1 / 25

SC81

Biochemitry

nophadonlu
Download Presentation

SC81

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยของสิ่งมีชีวิต ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  2. 1 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต หน่วยของ สิ่งมีชีวิต 2 ประเภทของเซลล์ ลักษณะโครงสร้างและ หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 3 ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  3. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  4. 1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การค้นพบหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ โรเบิร์ตฮุค (Robert Hooke) โรเบิร์ตฮุคประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์มีลักษณะดังภาพ ส่องดูไม้คอร์กที่ฝานเป็นแผ่นบาง ๆ พบว่ามีลักษณะเป็นห้องเล็ก ๆ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  5. 1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความหมายของเซลล์ • อังตอง แวน เลเวนฮอค (Antonie van Leeuwenhock) ได้ประดิษฐ์เลนส์เพื่อใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เพิ่มขึ้น เขาเรียกสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ว่า จุลินทรีย์ • แมทิอัส จาคอบ ชไลเดน (Matthias JakobSchleiden) กับ ทีโอดอร์ชวาน (Theodor Schwann) กล่าวว่า “เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต” ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  6. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่างลักษณะที่หลากหลายและมีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์ เซลล์ประสาทส่วนใหญ่มีเส้นใยประสาทเป็นแขนงยาว เพื่อนำกระแสประสาทไปยังเซลล์อื่น ๆ เซลล์ยูกลีนาและเซลล์สเปิร์มของมนุษย์ มีหางยาว เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ เซลล์พารามีเซียมมีขนเล็ก ๆ รอบตัว ใช้ในการเคลื่อนที่เช่นกัน เซลล์สเปิร์มของมนุษย์ เซลล์ประสาทของมนุษย์ เซลล์พารามีเซียม เซลล์ยูกลีนาจากน้ำในอ่างเลี้ยงปลา ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  7. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทำให้ทราบว่าเซลล์มีขนาด รูปร่าง และลักษณะหลายแบบแตกต่างกันไป เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เซลล์บางชนิดมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น เซลล์ไข่ไก่ เซลล์ไข่เป็ด เซลล์ไข่เต่า บางชนิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เซลล์ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด เซลล์สเปิร์มของมนุษย์ เซลล์ยูกลีนา เซลล์พารามีเซียม เซลล์อะมีบา เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  8. 1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เครื่องมือช่วยขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา มนุษย์เรามีประสาทสัมผัสทางตาที่มีขอบเขตจำกัด ต้องใช้เครื่องมือช่วยขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา เช่น แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ แว่นขยาย ใช้สำหรับดูวัตถุขนาดเล็กให้เห็นขนาดขยายขึ้น ที่พอจะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เท่านั้น กล้องจุลทรรศน์ ใช้สำหรับส่องดูวัตถุขนาดเล็ก ให้เห็นวัตถุมีขนาดใหญ่และชัดเจนมากขึ้น ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  9. ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ เลนส์ใกล้ตา แขนกล้อง เลนส์ใกล้วัตถุ ปุ่มปรับภาพหยาบ ที่หนีบสไลด์ ปุ่มปรับภาพละเอียด แท่นวางวัตถุ ฐานกล้อง แหล่งกำเนิดแสง ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  10. ประเภทของเซลล์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  11. 2. ประเภทของเซลล์ สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีจำนวนมากมายทั้งพืช สัตว์ และอื่น ๆ ถ้านำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมาจัดเป็นกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ จะจำแนกได้ ดังนี้ 2.1 ใช้จำนวนเซลล์ เป็นเกณฑ์ 2.2 ใช้การสร้างอาหาร เป็นเกณฑ์ สิ่งมีชีวิต ที่สร้างอาหารได้ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิต ที่สร้างอาหารไม่ได้ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  12. 2. ประเภทของเซลล์ 2.1 ใช้จำนวนเซลล์เป็นเกณฑ์ 1) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียว โครงสร้างภายในเป็นแบบง่าย ๆ พบได้ทั่วไปทั้งในน้ำและบนบก ดำรงชีวิตอย่างอิสระ ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม คลอเรลลา ยีสต์ อะมีบา พารามีเซียม คลอเรลลา ยีสต์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  13. มนุษย์ พลานาเรีย สัตว์ 2) สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ไฮดรา พืช สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์มากกว่า 1 เซลล์ เช่น มนุษย์ สัตว์ พลานาเรีย ไฮดรา และพืชทั่วไป ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  14. 2. ประเภทของเซลล์ 2.2 ใช้การสร้างอาหารเป็นเกณฑ์ 1) สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีคลอโรฟิลล์ สามารถเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และ น้ำให้เป็นน้ำตาลได้ เช่น สาหร่ายสีเขียวและ พืชสีเขียวทุกชนิด 2) สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารไม่ได้ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น มนุษย์ สัตว์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  15. ลักษณะโครงสร้าง และ หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  16. 3. ลักษณะโครงสร้างและ หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ พืชหรือสัตว์ต่างก็ประกอบด้วยเซลล์เล็ก ๆ ส่วนประกอบบางส่วนคล้ายคลึงกัน คือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึมและนิวเคลียสเหมือนกัน แต่ก็มีส่วนประกอบบางส่วนที่แตกต่างกัน โดยเซลล์พืชมีผนังเซลล์และคลอโรฟิลล์ เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์และคลอโรฟิลล์ แต่เซลล์สัตว์มี เซนทริโอล ที่เซลล์พืชไม่มี ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  17. ไลโซโซม ไรโบโซม กอลจิคอมเพลกซ์ เซลล์พืช เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ ไรโบโซม คลอโรพลาสต์ แวคิวโอล เซนทริโอล ไซโทพลาซึม ไมโทคอนเดรีย นิวเคลียส เซลล์สัตว์ ไมโทคอนเดรีย ไซโทพลาซึม นิวเคลียส ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  18. ส่วนประกอบและหน้าที่สำคัญของส่วนประกอบของเซลล์ส่วนประกอบและหน้าที่สำคัญของส่วนประกอบของเซลล์ 1) ผนังเซลล์ (cell wall) เป็นเยื่อหุ้มผิวด้านนอกสุดของเซลล์พืช ประกอบด้วย สารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและห่อหุ้ม ป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช 2) เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีนและลิพิด ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์และควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeablemembrane) 3) โพรโทพลาซึม (protoplasm) เป็นส่วนประกอบทั้งหมดภายในเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะเป็นของเหลวเรียก ไซโทพลาซึม ส่วนประกอบอื่น ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelles)

