ล้านคน ค.ศ. 1950 จำนวนประชากรมนุษย์ 6,700 ล้านคน ปัจจุบัน (ค. ศ. 2009) http://www.worldometers.info/population/

  5. ภาพแสดงปฏิกิริยาสัมพันธ์(Interaction)ระหว่าง Human ,Social system กับ Ecosystem Human activities (Energy, Material, information) Social system Ecosystem -Knowledge -Technology -Social organization -Values -Population -Plants -Animal -Air -Water -Soil -Human built structure -Micro-organism Ecosystem services (Energy, Material, Information)

  6. ความหมายชุมชน กลุ่มชนที่อยู่ร่วมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง รวมถึงพื้นที่ทำกินที่จะต้องออกไปทำกิจกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องและผูกพันกับชุมชนที่อยู่อาศัย คนในชุมชนนั้นมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและการการบริการทางสังคมร่วมกัน มีความผูกพันในทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาเดียวกัน จนสามารถบ่งบอกลักษณะสำคัญของชุมชนนั้นได้

  7. 1.ความหมายเกี่ยวกับชุมชน (Meaning of The Community) 1.1 “ ชุมชน” (Community) หมายถึงหมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน (ราชบัณฑิตยสถาน.2525. พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน)

  8. 1.2 “ชุมชน” หมายถึง • การที่คนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่พื้นที่แห่งหนึ่ง • มีความเชื่อผลประโยชน์ กิจกรรม และมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันคุณลักษณะเหล่านี้มีลักษณะเด่นเพียงพอที่จะทำให้สมาชิกนั้น ตระหนัก และเกื้อกูลกัน • (Mask S. Homan , 1994: 82 อ้างใน ปาริชาติ, 2543: 26) ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. 2543.กระบวนการและเทคนิคการทำงานของ นักพัฒนา. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. หน้า 26

  9. 1.3 “ชุมชน” หมายถึง • กลุ่มทางสังคมที่อยู่อาศัยร่วมกันในอาณาบริเวณเดียวกัน เช่น ครอบครัว ละแวกบ้าน หมู่บ้าน ตำบล หรือเรียกเป็นอย่างอื่น • มีความเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กัน • มีการติดต่อสื่อสารและเรียนรู้ร่วมกัน มีความผูกพัน เอื้ออาทรกันภายใต้บรรทัดฐานและวัฒนธรรมเดียวกัน ร่วมมือและพึ่งพา อาศัยกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน (สนธยาพลศรี. 2545. พิมพ์ครั้งที่ 4. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์. หน้า 22)

  10. 1.4 “ชุมชน” หมายถึง • เป็นหน่วยของสังคมหรือหน่วยทางการปกครองขนาดเล็กในระดับพื้นที่ • มีการรวมกันของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งมาอาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่แห่งหนึ่งเพื่ออาศัยทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณนั้นในการดำรงชีวิต โดยใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต • มีการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันขึ้น • มีองค์กร หรือ สถาบันของชุมชนและกฎเกณฑ์ต่างๆรวมถึง กลุ่มความสนใจ (ชมรม) กลุ่มวัฒนธรรม และศาสนา สมาคมอนุรักษ์หรือพัฒนาสังคม/ กลุ่ม (ชยันต์วรรธนะภูติ. 2536. “การกำหนดกรอบคิดในการวิจัย" .ใน อุทัย ดุลยเกษม, คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนา.หน้า 44. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

  11. 1.5 “ชุมชน” หมายถึง • กลุ่มบุคคลหลายๆ กลุ่มมารวมกันอยู่ ในอาณาเขต • ภายใต้กฎหมายหรือข้อบังคับเดียวกัน • มีการสังสรรค์กันมีความสนใจร่วมกัน และมีผลประโยชน์คล้ายๆ กัน • มีแนวพฤติกรรมเป็นอย่างเดียวกัน เช่น ภาษาพูด ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง คือ มีวัฒนธรรมร่วมกันนั่นเอง (จีรพรรณกาญจนะจิตรา, 2525: 11 อ้างในขบวน พลตรี, 2529: 1) ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. สกลนคร:วิทยาลัยครูสกลนคร. หน้า 1

