180 likes | 619 Views
The knowledge about universal band. ความรู้เกี่ยวกับวงดนตรีสากล แหล่งที่มาของภาพ http://th.88dbmedia2.jobsdb.com/DB88UploadFiles/2009/06/26/92E3C6E2-A629-4C3B-BB2F-D906667E5E33.jpg. วงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า ( Symphony Orchestra). วงโยธวาทิต ( Military Band). แตรวง ( Brass Band).
E N D
The knowledge about universal band • ความรู้เกี่ยวกับวงดนตรีสากล • แหล่งที่มาของภาพ • http://th.88dbmedia2.jobsdb.com/DB88UploadFiles/2009/06/26/92E3C6E2-A629-4C3B-BB2F-D906667E5E33.jpg วงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า ( Symphony Orchestra) วงโยธวาทิต (Military Band) แตรวง (Brass Band) วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) วงแจ๊ซซ์ (Jazz) วงปอปปูลามิวสิค (Popular Music) วงคอมโบ (Combo band) วงชาร์โด (Shadow)
วงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า ( Symphony Orchestra) วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คน ขนาดกลาง 60-80 คนและวงใหญ่ 80-110 คน หรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก และผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony Orchestra ก็เรียกว่า String Orchestra กลับเมนูหลัก
วงโยธวาทิต (Military Band) ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม คือ เครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร ในสมัยสงครามครูเสด ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อมาในสมัยของนโปเลียน ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด เช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตร และต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์ นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี 56 ชิ้น กลับเมนูหลัก
.แตรวง (Brass Band) คือ วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค แห่เทียนพรรษา เป็นต้น แตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี 26 ชิ้น กลับเมนูหลัก
วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย ในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือคฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นสถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่และใน Concert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆ กัน โดยปกติจะมีนักดนตรี 2-9 คน และเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลงดังนี้ จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดู (Duo) จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ตริโอ (Trio) จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet) จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet) จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet) จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet) จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet) จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet) การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น วูดวินควินเตท ( Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5 คน ได้แก่ ฟลุต ปี่โอโบ คลาริเนต บาสซูนและเฟรนซ์ฮอร์น สตริงควอเตท (String Quartet) มีไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คันและเชลโล 1 คัน แชมเบอร์มิวสิค ไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน และยังเล่นสไตล์ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ String Quartet ได้รับความนิยมสูงสุดในแชมเบอร์มิวสิค โดยเริ่มเจริญแพร่หลายขึ้นในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน เรียก อังซังเบลอ (ensemble) เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของ โมสาร์ท เป็น Serenade สำหรับเครื่องลม Bแฟลต กลับเมนูหลัก
วงแจ๊ซซ์ (Jazz) ดนตรีแจ๊ซซ์ เกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีนหลังจากนโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้อเมริกา พวกอเมริกันขาว โอไฮโอ แถบฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ พวกอเมริกัน จากอเมริกาตะวันตก ก็อพยพเข้าเมืองนิวออร์ลีนจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติรวมถึง ฝรั่งเศส สเปนและอังกฤษด้วย พวกนิโกรดังกล่าว พอว่างจากงานก็ชุมนุมกันร้องรำทำเพลง เครื่องดนตรีที่ใช้ทำขึ้นตามมีตามเกิด เอาไม้ไผ่มาเหลาเจาะเป็นเครื่องเป่า เอาหนังวัวมาขึงทำเป็นกลองตี พวกที่คิดแจซซ์ขึ้น สันนิษฐานว่าเป็นพวกกองโก(Gongoes) พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุด โดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวกนิโกร(Nigro spiritual) ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสจะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ ในพ.ศ. 2406 ประธานาธิบดีอับบราฮัมลินคอล์น ประกาศเลิกทาส พวกนิโกรได้รับอิสระภาพ เนื่องจากนิวออร์ลีนประกอบด้วยชนหลาย ชาติดังกล่าวมาแล้ว ทำให้ดนตรีบรรเลงกันระยะนั้น ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนจากยุโรป ต่อมาในตอนหลัง เพลงได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลงศาสนาและเพลงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา ประเภทหลังได้รับอิทธิพลจากทำนองจากยุโรป เช่น ฝรั่งเศส สเปน เป็นต้น กลับเมนูหลัก
วงปอปปูลามิวสิค (Popular Music) หรือวงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกลุ่ม แซกโซโฟนกลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ วงปอปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี 3 ขนาด ก. วงขนาดเล็ก(วง 4x4) มีเครื่องดนตรี 12 ชิ้น ดังนี้ กลุ่มแซก ประกอบด้วย อัลโตแซก 1 คัน เทเนอร์แซก 2 คัน บาริโทน แซก 1 คันกลุ่มทองเหลือง ได้แก่ ทรัมเป็ต 3 คัน ทรอมโบน 1 คัน กลุ่มจังหวะ ได้แก่ เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1 ตัว กลองชุด 1 ชุด วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4 ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ก. วงขนาดกลาง (5 x 5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น คือ เพิ่ม อัลโตแซกและทรอมโบน ข. วงขนาดใหญ่ (5 x 7) มี 16 ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ตและทรอมโบนอย่างละตัว ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบสและบางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน กลับเมนูหลัก
วงคอมโบ (Combo band) หรือสตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก Popular Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ 3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมีพวกริทึม(Rhythm) และพวกเครื่องเป่าทั้งลมไม้และเครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโน หรือมีเครื่องเป่าผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับปอปปูลามิวสิค วงคอมโบก็เป็น สมอลล์ แบนด์ (small Band) แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักเหมาะสำหรับเล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆ ไป นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิค อีกด้วย กลับเมนูหลัก
วงชาร์โด (Shadow) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20 ปีมานี่เอง ในอเมริกา วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ คณะ The Beattleหรือสี่เต่าทอง กลับเมนูหลัก