220 likes | 554 Views
การนำนโยบาย การควบคุมคุณภาพน้ำสู่การปฏิบัติ. โดย นางจิตสุภา ไตรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรน้ำ. วันที่ 22 มิถุนายน 2552. การประปาส่วนภูมิภาค. ภาพรวมการมีน้ำประปาใช้ทั้งประเทศ. วิสัยทัศน์ของ กปภ. “ เป็นองค์กรชั้นดี เพื่อปวงชน ที่ให้บริการน้ำประปาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และได้มาตรฐาน ”.
E N D
การนำนโยบายการควบคุมคุณภาพน้ำสู่การปฏิบัติการนำนโยบายการควบคุมคุณภาพน้ำสู่การปฏิบัติ โดย นางจิตสุภา ไตรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรน้ำ วันที่ 22 มิถุนายน 2552 การประปาส่วนภูมิภาค
ภาพรวมการมีน้ำประปาใช้ทั้งประเทศภาพรวมการมีน้ำประปาใช้ทั้งประเทศ
วิสัยทัศน์ของ กปภ. “เป็นองค์กรชั้นดี เพื่อปวงชนที่ให้บริการน้ำประปาอย่างมีคุณภาพทั่วถึง และได้มาตรฐาน”
นโยบายด้านการควบคุมคุณภาพน้ำของ กปภ. “ผลิตน้ำประปาที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานกปภ. อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา” • คุณภาพของน้ำประปาแบ่งได้เป็น 4 ด้าน 1. ด้านกายภาพ (Physical Characteristics) 2. ด้านเคมี (Chemical Characteristics) 3. ด้านสารพิษโลหะหนัก (Heavy Metal Characteristics) 4. ด้านแบคทีเรีย (Microbiological Characteristics)
หมายเหตุ : ผวก.ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ต่อท้ายบันทึกข้อความของ กคน.ที่มท 55702-2/258 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2550
พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เนื่องจาก น้ำประปา เป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทุกหน่วยงานต้องเฝ้าระวัง และควบคุมคุณภาพน้ำประปาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำประปาของ กปภ. เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนี้ ;
1. ให้สำนักงานประปาเขตและสำนักงานประปาในสังกัด ตรวจคุณภาพน้ำเป็นประจำ และเก็บใบตรวจคุณภาพน้ำไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงต่อผู้ร้องเรียน ในกรณีถูกร้องเรียนว่าผลิตน้ำไม่สะอาด 2. ผู้จัดการประปาต้องควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามวิธีการควบคุมภายในเกี่ยวกับการควบคุมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำของ กปภ. และความสะอาดในบริเวณโรงกรองน้ำทุกวัน รวมถึงการระบายน้ำล้างท่อ (Blow Off) หลังจากการซ่อมท่อ 3. สำนักงานประปาเขต สำนักงานประปา และทุกหน่วยงานในสังกัด กปภ. ต้องร่วมกันวางกฎ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำ และบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเลยขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่ง กปภ.มีคู่มือระบบการควบคุมคุณภาพน้ำและแหล่งน้ำ (น้ำดิบ) ฉบับปรับปรุง ปี 2551 แจ้งทุกสายงานถือปฏิบัติแล้ว ทั้งนี้ ให้สำนักตรวจสอบทำการตรวจในเรื่องของความเสี่ยงที่บางสำนักงานประปาอาจละเลยการควบคุมระบบผลิตด้วย
การควบคุมคุณภาพน้ำของ กปภ. มี 3 ระดับ สำนักงานประปา งานผลิต/ป.ศักยภาพมี นว.ประจำ จาร์เทสต์ ความขุ่น pH Res.Cl2แบคทีเรีย(อย่างง่าย) และรายการที่คุณภาพน้ำมีปัญหาเช่น Mnความกระด้าง และสาหร่าย เป็นต้น สำนักงานประปาเขต งานพัฒนาคุณภาพน้ำประปา ปฏิบัติตามวิธีการมาตรฐาน และปี 2552 จะนำการระบบ LIMS มาใช้ (กำลังจัดหาผู้รับจ้าง) สำนักงานใหญ่ กองควบคุมคุณภาพน้ำ ปฏิบัติตามวิธีการมาตรฐาน และปี 2552 จะนำระบบ LIMS มาใช้ รวมถึงการจัดซื้อเครื่อง GC ใหม่ ทำให้เริ่มทำรายการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน ได้จัดทำ “การควบคุมภายในด้านคุณภาพน้ำ” ตามแนวทางบริหารความเสี่ยงของ กปภ. ที่สำคัญทุกกระบวนการทำงานต้องมีการทำคู่มือปฏิบัติงาน คือ เขียนในสิ่งที่ทำ แล้ว ทำในสิ่งที่เขียน
นักวิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานประปาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานประปาศักยภาพ เป็นผู้นำร่องการควบคุมคุณภาพน้ำในระดับปฏิบัติการให้มีประสิทธิผลแก่ กปภ. มีหน้าที่หลัก - เฝ้าระวังคุณภาพน้ำดิบ สังเกตเหนือจุดสูบ จุดสูบ รวมถึงแหล่งกำเนิดมลพิษในบริเวณใกล้เคียง - ทำจาร์เทสต์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม เพื่อให้การใช้สารเคมีมีประสิทธิภาพสูงสุด ออกสู่ สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด - เก็บตัวอย่างน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อส่งให้ ปปข. และ กคน. ตรวจวิเคราะห์ - วิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ น้ำในระบบผลิต และน้ำในระบบจำหน่าย - การรายงานผลการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง / ประชาสัมพันธ์ด้านคุณภาพน้ำ (แม้จะทำงานที่สำนักงานประปาซึ่งมี นว.คนเดียว แต่ก็ยังมีพี่เลี้ยงและเพื่อนร่วมงานซึ่งได้แก่ พี่ ๆ เพื่อน ๆ จาก ปปข. และ กคน. รวมถึง ฝทน. ที่พร้อมจะให้คำปรึกษา)
นักวิทยาศาสตร์ประจำ ปปข. จัดเป็นทีมงานที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำซึ่งมีความใกล้ชิดกับระดับปฏิบัติการ คือสำนักงานประปาในสังกัด สามารถรู้ปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็ว มีหน้าที่หลัก (ฝทน. มีความยินดี และพร้อมจะให้การสนับสนุนแก่ น้อง ๆ ทุกคนหากต้องการความช่วยเหลือ) • เป็นพี่เลี้ยงให้สำนักงานประปาในสังกัด • ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน / ความถี่ที่กำหนด • การรายงานผลการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหา ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ส่งให้ส่วนกลางเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหาร รับทราบหาแนวทางแก้ไขอย่างถาวรต่อไป • หากต้องการเครื่องมือ / แนวทางแก้ไขปัญหา / ข้อมูลอื่นใด ให้ประสาน กคน. • ขอให้นำวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำสำเร็จมาเผยแพร่ให้ได้รับรู้กันมากขึ้น / ส่งให้ กคน. นำลงเว็บไซต์ (เนื่องจาก กปภ. กำลังจัดทำ KM/LO ทั้งองค์กร)
นักวิทยาศาสตร์ประจำ กคน. • ต้องทันต่อวิทยาการต่างๆที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ และดำเนินการในโครงการวิเคราะห์แบคทีเรียอย่างง่ายให้แล้วเสร็จ พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน • งานส่งเสริมวิชาการ ความรับผิดชอบหลักคือ การออกสเป็คเครื่องมือ • ต้องมีความรอบคอบ และดำเนินการให้แล้วเสร็จตามความต้องการใช้งาน ของผู้ขอเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องลงใน เว็บไซต์เผยแพร่ทันที • งานพัฒนาคุณภาพน้ำความรับผิดชอบหลักคือการตรวจวิเคราะห์ด้านกายภาพ เคมีและแบคทีเรีย รวมถึงหาวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ประจำ กคน.(ต่อ) • งานมลภาวะน้ำความรับผิดชอบหลักคือ การตรวจวิเคราะห์ด้านสารเป็นพิษ • และดัชนีมลภาวะ • ต้องแม่นเรื่องข้อมูล มีความถูกต้อง/รวดเร็ว และประสานทุกหน่วยให้ได้ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ และร่วมจัดทำโครงการ LIMS ให้สำเร็จ • ต้องวางแผนการเก็บตัวอย่างให้ชัดเจนและตรวจวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว (กรณีที่ผล การตรวจเกินเกณฑ์มาตรฐานต้องรีบรายงานทันที) และเร่งดำเนินการตรวจ วิเคราะห์รายการใหม่ๆให้มากขึ้น • งานสารสนเทศคุณภาพน้ำความรับผิดชอบหลักคือ การรายงานผลข้อมูล คุณภาพน้ำให้ผู้บริหารทราบ และตรวจติดตามคุณภาพน้ำของ กปภ. รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์
นักวิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานประปาเขตนักวิทยาศาสตร์ประจำสำนักงานประปาเขต เป็นทีมงานที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำซึ่งมีความใกล้ชิดกับระดับปฏิบัติการคือสำนักงานประปาในสังกัด สามารถรู้ปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็ว หน้าที่หลัก - เป็นพี่เลี้ยงให้สำนักงานประปาในสังกัด - ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน / ความถี่ที่กำหนด - การรายงานผลการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาต้องเก็บรวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ส่งให้ส่วนกลางเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารรับทราบ หาแนวทางแก้ไขอย่างถาวรต่อไป - หากต้องการเครื่องมือ / แนวทางแก้ไขปัญหา / ข้อมูลอื่นใด ให้ประสาน กคน. - ขอให้นำวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทำสำเร็จมาเผยแพร่โดยส่งให้ กคน. นำลงเว็บไซต์ (ฝทน. มีความยินดี และพร้อมจะให้การสนับสนุนแก่ น้อง ๆ ทุกคนหากต้องการความช่วยเหลือ)
นักวิทยาศาสตร์ประจำกองควบคุมคุณภาพน้ำนักวิทยาศาสตร์ประจำกองควบคุมคุณภาพน้ำ งานส่งเสริมวิชาการ ความรับผิดชอบหลัก คือ การออกสเป็คเครื่องมือ ต้องมีความรอบครอบ และดำเนินการให้แล้วเสร็จตามความต้องการใช้งานของผู้ขอเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องลงใน เว็บไซต์เผยแพร่ทันที งานพัฒนาคุณภาพน้ำ ความรับผิดชอบหลักคือ การตรวจวิเคราะห์ด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย รวมถึงหาวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ต้องทันต่อวิทยาการต่างๆที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ และดำเนินการในโครงการวิเคราะห์แบคทีเรียอย่างง่ายให้แล้วเสร็จ พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน
นักวิทยาศาสตร์ประจำกองควบคุมคุณภาพน้ำ (ต่อ) งานมลภาวะน้ำ ความรับผิดชอบหลัก คือ การตรวจวิเคราะห์ด้านสารเป็นพิษและดัชนีมลภาวะ ต้องวางแผนการเก็บตัวอย่างให้ชัดเจนและตรวจวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว (กรณีที่ผลการตรวจเกินเกณฑ์มาตรฐานต้องรีบรายงานทันที) และเร่งดำเนินการตรวจวิเคราะห์รายการใหม่ๆ ให้มากขึ้น งานสารสนเทศคุณภาพน้ำ ความรับผิดชอบหลัก คือ การรายงานผลข้อมูลคุณภาพน้ำให้ผู้บริหารทราบ และตรวจติดตามคุณภาพน้ำของ กปภ. รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ ข้อมูลต้องมีความถูกต้อง-จัดทำรายงานรวดเร็ว และประสานทุกหน่วยให้ได้ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ และร่วมจัดทำโครงการ LIMS ให้สำเร็จ
กล่าวโดยสรุป • การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำ • ต้องมีเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ได้มาตรฐาน และเพียงพอ • มีงบประมาณสนับสนุนการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ • สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว • สามารถที่จะดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที • การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ • ความร่วมมือ-ร่วมใจในการทำงานร่วมกัน
Q & A ขอบคุณที่ตั้งใจรับฟัง ...... โทรศัพท์ : 0-2551-8600 e-mail : chitsuphat@pwa.co.th ......จบการนำเสนอ