1 / 18

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑. ความเป็นมา. ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ เกิดแนวคิดก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีเพื่อตอบสนองสิทธิในการสื่อสารของประชาชนและสื่อมวลชน รัฐบาลนายอานันท์ ปันยา รชุน ได้เปิดสัมปทานสถานีโทรทัศน์

Download Presentation

พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑

  2. ความเป็นมา • ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ เกิดแนวคิดก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีเพื่อตอบสนองสิทธิในการสื่อสารของประชาชนและสื่อมวลชน • รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เปิดสัมปทานสถานีโทรทัศน์ • ก่อเกิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (Independent Television) มีนโยบายเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ให้ความสำคัญกับข่าวสารและสถานการณ์ปัจจุบัน • หลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ กลุ่มชินคอร์ปได้เข้ามาบริหารสถานี และเกิดคดีความจากการทำผิดสัญญาสัมปทาน

  3. ความเป็นมา (ต่อ) • ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกสัมปทานกับไอทีวี และได้มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ ในชื่อทีไอทีวี (Thailand Independent Television) • ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้ถูกโอนไปอยู่ในการดูแลขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และได้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ ในชื่อทีวีไทย

  4. หลักเกณฑ์ของสื่อสาธารณะหลักเกณฑ์ของสื่อสาธารณะ • Murdock (๑๙๙๗) กล่าวว่า สื่อสาธารณะควรมีจุดมุ่งหมายที่การพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย และมีพันธะสัญญาต่อสังคม ๔ ประการ คือ ๑.เป็นพื้นที่สำหรับการแสดงออกและอภิปรายอย่างมีเสรีภาพ ปราศจาก อิทธิพลจากกลุ่มทุนและรัฐบาล ๒.ทุกคนสามารถเข้าถึงพื้นที่นี้ได้ โดยไม่เสียค่าบริการ ๓.เป็นเวทีสำหรับกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน สามารถนำเสนอ ความคิดเห็นของตนได้ ๔.ผู้ชมสามารถเข้าถึงสื่อสาธารณะในฐานะประชากร มิใช่ผู้บริโภค

  5. หลักเกณฑ์ของสื่อสาธารณะ (ต่อ) • หน่วยงานวิจัยด้านการกระจายเสียงของอังกฤษ (Broadcasting Research Unit: BRU) ได้อธิบายแนวคิดของการกระจายเสียงเพื่อสาธารณะว่าต้องมีองค์ประกอบ ๘ ประการ ดังนี้ ๑.สามารถเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ ๒.มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับรสนิยมและความสนใจของทุกคน ๓.ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยเป็นพิเศษ ๔.มีบทบาทในการสร้างชุมชนและเอกลักษณ์ของชาติ ๕.ปราศจากผลประโยชน์ ๖.ได้รับเงินอุดหนุนโดยตรงจากสาธารณะ เพราะรายได้จากประชาชนเป็นความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ทำให้การตรวจสอบของสังคมและการเรียกร้องความรับผิดชอบจากสื่อสาธารณะเป็นสิ่งชอบธรรม ๗.มุ่งผลิตรายการที่มีคุณภาพเป็นสำคัญมากกว่าความต้องการจำนวนผู้ชม ๘.ผู้ผลิตรายการมีเสรีภาพในการนำเสนอ

  6. หลักเกณฑ์ของสื่อสาธารณะ (ต่อ) • World Radio and Television Council ซึ่งเป็นองค์กรของอิสระของเอกชน ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UNESCO ได้กำหนดนิยามและหลักการของสื่อกระจายเสียงเพื่อสาธารณะไว้ในแง่ของหลักการและเนื้อหารายการ ซึ่งนับเป็นกรอบที่ครอบคลุมแนวคิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ในแง่ของหลักการพื้นฐาน (principles) สิ่งที่สื่อสาธารณะพึงยึดถือคือ ๑.เข้าถึงประชาชนทุกคน (universality) ๒.มีความหลากหลาย (Diversity) ๓.มีความเป็นอิสระ (Independence) ๔.มีความแตกต่าง (Distinctiveness) และในแง่ของเนื้อหารายการ(program content) สิ่งที่สื่อสาธารณะพึงยึดถือ คือ ๑.เป็นกลางและให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๒.รายการเพื่อการบริการและผลประโยชน์ของสาธารณะ ๓.รายการที่มีจุดเด่น ๔.การผลิตด้วยตัวเอง ๕.เนื้อหาที่นำเสนอเพื่อส่วนรวม

  7. หลักเกณฑ์ของสื่อสาธารณะ (ต่อ) ในด้านการเงิน การเก็บค่าธรรมเนียม (License Fees) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางตรงระหว่างสื่อกับประชาชนซึ่งมีอำนาจโดยตรงในการกำกับดูแลการทำงานของสื่อ รูปแบบการเก็บค่าธรรมเนียมนี้เป็นที่นิยมทั่วไปในประเทศแถบยุโรป แต่สำหรับประเทศที่อยู่ไกลออกไปจะไม่นิยมใช้วิธีนี้ เช่น ในแคนาดาและออสเตรเลีย ที่ใช้การสนับสนุนจากรัฐเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีเพียง BBC ของอังกฤษและ NHK ของญี่ปุ่นเท่านั้น ที่เป็นสื่อกระจายเสียงเพื่อสาธารณะซึ่งมีเงินสนับสนุนจากการเก็บค่าธรรมเนียม ส่วนประเทศอื่นๆ จะนิยมผสมผสานระหว่างการเก็บค่าธรรมเนียมและการหารายได้จากการค้า โดยเฉพาะในระยะหลังซึ่งโทรทัศน์สาธารณะจำนวนมากได้เปิดให้มีการโฆษณาเพื่อเป็นรายได้ให้กับสถานี

