1 / 30

ภาพรวมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ในประเทศไทยและต่างประเทศ

ภาพรวมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ในประเทศไทยและต่างประเทศ. วิทยากรบรรยายพิเศษ โดย รศ.สำรวจ อินแบน.

niveditha
Download Presentation

ภาพรวมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ในประเทศไทยและต่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพรวมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยและต่างประเทศภาพรวมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ วิทยากรบรรยายพิเศษ โดย รศ.สำรวจ อินแบน

  2. วิศวกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ของการวิศวกรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ด้วยการใช้องค์ความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และ ประสบการณ์ เพื่อออกแบบอุปกรณ์และกระบวนการต่าง ๆ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมจะเรียกว่า วิศวกร • วิศวกร หมายถึงผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ออกแบบ และควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรเครื่องกลวิศวกรโยธาวิศวกรไฟฟ้าวิศวกรสิ่งแวดล้อม วิศวกรเคมี วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรโทรคมนาคม วิศวกรเกษตร วิศวกรอากาศยาน วิศวกรโลหะการ วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรเซรามิก วิศวกรเหมืองแร่ วิศวกรยานยนต์ วิศวกรธรณี ฯลฯ

  3. เนื้อหาสำคัญของการเรียนด้านวิศวกรรมเนื้อหาสำคัญของการเรียนด้านวิศวกรรม นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถเลือกเรียนในสาขาความเชี่ยวชาญได้หลากหลาย สาขา นับแต่วิศวกรรมที่มีพื้นฐานมานานเช่นไฟฟ้า โยธา ไปจนถึงสาขาที่เริ่มคิดค้นและพัฒนาในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาเช่น ทางด้านอากาศยานและอวกาศ พันธุวิศวกรรม อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ เป็นต้น การศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์จะรู้สึกว่าได้มีอาชีพที่ท้าทายมีความภาคภูมิใจและโอกาสที่เปิดกว้างในด้านหน้าที่การงานและมีบทบาทในการกำหนดลักษณะชีวิตความเป็นอยู่และความเป็นไปของสังคม เช่น การออกแบบเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัวทั้งในบ้านและสำนักงาน การออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์สิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน งานประดิษฐ์และออกแบบของวิศวกรเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งที่ใช้ในการขับเคลื่อนสังคมทั้งทางด้านความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความปลอดภัยในชีวิต

  4. ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ การศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์นั้น ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมในแต่ละปีมีผู้เข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ทั่วโลกนับแสนคน แต่ละคนมีความเป้าหมายในอาชีพการงานแตกต่างกันออกไปการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยโดยทั่วไปจะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 ปี โดยเริ่มต้นจากการศึกษาพื้นฐานต่างๆในปีที่ 1 ดังนี้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร เขียนแบบ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมหลัก ความรู้ทั่วไปในสายสังคมศาสตร์และนิติศาสตร์ ซึ่งมีส่วนหล่อหลอมให้มีความเป็นวิศวกรที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  5. ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ)ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ) หลังจากมีพื้นฐานที่จำเป็นทางวิศวกรรมศาสตร์ดังที่กล่าวมาแล้วจึงเริ่มเข้าศึกษาในส่วนที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในชั้นปีที่ 3 และ 4 ต่อไป ขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นที่ต้องกล่าวถึงสำหรับนักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์คือ การฝึกงานจริงในหน่วยงานภายนอกสถานศึกษาและการทำโครงงานทางวิศวกรรมก่อนที่จะจบออกไปประกอบวิชาชีพ ทั้งสองส่วนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญซึ่งทำให้นักศึกษาได้รับรู้ประสบการณ์ในการทำงานและการเรียนรู้ที่จะอยู่กับเพื่อนร่วมงานและสังคมภายนอก

