290 likes | 569 Views
โครงงานคอมพิวเตอร์. เรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลคลินิกรักษาโรคกรณีศึกษาคลินิก ต.ห้วย พระ. บทที่ 1. แนวคิด ที่มา และ ความสำคัญ.
E N D
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลคลินิกรักษาโรคกรณีศึกษาคลินิก ต.ห้วยพระ
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ ระบบฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่ไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล คอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บและ ประมวนผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมการจัดการความถูกต้องและประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูล เนื่องจากทางบ้านของสมาชิกในกลุ่มข้าพเจ้า มีญาติที่มีอาชีพเป็นบุคลากรในคลินิกใน ต.ห้วยพระ และมีการจัดเก็บข้อมูล แฟ้มข้อมูล และกระดาษทำให้ข้อมูลอาจสูญหายได้ ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้ามีการคิดที่จะจัดเก็บเป็นตารางในฐานข้อมูล เพื่อที่จะได้สะดวกต่อการเลือกดู และข้อมูลมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้เลือกใช้โปรแกรม Microsoft Access 2007 ในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้นและสะดวกต่อการใช้งานและการเรียกใช้ต่อไป
วัตถุประสงค์ และ หลักการและทฤษฏี วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระบบงานปัจจุบันที่มีการเก็บข้อมูลโดยใช้การจดบันทึกทั่วไป 2. เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือและมีระเบียบมากขึ้น 3. เพื่อประเมินผลการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล หลักการและทฤษฏี 1.การสร้างและพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล 2.การวิเคราะห์ฐานข้อมูลเดิม 3.การออกแบบฐานข้อมูล 4.การใช้งานโปรแกรม Microsoft Access 2007 5.ระบบตารางการจัดการฐานข้อมูลการจ่ายยาและรักษา
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และเครื่องมือที่ใช้ - ฮาร์ดแวร์ Processor : Intel(R) Core(TM) i3-2100 CPU @ 3.10GHz Memory : 2048MB RAM - ซอฟแวร์ Microsoft Access 2007 Microsoft PowerPoint 2007 2. ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน 1.การศึกษาและวิเคราะห์ระบบ 2.การออกแบบระบบ 3.การสร้างระบบ 4.การทดสอบและแก้ไขระบบ 5.การนำระบบไปใช้งาน 6.การบำรุงรักษาระบบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รับความรู้จากการศึกษาระการจัดการข้อมูลทั้งในแบบเดิมที่มีแต่การจดบันทึกมาเป็นแบบระบบฐานข้อมูล 2. ข้อมูลมีความถูกต้อง เป็นระเบียบ มีความปลอดภัยมากขึ้นและสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ 3. สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี่ไปพัฒนาต่อยอดได้ให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น
ระบบงานปัจจุบัน ในปัจจุบันการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวกับการรักษาจากคลินิกนั้นยังเป็นการจดบันทึกด้วยมือจากเจ้าของโดยเจ้าของคลินิกจะบันทึกรายละเอียดการจ่ายยา,ข้อมูลผู้ป่วยลงในกระดาษบันทึกข้อมูล การรักษาของร้าน จึงทำให้บางครั้งเกิดปัญหาการสูญหาย เกิดการทับซ้อนของข้อมูล ข้อมูลมีความผิดพลาดซึ่งยุ่งยากต่อการแก้ไขและตรวจสอบ ซึ่งระบบงานใหม่ที่จะพัฒนาขึ้นมานี้เกี่ยวข้องกับคลินิก เพื่อที่จะได้นำระบบใหม่มาใช้เพื่อป้องกันการทับซ้อนของข้อมูล ข้อมูลผิดพลาด หรือข้อมูลสูญหาย ใช้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว
องค์ความรู้ใหม่ที่ใช้ในการทำโครงงานองค์ความรู้ใหม่ที่ใช้ในการทำโครงงาน • การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1. ระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล - แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน - ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
โครงสร้างการทำงานของระบบจัดการฐานข้อมูล - ระดับที่ 1 ระดับภายใน (Internal Level) จะแสดงรายละเอียดของการจัดเก็บในตัวกลางและวิธีการเรียกใช้ ฐานข้อมูล - ระดับที่ 2 ระดับแนวคิด (Conceptual Level) แสดงโครงสร้างรวมของฐานข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกประเภท โดยโครงสร้างแนวคิดจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล (Metadata) เท่านั้น เช่น ตัวข้อมูล ชนิดของข้อมูล และข้อกำหนดข้อมูล - ระดับที่ 3 ระดับภายนอก (External Level) ประกอบด้วยโครงสร้างภายนอก หรือมโนภาพของผู้ใช้ (user views) หลายๆตัว ด้วยกัน แต่ละตัวจะใช้แสดงมโนภาพของผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น • ส่วนประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล 1) ส่วนจัดการฐานข้อมูล (Database manager) ประสานระหว่างข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และส่วนคำร้องขอ โดยกำหนดการกระทำต่างๆ ผ่านส่วนจัดการแฟ้มข้อมูล (File manager) เพื่อไปกระทำและจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลระดับ กายภาพ 2) ส่วนประมวลผลสอบถาม (Query processor) แปลงประโยคคำสั่งภาษาสอบถามให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ส่วนจัดการฐานข้อมูลเข้าใจ
3) ส่วนแปลงภาษาจัดการข้อมูล (data manipulation language precompiler) : แปลงประโยคคำสั่งภาษา DML ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วนรหัสออบเจกต์ของโปรแกรมประยุกต์สามารถเข้าใจได้ เพื่อส่งต่อรหัสคำสั่งนั้นไปยังส่วนจัดการฐานข้อมูล 4) ส่วนแปลภาษานิยามข้อมูล (data definition language precompiler ) : แปลงประโยคคำสั่งภาษา DLL ให้อยู่ในรูปแบบของ metadata ซึ่งเก็บรายละเอียดของโครงสร้างต่างๆ ของข้อมูล โดยเก็บไว้ใน data dictionary 5) ส่วนรหัสออบเจกต์ของโปรแกรมประยุกต์ (application program object code) : ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรมประยุกต์ และแปลงคำสั่งภาษา DML ที่ส่งต่อมาจากส่วนแปลภาษาจัดการข้อมูลให้ อยู่ในรูป object code ซึ่งจะส่งต่อให้ส่วนจัดการฐานข้อมูลเพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลต่อไป
การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ฐานข้อมูลที่ได้รับการใช้มากที่สุด โดยขึ้นกับพื้นฐานทางทฤษฎีที่เข้มแข็ง ด้านพีชคณิตเชิงสัมพันธ์ ไม่มีความจำเป็นในการทำความเข้าใจทางทฤษฎีความสัมพันธ์ในการใช้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แต่จำเป็นต้องเข้าใจแนวคิดฐานข้อมูลพื้นฐานบางประการ ประเภทของความสัมพันธ์ 1.ความสัมพันธ์หลัก (Base Relation) ความสัมพันธ์ที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล และนำข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อ ซึ่งจะเป็นตารางที่มีการจัดเก็บข้อมูลจริงไว้ในฐานข้อมูล 2.วิว (View) ความสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะมีความต้องการใช้ข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์นี้จะไม่มีการเก็บข้อมูลจริงๆ ในระบบ แต่จะเป็นตารางสมมติ