  8. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๕ ให้จัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล เรียกโดยย่อว่า “ส.ส.ท.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Public Broadcasting Service” เรียกโดยย่อว่า “TPBS” ทำหน้าที่องค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แต่ดำเนินการภายใต้ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ

  9. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๗ให้องค์การมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ • ดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพและคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทย โดยผ่านทางบริการข่าวสารที่เที่ยงตรง รอบด้าน สมดุล และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ • ผลิตรายการทางด้านข่าวสาร สารประโยชน์ทางด้านการศึกษา และสาระบันเทิง ที่มีสัดส่วนอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพสูง เน้นความหลากหลายในมิติต่างๆ โดยมุ่งดำเนินการอย่างปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ • ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อประโยชน์ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นผ่านทางการให้บริการข่าวสารและสาระประโยชน์อื่นๆ • ส่งเสริมเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนได้รับข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน

  10. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ (๕) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการกำหนดทิศ- ทางการให้บริการขององค์การเพื่อประโยชน์สาธารณะ (๖) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ทั้งนี้ องค์การฯ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นเพิ่มเติมอีกในภายหลัง ดังนี้ ๑. ส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมของประชาชน ในการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เป็นธรรม มีความกล้าหาญในการรายงานข่าวสารและเสนอประเด็นโต้เถียง โดยยึดถือประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ๒. เป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างสติปัญญาและสุขภาวะ แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกระดับอายุ ให้เป็นพลเมืองคุณภาพ

  11. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ ๓. สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เพื่อยกระดับสุนทรียภาพให้กับสังคม ๔. ส่งเสริมเอกลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ๕. สะท้อนความหลากหลายของสังคม เป็นพื้นที่ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเฉพาะต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ ๖. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน ประชาชน และประชาคมโลก

  12. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๘ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗ ให้องค์การมีอำนาจหน้าที่หลัก ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือเผยแพร่รายการใน ระบบอื่นหรือเทคโนโลยีทันสมัยอื่น โดยมีเครือข่ายให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่ว ประเทศ หรือให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์เพิ่มเติมเป็น เครือข่าย ไม่เก็บค่าสมาชิกและไม่หารายได้จากการโฆษณา เว้นแต่เป็นการ สนับสนุนจากผู้สนับสนุนองค์การ (๒) ให้บริการผลิตสื่อโสตทัศน์ หรือบริการระบบเครือข่ายสารสนเทศอื่น หรือบริการ อื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่รายการ

  13. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ (๓) ให้การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพและการสร้างสรรค์การผลิตรายการของผู้ผลิต รายการอิสระ (๔) ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ องค์กรภาคเอกชน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างประเทศหรือ องค์การระหว่างประเทศ หรือสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ขององค์การสื่อสาร สาธารณะของต่างประเทศ ในการผลิตรายการอันเป็นการส่งเสริมความรู้ที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะหรือสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกัน (๕) กระทำการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ขององค์การ

  14. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๑๑ ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ ประกอบด้วย • เงินบำรุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา ๑๒ (ให้องค์การมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท) • เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๕๗ หรือตามกฎหมายอื่น • ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุนมาตรา ๖๐ • ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ • เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ • รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ • ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ

  15. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยประธานกรรมการนโยบายคนหนึ่งและกรรมการนโยบายอื่นอีกแปดคน • มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารขององค์การจำนวนไม่เกินหกคนเป็นกรรมการ และกรรมการบริหารอื่นอีกไม่เกินสี่คน • มาตรา ๓๑ ให้องค์การมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง และรองผู้อำนวยการตามจำนวนที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

  16. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • มาตรา ๔๒ ให้คณะกรรมการนโยบายจัดทำข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่รายการ โดยคำนึงถึงความเห็นของตัวแทนพนักงานและลูกจ้างขององค์การ ผู้ผลิตรายการ ผู้รับชมและรับฟังรายการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การผลิต การจัดหาและการเผยแพร่รายการขององค์การ • มาตรา ๔๓ รายการที่ให้บริการผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ขององค์การต้องมีเนื้อหาและคุณค่า ดังนี้

  17. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • ข่าวสารที่มีผลกระทบต่อสาธารณะที่เสนออย่างเที่ยงตรง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์รอบด้าน และเป็นธรรม ในสัดส่วนที่พอเพียงในช่วงที่มีผู้รับชมและรับฟังมาก • รายการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่สำคัญต่อสาธารณะซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกันในสังคม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง มีสมดุลของความคิดเห็นฝ่ายต่างๆ และมีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล • รายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และรายการที่ส่งเสริมการศึกษาในวิทยาการสาขาต่างๆ และการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอย่างเพียงพอ โดยคำนึงถึงเวลาที่สะดวกต่อการรับชมและรับฟัง • รายการกีฬา นันทนาการ และรายการที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

  18. ตัวอย่างมาตราที่สำคัญตัวอย่างมาตราที่สำคัญ • รายการที่ส่งเสริมเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความสมานฉันท์ในสังคม ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นหรือนำเสนอข้อมูลของตน • รายการบันเทิงที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณค่าที่ดีงามของสังคม หรือยกระดับสุนทรียภาพของประชาชน • รายการที่เป็นการสนับสนุนผู้ผลิตรายการอิสระ ซึ่งต้องจัดสรรเวลาให้อย่างเพียงพอ

More Related