  6. ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระบบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันการแข่งขันในตำแหน่งงานมีสูงขึ้นมาก ประเทศไทยได้ทำสัญญากับสมาชิกในหมู่ประเทศ APEC (Asia-Pacific Economiจะต้องเปิดให้วิศวกรต่างชาติเข้ามามีโอกาสทำงานด้านวิศวกรรมในประเทศ และในทางกลับกัน วิศวกรไทยก็มีโอกาสที่จะหางานทำในประเทศที่เป็นสมาชิกด้วย ดังนั้นการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงไม่ได้จบที่การแข่งขันในหมู่วิศวกรไทยอีกต่อไป นักศึกษาที่จบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงมีโอกาสที่จะออกไปทำงานซึ่งขึ้นกับความสามารถและความชำนาญที่มีในแต่ละตัวบุคคล

  7. บทบาทของวิศวกรกับทิศทางอนาคตของประเทศบทบาทของวิศวกรกับทิศทางอนาคตของประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่าการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการวิจัยทางเทคโนโลยีในระดับต่างๆนั้นมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และวิศวกรรมการแพทย์มีผลให้อายุขัยของประชากรเพื่มขึ้นจาก 55 ปีในค.ศ. 1900 เป็น 80 ปีในปัจจุบัน เทคโนโลยีไม่เพียงส่งผลต่อความเป็นอยู่เท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในระดับชาติเช่น เทคโนโลยีในการป้องกันประเทศ การคมนาคม การสื่อสาร เป็นต้น

  8. บทบาทของวิศวกรกับทิศทางอนาคตของประเทศ(ต่อ)บทบาทของวิศวกรกับทิศทางอนาคตของประเทศ(ต่อ) การคิดค้นนวัตกรรมส่งผลต่อความมั่งคั่งและมั่นคงต่อคนในประเทศเป็นอย่างยิ่งเมื่อมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่างานวิจัยในแขนงต่างๆก็เป็นตัวขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมนั่นเอง จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ควบคู่กันไปจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้ ในประเทศไทยรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นความจำเป็นจึงได้มีการก่อตั้งสถาบันต่างๆขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานและนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

  9. วิศวกร อาชีพที่เป็นกุญแจสำคัญเบื้องหลังความสำเร็จ อาชีพวิศวกรเป็นอาชีพที่มักอยู่เบื้องหลังความสำเร็จอยู่เสมอ เนื่องจากผู้คนทั่วไปมักไม่เคยได้รับรู้ถึงงานและหน้าที่ของวิศวกรและมักสับสนระหว่างนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรอยู่เสมอทั้งนี้เนื่องจากประชาชนทั่วไปที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานมักคุ้นเคยกับการเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน แต่ในทางกลับกันผู้คนเหล่านั้นมักไม่เคยได้รับความรู้ว่างานของวิศวกรมีอะไรบ้างและยังสับสนกับความหมายของ “งานสร้างสรรค์”

  10. ความรับผิดชอบและหน้าที่ของวิศวกรและการวิจัยความรับผิดชอบและหน้าที่ของวิศวกรและการวิจัย ในแต่ละสาขาของวิศวกรรมที่มีการเปิดสอนในประเทศไทย

  11. วิศวกรรมการเกษตร(Agricultural Engineering) วิศวกรรมการเกษตรนั้นมีการพัฒนามาเริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มอาศัยรวมเป็นชุมชน งานของวิศวกรการเกษตรคือการออกแบบระบบฟาร์ม เครื่องมือที่ใช้ผลิตอาหาร สถานที่จัดเก็บเมล็ดพันธุ์พืช รวมไปจนถึงการออกแบบและการจัดการระบบของโรงเลี้ยงสัตว์ นอกจากนั้น วิศวกรการเกษตรยังสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาเทคนิคในการเพาะพันธ์พืช เช่น การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydrophonics)

  12. วิศวพันธุกรรมและวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Bio/Biomedical Engineering) วิศวพันธุกรรมเป็นศาสตร์ที่รวมเอาความรู้ทางด้านชีววิทยาและความรู้ทาวิศวกรรมเข้าไว้ด้วยกัน บ่อยครั้งที่พบนักวิศวพันธุกรรมทำงานร่วมกับนักชีววิทยาและนักเภสัชศาสตร์เพื่อพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้วัดทางการแพทย์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ที่ใช้ในการศัลยกรรม ความรู้ทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ยังสามารถใช้เพื่อการศึกษาและวิจัยในด้านที่มีความเกี่ยวพันระหว่างเทคโนโลยีกับชีวิตมนุษย์ เช่น ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันมีผลอย่างไรต่อสุขภาพเป็นต้น

