310 likes | 633 Views
01418497 สัมมนา ภาคปลาย ปี 5 5. เทคนิคใน การหัวเรื่องและเขียนรายงาน . บางส่วนของสไลด์นำมาจากของ ชาคริต วัชโรภาส รศ. ดร. ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย. หัวข้อที่ ไม่ ควรเลือก. หัวข้อที่มีลักษณะ เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ขาดการเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยยะ
E N D
01418497 สัมมนาภาคปลาย ปี 55 เทคนิคในการหัวเรื่องและเขียนรายงาน บางส่วนของสไลด์นำมาจากของ ชาคริต วัชโรภาส รศ.ดร. ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย
หัวข้อที่ไม่ควรเลือก • หัวข้อที่มีลักษณะ • เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ขาดการเชื่อมโยงกับศาสตร์ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยยะ • อาทิเช่น เทคโนโลยี 4G, เจาะลึก iPhone 5, แอบดู iPad3, Core i7 รุ่นใหม่ • ควรระบุให้ชัดเจนว่าเกี่ยวกับศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรื่องใด • ให้ข้อมูลการสร้างอุปกรณ์ เขียนโปรแกรม หรือวิธีการใช้ API ที่สามารถค้นพบได้ในแหล่งข้อมูลทั่วไป • อาทิเช่น รูปแบบ HTML5, การใช้ WebGL • หัวข้อที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเรียน หรือในนิตยสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
หัวข้อที่ไม่ควรเลือก • หัวข้อที่มีลักษณะ • เป็นเชิงธุรกิจ การตลาด หรือสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนด้านคอมพิวเตอร์ • มาจากบทความภาษาไทยที่ถูกแปลมาจากบทความของต่างประเทศ • มาจากการเขียนที่ปราศจากการอ้างอิง หรือแหล่งอ้างอิงที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ
ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อ 1. หัวข้อที่มีการใช้เอกสารอ้างอิงหลักที่เป็น 1.1 papers (conference proceedings), journals, magazine articles 1.2 เอกสารที่กล่าวมาสามารถค้นหาได้จาก ACM,iEEEศูนย์วิจัย สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น • http://librarians.acm.org/digital-library • http://ieeexplore.ieee.org/ • จะสามารถเข้าค้นเอกสารจาก 2 แหล่งนี้ได้ นิสิตต้องอยู่ภายใต้เครือข่ายของมหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์) 1.3 นิสิตต้องมีเอกสารอ้างอิงหลักที่เป็นไปตามข้อ 1.1 (ต้องเป็น Journal 1 เรื่อง) - ดูข้อกำหนดในประมวลคำสอน
ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อ 2. หัวข้อที่มีการใช้เอกสารอ้างอิงหลักที่เป็น 2.1 บทความหรือบล็อกที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือสื่อการสอนจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยที่หัวข้อต้องไม่เข้าข่ายหัวข้อที่ไม่ควรเลือกที่ได้กล่าวมาแล้ว 2.2 นิสิตต้องมีเอกสารอ้างอิงหลักที่เป็นไปตามข้อ 2.1 อย่างน้อย 2 ฉบับ
หัวข้อจากการประชุมวิชาการหัวข้อจากการประชุมวิชาการ • การประชุมวิชาการในประเทศไทย • การประชุมวิชาการเกษตร • การประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • การประชุมวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ • การประชุมวิชาการในต่างประเทศ
รายงานเชิงเทคนิค (Technical Report) • บทความเชิงสำรวจ • บทความวิจัยในการประชุมวิชาการ (Proceeding) • บทความในวารสาร (Journal) • ปริญญานิพนธ์ • Letter
การวางโครงสร้างการเขียนรายงานการวางโครงสร้างการเขียนรายงาน
