1 / 26

บึงสวางแห่งความสามัคคี และความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน

บึงสวางแห่งความสามัคคี และความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. จัดทำโดย นางสาววันไหม กิกิ้ง เลขที่ นางสาวสุปราณี มูลตรีภักดี เลขที่ นางสาววาสนา หวานอารมณ์ เลขที่ นางสาวสุพรรษา ไพรัตน์ เลขที่ นางสาวชลิตา ศรีบ้านบาก เลขที่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

Download Presentation

บึงสวางแห่งความสามัคคี และความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บึงสวางแห่งความสามัคคีบึงสวางแห่งความสามัคคี และความสัมพันธ์ที่ดี ของคนในชุมชน

  2. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จัดทำโดย นางสาววันไหม กิกิ้ง เลขที่ นางสาวสุปราณี มูลตรีภักดี เลขที่ นางสาววาสนา หวานอารมณ์ เลขที่ นางสาวสุพรรษา ไพรัตน์ เลขที่ นางสาวชลิตา ศรีบ้านบาก เลขที่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ครูที่ปรึกษา คุณครูอรวรรณ กองพิลา

  3. ความสำคัญของปัญหา ภูมิประเทศของบ้านฝางในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ทั้งเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตการดำรงชีพ หรือแม้แต่เรื่องของบึงสวาง บึงประจำอำเภอยังมีการเปลี่ยนไปทีละเล็กทีละน้อย จนปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ชาวบ้านได้ใช้น้ำบึงสวาง และตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งเหตุผลนี้ทำให้เราศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นและเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับคนในชุมชนเล็กๆ ทำให้ปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

  4. ต่อมามีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีมาเป็นเกณฑ์ในการดำรงชีวิต และแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นเดียวกับบึงสวาง ซึ่งเป็นบึงที่ชาวบ้านฝางมีการอนุรักษ์และได้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านฝางและชุมชนโดยรอบ ซึ่งบึงสวางเป็นสิ่งที่ชาวบ้านหรือคนในท้องถิ่นนิยมใช้น้ำเป็นอย่างมากในสมัยนั้น นอกจากนั้นเรายังสันนิฐานว่า บึงสวางมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากเพียงใด 1. ตั้งแต่สมัยก่อน บึงสวางมีลักกษณะเป็นบึงเล็กๆ ไม่กว้างเท่ากับปัจจุบันนี้ แต่ก่อนบึงสวางมีชื่อเรียกเดิมว่า “คูใหญ่” ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อว่า “บึงสวาง” 2. บึงสวางเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรู้จักกันมานานแล้ว จึงเป็นที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้ลูกหลานดูแลอนุรักษ์เป็นสถานที่สวยงานต่อไป

  5. บึงสวางยังเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าของชาวบ้านฝางและชาวอำเภอบ้านฝาง และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบ้านฝางอีกด้วย และยังทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักบึงสวางยุคเก่าว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีประเพณีที่สืบทอดกันมาเกี่ยวกับน้ำให้บึงสวางอยู่ในประเพณี วัฒนธรรม ของชาวบ้านฝางตลอดมา ทำให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งและมีความศรัทธา ความสามัคคีต่อบึงแห่งนี้ และยังเป็นการรักษาบึงสวางมรดกของบรรพบุรุษสืบไป และบึงสวางยังเปรียบเหมือนผู้เฒ่าที่คุ้มครองดูและลูกหลาน เพราะมีศาลตาปู่อยู่บริเวณใกล้กับบึงสวาง ที่ทำหน้าที่ปกปักรักษาน่านน้ำบึงสวาง

  6. ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำจึงได้เห็นความสำคัญของบึงสวางที่เกี่ยวข้องกับผู้คนในอดีต จนถึงลูกหลานในปัจจุบัน ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงได้ทำโครงงานเรื่อง “บึงสวางแห่งความสามัคคีและสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน” เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังได้รู้จักประวัติความเป็นมาของบึงสวาง และให้ทราบถึงวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับบึงแห่งนี้ รวมถึงการบูรณะฟื้นฟูบึงสวางตั้งแต่อดีตจะถึงปัจจุบัน ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโคนงงานเรื่องนี้จะเกดประโยชน์สูงสุดต่อบุคคลทั่วไป เพื่อให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์มรดกของบรรพบุรุษที่มีคุณค่าให้คงอยู่สืบไป