  13. วิศวกรรมเคมี(Chemical Engineering) งานทางวิศวกรรมเคมีคือการนำวัสดุตั้งต้นมาผ่านกระบวนการทางเคมีให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรืออาจเป็นสารที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม วิศวกรเคมีคือหัวใจหลักในขบวนการผลิตสารเคมีที่อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆเช่น เวชภัณฑ์ เครื่องดื่ม หรือแม้กระทั้งเครื่องสำอาง ในขณะเดียวกันวิศวกรเคมียังเข้าไปมีบทบาทที่สำคัญในขบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและพลาสติก นอกจากนี้วิศวกรเคมียังเกี่ยวข้องกับกระบวนการบางส่วนของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมเครื่องกลโดยเฉพาะขบวนการควบคุมมลพิษ

  14. วิศวกรรมโยธา(Civil Engineering) วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่กว้างขวางและมีบทบาทต่อสังคมมากที่สุดสาขา หนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ งานของวิศวกรโยธาเกี่ยวพันกับการก่อสร้างอาคารสะพาน เขื่อน ถนนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆอีกมากมาย วิศวกรโยธามีหน้าทีวางแผน ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างตั้งแต่งานขนาดเล็กไปจนถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกระฟ้า ท่าอากาศยาน ศูนย์การผลิตและควบคุมบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้วิศวกรโยธายังมีบทบาทสำคัญในการคิดค้น และพัฒนาระบบขนส่งและระบบสาธารณูปโภคในอนาคต เช่น การออกแบบ ระบบรถไฟอนาคตซึ่งใช้แรงแม่เหล็กเพื่อออกแรงยกตัวและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Magnetic levitation trains)

  15. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์(Computer/software Engineering) วิศวกรคอมพิวเตอร์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในทุกแง่มุมของระบบคอมพิวเตอร์เช่น การออกแบบ การติดตั้งและการควบคุมการทำงาน บางส่วนของวิศวกรคอมพิวเตอร์ต้องทำงานกับระบบดิจิตอลระบบปฏิบัติการ ระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ งานของวิศวกรคอมพิวเตอร์ยังครอบคลุมถึงการออกแบบซอฟแวร์เพื่อทำงานร่วมกับวิศวกรในสาขาอื่นๆ เช่น การควบคุมระบบวงจรทางกล สร้างหน่วยความจำให้กับอุปกรณ์

  16. วิศวกรรมไฟฟ้า(Electrical Engineering) ในแง่ของจำนวนวิศวกรแล้ววิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีมากที่สุด ความรู้ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าครอบคลุมตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบ และการผลิตและใช้งานพลังงานไฟฟ้าตัวอย่างงานของวิศวกรไฟฟ้าคือ การควบคุมโรงไฟฟ้า ระบบคอมพิวเตอร์ และการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ไปจนถึงระบบการทำงานของอวัยวะเทียมที่ฝังในร่างกายของมนุษย์

  17. วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน (Aerospace Engineering) จุดเริ่มต้นของวิศวกรรมการบินและอวกาศยานเริ่มจากสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่ทำการคิดค้นเครื่องบินลำแรกของโลกที่มลรัฐนอร์ทแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา งานของวิศวกรการบินและอวกาศยานคือการออกแบบและพัฒนาเริ่มตั้งแต่เครื่องบินพาณิชย์ เครื่องบินที่ใช้ในการทหาร ไปจนถึงกล้องโทรทัศน์ที่ติดตั้งในอวกาศ ความรู้ทางวิศวกรรมการบินและอวกาศยานยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ทางอากาศพลศาสตร์อีกด้วยเช่น การออกแบบรถยนต์ในสนามแข่งขัน หรือแม้กระทั่งการออกแบบลูกกอล์ฟ เป็นต้น