บทความวิชาการ • บทคัดย่อ (ไทย/อังกฤษ) สรุปใจความสำคัญ • บทนำ เขียนที่มาและปัญหา/ประเด็นร้อน/เรื่องเด่นวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น ยังเป็นเรื่องย่อ แต่มีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น • การเขียนบทนำสำคัญมาก งานปริมาณ 1 ใน 3 ถ้าเขียนบทนำดีคะแนนก็ได้เกินครึ่ง • ทบทวนวรรณกรรม/งานที่คล้ายคลึงกัน/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • หัวเรื่องย่อย (แต่ละหัวข้อย่อยควรเขียนอย่างน้อย ครึ่งหน้า) • เป็นการประมวลเรื่องที่ต้องการเขียน • บทสรุป • เอกสารอ้างอิง
แนวทางการเขียนบทนำ • ปัญหาคืออะไร (What is the problem?) • ทำไมถึงน่าสนใจ • งานน่าสนใจ หรือ งานมีปัญหาอะไรที่ท้าทาย • เหล่าหาเหล่าที่พบได้รับการแก้ไขอย่างไรบ้าง และมีประเด็นอะไร ที่ยังมีปัญหาค้าง • และรายงานเรากำลังนำเสนออะไร • ย่อหน้าสุดท้ายควรสรุปเรื่องสำคัญอีกครั้ง และบอกรายละเอียดว่ารายงานเราจะมีเรื่องอะไรบ้าง
การเลือกฟอนต์ภาษาไทยและอังกฤษควรเป็นแบบเดียวกันลักษณะสไลด์ - ที่ควรแก้ไข อย่าใส่ Animation หรือ Cartoon เคลื่อนไหวที่มี Color มากเกินความจำเป็น เพราะ Slide จะดูและอ่านยาก ทำให้การ Present และ Topic ที่นำมา Present ถูกลดความน่าสนใจลงไป • ต.ย.ด้านบนแสดงการใช้ฟอนต์ที่ไม่เหมาะสม
การใช้รูปภาพประกอบ • รูปภาพในสไลด์ที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง • ให้เครดิตกับผู้สร้าง • บอกแหล่งที่มา • ห้ามนำภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาใช้ • การคัดลอกรูปจากจอภาพ • รูปภาพมีความละเอียดสูง • รายละเอียดชัดเจน • เหมือนสร้างขึ้นโดยปราศจากการคัดลอก
การบรรยายรูป • ผู้บรรยายต้องอธิบายรูปในสไลด์ • ไม่นำรูปมาเพื่อแสดง โดยบรรยายข้ามรูปไป • ก่อนบรรยายรายละเอียดในรูป ควรบอกถึง • รายละเอียดคร่าวๆ • ความเกี่ยวข้องของรูปกับสิ่งที่กล่าวมาแล้ว • สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่จำเป็นต้องถูกอธิบาย • อธิบายรูปตามประเด็นที่ใช้อ้างอิง • บริเวณในรูปที่ใช้อ้างอิงต้องเห็นได้ชัดเจน
ตัวอย่างภาพอ้างอิง - ที่ควรแก้ไข • UI ทั้ง 8 ส่วนใน Blender [ Credit Image: www.blender.org ]
รูปที่มีรายละเอียดมากรูปที่มีรายละเอียดมาก • ใช้วิธีการอธิบายรูปโดยแบ่งเป็นส่วนๆ • ขยายแต่ละส่วนในรูปให้เห็นได้ชัดเจน • อาจใช้วิธีซ้อนทับบนรูปภาพหลัก เมื่ออธิบายในแต่ละส่วน • ให้ผู้ฟังเข้าใจในภาพรวมและส่วนย่อย
การเขียนบรรณานุกรม • ตอนท้ายสไลด์ ใส่รายการเอกสารที่ใช้อ้างอิง • รูปแบบที่เขียนต้องตรงกับชนิดของเอกสาร • ใช้หลักการตามวิชา371111 การใช้ทรัพยากรห้องสมุด
การเขียนอ้างอิงในสไลด์การเขียนอ้างอิงในสไลด์ • การเขียนอ้างอิงในสไลด์มีความแตกต่างกับในรายงาน • เนื่องด้วยสไลด์ถูกใช้เป็นสื่อในการบรรยาย • การเขียนอ้างอิงในสไลด์ขึ้นอยู่กับดุลพินิจผู้บรรยาย • ไม่ควรอ้างอิงในสไลด์ด้วยรูปแบบ [1], [2], … • ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง เพราะไม่สามารถอ้างถึงบรรณานุกรม ซึ่งต่างจากกรณีของผู้อ่านรายงาน • รูปภาพควรถูกเขียนอ้างอิงถึงแหล่งที่มา • เพื่อให้เครดิตกับผู้สร้าง • เพื่อแสดงถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา
หลักการเขียน • ไม่เขียนรายงานจากความคิดตนเองเป็นหลัก • ต้องมีการอ้างอิงข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ • ใช้หลักการเขียนการอ้างอิงให้ถูกต้อง • แหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิงต้องอยู่ในบรรณานุกรม • ทุกรายการในบรรณานุกรมต้องถูกอ้างอิงในรายงาน • ใช้ประโยคสมบูรณ์ในรายงาน • มีประธานและกริยาเป็นอย่างน้อย • ไม่ควรมีประโยค “ชนกัน” (run-on sentence) เช่น เวลา 1 ชั่วโมงมี 60 นาทีมี 60 วินาที เป็นต้น
หลักการเขียน • รูปภาพหรือตารางที่อยู่ในรายงานต้องมีคำบรรยายกำกับ • มีหมายเลขรูปหรือตารางกำกับคำบรรยายเพื่อใช้ในการอ้างอิง • ต้องมีข้อความอ้างอิงถึงรูปภาพและตารางที่อยู่ในรายงาน • ดูตัวอย่างได้จากหนังสือเรียนโดยทั่วไป • ประโยคที่มีหลายภาษาควรอ่านแล้วไม่สะดุด • ระวังเรื่องฟอนต์ที่ขนาดแตกต่างกัน • การสลับไปมาระหว่างภาษาควรเกิดขึ้นน้อยที่สุด
