1 / 62

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. จุดประสงค์ปลายทาง อธิบายความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ได้ จุดประสงค์นำทาง         1. สามารถบอกความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้         2. อธิบายรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ได้. องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย.

Download Presentation

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์ปลายทาง อธิบายความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ได้ จุดประสงค์นำทาง        1. สามารถบอกความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้        2. อธิบายรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ได้

  2. องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย 1. เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่องขึ้นไป2. การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย การ์ดแลน 10/100 และ การ์ดแลน 10/10

  3. 3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) ได้แก่ สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ สื่อกลางในการส่งข้อมูล จะอธิบายอย่างละเอียดในหน่วยที่ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่าย สาย UTP Cat 5

  4. 4. ระบบปฏิบัติการที่รองรับระบบเครือข่าย แบ่งออกได้ 2 ประเภท              4.1 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้แก่ Netware, Window NT/ Windows 2000 Server, Linux และ Unix เป็นต้น              4.2 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ลูกข่าย (Client or Workstation) ได้แก่ MS Dos, Window 95, Window 98/Me, Window 2000, Linux เป็นต้น

  5. 5. ฮับ (Hub), สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย

  6. ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามขนาดได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายโดย การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์เดียวกันหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่าย หรือเรียกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายอินทราเน็ต (Ethernet) เช่น ระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม เป็นต้น

  7. 2. Metro Area Network (MAN) เป็นเครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมโยงกัน อาจจะมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้

  8. 3. Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายระบบแลนหลาย ๆ เครือข่ายจากที่ห่างไกล มากๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งระบบเครือข่ายแวน (WAN) เป็นระบบพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

  9. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย โปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ 1. Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS

  10. 2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

  11. 3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้

  12. 4. Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกัน หลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ทรัพยากรน้อย และมีเสถียรภาพในการดูแลระบบได้ดี

  13. เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ประกอบไปด้วย 1. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางในการให้บริการด้านต่างๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่าย หรือกล่าวได้ว่า Server เป็นแม่ข่ายหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ย่อย เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แบ่งตามลักษณะหน้าที่ ได้ดังนี้ 1.1 File Server คือเครื่องที่ให้บริการแบ่งปั้นข้อมูล (Share) แก่เครื่องอื่นๆ ให้มีสิทธิ์การใช้แฟ้มข้อมูล (File) เช่น ฐานข้อมูลบนเครือข่าย (Database)

  14. 1.2 Web Server คือเครื่องที่ให้บริการ Web แก่เครื่องที่ร้องขอด้วย Protocol HTTP หมายความว่า เป็นเครื่องที่เก็บเว็บไซต ์(Website) สำหรับเก็บโฮมเพจและเว็บเพ็จที่หน่วยงานจัดทำขึ้น 1.3 Proxy Server คือเครื่องที่ให้บริหารเป็นตัวแทนไปรับเว็บแทนลูกข่าย และสะสมเว็บนั้นไว้ใน Cache ของตัวเอง สำรองไว้เผื่อลูกข่ายร้องขอเว็บเดิมอีกครั้ง จะได้ไม่ต้องออกไปเอามาอีก ทำให้ลูกข่ายเครื่องอื่นๆ สามารถเข้าถึงเว็บที่เคยเปิดมาแล้วเร็วขึ้น และลด Traffic ของ WAN ลงได้

  15. 1.4 Mail Server คือเครื่องที่หน้าที่เป็นไบรษณีย์ ทำหน้าที่รับจดหมาย (POP3) เก็บจดหมาย (Mailbox) และส่งจดหมาย(SMTP) คอยบริการให้กับผู้ใช้ที่ได้รับลงทะเบียนใช้บริการ 1.5 Internet Server คือเครื่องที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตและควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย 1.6 Print Server คือเครื่องที่ให้บริการเกี่ยวกับการพิมพ์ โดยทุกเครื่องในเครือข่ายสามารถส่งงานของตนไปพิมพ์ที่เครื่องทำหน้าที่เป็น Print Server

  16. 2. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client or Workstation) เครื่องคอมพิวเตอรลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อเชื่อมเข้ากับระบบเครือข่าย เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานนีงาน ซึ่งถูกใช้โดยบุคคลทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ ในระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์นี้จะทำ การประมวลผลส่วนใหญ่จะกระทำที่สถานีงาน และใช้ทรัพยากรที่เก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server)

  17. ชนิดของระบบเครือข่ายระบบเครือข่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. Client/Server หมายถึง ระบบเครือข่ายที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป ทำหน้าที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) มีหน้าที่หลักในการแบ่งทรัพยากรให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) โดยทั่วไปเครื่อง Server มักมีสิทธิ์และหน้าที่พิเศษกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ คือ สามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายตามที่กำหนดได้

  18. 2. Peer to peer หมายถึง ระบบเครือข่ายที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้ง Client และ Server พร้อมๆ กัน กล่าวคือเครื่องทุกเครื่องมีสิทธิ์หน้าที่เท่าเทียมกัน ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างระบบเครือข่ายแบบ Client/Server กับ Peer to Peer

