1 / 18

ร่องน้ำสงขลา

ร่องน้ำสงขลา. สำรวจโดย เรือ ต. ๒๑๗ ๑๘ ก.ค. ๕๔. ข้อมูลการสำรวจ. ๑. วันที่สำรวจ ๑๘๑๘๐๐ ก.ค. ๕๔ ทำการสำรวจโดย เรือ ต.๒๑๗ ๒. ลักษณะน้ำ/ลม/มาตราน้ำ/ข้างขึ้น-แรม

Download Presentation

ร่องน้ำสงขลา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ร่องน้ำสงขลา สำรวจโดย เรือ ต. ๒๑๗ ๑๘ ก.ค. ๕๔

  2. ข้อมูลการสำรวจ ๑.วันที่สำรวจ ๑๘๑๘๐๐ ก.ค. ๕๔ ทำการสำรวจโดย เรือ ต.๒๑๗ ๒.ลักษณะน้ำ/ลม/มาตราน้ำ/ข้างขึ้น-แรม ขณะน้ำกำลังลง ความสูงน้ำ ๐.๖ เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย ความสูงของคลื่น ๑-๓ ฟุต ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็วประมาณ ๕-๗ น็อต ๓.ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๒๒๙ (อศ.) แผนที่ประกอบร่องน้ำสงขลา จ.สงขลา (สำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๔ สงขลา) ตำบลที่ ร่องน้ำสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา ทุ่นไฟปากร่อง แลต ๗ องศา ๑๖.๑๒ ลิปดา น. ลอง ๑๐๐ องศา ๓๗.๑๗ ลิปดา อ.

  3. เกาะแมว ทุ่นไฟปากร่อง ภาพถ่ายทางอากาศร่องน้ำสงขลา เกาะหนู หลักนำ หน้า-หลัง ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาค ๒

  4. ลักษณะร่องน้ำ ลักษณะร่องน้ำ ร่องน้ำสงขลามีความยาวจนถึงฐานทัพเรือสงขลาประมาณ ๔ ไมล์ทะเล และมีความลึกโดยเฉลี่ย ๓ – ๑๒ เมตร (ที่ระดับน้ำลง ความสูงน้ำ ๐.๖ เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด) บริเวณปากร่องน้ำจนถึงบริเวณคุ้งน้ำก่อนที่จะเลี้ยวที่โค้งหัวพญานาค มีความลึกเฉลี่ย ๕–๑๒ เมตร บริเวณหลังจากเลี้ยวที่โค้งหัวพญานาคจนถึงบริเวณท่าเทียบเรือ ฐานทัพเรือสงขลา มีความลึกเฉลี่ย ๓ – ๘ เมตร บริเวณปากร่องมีการสร้างเขื่อนกันคลื่น ๒ ฝั่งของปากแม่น้ำ เป็นเขื่อนปูนและหินทิ้งยาว ๘๐๐ หลามีไฟกำกับร่องน้ำที่ปลายเขื่อนและมีทุ่นไฟกำกับร่องน้ำตั้งแต่ร่องด้านนอก(ทุ่นไฟปากร่อง)จนถึงบริเวณท่าเรือน้ำลึกทางหนึ่งและเข้ามายัง ฐานทัพเรือสงขลาทางหนึ่ง รวมจำนวน ๗ คู่ (ไฟสีแดงทางฝั่งซ้าย และ ไฟสีเขียวทางกราบขวา ในทิศทางขาเข้าสู่ร่องน้ำ) มีหลักนำในการนำเรือเข้าร่องน้ำจำนวน ๑ คู่ มีทุ่นไฟปากร่องจำนวน ๑ ทุ่น และเข็มหลักในการนำเรือเข้าร่องน้ำ เข็ม ๒๒๕

  5. ทุ่นไฟปากร่อง ก.แมว ก.หนู การนำเรือเข้าร่องน้ำสงขลาให้นำเรือเข้าใกล้ทุ่นไฟปากร่อง และนำเรือเข้าแนวหลักนำ โดยให้หลักนำ A B ตรงกัน เข็มจริง 225

  6. เกาะหนู เกาะแมว

  7. เมื่อกราบขวาได้บีมกับท่าเรือพาณิชย์ ให้เปลี่ยนเข็มไปทางซ้าย โดยรักษาระยะห่างฝั่งกราบซ้ายประมาณ ๑๕๐ – ๒๐๐ หลา

  8. หลักนำ หน้า -หลัง

  9. แผนที่ประกอบร่องน้ำ สำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๔ กรมเจ้าท่า