หลักการเขียน • ตัวสะกดต้องไม่มีที่ผิด โดยเฉพาะที่เกิดจากขาดการตรวจทาน • ใช้หลักการเว้นวรรคตามราชบัณฑิตยสถาน • ดูที่เว็บไซต์ http://www.royin.go.th/th/profile/index.php?SystemModuleKey=279&SystemMenuID=1&SystemMenuIDS= • กรณีทั่วไป ห้ามใช้ภาษาพูดในรายงาน • อาทิเช่น งั้น มัก เยอะ อยาก เป็นต้น
การเขียนรายงาน • รายงานต้องมีเลขหน้า • การจัดชิดขอบ การย่อหน้า ตำแหน่งหัวข้อ • สอดคล้องกันทั้งรายงาน • จัดลำดับหัวข้อและหัวข้อย่อยให้เหมาะสม • ใช้ numbering และ bullet ให้เหมาะสม • หัวข้อย่อยที่ใช้ numbering ไม่ควรลึกเกิน 4 ระดับ เช่น 1.1.1.2.3 มีมากระดับจนเกินไป
การเขียนรายงาน • ตัวหนาใช้เน้นคำ ตัวเอียงสำหรับนามเฉพาะ • ตรวจสอบคำแปลศัพท์ภาษาอังกฤษกับราชบัณฑิตยสถานก่อนเสมอ • หากไม่พบจึงใช้คำแปลที่ใช้กันแพร่หลาย โดยใช้ให้สอดคล้องกันทั้งรายงาน • เขียนบรรณานุกรมโดยใช้หลักการที่ถูกต้อง • เขียน อ่านตรวจสอบ แล้วเขียนปรับปรุง จนกว่ารายงานมีความสมบูรณ์และถูกต้อง
ตัวอย่างการเขียนประโยคตัวอย่างการเขียนประโยค
ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ฟุ่มเฟือย ประธาน คลุมเครือ บนโลกยุคปัจจุบันด้วยความเจริญทางนวัตกรรมต่างๆ ทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ผู้บริโภคได้มีโอกาสที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ที่สนใจได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ส่งผลให้การสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ชอบและสนใจจริงๆ นั้นทำได้ยาก อันเนื่องมาจากมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากเกินไปนั่นเอง และยังส่งผลต่อการจัดวางสินค้าที่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่ชอบได้ง่ายขึ้น คลุมเครือ ประธาน ขาดน้ำหนัก ประธาน ขาดน้ำหนัก ประธาน ขาดความต่อเนื่อง คลุมเครือ
ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ควรกำกับด้วย (Recommendation System) ระบบแนะนำเป็นแนวคิดที่ทำการวิเคราะห์หาองค์ความรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้มาซึ่งการแนะนำข้อมูล สินค้า หรือบริการในชีวิตประจำวัน ที่มีความสำคัญต่อบุคคลที่ระบบให้ความสนใจโดยเฉพาะ ระบบแนะนำเหล่านี้ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ด้วยปริมาณข้อมูลที่มีอยู่มากมาย และการเจริญเติบโตของข้อมูลเหล่านั้น ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างระบบแนะนำที่ทำงานได้อย่างแม่นยำ และทำได้สำเร็จภายในเวลาอันสั้น คลุมเครือ (ข้อมูลอะไร) คลุมเครือ (ระบบให้ความสนใจได้ยังไง) ขาดน้ำหนัก (ควรอ้างอิง) การเลือกใช้คำ ขาดน้ำหนักและคลุมเครือว่าปัญหาของอะไร คลุมเครือ (ผู้อ่านลืมไปแล้วว่าพูดถึงข้อมูลอะไร) คลุมเครือ (ทำงานอะไรให้สำเร็จ)
ตัวอย่างการเขียน - ที่ควรแก้ไข ขาดน้ำหนัก (ควรอ้างอิง) Collaborative Filtering เป็นระบบแนะนำที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์ลักษณะความชอบของบุคคลจากบุคคลอื่นที่ระบบเข้าใจว่ามีลักษณะคล้ายกัน เพื่อนำเสนอสิ่งที่คิดว่าบุคคลที่ระบบสนใจนั้นจะสนใจเหมือนกับคนอื่นๆ แนวคิดของ Collaborative Filtering ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งระบบการขายหนังสืออย่างเว็บไซต์ Amazon.com หรือระบบแนะนำภาพยนตร์ Movie Lens ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ Minnesota ทำให้ระบบนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขยายอะไรหรือเปล่า ขาดความเป็นเหตุเป็นผล ขยายอะไร ควรเขียนใหม่ (คลุมเครือ) การเลือกใช้คำ ควรอ้างอิง ขาดน้ำหนัก ประธาน