กฎที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์กฎที่ใช้จัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้น มีข้อกำหนดเพื่อสร้างความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูล (Integrity) ในฐานข้อมูล ดังนี้ - กฎข้อที่ 1 ทุกตารางต้องมีหนึ่งคีย์หลัก (Primary key) - กฎข้อที่ 2 ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง 2 ตารางในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ สามารถกำหนดด้วยคีย์นอก (Foreign key) ซึ่งอาจมีค่าเป็น NULL (ไม่มีค่าข้อมูล) หรือมีค่าตรงกับข้อมูลของคีย์หลักในอีกตารางหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันด้วยSQL
โปรแกรม Microsoft Access 2007 Microsoft Office Access เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันอ่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีความสามารถในหลายๆ Microsoft Access สามารถช่วยทำอะไรได้บ้าง 1. สามารถสร้างระบบฐานข้อมูลใช้งานต่าง ๆ เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมควบคุมสินค้า, โปรแกรมฐานข้อมูลอื่นๆ เป็นต้น 2. สามารถสร้างรายงานเพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ 3. สามารถสร้างระบบฐานข้อมูล เพื่อนำไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลอื่น ๆ 4. สามารถนำเสนอข้อมูลออกสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ - ฮาร์ดแวร์ Operating System : Windows 8 Release Preview 32-bit Processor : Intel(R) Core(TM) i3-2100 CPU @ 3.10GHz Memory : 2048MB RAM - ซอฟแวร์ Micorsoft Access 2007 Micorsoftpowerpoint 2007
วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนที่วางแผนไว้วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา เนื่องจากทางคลินิก ต.ห้วยพระใช้การจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆลงบนแผ่นกระดาษ ทางคณะผู้จัดทำจึงต้องการที่จะสร้างระบบการจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลมากยิ่งขึ้น ระบบงานสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ข้อมูลผู้ป่วย เกี่ยวกับ รหัสผู้ป่วย, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ, นามสกุล,อายุ,เพศ,บ้านเลขที่,ตำบล,อำเภอ,จังหวัด,เบอร์โทรศัพท์,โรคประจำตัว,การแพ้ยา,อาการ 2. ข้อมูลการรักษา เกี่ยวกับ รหัสผู้ป่วย,ชื่อ – นามสกุลผู้ป่วย,ครั้งที่รักษา 3. ข้อมูลรายละเอียดการรักษา เกี่ยวกับ,รหัสผู้ป่วยอาการ,ยาที่ได้รับ,เวลานัด,ผู้ตรวจ 4. ข้อมูลข้อมูลยา เกี่ยวกับ รหัสยา,ชื่อยา,ชนิดยา,วันผลิต,วันหมดอายุ,ข้อระวังการ,วิธีใช้,ผลข้างเคียง,สมบัติยา 5. ข้อมูลประเภทยา เกี่ยวกับ รหัสยา,ชื่อยา,ประเภทยา 2) การกำหนดความต้องการของระบบ พัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยนำโปรแกรม Microsoft office Access 2007 มาประยุกต์ใช้ในระบบงาน โดยสร้างระบบให้มีข้อมูลที่สอดคล้องกับระบบงานเดิม สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง ค้นหารายชื่อ หรือจัดทำรายงานต่างๆ ได้
การออกแบบโปรแกรม 1 การออกแบบส่วนนำเข้า (Input Form) การออกแบบส่วนนำเข้า คือ การออกแบบฟอร์ม ซึ่งจะออกแบบทั้งหมด 4 ฟอร์ม ดังนี้ - ฟอร์มข้อมูลผู้ป่วย คือ ฟอร์มที่กรอกข้อมูล รหัสผู้ป่วย, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ, นามสกุล,อายุ,เพศ,บ้านเลขที่,ตำบล,อำเภอ,จังหวัด,เบอร์โทรศัพท์,โรคประจำตัว,การแพ้ยา,อาการ - ฟอร์มข้อมูลการรักษา คือฟอร์มที่กรอกข้อมูล รหัสผู้ป่วย,ชื่อ – นามสกุลผู้ป่วย,ครั้งที่รักษา - ฟอร์มข้อมูลรายละเอียดการรักษา คือ ฟอร์มที่กรอกข้อมูล รหัสผู้ป่วย,อาการ,ยาที่ได้รับ,เวลานัด,ผู้ตรวจ - ฟอร์มข้อมูลยา คือ ฟอร์มที่กรอกข้อมูล รหัสยา,ชื่อยา,ชนิดยา,วันผลิต,วันหมดอายุ,ข้อระวังการ,วิธีใช้,ผลข้างเคียง,สมบัติยา 2 การออกแบบรายงาน(Output Form) การออกแบบรายงาน คือ การนำข้อมูลส่วนนำเข้ามาประมวลผล และแยกประเภทของรายงาน ซึ่งจะออกแบบทั้งหมด 4 รายงาน ดังนี้ - รายงานข้อมูลผู้ป่วย แสดงข้อมูล รหัสผู้ป่วย, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ, นามสกุล,เบอร์โทรศัพท์ - รายงานข้อมูลยา แสดงข้อมูล รหัสยา,ชื่อยา,ชนิดยา,วันผลิต,วันหมดอายุ,ข้อระวังการ,วิธีใช้,ผลข้างเคียง,สมบัติยา - รายงานข้อมูลการรักษา แสดงข้อมูล รหัสผู้ป่วย,อาการ,ยาที่ได้รับ,เวลานัด,ผู้ตรวจ,อาการ,ยาที่ได้รับ,เวลานัด,ผู้ตรวจ
3 การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างตารางฐานข้อมูล (E-R Diagram) ออกแบบโดยใช้ แทน เอนทิตี ออกแบบโดยใช้ แทน แอตทริบิวต์ ออกแบบโดยใช้ แทน ความสัมพันธ์ 4 การออกแบบตารางฐานข้อมูล (Database) การออกแบบตารางฐานข้อมูล คือ การออกแบบตารางการเก็บข้อมูล โดยในที่นี้จะเก็บข้อมูลผู้ป่วย, ข้อมูลยา, ข้อมูลการจ่ายยา, ข้อมูลรายละเอียดการรักษา, ข้อมูลการรักษาและข้อมูลประเภทยา
การพัฒนาโปรแกรม 1 ศึกษาข้อมูลเอกสารจากการสอบถาม และสังเกตการณ์ทำงานของระบบงานของคลินิก 2 การใช้โปรแกรม Microsoft Access 2007 ในการพัฒนา ในส่วนนี้คณะผู้จัดทำใช้โปรแกรม Microsoft Access 2007 ในการพัฒนาฐานข้อมูลในส่วนนำเข้า และรายงานต่างๆ รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบ สามารถค้นหาย้อนหลังได้ 3 วิเคราะห์การใช้งาน ส่วนของผู้ดูแลระบบ : วิเคราะห์ความต้องการข้อมูลของผู้ดูแลระบบ เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้และสามารถต่อยอดได้ ส่วนของผู้ใช้ระบบ : วิเคราะห์ความต้องการของผู้ป่วยว่า ส่วนใหญ่มีการรักษาเป็นอย่างไร มีการใช้ยาชนิดไหนเป้นอย่างไร
การทดสอบและแก้ไขโปรแกรมการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ดำเนินการทดสอบระบบว่าสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ โดยตรวจสอบความถูกต้องของการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูล หากมีข้อผิดพลาดให้ดำเนินการแก้ไข เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการนำไปใช้งานเมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง อาจพบว่ายังมีบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง จึงดำเนินทำการแก้ไขระบบที่ได้พัฒนาให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง
จัดทำรายงานและคู่มือการใช้โปรแกรม และ นำเสนอโครงงาน - จัดทำรายงานแนะนำการใช้งาน เตรียมการต่างๆให้พร้อม และถูกตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการย้ายข้อมูลจากระบบงานปัจจุบันไปใช้ในระบบงานใหม่ เพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดการซ้ำซ้อนกัน - นำเสนอโครงงาน เมื่อโครงงานเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนแล้วก็จะนำมาเสนอ
ส่วนการออกแบบรายงานของระบบงานที่นักเรียนศึกษาส่วนการออกแบบรายงานของระบบงานที่นักเรียนศึกษา ตารางข้อมูลยา
ตารางข้อมูลยา ตารางข้อมูลประเภทของยา
ตารางข้อมูลการรักษา ตารางข้อมูลรายละเอียดการรักษา
ความสัมพันธ์ของตาราง M 1 มี ผู้ป่วย กรรักษา 1 M มี การรักษา รายละเอียดการรักษา 1 M มี รายละเอียดการรักษา ข้อมูลยา 1 M มี ข้อมูลยา ประเภทยา
ผู้จัดทำ 1. นาย พนัตถ์ เขมะศิริเวทิน เลขที่ 52. นาย เฉลิมชัย โพธิ์เอก เลขที่ 8 3. นาย ปิติพงษ์ ช้างโก เลขที่ 12 4. นายศิลา เซี่ยงฉิน เลขที่ 14