  19. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (Node) ในระบบเครือข่าย จะใช้วิธีการแตกข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า แพ็กเก็จ (Packet) ภายใน Packet ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ที่อยู่ของโหนดต้นทาง, ที่อยู่ของโหนดปลายทางและกลุ่มของข้อมูล การส่งข้อมูลจะเริ่มจากที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางข้อมูลจะถูกแตกออกเป็นส่วนย่อยๆ (Packet) ก่อน จากนั้นจึงค่อยส่งผ่านไปยังสายส่ง เมื่อถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางข้อมูลที่ถูกแตกจะกลับมารวมกันเหมือนเดิม

  20. Packet จะถูกส่งผ่านจากโหนดต้นทางไปยังโหนดปลายทางโดยผ่านสื่อกลางที่เรียกว่า Media ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ • Bounded Media คือ Media ที่สามารถกำหนดเส้นทางได้ ได้แก่ สายเคเบิลต่างๆ เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง 2. Unbounded Media คือ Media ที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้หรือชนิดไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ และคลื่นอินฟราเรด หรือสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น ข้อกำจัดของ Unbounded Media คือ การติดตั้งทำได้ยาก อุปกรณ์ต่างๆ มีราคาสูง รวมทั้งมีความปลอดภัยน้อย สามารถดักจับสัญญาณได้ง่าย

  21. สายเคเบิล (Cable) ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ 1. Twisted Pair เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อชนิดใหม่ที่นิยมมาก สายชนิดนี้มีหลากหลายมาตรฐาน ได้แก่ สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshield Twisted Pair) หรือเรียกสั้นว่าๆ สาย UTP เช่น สาย UTP Category 5 ซึ่งเป็นสายมาตรฐานระบบเครือข่ายในยุคปัจจุบัน ข้อดี ราคาถูก ใช้งานและติดตั้งง่าย การรบกวนของกระแสไฟต่ำ ข้อเสีย คือ มีอัตราการส่งข้อมูลได้ต่ำ ระยะทางส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 100 เมตรจาก Hub และสาย UTP Category3 ที่นิยมนำมาใช้เป็นสายโทรศัพท์

  22. 2. Coaxial (สายโคแอกเชียล ) เป็นสายกลมนิยมนำมาใช้เป็นสายเสาอากาศโทรทัศน์ ข้อดี ใช้ได้กับการส่งข้อมูลทั้งแบบ Digital และแบบ Analogสามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าสายแบบ UTPสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นเสียงและสัญญาณ VDO ข้อเสียสาย Coaxial ขนาดใหญ่มีความแข็งทำให้ติดตั้งตามมุมได้ลำบากมีราคาแพงกว่าสายแบบ UTPค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าสายแบบ UTP

  23. 3. Fiber Optic (สายใยแก้วนำแสง) ทำจากแก้วหรือพลาสติกใช้ลำแสงในการส่งข้อมูล โดยแปลงข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นแสง จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูง ความสูญเสียและความผิดพลาดมีอัตราน้อยมาก แต่มีราคาสูงมาก ส่วนใหญ่ใช้กับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายขนาดใหญ่มากๆ เช่น การเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

  24. รูปแบบของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology) 1. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น

  25. 2. แบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน

  26. 3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 ... ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

  27. 4. แบบผสมผสาน (Hybrid) เป็นการเชื่อมต่อที่เอาแบบดาว แบบวงแหวนและแบบบัส มาผสมผสานกัน เพื่อลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบเครือข่าย

  28. โปรโตคอล(Protocol) โปรโตคอล (Protocol) คือ กฏและข้อกำหนด ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ และในระบบเครือข่ายเดียวกันจำเป็นต้องใช้โปรโตคอลเหมือนกัน การเลือกใช้โปรโตคอลให้เหมาะสมกับการใช้งานโปรโตคอลที่ใช้กันในปัจจุบันมีอยู่มากมาย การเลือกใช้โปรโตคอลขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ประยุกต์ใช้บนเครือข่าย โปรโตคอลที่เหมาะสมกับงาน จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพ บำรุงรักษาง่าย และประหยัดค่าใช้ง่ายอีกด้วย

  29. ตัวอย่างโปรโตคอลที่นิยมใช้กัน ได้แก่ 1. NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface) เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วเครือข่าย ไม่สามารถหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้ คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายง่าย ไม่ยุงยากซับซ้อน

  30. 2. IPX/SPX (Internet Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange) เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดหลางและเล็ก ไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะไม่สามารถใช้อุปกรณ์และระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้

  31. 3. TCP/IP ( Transfer Control Protocol/Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครือข่ายขนาดใหญ่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูล จึงถูกใช้เป็นโปรโตคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อเสียของโปรโตคอลนี้ คือ ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP การกำหนด IP Address อีกทั้งจะต้องมีการปรับแต่งค่าต่างๆ หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่าย

