270 likes | 863 Views
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. ที่มาของกฎหมาย. เป็นการใช้ที่ดินเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน เริ่มจากนิคมสร้างครอบครัวสู่นิคมสร้างตนเอง (พุทธศักราช 2483 )
E N D
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ที่มาของกฎหมาย เป็นการใช้ที่ดินเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนเริ่มจากนิคมสร้างครอบครัวสู่นิคมสร้างตนเอง (พุทธศักราช 2483) พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2485 พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504
แนวคิดอันเป็นเบื้องหลังของกฎหมายแนวคิดอันเป็นเบื้องหลังของกฎหมาย แนวคิดในการสงเคราะห์ - เพื่อสงเคราะห์ผู้ยากไร้ให้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ - ที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต - นิคมสร้างตนเองเป็นหน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ - การใช้นิคมสร้างตนเองเป็นกลไกของรัฐในการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความมั่นคงของชาติ
เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย เพื่อนำบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง หรือนิคมกสิกรรม และนิคมเกลือ ในรูปสหกรณ์ต่าง ๆ มารวมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้
เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้ความ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ เสมอภาคของบุคคล รวมทั้งการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่ เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความพิการ สภาพทาง กายหรือสุขภาพ
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่จะเป็นสมาชิกนิคมต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (มาตรา 22) - มีสัญชาติไทย - บรรลุนิติภาวะและเป็นหัวหน้าครอบครัว - มีความประพฤติดีและเต็มใจปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกำหนด
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและสิทธิประโยชน์ - สามารถประกอบการเกษตรได้ - ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ - ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ - ไม่มีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นพอแก่การครองชีพ
สิทธิประโยชน์ สมาชิกนิคมที่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วและเป็นสมาชิกนิคมมาเป็นเวลากว่า 5 ปี ได้ชำระเงินช่วยทุนรัฐและชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการนิคมแล้ว จะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ซึ่งจะนำไปขอให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ต่อไป (มาตรา 11) การจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง : ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 7) การถอนสภาพนิคมสร้างตนเอง : รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 19)
กลไกของกฎหมาย อำนาจของอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ - อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่(มาตรา 8) - กำหนดระเบียบเพื่อทำการเกษตร โดยรัฐมนตรีอนุมัติ (มาตรา 9) - กำหนดอัตราเรียกเก็บเงินช่วยทุนรัฐที่รัฐบาลได้ลงไปในการจัดนิคม (มาตรา 10)
กลไกของกฎหมาย อำนาจของอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ(ต่อ) -ดูแลและปฏิบัติการในที่ดินนิคมสร้างตนเอง รวมทั้งกำหนดระเบียบที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 14 – 18) - จัดที่ดินและดำเนินกิจการนิคมให้เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 24, 28 – 33) อำนาจของผู้ปกครองนิคมสร้างตนเอง - จัดที่ดินและดำเนินกิจการนิคมให้เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 24 – 25, 29)
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกนิคม(มาตรา 20, 21) ประกอบด้วย - ประธานกรรมการ - กรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 8 คน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้แต่งตั้ง
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกนิคม (มาตรา 20, 21) อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกนิคม - คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเข้าเป็นสมาชิกนิคม - จัดสมาชิกนิคมเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน - ส่งเสริมการเกษตรและกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการสังคมและเศรษฐกิจของนิคมสร้างตนเอง
บทกำหนดโทษ (มาตรา 41 – 42) ผู้บุกรุกที่ดิน หรือแสวงหาประโยชน์จาก ทรัพยากรของนิคมฯ หรือผู้ซึ่งฝ่าฝืนไม่ออกจากที่ดิน ตามคำสั่งของอธิบดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
จบการนำเสนอ สวัสดี