  7. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของบึงสวาง 2. เพื่อศึกษาความสามัคคีของคนในชุมชนที่ร่วมมือกันพัฒนาบึงสวาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3. เพื่อศึกษาแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศของบึงสวาง

  8. คำถามการทำโครงงาน 1. คนในชุมชนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบึงสวาง และมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างไร 2. คนในชุมชนและองค์กรต่างๆ มีแนวทางอย่างไรที่จะพัฒนาบึงสวางให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

  9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. คนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของบึงสวางมากยิ่งขึ้น 2. คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติความเป็นมาของบึงสวาง และสามารถถ่ายทอดความรู้นี้ให้กับคนรุ่นต่อๆ ไปได้ 3. นักเรียน คนในชุมชน และองค์กรต่างๆ ช่วยกันพัฒนาระบบนิเวศของบึงสวางให้ดียิ่งขึ้น

  10. อุปกรณ์ - กล้อง - กระดาษ - ดินสอ - ยางลบ - ไม้บรรทัด - โทรศัพท์

  11. พื้นที่ศึกษาวิจัย บ้านหัวบึงและบ้านฝาง ตำบอลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

  12. วิธีการดำเนินงาน 1) การรวบรวมข้อมูล 1.1) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบึงสวาง 1.2) การสอบถามและสัมภาษณ์ผู้รู้ และผู้มีส่วนร่วม ส่วนเกี่ยวข้องกับบึงสวาง 1.3) การสนทนากลุ่มย่อย 2) การจัดเวทีสนทนา ในวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 3) วิเคราะห์เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอผลการดำเนินงานในรูปแบบความเรียง 4) นำเสนอผลงาน 4.1) นำเสนอหน้าชั้นเรียน

  13. การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านการบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชน ยุคที่ 1 การอพยพย้ายถิ่นจากบ้านทุ่มมาบ้านฝาง เมื่อประมาณ 160 ปี หรือประมาณ พ.ศ. 2384 ร.ศ. 60 ล่วงมาแล้ว ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ภูมิสถานอันเป็นที่ตั้งของเทศบาลตำบลบ้านฝางในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นพื้นที่ที่ปกคุลมด้วยไม้ที่มีหนามชนิดหนึ่ง อันมีลักษณะเป็นไม้กึ่งต้นกึ่งเถาว์ มีหนามเล็กๆขึ้นทั่วไปเต็มลำต้น กิ่งและใบ มีดอกเล็กขนาดเท่าดอกมะลิ มีสีส้มเข้มคล้ายกับหงอนไก่ ไม่มีกลิ่น ซึ่งคนอีสานเรียกไม่ชนิดนี้ว่า “ฝางเล็ก” หรือ “ฝางไก่” คณะผู้ก่อตั้งบ้านฝาง ครั้งแรกเป็นชาวบ้านทุ่ม อันมีหลวงราชรินทร์เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยผู้ร่วมเสี่ยดวงอีก 9 คน คือ เฒ่าพ่อหน่อม, พ่อเฒ่าจันทะรัง, เฒ่าพ่อคำ, เฒ่าพ่อโย๊ะ, พ่อเฒ่าปะเทพ, เฒ่าพ่อผาบชมพู (ต้นตระกูลผาบชมพู), เฒ่าพ่อปะขาว และเฒ่าพ่ออินทะชิด

