120 likes | 236 Views
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมไทย. โดย อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. ทำไมต้องมีการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม. สร้างหลักประกันให้กับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มคนชายขอบ จากการกระทำของผู้มีอำนาจเหนือกว่า – คู่กรณี เจ้าพนักงาน รัฐ
E N D
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมไทยสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมไทย โดย อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ทำไมต้องมีการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทำไมต้องมีการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม • สร้างหลักประกันให้กับกลุ่มเสี่ยง กลุ่มคนชายขอบ • จากการกระทำของผู้มีอำนาจเหนือกว่า – คู่กรณี เจ้าพนักงาน รัฐ • ครอบคลุมถึง การสืบสวนสอบสวน ค้น เรียก ตั้งข้อกล่าวหา การประกันตัว การส่งฟ้อง การดำเนินคดีในศาล สิทธิในที่คุมขัง/เรือนจำ • การสร้างหลักประกันอยู่ในลักษณะของกฎหมายสบัญญัติ • กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายวิธีพิจารณาความฯ • สร้างกรอบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมไม่ให้เจ้าพนักงานฝ่าฝืน • ถ้าฝ่าฝืนมีผลให้พยาน/หลักฐาน/รูปคดีเสียไป เป็นโทษต่อเจ้าพนักงาน
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ • ความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลำดับศักดิ์ต่างๆ • การลงโทษทางอาญากับใคร ในขณะกระทำความผิดจะต้องมีกฎหมายกำหนดความผิดและกำหนดโทษอยู่ จะให้กฎหมายมีผลย้อนหลังมิได้ • ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ถ้ายังไม่มีคำพิพากษา • การปฏิบัติกับบุคคลที่ยังไม่ต้องคำพิพากษาต้องทำเสมือนเป็นผู้บริสุทธิ์ • จัดให้มีกระบวนยุติธรรม ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง • บุคคลมีสิทธิได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย รับทราบข้อกล่าวหา เข้าถึงพยานหลักฐานได้ คัดค้านตุลาการ เหตุผลประกอบคำพิพากษา
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ • คดีต้องดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม • ผู้มีส่วนได้เสียต้องได้รับความเป็นธรรม ปฏิบัติอย่างเหมาะสม • สิทธิในการไม่ให้ปากคำปรักปรำตนเอง • ผู้เสียหาย/ผู้ต้องหาจำเลย พยาน มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม • กลุ่มผู้ด้อยโอกาสต้องได้รับการคุ้มครองดูแลตามความเหมาะสม • ในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิในการต่อสู้คดี เรียกหาพยานหลักฐาน ทนาย • ในคดีแพ่ง มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเหมาะสม
ระบบกระบวนการยุติธรรมไทยระบบกระบวนการยุติธรรมไทย • ระบบซีวิลล์ลอว์ แต่มีอิทธิพลของคอมมอนลอว์ปะปน • แนวคิดบางอย่างถูกวางไว้โดยรัฐธรรมนูญ • รับหลักการมาจากหลักเกณฑ์สากลของสหประชาชาติ – โทษประหาร • การดำเนินคดีแบบพิเศษให้เหมาะกับกลุ่มชายขอบที่เป็นกลุ่มเสี่ยง • ตำรวจ กับ เจ้าพนักงานปกครอง มีบทบาทสูง • อัยการตรวจเพียงพยาน หลักฐาน สำนวน เพื่อพิจาณาส่งฟ้อง • ในชั้นศาลใช้ระบบกล่าวหา ศาลไม่ลงมาแสวงหาพยานหลักฐาน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม • สิทธิปลอดการถูกดักฟัง หรือตรวจกัก • สิทธิปลอดจากการเข้าค้น แสวงหาพยานหลักฐานจากพาหนะ/เคหะสถาน/เนื้อตัวร่างกาย โดยมิชอบ • สิทธิที่จะปลอดจากการจับกุม คุมขัง โดยมิชอบ • สิทธิที่จะได้รับแจ้งข้อกล่าวหา • สิทธิที่จะไม่ให้การ (ปรักปรำตน?) • สิทธิในการขอทนายที่ไว้วางใจเข้าฟังการให้ปากคำในชั้นสอบสวน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม • สิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) • สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม (ต่อเนื่อง?) • สิทธิที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาอย่างไม่เป็นธรรม • สิทธิในการขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย การสื่อสาร • การพิจารณาคดีต้อง เปิดเผย ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม (ต่อเนื่อง?) • สิทธิที่จะไม่ถูกนำเอาพยานหลักฐานที่ไม่ชอบมาปรักปรำ
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม • สิทธิที่จะไม่ถูกทารุณกรรม ทรมาน กระทำการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือลงโทษอย่างทารุณ • การประหารชีวิตจะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นคำพิพากษาศาลตามกฎหมาย • ห้ามกระทำวิสามัญฆาตกรรม – กระทำโดยป้องกัน โดยจำเป็น • ผู้ต้องขังมีสิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการราชทัณฑ์ • สิทธิในการขอรื้อฟื้นการพิจารณาคดีใหม่ • สิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสอื่นในการได้รับการดำเนินคดีที่เหมาะสม
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมรุ่นหลังสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมรุ่นหลัง • สิทธิของจำเลยในการได้รับค่าชดเชยถ้าต่อมาปรากฏว่าบริสุทธิ์ • สิทธิของผู้ต้องโทษที่จะได้รับการเยียวยา ฟื้นฟูเพื่อกลับคืนสู่สังคม • สิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน และฟื้นฟู • สิทธิของพยานที่จะได้รับค่าตอบแทน และคุ้มครองอย่างเหมาะสม
ทางเลือกใหม่ของกระบวนการยุติธรรมไทยทางเลือกใหม่ของกระบวนการยุติธรรมไทย • การไกล่เกลี่ยของเจ้าพนักงานตำรวจ - พรบ.เพิ่งผ่าน • การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ • การชะลอการฟ้อง • การใช้มาตรการทางเลือกในการปรับปรุงแก้ไขผู้กระทำความผิดโดยไม่ควบคุมตัว
ปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทย • คนชายขอบไม่รู้กฎหมาย หวาดกลัว ไม่กล้าที่จะยืนยันสิทธิ • การให้ความช่วยเหลือและความรู้ทางกฎหมายยังไม่เพียงพอ • เบ้าหลอมเจ้าพนักงานของรัฐ กับ ทัศนคติแบบอำนาจนิยม • การใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าพนักงาน และคดีไม่ถึงอัยการ ศาล • ระบบอุปถัมภ์ การคอร์รัปชั่น การไม่เคารพกฎหมายของผู้มีอำนาจ • นโยบายที่ผิดพลาดของภาครัฐ • ยี่ต้อกที่ปราศจากหลักทางอาชญวิทยา ทัณฑวิทยา และสังคมวิทยา
ลู่ทางในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมไทยลู่ทางในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมไทย • เบ้าหลอมเจ้าพนักงานของรัฐ และการสร้างทัศนคติที่ดี • การให้ความรู้ทางกฎหมายต่อกลุ่มเสี่ยง • การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ • เพิ่มทางเลือกในการยุติข้อพิพาทให้หลากหลาย • สนับสนุนการระงับข้อพิพาทนอกศาลสอดคล้องกับวิถีจารีตวัฒนธรรม • ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเฝ้าระวัง และการลงโทษ • สังคม และกระบวนการราชทัณฑ์ต้องมุ่งไปสู่การฟื้นฟูนักโทษให้กลับคืนสู่สังคม ลดการเพิ่มโทษ ใช้กระบวนการแก้ไขนอกคุกให้มาก