1.07k likes | 1.56k Views
โครงสร้างและหน้าที่ ของระบบต่างๆในร่างกายสัตว์ โดย ครูวร ลักษณ์ กอบหิรัญกุล.
E N D
โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายสัตว์โดย ครูวรลักษณ์ กอบหิรัญกุล
สัตว์บางชนิดมีเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ยังไม่มีการพัฒนาให้เห็นได้ชัด แต่บางชนิดก็มีการพัฒนาให้เห็นได้อย่างชัดเจน มีความซับซ้อนของโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลทำให้ระบบต่างๆของร่างกายมีส่วนประกอบของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป สัตว์ต่างๆเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกัน
1.1 การย่อยอาหารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง • สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด เช่น ปลา กบ กิ้งก่า แมว จะมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ซึ่งทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วย • ปาก ® หลอดอาหาร ® กระเพาะอาหาร ® ลำไส้เล็ก ® ทวารหนัก 1.ระบบย่อยอาหารของสัตว์
1.2.1 การย่อยอาหารในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ • 1.2.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ 1.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.2.1 การย่อยอาหารในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์
- ยังไม่มีทางเดินอาหาร แต่มีเซลล์พิเศษอยู่ผนังด้านในของฟองน้ำ เรียกว่า เซลล์ปลอกคอ (Collar Cell) ทำหน้าที่จับอาหาร แล้วสร้างแวคิวโอลอาหาร (Food Vacuole)เพื่อย่อยอาหาร 1. ฟองน้ำ
ตัวอ่อนไรน้ำในทางเดินอาหารไฮดราตัวอ่อนไรน้ำในทางเดินอาหารไฮดรา
2. ไฮดรา แมงกะพรุน ซีแอนนีโมนี • - มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีปาก แต่ไม่มีทวารหนัก อาหารจะผ่านบริเวณปากเข้าไปในช่องลำตัวที่เรียกว่าช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastro vascular Cavity)ซึ่งจะย่อยอาหารที่บริเวณช่องนี้ และกากอาหารจะถูกขับออกทางเดิมคือ ปาก • 3. หนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้ • - มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มีช่องเปิดทางเดียวคือปาก ซึ่งอาหารจะเข้าทางปาก และย่อยในทางเดินอาหาร แล้วขับกากอาหารออกทางเดิมคือ ทางปาก
1.2.2 การย่อยอาหารในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์
1. หนอนตัวกลมเช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย - เป็นพวกแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือ มีช่องปากและช่องทวารหนักแยกออกจากกัน • 2. หนอนตัวกลมมีปล้องเช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และแมลง - มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ และมีโครงสร้างทางเดนอาหารที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละส่วนมากขึ้น
1.หนูเป็นสัตว์ชนิดใด ……. มีทางเดินอาหารเป็นแบบใด……….. • 2.สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังแต่มีทางเดินอาหารเช่นเดียวกับภาพคือ… • 3.ทางเดินอาหารในภาพเป็นชนิด……….. • 4.ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ทำหน้าที่ …… และสัตว์ที่มีอวัยวะส่วนนี้ได้แก่……. • 5.สัตว์ที่ทางเดินอาหารได้แก่………สัตว์ชนิดนี้มีเซลล์ใดทำหน้าที่ย่อยอาหาร………………… ทดสอบความรู้
ในสัตว์ชั้นสูงมีระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีหลอดเลือดเป็นทางลำเลียงเลือดไปทั่วทุกเซลล์ของร่างกาย แต่ในสัตว์บางชนิดใช้ช่องว่างระหว่างอวัยวะเป็นทางผ่านของเลือด • ระบบหมุนเวียนเลือดมี 2 แบบ ดังนี้ 2. ระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์
2.1 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed Circulation System)ระบบนี้เลือดจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือดตลอดเวลา โดยเลือดจะไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือดชนิดต่าง ๆ แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจใหม่เช่นนี้เรื่อยไป พบในสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
แสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิดแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด
2.2 ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulation System) ระบบนี้เลือดที่ไหลออกจากหัวใจจะไม่อยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาเหมือนวงจรปิด โดยจะมีเลือดไหลเข้าไปในช่องว่างลำตัวและที่ว่างระหว่าอวัยวะต่าง ๆ พบในสัตว์จำพวกแมลง กุ้ง ปู และหอย
รูปแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิดรูปแสดงระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด
ทราบหรือไม่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำหลายชนิด เช่น ฟองน้ำ • ไฮดรา หนอนตัวแบน หนอนตัวกลม จะไม่มีหัวใจและหลอดเลือด เพราะเซลล์เกือบทุกเซลล์สามารถติดต่อกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง
….1.แมลงปอมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด….1.แมลงปอมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด • ….2.นกมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเดียวกับปลิงน้ำจืด • ….3.กบมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด • ….4.หอยมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด • ….5.ระบบหมุนเวียนเลือดของจิ้งจกเลือดจะไหลอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา • ….6.กุ้งและปูมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเดียวกับผึ้ง • ….7.ระบบหมุนเวียนเลือดของปลาเลือดจะไหลเข้าไปในช่องว่างลำตัวได้ • ….8.หัวใจ เลือด และหลอดเลือดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบหมุนเวียนเลือด • ….9.คางคก กิ้งก่า และคนมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเดียวกัน • ….10.หนอนตัวแบนและหนอนตัวกลมมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเดียวกับไส้เดือน วิเคราะห์ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์
สัตว์ต่าง ๆ จะแลกเปลี่ยนก๊าซกับสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการแพร่ (Diffusion) โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่างกัน 3. ระบบหายใจในสัตว์
1. สัตว์ชั้นต่ำ เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน ฟองน้ำ พลานาเรีย • - ไม่มีอวัยวะในการหายใจโดยเฉพาะ การแลกเปลี่ยนก๊าซใช้เยื่อหุ้มเซลล์หรือผิวหนังที่ชุ่มชื้น • 2. สัตว์น้ำชั้นสูง เช่น ปลา กุ้ง ปู หมึก หอย ดาวทะเล • - มีเหงือก (Gill) ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความซับซ้อน แต่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน(ยกเว้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในช่วงที่เป็นลูกอ๊อดซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ จะหายใจด้วยเหงือก ต่อมาเมื่อโตเป็นตัวเต็มวัยอยู่บนบก จึงจะหายใจด้วยปอด)
3. สัตว์บกชั้นต่ำ เช่น ไส้เดือนดิน • - มีผิวหนังที่เปียกชื้น และมีระบบหมุนเวียนเลือดเร่งอัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซ
4. สัตว์บกชั้นสูง มี 3 ประเภท คือ • 4.1 แมงมุม- มีแผงปอดหรือลังบก (Lung Book) มีลักษณะเป็นเส้น ๆ ยื่นออกมานอกผิวร่างกาย ทำให้สูญเสียความชื้นได้ง่าย • 4.2 แมลงต่าง ๆ- มีท่อลม (Trachea) เป็นท่อที่ติดต่อกับภายนอกร่างกายทางรูหายใจ และแตกแขนงแทรกไปยังทุกส่วนของร่างกาย 4.3 สัตว์มีกระดูกสันหลัง • - มีปอด (Lung) มีลักษณะเป็นถุง และมีความสัมพันธ์กับระบบหมุนเวียนเลือด
จงจำแนกสัตว์ต่อไปนี้ลงในตารางให้สัมพันธ์กับโครงสร้างในการหายใจจงจำแนกสัตว์ต่อไปนี้ลงในตารางให้สัมพันธ์กับโครงสร้างในการหายใจ • ปลาฉลาม ผีเสื้อ พลานาเรีย แมว ไส้เดือนดิน ลูกอ๊อด ด้วง แมงมุม จิ้งเหลน ปูม้า ช้าง งู หอยลาย ฟองน้ำ เต่า ดาวทะเล ปลาหางนกยูง ยุง แมงกะพรุน นกเขา หมึกกล้วย กุ้ง ไฮดรา แมงป่อง ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ในเซลล์หรือในร่างกายของสัตว์ต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยาเคมีจำนวนมากเกิดขึ้นตลอดเวลา และผลจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตและของเสียที่ต้องกำจัดออกด้วยการขับถ่าย สัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะและกระบวนการกำจัดของเสียออกนอกร่างกายแตกต่างกันออกไป สัตว์ชั้นต่ำที่มีโครงสร้างง่าย ๆ เซลล์ที่ทำหน้าที่กำจัดของเสียจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ส่วนสัตว์ชั้นสูงที่มีโครงสร้างซับซ้อน การกำจัดของเสียจะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เฉพาะ 4. ระบบขับถ่ายในสัตว์
ระบบขับถ่ายของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
การที่อุจจาระของนกมีสีดำปนสีขาว เพราะนกต้องการประหยัดน้ำ • จึงขับถ่ายของเสียในรูปกรดยูริก คือ อุจจาระสีขาว ส่วนสีดำ คือกากอาหารที่ย่อยไม่ได้แล้วนี่เอง นักเรียนทราบหรือไม่
1. ฟองน้ำ โครงสร้างหรืออวัยวะขับถ่าย- เยื่อหุ้มเซลล์เป็นบริเวณที่มีการแพร่ของเสียออกจากเซลล์ 2. ไฮดรา แมงกะพรุนโครงสร้างหรืออวัยวะขับถ่าย • - ใช้ปาก โดยของเสียจะแพร่ไปสะสมในช่องลำตัวแล้วขับออกทางปากและของเสียบางชนิดจะแพร่ทางผนังลำตัว 3. พวกหนอนตัวแบน เช่น พลานาเรีย พยาธิใบไม้โครงสร้างหรืออวัยวะขับถ่าย • - ใช้เฟลมเซลล์ (Flame Cell) ซึ่งกระจายอยู่ทั้งสองข้างตลอดความยาวของลำตัว เป็นตัวกรองของเสียออกทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว
4. พวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน โครงสร้างหรืออวัยวะขับถ่าย - ใช้เนฟริเดียม(Nephridium) รับของเสียมาตามท่อ และเปิดออกมาทางท่อซึ่งมีรูเปิดออกข้างลำตัว
5. แมลง- ใช้ท่อมัลพิเกียน (Mulphigian Tubule) ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ระหว่างกระเพาะกับลำไส้ ทำหน้าที่ดูดซึมของเสียจากเลือด และส่งต่อไปทางเดินอาหาร และขับออกนอกลำตัวทางทวารหนักร่วมกับกากอาหาร
6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง- ใช้ไต 2 ข้างพร้อมด้วยท่อไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะขับถ่าย
ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งงาน การติดต่อเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม การรับคำสั่งและการปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำกิจกรรมได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน • ระบบประสาทของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 5. ระบบประสาท