  14. ทั้ง 9 ท่านได้อพยพหนีความแห้งแล้งมาจากบ้านทุ่ม ได้บุกป่า ผ่าดงช้าง ดงเสือ รอนแรมออกเดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเพื่อเสาะแสวงหาที่ทำกินแห่งใหม่ ออกเดินทางมาได้โยชน์เศษๆ เมื่อผ่านป่าดงดิบก็เข้าถึงดงไม้ฝางที่หนาทึบ ซึ่งตรงกลางดงไม้ฝางนั้นได้มีหนามนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ 2 แห่ง ซึ่งอยู่ใกล้กันมีน้ำที่เย็นและใส ทางด้านทิศตะวันออกของหนองนั้นเป็นโนนสูงลาดลงไปหาหนอง นับเป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานยิ่งนัก จึงได้พร้อมใจกันยึดเอาภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ตั้งบ้านใหม่ ให้ชื่อว่า “บ้านฝาง” โดยถือเอานิมิตจากดงไม้ฝางที่ปกคลุมอยู่รอบๆ หนองน้ำนั้นเป็นชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งใหม่จนตราบเท่าทุกวันนี้

  15. ยุคที่ 2 การบูรณะและฟื้นฟูบึงสวาง บึงสวาง เดิมเป็นลำห้วยชื่อว่า “ลำห้วยวังบง” ไหลจากตะวันตกไปตะวันออกลงสู่ห้วยลิง เจ้าขอที่นาทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งเหนือและฝั่งใต้ ได้ช่วยกันปั้นฝายเพื่อกั้นน้ำเข้านา แต่พอถึงฤดูแล้งก็ยังมีน้ำอยู่ ชาวบ้านฝางจึงได้พากันอาศัยน้ำมาใช้สอย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ฝายวังบง” มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น น้ำฝายวังบงไม่พอที่จะอุปโภคและบริโภค ประมาณ พ.ศ. 2465 สมัยพ่อเฒ่าบุญสารกับพ่อเฒ่าขุนแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้นำพาชาวบ้านปั้นเสริมคันคู่ให้ใหญ่และสูงขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกฝายวังบงว่า “คูใหญ่” ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในละแวกนี้ และเป็นสถานที่น่าใช้เป็นที่พักผ่อนของผู้ที่ได้สัมผัสยิ่งนัก ประกอบทั้งหมู่บ้านมีแหล่งน้ำแห่งเดียว ตอนเช้าและตอนเย็นของฤดูแล้ง ชาวบ้านพากันออกสูดอากาศบริสุทธิ์ชมคลื่นน้ำที่พัดมาเป็นละลอกๆ เพลิดเพลินยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเย็น ก็จะมีหนุ่มๆ สาวๆ พากันไปพักผ่อน หยอกเย้า ตักน้ำ และอาบน้ำกันเป็นหมู่ๆ ซึ่งเรียกว่า “ ไปลงท่า” ก็หาโอกาสพูดจาหยอกเย้าตามประสาหนุ่มสาวอย่างมีความสุข

  16. ต่อมา เมื่อเห็นชาวบ้านใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนี้มากและเป็นประจำ พ่อโปก อ้วนนวล และพ่อเดือน หร่องบุตรศรี เจ้าของนาทั้งสองฝั่ง ผู้มีสายตาที่กว้างไกลมีจิตเป็นมหากุศล จึงได้ได้พากันยกที่นาเป็นให้สมบัติสาธารณะหมู่บ้าน บริเวณคูใหญ่ จึงมีพื้นที่เพิ่มเป็น 30 ไร่เศษ ถึงปานนั้นก็ยังไม่เพียงพอในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ตลอดปีได้ พ่อใหญ่สังข์ สอนจันทร์ เจ้าของที่นาทางด้านทิศใต้ ผู้มีจิตเป็นมหากุศลอีกท่านหนึ่ง ได้ยกที่นาของตนจำนวน 10 ไร่ มอบให้เป็นสมบัติของหมู่บ้านเช่นกัน ต่อมาพ่อผู้ใหญ่ฮวน สุแดงน้อย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านหัวบึงอยู่ขณะนั้น ก็ได้ยกที่นาของตนจำนวน 20 ไร่ ให้เป็นสมบัติของหมู่บ้าน ซึ่งรวมพื้นที่บริเวณคุใหญ่ ขณะนั้นมีจำนวน 60 ไร่ แต่จำนวนประชากรก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น น้ำในคูใหญ่ก็ไม่พอเพียงต่อการใช้สอย พ่อหลุย พลทองวิจิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 23 จึงนำชาวบ้านปั้นเสริมคูใหญ่ให้ใหญ่และยาวขึ้นทุกปี แต่พื้นที่กักเก็บน้ำก็แคบไม่เพียงพอ พ.ศ. 2495 จึงได้นำเงินภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 2,400 บาท มาซื้อที่นาของนายเครื่อง โครตบุรี จำนวน 12 ไร่ เพิ่มอีก