  32. ตารางแสดงการใช้โปรโตคอลให้เหมาะสมกับลักษณะงานตารางแสดงการใช้โปรโตคอลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

  33. ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย รูปแบบการต่อระบบเครือข่ายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะวิธีการต่อระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้ในบ้าน องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่วๆ ไป ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบ Twisted-pair Ethenet เป็นระบบเครือข่ายททำการี่ติดตั้ง และตรวจสอบระบบง่าย ใช้ Hub เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน

  34. 1. มาตรฐาน 10 Base T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที 2. มาตรฐาน 100 Base T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที ราคาอุปกรณ์สนับสนุนมาตรฐานนี้จะสูงกว่าแบบแรกมาก

  35. การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base Tการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base T ใช้การเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบดาว (Star) อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนี้ ได้แก่ 1. สายเคเบิลแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือเรียกว่า สาย UTP

  36. 2. การ์ดแลน (NIC) ที่ใช้คอนเนกเตอร์ (หัวข้อต่อ) แบบ RJ-45

  37. 3. หัว RJ-45 (RJ-45 comnector) เป็นคอนเนกเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับหัวสาย UTP

  38. 4. ฮับ (HUB) หรือ สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อสาย UTP ที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

  39. ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ 10 Baes T1. จำนวนสูงสุดของเซกเมนต์ 5 เซกเมนต์2. ความยาวสุงสุดระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 100 เมตร3. จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย 1 เซกเมนต์ 512 ตัว4. จำนวนฮับที่มาวางซ้อนกันไม่เกิน 4 ตัว5. จำนวนฮับที่ใช้ใน 1 เครือข่าย ไม่เกิน 12 ตัว

  40. วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45 1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน

  41. 2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วแรียงสายตามสีที่กำหนด แบ่งการเชื่อมต่อสายสัญญาณได้ 2 วิธี              2.1 สายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน

  42. 3. เมื่อจัดสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.4. เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้ว เข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45

  43. 5. เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้มือบีบด้ามคีมให้แน่น โลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับสายทองแดง ข้อควรระวัง การดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน

  44. วิธีการตรวจเช็คสาย UTP ที่เข้าขั้นต่อ RJ45 วิธีที่ 1 ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Cable Tester UTP        1. นำปลายสายทั้งสองข้างที่เข้าขั้ว RJ45 เรียบร้อยแล้วเสียบเข้าที่เครื่องมือวัด (Cable Tester UTP )         2. เปิดสวิทช์ Power ของเครื่องมือวัด        3. ถ้าการเข้าหัวต่อ RJ45 ถูกต้องและสายไม่ช้อตหรือขาด หลอดไฟ LED จะสว่างทั้ง 4 ดวงเป็นลักษณะเหมือนไฟวิ่ง        4. กดสวิทช์ GND ที่เครื่องมือวัด        5. หลอดไฟ LED ดวงที่สอง (ขั้น 3 หรือ 6 ) จะดับ หลอดอื่นยังคงสว่างในลักษณะเหมือนไฟวิ่งอยู่        6. ถ้าเป็นลักษณะที่ต่างไปจากนี้ แสดงว่าอาจเข้าหัวต่อ RJ45 ไม่สนิท สายขาดใน หรือ เรียงสายทั้งสองขั้นไม่ตรงกัน

  45. วิธีที่ 2 ตรวจสอบสายจาก การ์ดแลน (ใช้กับการ์ดแลน ในรุ่นที่มีหลอดไฟ LED โชว์) 1 นำสายที่เข้าหัว RJ45 แล้วเสียบปลายทั้งสองด้านเข้าที่การ์ดแลน และ Hub2. เปิดสวิทช์เครื่องคอมพิวเตอร์และ Hub เพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าอุปกรรณ์ทั้งสอง3. ถ้าหลอด LED ที่เขียนว่า Link สว่าง แสดงว่าการเข้าหัว RJ45 และสายปกติ.  

  46. วิธีติดตั้ง LAN Card Network Interface Card : NIC   หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า แลนการ์ด (LAN Card)   เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องอื่น ๆการติดตั้งจำเป็นต้องเสียบแลนการ์ดลงในช่องเสียบ (Slot)  ซึ่งอยู่ภายในคอมพิวเตอร์

  47. เตรียมเครื่องก่อนติดตั้งแลนการ์ดเตรียมเครื่องก่อนติดตั้งแลนการ์ด 1. ปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down เครื่อง 2. ปิดปุ่มสวิตซ์ (Power Switch) และถอดปลั๊กไฟออกให้หมด 3. เสียบแลนการ์ดลงในช่องเสียบ ให้ถูกต้องกับชนิดของแลนการ์ดและช่องเสียบ 4. ต่อสายเคเบิ้ลเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย

  48. ขั้นตอนการติดตั้ง LAN Card 1. คลิกปุ่ม Start 4 Settings  4 Control Panel  และดับเบิลคลิกไอคอน Network

  49. 2. ที่แท็บ  Configuration  คลิกปุ่ม  Add…

More Related