310 likes | 450 Views
การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัส อีโบลา ใน ภูมิภาค อาฟ ริกา ตะวันตก. กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข.
E N D
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในภูมิภาคอาฟริกาตะวันตก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
บทสรุปสำหรับอีโบลาก็คือเรารู้ว่าจะหยุดมันอย่างไรการสาธารณสุขแบบดั้งเดิมค้นหาผู้ป่วย แยกผู้ป่วย ดูแลรักษาผู้ป่วยติดตามผู้สัมผัส ให้ความรู้ประชาชน และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเคร่งครัดทำสิ่งเหล่านี้อย่างพิถีพิถันละเอียดลออ แล้วอีโบลาจะหมดไป นพ. โธมัส ฟรีเด็นผอ.ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา • ระยะฟักตัว 2 – 21 วัน (ทั่วไปประมาณ 4 – 10 วัน) • Highly transmissible โดย • การสัมผัสโดยตรงกับ เลือด สารคัดหลั่ง ชิ้นเนื้อ อวัยวะ ของเหลวจากร่างกาย ศพ ของผู้ติดเชื้อ • การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อติดอยู่ • Casual contact มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ • การระบาดรอบนี้มีวิธีการแพร่เชื้อที่สำคัญคือ person-to-person transmission และ การจัดการศพและพิธีศพ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา • โอกาสการแพร่เชื้อจะต่ำในช่วงแรกที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ดังนั้น ตรวจจับผู้ป่วยให้ได้ตั้งแต่อาการน้อยๆ จึงมีความสำคัญสูง • อาการสำคัญคือมีไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว เลือดออก • อัตราป่วยตายของการระบาดด้วยเชื้อไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ Zaire อยู่ที่ประมาณร้อยละ 50 – 90 • การรักษาเป็นการรักษาตามอาการยังไม่ยารักษาเฉพาะ และยังไม่มีวัคซีน
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา • เราสามารถ inactivated เชื้ออีโบลาได้โดยวิธี UV radiation, gamma irradiation, heating for 60 minutes at 60 °C or boiling for five minutes. • เชื้อไวรัสสามารถถูกทำลายได้ด้วยsodium hypochlorite และ disinfectants • Freezing or refrigeration ไม่สามารถ inactivate เชื้ออีโบลาได้
Distribution of EVD cases in Guinea, Sierra Leone, Liberia by week of reporting, December 2013 - 1 August 2014
จำนวนผู้ป่วยที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอาฟริกาจำนวนผู้ป่วยที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลกภูมิภาคอาฟริกา Ebola virus disease, West Africa – update 13 August 2014
Distribution of EVD cases in Guinea, Sierra Leone, Liberia and Nigeria by week of reporting, December 2013 – 6 August 2014 All country ในช่วง 4 สัปดาห์ล่าสุดพบผู้ป่วยถึง 815 ราย (46% ของทั้งหมด)
Distribution of EVD cases in Guinea, Sierra Leone, Liberia and Nigeria by week of reporting, December 2013 – 6 August 2014 Guinea Sierra Leone Liberia Nigeria source: http://www.cdc.gov/ source: www.ecdc.europa.eu/
แผนที่แสดงการขยายตัวของพื้นที่ระบาดใน 3 ประเทศแถบอาฟริกาตะวันตก วันที่ 20 ก.ค. 57 วันที่ 7 ส.ค. 57 ขณะนี้การระบาดครอบคลุมทุกเมืองของเซียร่าลีโอน และเข้าสู่เมืองหลวงของทั้ง 3 ประเทศ
การติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข • นับถึงวันที่ 11 สิงหาคม มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดเชื้อแล้วมากกว่า 170 คน และเสียชีวิตแล้วกว่า 81 คน (http://www.who.int/csr/disease/ebola/overview-august-2014/en/) • ในประเทศไนจีเรียมีผู้สัมผัสนาย Patrick Sawyer จำนวน 59 คน (เป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน 15 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 44 คน) ในจำนวนนี้มีผู้ติดเชื้อแล้ว 12 คน • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด: ผู้ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด
สถานการณ์ในประเทศไนจีเรียสถานการณ์ในประเทศไนจีเรีย • BBC news รายงานข่าวพยาบาลหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วยรายแรกของไนจีเรียหนีออกจากสถานที่กักโรค เพื่อเดินทางกลับบ้านที่เมือง Enuku มีผู้สัมผัสพยาบาลคนนี้ไปอีก 20 คน • ปัจจุบันไนจีเรียอยู่ระหว่างการติดตามผู้สัมผัสรวม 198 คน (177 คนใน Lagos และ 21 คนใน Enuku)
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Ebolaในประเทศไนจีเรีย เจ้าหน้าที่สนามบิน (15 คน) บุคลากรทางการแพทย์ (44 คน) Patrick Sawyer สัมผัสโรค ป่วย 12 คน กักกันได้ 11 คน หนี 1 คน (พยาบาล) หนีไปเมือง Enugu มีผู้สัมผัส 118 คน มีผู้สัมผัส 21 คน