  17. จนกระทั่งทุกวันนี้ จึงมีพื้นที่รวม 72 ไร่ และได้รับการปรับปรุงและพัฒนามาเรื่อยโดยตลอด พ.ศ. 2498 ได้นำเงินภาษีบำรุงท้องที่จำนวน 10,000 บาท มาสร้างเป็นฝายน้ำล้นทางด้านทิศตะวันออก พอถึงฤดูน้ำหลากมาน้ำก็หล่นออกที่ตาน้ำอย่างสวยงาม ชาวบ้านก็พากันไปชมน้ำล้นตาน้ำ ดูเป็นน้ำตกสวะสวางตาดี ชาวบ้านจึงพากันเรียกแหล่งน้ำคูใหญ่นี้ใหม่ว่า “บึงสวาง” ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ.2532 นายพงษ์ สารวิน ได้รับเลือกเป็นส.ส.ขอนแก่นและได้เป็นรองนายยกรัฐมนตรีด้วย ได้จัดสรรงบประมาณ กสช. พิเศษจำนวน 2,080,206 มาทำการขุดลอก และทำถนนรอบบึงสวางเทศบาลตำบลบ้านฝางก็ได้ทำการปลูกต้นไม้ริมถนนโดยรอบแหล่งน้ำนี้ และตกแต่งทำเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป แต่ไม่ใช้ลงท่าเหมือนแต่ก่อน จึงมีคำขวัญของชาวอำเภอบ้านฝางข้อนึ่งว่า “บึงสวางแหล่งพักผ่อน”

  18. ยุคที่3 การใช้ประโยชน์จากบึงสวาง เมื่อประมาณพ.ศ.2500 ชาวบ้านในชุมชนได้ทำการเคลื่อนย้ายศาลตาปู่จากบริเวณโพนกลางบึงให้มาประดิษฐ์ฐานบริเวณข้างบึงด้านทิศตะวันออกเพื่อให้ความสะดวกกราบไหว้บูชาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนช่วยคุ้มครองหมู่บ้านให้มีความสงบร่มเย็นมาโดยตลอดและได้มีการสร้างท่าน้ำไว้ใกล้ๆกับศาลตาปู่เพื่อที่จะให้คนในชุมชนได้ใช้น้ำอย่างสะดวกรวมไปถึงพระสงฆ์และเณรก็ยังได้มาใช้น้ำจากบึงสวาง

  19. เมื่อได้มีการขยาย ขุดลอกบึงสวางให้มีความกว้างและลึกเพิ่มขึ้น แล้วก็ได้มีการสร้างฝายน้ำล้นเพื่อระบายน้ำออกเวลาน้ำหลาก และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในเวลาหน้าแล้ง ทำให้ชาวบ้านในชุมชนและบริเวณใกล้เคียงมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีปัญหาความแห้งแล้งก็หมดไป หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ.2525 ก็ได้มีการสร้างโรงสูบน้ำดิบเพื่อที่จะได้กระจายน้ำให้ทั่วถึงกับชาวบ้านในชุมชนแล้วชาวบ้านในชุมชนก็ไม่ได้มาลงท่าอาบน้ำเหมือนแต่ก่อน ทำให้สะดวกสบายและมีเวลาไปทำมาหากินเลี้ยงชีพมากขึ้น ต่อมาก็มีการสร้างถนนรอบบึงเพื่อที่จะพัฒนาบึงสวางให้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในชุมชน และสะดวกสบายใน