  18. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม(Environmental Engineering) วิศวกรสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบระบบจำหน่ายน้ำประปา ระบบการนำน้ำเสียมาบำบัดและนำกลับมาใช้งาน การควบคุมและป้องกันมลพิษทางน้ำ ทางเสียงและทางอากาศ วิศวกรสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ค้นหาหนทางใหม่ๆในการลดและควบคุมมลภาวะที่เป็นพิษ

  19. วิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) งานของวิศวกรอุตสาหการครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการระบบข้อมูล การควบคุมการใช้พลังงาน กระบวนการผลิต วัสดุและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต วิศวกรอุตสาหการต้องคำนึงถึงการออกแบบโรงงาน ปัจจัยจากมนุษย์ที่มีผลต่อกระบวนการผลิต การบริหารและควบคุมคุณภาพของผลผลิต ไปจนถึงการวางแผนเพื่อให้ได้สถานที่ตั้งของโรงงานใหม่ที่เหมาะสมที่สุดทั้งในแง่ปัจจัยการผลิต การขนส่งและแรงงาน เป็นต้น

  20. วิศวกรรมเครื่องกล(Mechanical Engineering) งานของวิศวกรเครื่องกลเกี่ยวพันกันระหว่างสสารของแข็ง ของเหลวและกาซ ก่อให้เกิดพลังงานกับกลไกของเครื่องจักรกลและเชื้อเพลิง เช่น เครื่องยนต์ นอกจากนั้นวิศวกรรมเครื่องกลยังครอบคลุมถึงการออกแบบระบบปรับอากาศ ระบบทำความเย็น การออกแบบทางกล การออกแบบด้านความแข็งแรงอุปกรณ์ชิ้นส่วนทางกลและหุ่นยนต์ในขบวนการผลิต การควบคุมระบบอัตโนมัติ

  21. วิศวกรรมโลหะและวัสดุ(Metallurgy and Materials Engineering) วิศวกรโลหะและวัสดุมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ สร้างกระบวนการผลิต การกลั่นหรือทำให้บริสุทธิ์ และการประดิษฐ์คิดค้นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติทางกล ทางเคมี โดยใช้หลักวิชาด้านฟิสิกส์ เคมีประยุกต์

  22. วิศวกรรมเหมืองแร่(Mineral and Mining Engineers) งานของวิศวกรเหมืองแร่ได้แก่การสำรวจ ขุดเจาะ และประเมินค่าแร่ธาตุที่พบบนพื้นโลก วิศวกรเหมืองแร่ต้องทำหน้าที่วางแผนการขุดเจาะและควบคุมการก่อสร้างงานในเหมือง ออกแบบระบบการขนส่งแร่ที่พบและการคืนสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบบริเวณเหมืองให้กลับสู่สภาพเดิมที่มีอยูก่อนการขุดเจาะ สิ่งนี้เองทำให้วิศวกรเหมืองแร่จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคการขุดเจาะเพื่อให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อาศัยโดยรอบน้อยที่สุด

  23. วิศวกรรมนิวเคลียร์(Nuclear Engineering) วิศวกรนิวเคลียร์มีหน้าที่ในการออกแบบ พัฒนาและควบคุมโรงงานที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้เป็นทั้งเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและการใช้งานเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ บางส่วนของวิศวกรนิวเคลียร์ทำงานในการพัฒนากระสวยอวกาศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อนเพื่อเดินทางสำรวจอวกาศ

  24. วิศวกรรมระบบขนส่ง(Transportation Engineering) หน้าที่ของวิศวกรระบบขนส่งได้แก่ การออกแบบถนน ทางด่วน และระบบการขนส่งเดินทางขนาดใหญ่สำหรับประชาชนและสินค้าโดยมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างงานของวิศวกรระบบขนส่ง เช่น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสนามบินและสนามกีฬาขนาดใหญ่ผู้รับผิดชอบในการอนุมัติการก่อสร้างซึ่งได้แก่รัฐบาลท้องถิ่นต้องได้รับความเห็นชอบโดยการพิจารณาร่วมจากวิศวกรระบบขนส่งเพื่อป้องกันปัญหาการจราจรที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากไม่มีการวางแผนที่ดี

