1 / 29

มาตรา 46 เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ

มาตรา 46 เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ เช่น รับฝากเงินจากสมาชิก, จากสหกรณ์อื่น, ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืม มาตรา 47 การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกันของสหกรณ์อยู่ภายในวงเงิน ที่เห็นชอบ มาตรา 48 ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามกฎกระทรวง

Download Presentation

มาตรา 46 เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรา 46 เพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ เช่น รับฝากเงินจากสมาชิก, จากสหกรณ์อื่น, ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืม มาตรา 47 การกู้ยืมเงินหรือการค้ำประกันของสหกรณ์อยู่ภายในวงเงิน ที่เห็นชอบ มาตรา 48 ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ตามกฎกระทรวง มาตรา 50 ให้สหกรณ์มีคณะกรรมการ ประธาน 1 กรรมการอื่นไม่เกิน 14 วาระละ 2 ปี อาจได้รับเลือกใหม่แต่ไม่เกิน 2 วาระ 1

  2. มาตรา 51 ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและ เป็นผู้แทนสหกรณ์ มอบกรรมการหรือผู้จัดการได้ มาตรา 52 ห้ามมิให้บุคคลทำหน้าที่กรรมการหรือผู้จัดการ มาตรา 53ให้สหกรณ์มีผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวนตามที่นายทะเบียน กำหนด มาตรา 54 ให้คณะกรรมการฯ เรียกประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี 2

  3. มาตรา 55 คณะกรรมการสหกรณ์จะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ เมื่อใดก็ได้ มาตรา 56 สหกรณ์มีสมาชิกเกินกว่าห้าร้อยคนจะประชุมใหญ่ โดยผู้แทน มาตรา 57 การประชุมใหญ่ของสหกรณ์และองค์ประชุม สมาชิกจะมอบ อำนาจให้ผู้อื่นมาประชุมแทนตนไม่ได้ มาตรา 59 สมาชิกให้มีเสียงหนึ่ง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด 3

  4. มาตรา 62เงินของสหกรณ์ ฝาก / ลงทุน ตามที่ คพส.กำหนด มาตรา 63ให้สหกรณ์ พิจารณาซื้อรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกก่อนผู้อื่น มาตรา 65ให้สหกรณ์จัดทำบัญชี ต้องบันทึกบัญชีเงินสดใน 1 วัน รายการอื่น 3 วัน มีเอกสารประกอบการลงบัญชีสมบูรณ์ 4

  5. มาตรา 66 ให้สหกรณ์จัดทำงบดุล 1 ครั้ง ทุกรอบ 12 เดือน ตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด มาตรา 67ให้สหกรณ์จัดทำรายงานประจำปี และส่งพร้อมงบดุลให้ นายทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากประชุมใหญ่ มาตรา 68 ให้สหกรณ์เก็บรักษารายงานประจำปี พร้อมข้อบังคับ และกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกขอตรวจดูได้ มาตรา 69ให้นายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 5

  6. กฎหมายที่เกี่ยวกับนายทะเบียนสหกรณ์กฎหมายที่เกี่ยวกับนายทะเบียนสหกรณ์ มาตรา 15 ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ มาตรา 16 ให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1) จดทะเบียน ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ และกำกับดูแลสหกรณ์ให้เป็นไป ตามบทบัญญัติแห่ง พรบ.นี้ และกฎหมายอื่น 4) ออกคำสั่งให้มีการตรวจสอบ ไต่สวน การจัดตั้ง ดำเนินงาน ฐานะการเงิน 5) สั่งให้ระงับการดำเนินงาน หรือให้เลิกสหกรณ์ ถ้าเห็นว่าการกระทำหรืองดเว้นกระทำการของสหกรณ์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สหกรณ์/สมาชิก 6

  7. มาตรา 18 สหกรณ์ต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้เกี่ยวข้อง มาตรา 19 ให้ผู้ตรวจการสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบกิจการ มาตรา 20 ถ้าที่ประชุมลงมติอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ สหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ระเบียบนายทะเบียน นทส.มีอำนาจยับยั้งเพิกถอน มาตรา 21 ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้ สหกรณ์เสียหาย ถ้าสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์ นายทะเบียนร้องทุกข์ / ฟ้องคดี แทนสหกรณ์ได้ มาตรา 22 ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการจนเสียผลประโยชน์สหกรณ์/สมาชิก มีข้อบกพร่อง นายทะเบียนสั่งให้ 1) แก้ไขข้อบกพร่อง 2) สั่งระงับการปฎิบัติ 3) หยุดปฎิบัติหน้าที่ 4) พ้นตำแหน่ง 7