  19. (2) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืช มีสารพวกคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) คลอโรพลาสต์เป็นแหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง (1) ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสลายสารอาหาร เพื่อให้พลังงานแก่เซลล์ (6) แวคิวโอล (vacuole) ทำหน้าที่เก็บน้ำและสารต่าง ๆ 4) ไซโทพลาซึม (cytoplasm) (3) ไรโบโซม (ribosome) เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีน (5) เซนทริโอล (centriole) มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ (4) กอลจิคอมเพลกซ์ (golgi complex) ทำหน้าที่สร้างคาร์โบไฮเดรต ที่รวมกับโปรตีน

  20. โครมาทิน 5) นิวเคลียส (nucleus) นิวคลีโอลัส เยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นโครงสร้างที่อยู่ตรงกลางของเซลล์ เซลล์มีชีวิตโดยทั่วไปมีนิวเคลียส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ร่วมกับไซโทพลาซึม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สาร ประกอบของเซลล์ นิวเคลียสประกอบด้วย เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นเยื่อบางๆ มีรูเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป เพื่อให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าออกระหว่างของเหลวภายในนิวเคลียส (นิวคลีโอพลาซึม) กับของเหลวภายนอกนิวเคลียสในเซลล์ (ไซโทพลาซึม) โดยวิธีการแพร่ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  21. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ประกอบด้วยผนังเซลล์ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นสารพวกเซลลูโลส มีไซโทพลาซึม นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ แวคิวโอล เซลล์พืช เซลล์สัตว์ ไม่มีผนังเซลล์ มีเยื่อหุ้มเซลล์ห่อหุ้ม โพรโทพลาซึม มีส่วนประกอบและ โครงสร้างต่าง ๆ เช่น ไซโทพลาซึม นิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย แต่ไม่มีคลอโรพลาสต์ ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  22. ส่วนประกอบของเซลล์พืชส่วนประกอบของเซลล์พืช เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียส ไรโบโซม กอลจิคอมเพลกซ์ ไซโทพลาซึม ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ แวคิวโอล

  23. ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์ เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียส ไรโบโซม กอลจิคอมเพลกซ์ ไมโทคอนเดรีย ไซโทพลาซึม เยื่อหุ้มเซลล์

  24. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดทั้งพืชและสัตว์ ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด คือ เซลล์ แต่รายละเอียดของเซลล์แตกต่างกัน เซลล์พืชมีผนังเซลล์ เพื่อให้ความแข็งแรง แต่เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ เซลล์พืชมีคลอโรพลาสต์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่เซลล์สัตว์ไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์ส่วนใหญ่ของพืชมีลักษณะคงรูปและมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เซลล์ส่วนใหญ่ของสัตว์ มีลักษณะไม่คงรูปและมีรูปร่างค่อนข้างกลมรี ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

  25. เซลล์ชนิดเดียวกันมารวมตัวกันเป็นกลุ่มเซลล์ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เรียกว่า เนื้อเยื่อ (tissue)เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อประสาท กลุ่มเนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดที่รวมกันเพื่อทำหน้าที่ เรียกกลุ่มเนื้อเยื่อนี้ว่า อวัยวะ (organ) เช่น ปาก หลอดอาหาร ตับ ตับอ่อน อวัยวะหลาย ๆ ชนิดมาทำหน้าที่สำคัญร่วมกัน เรียก ระบบอวัยวะ เช่น ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และยังมีอีกหลาย ระบบที่ทำงานประสานกัน ประกอบกันเป็นรูปร่าง เป็นร่างกายของสิ่งมีชีวิต ครูนฤมล วัฒนวิกกิจ

More Related