  12. จากความหมายต่างๆ ของชุมชนๆ พอที่จะสรุปลักษณะที่สำคัญของชุมชนได้ดังต่อไปนี้ 1. เป็นการรวมกันของกลุ่มคน (Group of People)ในรูปของกลุ่มสังคม กล่าวคือ สมาชิกมีการปฏิบัติต่อกันทางสังคม หรือมีปฏิกิริยา โต้ตอบต่อกันทางสังคม (Social Interaction) เอื้ออาทรต่อกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 2. มีอาณาบริเวณ ( Area )สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบกิจกรรม ต่างๆ ของสมาชิกและกลุ่มสังคม ขนาดของชุมชน อาจมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับจำนวนของสมาชิกในกลุ่มสังคม 3. มีการจัดระเบียบทางสังคม ( Social Organization )เพื่อควบคุมความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน เช่น บรรทัดฐานทางสังคม สถาบันทางสังคม ฯลฯ

  13. 4. สมาชิกมีความสัมพันธ์กันทางสังคม ( Social Relationship )มี การติดต่อสัมพันธ์กัน มีกิจกรรมร่วมกัน มีความสนิทสนมกัน มีความสัมพันธ์กันแบบพบปะกัน มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน (Sense of commonality among a group of people) มีมิตรภาพความเอื้ออาทรความมั่นคงและความผูกพันมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง 5.สมาชิกมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินชีวิตรวมทั้ง ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นร่วมกัน (Common Interest) 6.สมาชิกมีระบบการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ร่วมกัน

  14. สรุป ชุมชนจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ • กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในพื้นที่ หรือบริเวณหนึ่ง (Geo-graphic area ) • สมาชิกมีการติดต่อระหว่างกันทางสังคม ( Social Interaction ) • สมาชิกมีความสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม (Social Relationship ) • มีความผูกพันทางด้านจิตใจต่อระบบนิเวศ (Psycho-Ecological Relationship ) • มีกิจกรรมส่วนรวม เพื่อใช้ประโยชน์ ( Central activities for unilization )

  15. องค์ประกอบของชุมชน • องค์ประกอบด้านมนุษย์(Human Component) • องค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Made Component) • องค์ประกอบที่ธรรมชาติสร้างขึ้น(Natural Component)

  16. ตัวบงการหรือกลไกที่ควบคุมหรือสนับสนุนองค์ประกอบทั้ง 3 ให้มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงคือ • ระบบการปกครอง • ระบบเศรษฐกิจ • ระบบการศึกษา • ศาสนา • ตัวบงการอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลง

  17. โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างด้านสังคมมนุษย์ 1. บุคคล 2. กลุ่มคน 3. สถานภาพและบทบาท 4. ระบบสังคม 5. สถาบันสังคม 6. การแบ่งชั้นทางสังคม โครงสร้าทางสภาพแวดล้อมธรรมชาติ 1. ด้านกายภาพ 2. ด้านภูมิอากาศ 3. ด้านชีววิทยาและความหลากหลายของชีวิต

  18. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมธรรมชาติต่อชุมชนอิทธิพลของสภาพแวดล้อมธรรมชาติต่อชุมชน • การเลือกถิ่นฐานหรือทำเล • รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน • ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย • ลักษณะการประกอบอาชีพ • การอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน • การกำหนดขอบเขตของชุมชน • ลักษณะขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนะธรรม ความเชื่อ นิสัย

  19. ประเภทของชุมชน 1.แบ่งตามจำนวนพลเมือง • หมู่บ้านเล็ก(Hamlet) พลเมืองน้อยกว่า 250 คน • หมู่บ้าน(Village) พลเมือง 250-1,000 คน • เมือง(Town) พลเมือง 1,000-5,000 คน • นครเล็ก(City) พลเมือง 5,000-100,000 คน • นครใหญ่(Metropolis)พลเมือง 100,000-1,000,000 คน • มหานคร(Great Metropolis) พลเมือง มากกว่า 1,000,000 คน