  8. มาตรา 23 สหกรณ์จดทะเบียนยังไม่เกินสามปีหรือมีผลขาดทุนติดต่อกัน เกิน 2 ปีขอให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือได้ มาตรา 24 ในกรณีที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ตั้งกรรมการชั่วคราวไม่เกิน 180 วัน มาตรา 25สั่งให้กรรมการบางคนพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการ ส่วนที่เหลือเรียกประชุมใหญ่เลือกตั้งผู้เป็นกรรมการแทน มาตรา 26ผู้มีส่วนได้เสียตาม ม.20, ม.22, ม.24, ม.25 สามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติได้ 8

  9. บทกำหนดโทษ มาตรา 129 ผู้ใดใช้คำว่า “สหกรณ์” หรือ “กลุ่มเกษตรกร” จำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท ทั้งจำทั้งปรับ ปรับอีก 500 – 1,000 บาท/วัน มาตรา 130 ผู้ใดไม่มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสาร ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรา 131 ผู้ใดขัดขวาง หรือไม่ให้คำชี้แจง ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรา 132 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่จัดการรักษาทรัพย์สินของสหกรณ์ หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ชำระบัญชีปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท มาตรา 133 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่แก้ไขข้อบกพร่องปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท 9

  10. กฎกระทรวง ลงวันที่ 26 กันยายน 2543  การจ่ายเงินปันผลตามหุ้นของสหกรณ์ให้จ่ายได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี กฎกระทรวง ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ว่าด้วยการดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องของสหกรณ์ พ.ศ.2550  ดำรงสภาพคล่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 - 20 ของยอดเงินฝากทั้งหมด (เงินฝากทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย)  ให้รายงานภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือน  ถ้าไม่ดำรงสภาพคล่อง ไม่รายงาน - นายทะเบียนสหกรณ์ออกคำสั่งให้คณะกรรมการแก้ไขข้อบกพร่อง 10

  11. คำสั่ง คำแนะนำ ระเบียบ ประกาศ นายทะเบียนสหกรณ์ที่สำคัญ ประกาศ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากของสหกรณ์ ลงวันที่ 24 มกราคม 2543  ให้สหกรณ์ทุกประเภทกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากได้ไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี คำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 791/2543 เรื่องกำหนดการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการสหกรณ์  ให้ตรวจสอบกิจการ การดำเนินงาน, ฐานะการเงิน พบข้อบกพร่องรายงานรอง นทส. เงินสด สินค้า ขาดบัญชี ต้องกำหนดวิธีการและระยะเวลาแก้ไข 11

  12. ประกาศ นายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องข้อแนะนำวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการถอดถอนคณะกรรมการฯ และการยื่นอุทธรณ์ของสมาชิกกรณีคณะกรรมการฯ มีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2533 สรุป กรณีกรรมการทุจริต, จงใจกระทำผิดกฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ กระทำ ละเว้นกระทำ ประมาท ทำให้สหกรณ์เสียหายร้ายแรง, ประกอบธุรกิจแข่งขันกับสหกรณ์, กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อสหกรณ์ ให้ยื่นถอดถอนต่อผู้ตรวจสอบกิจการ  ที่ประชุมใหญ่สามัญ / วิสามัญ พิจารณา โดยให้ผู้ตรวจสอบกิจการเป็นประธานที่ประชุม กำหนดเป็นวาระการประชุม ถ้าไม่กำหนดให้ถือเป็นวาระแรก  กรณีสมาชิกให้ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ตรวจสอบกิจการ 12

  13. หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์  จำนวนผู้ตรวจสอบกิจการ บุคคลธรรมดาไม่เกิน 5 คน หรือ 1 นิติบุคคล ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วย การตรวจสอบกิจการ ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 กำหนดข้อห้ามการเป็นผู้ตรวจสอบกิจการ  การตรวจสอบและเสนอรายงานให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่ กำหนดไว้ในข้อบังคับ  ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 13

  14. คำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 536/2546 ลงวันที่ 21 เมษายน 2546  ให้สหกรณ์จัดทำทะเบียนคณะกรรมการสหกรณ์ไว้เป็นหลักฐาน คำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 460/2548 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2548  ให้สหกรณ์จัดทำและบันทึกบัญชีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบประกอบต่างๆ ตรวจนับทรัพย์สิน สินค้า วัสดุคงเหลือ ณ วันสิ้นปีให้เรียบร้อยพร้อมรับการตรวจสอบบัญชี ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี 14