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (1) องค์การอนามัยโลก • ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในอาฟริกาตะวันตกเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) • ประเทศที่มีการระบาด: ออกคำแนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางของผู้ป่วยอีโบลาหรือผู้สัมผัส การคัดกรองผู้โดยสารขาออก จัดระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในระดับสูงสุด เพิ่มความพร้อมของอุปกรณ์ในการดูแลรักษา การวินิจฉัย และลดกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก • ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศที่มีการระบาด: ให้มีการเตรียมการเฝ้าระวัง การจัดระบบตรวจทางห้องปฏิบัติการ การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อและการสอบสวนควบคุมโรค • ประเทศอื่นๆ: ไม่มีการห้ามเดินทางหรือการค้า แต่ให้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (2) องค์การอนามัยโลก(ต่อ) • ในวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2557 คณะผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมการวิจัย ขององค์การอนามัยโลก มีความเห็นว่า “ในสถานการณ์ที่มีการระบาดขณะนี้ การใช้ยาหรือวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลหรือความปลอดภัยเป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักจริยธรรม หากนำมาใช้ภายใต้หลักการที่เหมาะสม” • Options: • Zmapp– Mapp Biopharmaceutical, Inc. • Favipiravir - Fujifilm Holdings Corp. • TKM-Ebola - Tekmira Pharmaceuticals • AVI-7537 – SareptaTherapeutics • BCX4430 - BiocrystPharmaceuticals • ST-383 - SigaTechnologies.
มาตรการเพิ่มเติมขององค์การอนามัยโลกมาตรการเพิ่มเติมขององค์การอนามัยโลก • WHO ประกาศให้ประเทศเคนย่าเป็นประเทศที่เสี่ยงสูง ประเทศเคนย่า อยู่ในแอฟริกาตะวันออก แต่เป็นศูนย์กลางของการบินโดยมีเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อสัปดาห์มาลงที่ประเทศเคนย่า
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (3) ประเทศ Liberia • Dr. Kent Brantlyซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยแพทย์ของ Samaritan's Purse care center และ Nancy Writebol ได้รับยาทดลองและพบว่ามีอาการดีขึ้น • Miguel Pajaresอายุ 75 ปีทำงานในองค์กรเอกชนในไลบีเรียถูกส่งกลับสเปนพร้อมกับ Juliana Bohi(ไม่ติดเชื้อ) • ประธานาธิบดีไลบีเรียให้ข้อมูลว่ามีแพทย์ 3 คน และบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตแล้ว 32 ราย (10 สค.) และรัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีทหารช่วยจำกัดการเดินทางเข้าออกจากพื้นที่ระบาด และอนุมัติงบประมาณ 18 ล้านดอลล่าร์ (ปรับปรุงสถานพยาบาล ประกัน รถ อาหาร ...) • 95% ของแพทย์อาสาสมัครถอนตัวออกจากประเทศแล้ว เหลือแพทย์ในประเทศเพียง 50 คน
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (4) US CDC • ให้คำแนะนำผู้เดินทางเป็นระดับสูงสุด (ระดับ 3) ในทั้ง 3 ประเทศ คือให้หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น ส่วนไนจีเรียให้เป็นระดับสองคือเดินทางด้วยความระมัดระวัง • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา CDC เพิ่มระดับ EOC response level เป็นระดับ 1 มีการระดมบุคลากรเพื่อมาร่วมการดำเนินการเรื่องอีโบลา มีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยในประเทศที่กำลังระบาด (กินี 14, ไลบีเรีย 18, ซิเอร่า เลโอน 16, ไนจีเรีย 7) – Stop Ebola at its source • จัดตั้ง Emergency Operation Centers และระบบข้อมูล • ช่วยเรื่อง Exit Screening • เตรียมความพร้อมรับมือภายในประเทศ
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (5) ห้องผู้ป่วย: ให้ผู้ป่วยพักในห้องแยก มีห้องน้ำในตัว จำกัดและบันทึกผู้เข้าห้องผู้ป่วยอุปกรณ์ป้องกัน : เจ้าหน้าที่ควรสวมใส่ถุงมือ กาวกันน้ำ พลาสติกคลุมรองเท้า แว่นหรือพลาสติกป้องกันใบหน้า และหน้ากากป้องกันโรค และอาจพิจารณาสวมใส่อุปกรณ์อื่นๆ ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ การทำหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอย: ให้หลีกเลี่ยงหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอย หากจำเป็นให้ดำเนินการในห้องแยก การติดเชื้อทางอากาศ และใสหน้ากากป้องกัน ที่เหมาะสม (N95 หรือสูงกว่า) การทำความสะอาดห้องและสิ่งแวดล้อม:
สถานการณ์การป่วยและการดำเนินการในต่างประเทศในสัปดาห์ที่ผ่านมา (6) • มาตรการคัดกรอง ตรวจสุขภาพ และติดตามนักเดินทาง • Mandatory self-reporting • Thermoscan ซักประวัติ และวัดอุณหภูมิ • Health beware card • การติดตามสอบถามอาการผู้เดินทาง • มาตรการตั้งรับ อาศัยการวินิจฉัยและแยกผู้ป่วยให้ได้โดยเร็ว • Early detection • Infection Control