  20. 2.แบ่งตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจ2.แบ่งตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจ • ชุมชนหัตกรรม • ชุมชนอุตสาหกรรม • ชุมชนเกษตร • ชุมชนชนบท • ชุมชนศูนย์การศึกษา • ชุมชนเหมืองแร่

  21. 3.แบ่งตามลักษณะพิเศษของประชากร3.แบ่งตามลักษณะพิเศษของประชากร • นิคมต่าง ๆ เช่น นิคมชาวเขา • หมู่บ้านสหกรณ์ต่างๆ • หมู่บ้านจัดสรร ทาวเฮ้าส์ คอนโดมิเนียม • บ้านญวน บ้านแขก

  22. 4. แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคลและองค์ประกอบในระบบนิเวศ นักสังคมวิทยาได้แบ่ง เป็น2 ประเภท • ชุมชนชนบท(Rural Community) • ชุมชนเมือง(Urban Community)

  23. ชุมชนชนบท(Rural Community) • หมายถึง ส่วนที่อยู่นอกเขตเมืองหรือเขตเทศบาล มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน หรือกระจัดกระจายตามลักษณะภูมิประเทศหรือตามประเพณีนิยม

  24. ชุมชนเมือง(Urban Community) • คือถิ่นตั้งรกรากของประชากรที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม มีขนาดใหญ่และหนาแน่น • เป็นสังคมบริโภคมากกว่าสังคมผลิต (สังคมชนบท) • สมาชิกมีอาชีพหลากหลายเน้นด้านการบริการ เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และการปกครอง แต่ขาดความสัมพันธ์ระดับบุคคล

  25. Differentiation of Rural and Urban community

  26. หน้าที่ของชุมชน นักสังคมวิทยาได้แบ่งหน้าที่ของชุมชนออกเป็น 4 ประการคือ • การบริการขั้นต้นสำหรับสมาชิกในชุมชน เช่น สถานีอนามัย โรงเรียน สถาบันทางศาสนา เป็นต้น • จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเบื้องต้น เช่น ถนน น้ำใช้ ไฟฟ้า สถานที่พักผ่อน สนามกีฬา เป็นต้น • จัดให้มีหน่วยปกครองท้องถิ่น • จัดให้มีการรักษาคุ้มครองสวัสดิภาพของสมาชิก ทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน

  27. การตั้งถิ่นฐานของชุมชนลักษณะและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนลักษณะและรูปแบบ มี 3 ลักษณะ โดยถือระยะเวลาของการอยู่อาศัยคือ • การตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราว • การตั้งถิ่นฐานแบบกึ่งถาวร • การตั้งถิ่นฐานแบบถาวร รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน มี 2 อย่างคือ • แบบมีการวางแผน(Planned Settlement) เช่น นิคมต่างๆ • แบบไม่มีการวางแผน(Unplanned Settlement) เช่นหมู่บ้านเกษตรกรรม

  28. รูปแบบของการตั้งถิ่นฐานชุมชนเกษตรรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานชุมชนเกษตร เป็นแบบไม่มีการวางแผน มี 3 ประเภทคือ • การตั้งบ้านถิ่นฐานอยู่ในที่นาโดดเดี่ยว(Isolated Farmstead) • ตั้งเป็นกลุ่มหมู่บ้านเกษตรกรรม(Farm Village) • ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามเส้นทางคมนาคม(Line Village) เช่น ทางน้ำ ตามริมฝั่งแม่น้ำ ทางบก ตามถนน

  29. การตั้งถิ่นฐาน • ปัจจัยผลักดัน เช่นความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม • ปัจจัยดึงดูดเช่น สภาพแวดล้อมดีกว่า คำชักชวน

More Related