  15. - ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องคำนิยามวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกัน ของสหกรณ์ ลงวันที่19 พฤศจิกายน 2547 - คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 278/2549 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2549 เรื่องให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ กำหนดเรื่องการจ่ายคืนเงินค่าหุ้น ในกรณีที่ขาดทุนเกินทุนสำรองที่มีอยู่ไว้ในข้อบังคับสหกรณ์ - คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องวิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับสหกรณ์ ที่ประสงค์จะผ่อนใช้คืนเงินค้างขาดทุนสะสมบางส่วน ลงวันที่ 28 เมษายน 2549 15

  16. กรมส่งเสริมสหกรณ์มีหนังสือแนะนำ ที่ กษ 1108/346 ลว. 15 มกราคม 2550  ให้สหกรณ์จังหวัดแนะนำสหกรณ์ดังนี้ 1. ระเบียบที่มีผลให้ค่าใช้จ่ายสหกรณ์เพิ่ม เอื้อประโยชน์ต่อกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การจัดสรรกำไรมาจัดสวัสดิการให้เฉพาะเจ้าหน้าที่สหกรณ์ จัดสรรตามลำดับที่ พรบ.สหกรณ์กำหนด การคิดดอกเบี้ย ระยะเวลาส่งชำระไม่ต่ำกว่าที่คิดจากสมาชิก และผ่านมติที่ประชุมใหญ่ 2. การอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ เป็นรายเดือนหรือครั้งคราวไม่ถูกต้อง เพราะได้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะแล้ว กรรมการทำหน้าที่ผู้จัดการให้จ่ายเฉพาะวันมาปฏิบัติงาน ถ้าเหมาจ่ายไม่ให้เบิกค่าเบี้ยประชุมอีก อัตราเงินเดือนไม่ควรเกินระดับผู้จัดการสหกรณ์ปกติ 3. ระเบียบเจ้าหน้าที่หมวดหลักประกัน ต้องเหมาะสมกับตำแหน่ง 16

  17. ตามกฎหมาย พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 22 คณะกรรมการทำการงดเว้นการกระทำการ ข้อเท็จจริง สมาชิกสหกรณ์การเกษตร.............จำกัด ร้องเรียนว่า คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์บริหารงานผิดพลาดและร่วมกันยักยอกทรัพย์ทำให้สหกรณ์เสียหาย ตั้งแต่ปี 2544-2548 ขอให้นายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 22 สั่งการให้สหกรณ์ระงับการประชุมใหญ่สามัญประจำปีจนกว่าคณะกรรมการดำเนินการจะดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและหาผู้รับผิดชอบ 17

  18. ตามกฎหมาย พรบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 22 คณะกรรมการทำการงดเว้นการกระทำการ วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 54 กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเรียกประชุมใหญ่สามัญปีละ1 ครั้ง ภายใน150 วันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ เป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี จึงเป็นคนละส่วนกันกับการใช้อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ ในการสั่งให้ คณะกรรมการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามมาตรา 22 18

  19. กฎหมายแรงงาน ข้อเท็จจริง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานีหารือปัญหาของ สหกรณ์การเกษตร................ จำกัด 2 ประเด็น ประเด็นแรก เกิดการทุจริตในสหกรณ์ สหกรณ์ได้ดำเนินคดีกับพนักงานที่เกี่ยวข้อง และไล่ออกต่อมาพนักงานที่ถูกไล่ออกฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่สหกรณ์เบิกความฟังไม่ได้ว่า พนักงานทุจริตและทำความเสียหายให้สหกรณ์ จนศาลพิพากษาให้สหกรณ์แพ้คดี กรณีดังกล่าวจะถือว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายและต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ 19

  20. กฎหมายแรงงาน วินิจฉัย ถ้าคณะกรรมการไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการต่อสู้คดี ก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น การแพ้หรือชนะคดีในชั้นศาล เป็นเรื่องดุลพินิจในการรับฟังพยาน หลักฐานตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาของศาล 20

  21. กฎหมายแรงงาน ข้อเท็จจริง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานีหารือปัญหาของ สหกรณ์การเกษตร................ จำกัด 2 ประเด็น ประเด็นที่สอง พนักงานสหกรณ์ที่ถูกสหกรณ์ลงโทษไล่ออก เนื่องจากทำสินค้าขาดบัญชี ได้ฟ้องสหกรณ์ต่อศาลแรงงาน ต่อมาสหกรณ์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมว่าทั้งสองฝ่ายไม่ติดในเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน ทำให้สหกรณ์ไม่มีผู้รับผิดชอบในความเสียหาย กรณีดังกล่าวผู้ใดต้องรับผิดชอบ 21