  20. การเดินทางเพราะเป็นทางลัดมาสู่ถนนใหญ่ได้ เมื่อถนนหนทางสะดวกสบายแล้วต่อมาก็ได้มีการทำกระทงมาลอยที่บึงสวาง ประมาณปี พ.ศ.2534 ซึ่งก็ทำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เหตุผลที่มีการทำกระทงมาลอยก็เพราะว่าจะได้เป็นการขอขมาพระแม่คงคา เทพเจ้าประจำสายน้ำ แล้วเป็นความเชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์ ความเศร้า สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายไปตามสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดในช่วงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง และยังเป็นการทำบุญส่งท้ายปีเก่าก่อนจะขึ้นปีใหม่อีกด้วย ดังนั้นบึงสวางแห่งนี้จึงมีความสำคัญต่อผู้คนในอดีตและผู้คนในปัจจุบันอย่างยิ่ง แล้วบึงสวางก็จะเป็นบึงที่จะอยู่คู่กับชาวบ้านฝางสืบไป.

  21. สรุปผลการศึกษา บึงสวางเดิมมีชื่อว่าคูใหญ่ ประมาณปี พ.ศ.2498 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บึงสวาง บึงแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมของคนในท้องถิ่น เพราะเป็นสถานที่ที่คนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับผู้มาเยือน พร้อมทั้งผู้คนในท้องถิ่นก็ยังใช้บึงสวางเป็นสถานที่นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจในหน้าร้อน หรือเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าว ในปีเดียวกันก็ได้มีการสร้างฝายน้ำล้นขึ้นมา พร้อมทั้งขยายบึงสวางจากบึงเล็กๆให้เป็นบึงที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี แต่ในขณะนั้นคนในชุมชนรวมทั้งพระและสามเณรก็ใช้การตักน้ำจากท่าขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภค ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2525 ชาวบ้านและองค์กรต่างๆก็ได้มีการร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างโรงสูบน้ำดิบขึ้นมา เพื่อที่จะได้กระจายน้ำให้ทั่วถึงกับคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีน้ำใช้อย่างสะดวกสบายไม่ต้องไปตักน้ำให้ลำบาก เมื่อกาลเวลาผ่านไปการพัฒนาสิ่งต่างๆก็เริ่มมีมากขึ้น

  22. เมื่อประมาณ พ.ศ.2532 ได้มีการฟื้นฟูระบบนิเวศรอบบึงให้น่าอยู่มากขึ้นโดยการสร้างถนนคอนกรีตรอบบึง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คนที่ผ่านไปมาหาสู่กันของคนในชุมชน และเป็นทางลัดมาสู่ถนนได้ด้วย หลังจากนั้นก็ได้มีการขุดลอกบึงสวางให้มีความกว้างและลึกขึ้น เพื่อที่น้ำในบึงจะได้เพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และประมาณปี พ.ศ.2534 ก็ได้มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นที่บึงสวางแห่งนี้ เพื่อให้ทุกคนในชุมชนได้รำลึกบุญคุณของแม่น้ำ หรือพระแม่คงคา ที่ทำให้เรามีน้ำดื่มน้ำใช้ อุปโภค บริโภค ตลอดทั้งปี การลอยกระทงนั้นยังเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ แล้วอธิฐานให้สิ่งที่ไม่ดีล่องลอยไปตามสายน้ำ และยังเป็นสถานที่ที่ทำให้คนในชุมชนได้รู้จักกับความสามัคคี การมีจิตใจเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นถึงพลังแห่งความสามัคคีของคนในชุมชนให้เกิดขึ้น เมื่อมีการสามัคคีกันผลลัพธ์ที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจของคนในชุมชน และยังเป็นการสานสัมพันธ์ไมตรีซึ่งกันและกันไปในตัวอีกด้วย

  23. เพราะเหตุนี้จึงทำให้บึงสวางเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือ ร่วมใจของคนในท้องถิ่นและเป็นสถานที่ทำให้ลูกหลานได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของภูมิหลังบ้านเกิดตนเองเพื่อจะได้เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนบ้านเกิดตนเองมากยิ่งขึ้น แล้วบึงสวางจะได้เป็นสถานที่ที่คนรุ่นหลังจะรักษาสืบไปตลอดนานเท่านาน

  24. ประมวลภาพกิจกรรม

  25. จบการนำเสนอค่ะ

More Related