  25. วิศวกรรมลอจีสติก(Logistic Engineering) งานหลักของวิศวกรลอจีสติกคือการควบคุม วางแผนระบบการจัดซื้อ การเก็บสิ้นค้าและจำนวนวัสดุที่ใช้ผลิตในคลัง การวางแผนระยะเวลาการผลิตและการจัดส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ วิศวกรลอจีสติกต้องมีอาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณความน่าจะเป็นที่จะเกิดการขัดข้องทางการผลิตและขนส่ง อีกทั้งคำนวณเวลาเฉลี่ยของความล้มเหลว (MTBF) เวลาเฉลี่ยของการซ่อม (MTTR) และเวลาเฉลี่ยระหว่างความล้มเหลว (MIBF)เป็นต้น

  26. กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษาเพื่อความสำเร็จทั้งในระหว่างและหลังสำเร็จการศึกษา 1. ให้เน้นที่ความสามารถไม่ใช่เน้นที่ปริญญาบัตรที่ได้รับ คุณอาจเห็นว่ามีข้อแตกต่างอย่างมากระหว่างผู้สำเร็จการศึกษาด้านวรรณคดีกับผู้สำเร็จการศึกษาเป็นวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตข้อสังเกตที่สำคัญคือไม่สำคัญที่จะได้ปริญญาทางด้านใด แต่สำคัญที่แต่ละบุคคลมีความสามารถที่เป็นที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ดังนั้นจะดีอย่างยิ่งหากในระหว่างอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยคอยหมั่นฝึกฝนให้มีความสามารถให้ประยุกต์ใช้ความรู้ได้หลากหลาย

  27. กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ)กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ) 2. อย่างเพียงมุ่งเน้นแต่ให้จบการศึกษาตามเวลาที่กำหนด การจบการศึกษาตามเวลาที่กำหนดนั้นเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตามอย่าลืมที่จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์และวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยให้เต็มที่เพื่อให้มีความสามารถและความนึกคิดที่หลายหลายกว้างไกล 3. เรียนรู้ซอฟแวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์และจำลองแบบไว้มากๆ ในการทำงานจริงหรือการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษานั้น ซอฟแวร์ที่จำเป็นใช้การการวิเคราะห์และจำลองแบบมีบทบาทสำคัญยิ่งต่ออาชีพการงาน

  28. กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ)กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ) 4. ฝึกฝนทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงาน นอกเหนือจากความรู้และความสามารถที่มีแล้วทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อหน้าที่การงาน 5. ฝึกงานในบริษัทหรือองค์กรระหว่างปิดภาคเรียน นอกจากจะเพิ่มโอกาสการได้งานแล้ว การฝึกงานในช่วงปิดภาคเรียนจะช่วยให้มีประสบการณ์จริงที่ศึกษาเฉพาะแต่ทฤษฎีในรั้วมหาวิทยาลัย

  29. กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ)กุญแจสู่ความสำเร็จของการศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์(ต่อ) 6. ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนและอย่าท้อแท้ เมื่อทำทุกอย่างที่กล่าวมาแล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ตั้งความหวังไว้ ขอให้อย่าท้อแท้ในทางกลับกันให้หมั่นฝึกฝนตัวเองให้มีความสามารถเป็นที่ต้องการเพื่อรอโอกาสที่เหมาะสมในวันหน้า

  30. บรรณาณุกรม [1] Anonymous, “Engineering: a stealth profession,” American Society for Engineering Education, 2006.Available at: http://www.discoverengineering.org/aboutengineers.asp [2] Anonymous, "What is engineering, anyway?," American Society for Engineering Education, 2004. [3] K. Collins, "Report seeks reality behind number of engineering graduates," in NTSA WebNews Digest, 2006. [4] J. C. Crowley, “Engineering’s role in the nation’s future,” Colloquium on Engineering Deans Council Public Policy, American Society for Engineering Education, 2005. Available at: http://www.asee.org/conferences [5]http://eng.bu.ac.th/2007/doc/engineer.pdf

More Related