มาตรการควบคุมโรคของไทย (1) • การคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาดที่สนามบิน • การให้คำแนะนำกับผู้เดินทาง • การติดตามสอบถามอาการผู้เดินทางเป็นเวลา 21 วัน นับจากวันที่เดินทางออกจากประเทศที่มีการระบาด • การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมถึงการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ • การจัดระบบให้มีการตรวจจับผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วที่โรงพยาบาล และลดจำนวนผู้สัมผัส • การสอบสวนควบคุมผู้สัมผัส
มาตรการทางด้านการเฝ้าระวังโรคมาตรการทางด้านการเฝ้าระวังโรค • หากพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยในช่วง 21 วันก่อนเริ่มป่วย โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อสอบสวนและเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันที • ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยเข้าข่ายเฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกอีโบลา
มาตรการควบคุมโรคของไทย (2) การจัดระบบเฝ้าระวัง • กรมควบคุมโรคดำเนินการติดตามสถานการณ์ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มมีการระบาด • ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ดำเนินการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่พบโรค โดยการซักประวัติสุขภาพ วัดอุณหภูมิร่างกาย ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน - 13 สิงหาคม 2557 จำนวน 447 ราย • ทั้งหมดไม่มีอาการป่วย • ดำเนินการติดตามผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด ขณะนี้ยังมีผู้เดินทางอยู่ในช่วงเฝ้าระวัง 21 วัน จำนวน 79 คน
มาตรการควบคุมโรคของไทย (3) • กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีคำเตือนประชาชนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปยังประเทศที่เกิดโรค หากจำเป็นต้องเดินทางไปให้ลงทะเบียนการเดินทางตามมาตรการของกระทรวงการต่างประเทศ • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังสัตว์ที่มาจากอาฟริกา ไม่พบมีการนำสัตว์เข้ามายังประเทศไทย • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชะลอการนำเข้าสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และมีการควบคุมการนำเข้าทั้งทาง ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และชายแดน • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องอีโบลา แก่ อสม. เพื่อสื่อสารกับประชาชน สื่อสาร
มาตรการควบคุมโรคของไทย (4) • การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล • สถานพยาบาลเตรียมห้องแยกผู้ป่วยในทุกจังหวัด โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และให้ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเหมือนผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายสูง เช่น โรคซาร์ส อย่างเคร่งครัด • การรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษา และควบคุมป้องกันการติดเชื้อที่กรมการแพทย์กำหนด และให้คำปรึกษาแก่แพทย์ พยาบาลในการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง • สถาบันบำราศนราดูรได้จัดทำคำแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอีโบลา การรับและส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง สำหรับบุคลากรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง
มาตรการควบคุมโรคของไทย (5) • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับหน่วยงานทั่วประเทศกำลังพิจารณาแนวทางการส่งวินิจฉัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล • การบริหารจัดการ • กรมควบคุมโรคเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทุกวัน • กระทรวงสาธารณสุขเปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานและสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติทั่วประเทศ
สรุปและข้อเสนอ • สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศแถบอาฟริกาตะวันตกขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ • คาดว่าจะระบาดต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน • มาตรการที่ดำเนินการในประเทศไทยเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกตามประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) และจะมีการติดตามประเมินปรับมาตรการตามสถานการณ์เป็นระยะ • การประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้มีการดำเนินมาตรการได้อย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอ • ข้อเสนอ • สนับสนุนการดำเนินการควบคุมโรคในประเทศแถบอาฟริกาตะวันตก • เผยแพร่คำแนะนำผู้เดินทางไปต่างประเทศให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด • ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ในเว็บไซต์ทั้งในระดับกรม และกระทรวงสาธารณสุข • เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร • เตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