  10. รายละเอียดร่องน้ำสงขลาจากสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๔ กรมเจ้าท่า

  11. ที่หมายเวลากลางคืน และ ลักษณะท่าเรือ ที่หมายเวลากลางคืน มี ทุ่นไฟปากร่อง ๑ ทุ่น ทุ่นไฟกำกับร่องน้ำ ๗ คู่ ไฟกำกับร่องน้ำที่ปลายเขื่อน ๑ คู่ (ไฟสีแดงทางฝั่งซ้าย และ ไฟสีเขียวทางกราบขวา ในทิศทางขาเข้าสู่ร่องน้ำ)หลักนำ ๑คู่(ไฟสีเขียวซ้อนกัน) ลักษณะท่าเรือ ท่าเรือฐานทัพเรือสงขลามีความลึก ประมาณ ๓ – ๕.๕ เมตร ท่าเรือเป็นคอนกรีต รูปตัว TT ขนาดโดยประมาณ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

  12. ภาพท่าทียบเรือ ฐานทัพเรือสงขลา

  13. พื้นท้องทะล การนำเข้าเทียบและออกจากเทียบ • พื้นท้องทะเล ทรายปนโคลน • การนำเรือเข้าเทียบ/ออกจากเทียบเมื่อถึงบริเวณทุ่นไฟปากร่อง นำเรือเข้าร่องน้ำสงขลา โดยมีหลักนำในการนำเรือเข้าร่องน้ำ จำนวน ๑ คู่ เข็มหลักในการนำเรือเข้าร่องน้ำ คือ เข็ม ๒๒๕ ระยะทางประมาณ ๔ ไมล์ทะเล แล้วนำเรือเลี้ยวตามโค้งซ้าย ระยะทางประมาณ ๒๐๐๐ หลา เพื่อเข้าท่าเรือ ฐานทัพเรือสงขลา โดยให้ระมัดระวังทางด้านกราบซ้ายซึ่งมีโพงพางบริเวณทางโค้ง และบริเวณกลางร่องน้ำ สำหรับตำบลที่ในการเทียบเรือ เรือ ตกฝ. เทียบบริเวณท่าเรือในสุด เรือ ตกช. สามารถเข้าเทียบได้ตลอดแนวท่าเรือ

  14. ข้อควรระวังในการนำเรือ ข้อควรระวังในการนำเรือ - ระมัดระวัง เรือสินค้าและเรือประมงท้องถิ่นผ่านเข้าออกค่อนข้างมากในช่วงเช้าและช่วงเย็น - ระมัดระวังเรือ แพขนานยนต์ ที่ข้ามไปมายังฝั่งหัวเขาแดงเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ - ระมัดระวังโพงพางซึ่งวางตัวในแนวขวางร่องน้ำ ในการนำเรือเข้าในเวลากลางคืนควรเตรียมไฟฉายขนาดใหญ่ส่องบริเวณหัวเรือ จุดเทียบเรือ

  15. เรือ และท่าเรือ แพขนานยนต์

  16. ท่าเทียบเรือ ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาค ๒ ท่าเทียบเรือPCF ท่าเทียบเรือPGM น้ำลึกหน้าท่า ๓ -๕.๕ เมตร

  17. ข่ายการสื่อสาร ทรภ 2 ความถี่8225 KHz ฐท.สข. ความถี่ 8225 KHz(0700-2159) ความถี่ 3165 KHz(2200-0659) หรือข่าย VHF ช่อง 67 นำร่องสงขลา ข่าย VHF ช่อง 14

  18. สิ่งอำนวยความสะดวกและข้อมูลเมืองท่าสิ่งอำนวยความสะดวกและข้อมูลเมืองท่า สิ่งอำนวยควสะดวกเนื่องจากเป็นฐานทัพ จึงมีครบครัน น้ำ ไฟ โทรศัพท์ ข้อมูลเมืองท่าจ.สงขลา เป็นเมืองใหญ่ที่สำคัญที่สุดเมืองหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศ และเป็นเมืองที่เจริญมั่งคั่งมาแต่ครั้งโบราณ มีอาณาเขตบางส่วนจรดรัฐเคดาห์ สหพันธรัฐมาเลเซีย พลเมืองมีอาชีพ ทำนา สวนยางพารา สวนผลไม้ สวนมะพร้าว เหมืองแร่ และประมง ผลิตผลสินค้าออกหลัก คือ ยางพารา สัตว์น้ำ

More Related