  22. กฎหมายแรงงาน วินิจฉัย เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว พนักงานดังกล่าว จึงพ้นความรับผิดชอบ สหกรณ์ต้องทำการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบของพนักงานดังกล่าว หากมีหลักฐานว่า ค่าเสียหายสินค้าขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานราชการดังกล่าว แต่สหกรณ์กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่เรียกร้องความเสียหายใดๆ คณะกรรมการต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น 22

  23. การกำหนดระเบียบ ,พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ ข้อเท็จจริง จังหวัดยโสธร หารือสหกรณ์..............จำกัด จะพิจารณากำหนดระเบียบว่าด้วยสวัสดิการสมาชิกที่ถึงแก่กรรม โดยให้สมาชิกบริจาคเงินสงเคราะห์ ศพๆ ละ 100 บาท ว่าขัดแย้งกับกฎหมายหรือไม่ ประการใด 23

  24. การกำหนดระเบียบ ,พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ วินิจฉัย การที่สหกรณ์กำหนดระเบียบ ว่าด้วยสวัสดิการสมาชิกที่ถึงแก่กรรม โดยให้สมาชิกสหกรณ์บริจาคเงินสงเคราะห์ละ 100 บาท ถือว่าเป็น “เงินสงเคราะห์” คือเงินที่สมาชิกร่วมกันออกช่วยเหลือ เป็นค่าจัดการศพ หรือค่าจัดการศพ และสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิก ซึ่งถึงแก่ความตายตาม ความใน พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545 มาตรา 4 วรรค สอง ประกอบมาตรา 8 มิฉะนั้นต้องรับโทษตามมาตรา 61 การกำหนดระเบียบดังกล่าวจึงขัดกับ พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 แต่สหกรณ์อาจกำหนดระเบียบดังกล่าว โดยจัดสรรจากกำไรสุทธิประจำปี ของสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิตได้ (นส. กสส. ที่ กษ 1101/7620 ลว. 24 ก.ค. 49) 24

  25. ยักยอกทรัพย์ ,บังคับคดี ข้อเท็จจริง ผู้จัดการและพนักงานการตลาดของสหกรณ์..................จำกัด ยักยอกทรัพย์สหกรณ์ คดีอาญาศาลพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสอง ให้จำเลยร่วมกันคืนทรัพย์ที่ยักยอกไปทั้งหมด หรือชดใช้ราคา เป็นเงิน 2 ล้านกว่าบาท แต่จำเลยไม่คืนจะดำเนินการอย่างไร 25

  26. ยักยอกทรัพย์ ,บังคับคดี วินิจฉัย เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ที่ยักยอกไปทั้งหมดหรือให้ชดใช้ราคาถือว่าผู้เสียหาย (สหกรณ์) เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ คืนทรัพย์ที่ยักยอกหรือชดใช้ราคา ต้องบังคับตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 50 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 249 กล่าวคือ เมื่อจำเลยทั้งสองหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา สหกรณ์ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออก หมายบังคับคดีตามคำพิพากษา และเมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ ในการบังคับคดีต่อไปโดยผู้เสียหาย (สหกรณ์) จะต้องเป็นคนนำยึดทรัพย์สิน ของจำเลย (หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 11.1/632 ลว. 22 มกราคม 2550) 26

  27. บทสรุป 1. สหกรณ์เป็นของสมาชิก ดำเนินการโดยสมาชิก และเพื่อประโยชน์ของสมาชิก 2. การดำเนินงานของสหกรณ์ ควรมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง สมาชิกต้องช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์

  28. 3. สหกรณ์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในหลายทางที่จะนำไปใช้แก้ไข ปัญหา หรือส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ของประชาชน 4. เมื่อเลือกใช้ระบบสหกรณ์ พึงถือปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ที่ได้กำหนดกันไว้อย่างมีวินัย 5. พึงมีคติระลึกเสมอว่า การเป็นสหกรณ์นั้น เวลาเกิด เกิดอย่างหนู แต่เวลาตาย จะตายอย่างช้าง สมาชิกควรร่วมกันช่วยประคองสหกรณ์ไว้อย่าให้ตาย 28

  29. สวัสดี

More Related