1 / 51

การปลูกไม้ผล

การปลูกไม้ผล. มะละกอ โดย วีรจินต์ นาคะนิเวศน์.

nili
Download Presentation

การปลูกไม้ผล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปลูกไม้ผล มะละกอ โดย วีรจินต์ นาคะนิเวศน์

  2. ชื่อมะละกอวงศ์ CARICACEAEชื่อวิทยาศาสตร์Carica papaya Linn.ชื่อพื้นเมือง มะก้วยเต้ดส่วนที่เป็นผัก ยอดอ่อน ผลดิบ ฤดูกาล ตลอดปี-มากในฤดูหนาว รส หวานการขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ประโยชน์ทางยา ดอก-ขับประจำเดือน,เมล็ดอ่อน-แก้กลากเกลื้อน,ยาง-กัดแผลตาปลาและหูด

  3. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ • ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีเนื้ออ่อน อวบน้ำ ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นกลวง เปลือกขรุขระ มีสีน้ำตาลออกขาว มียางขาว • ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบแผ่คล้ายร่ม ขอบใบ หยัก เว้าลึก แยกเป็นแฉก 7-9 แฉก ออกที่ปลาย ยอด แบบสลับ • ดอก ดอกเดี่ยวมีสีขาว-เหลืองอ่อน มี 5 กลีบ กลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น • ผล เป็นผลเดี่ยว รูปร่างกลมยาวรี หรือทรงกระบอก ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง • เมล็ด มีสีน้ำตาลจำนวนมาก อยู่ภายในผล เมล็ดผิวขรุขระ มีเยื่อหุ้มใสโดยรอบ

  4. สถานการณ์ทั่วไป มะละกอเป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร ผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสชาติหวานหอมมีวิตามินเอและแคลเซียมสูง นอกจากจะบริโภคภายในประเทศแล้วยังสามารถส่งไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศในปี 2539 ส่งออกปริมาณ 5 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.2 ล้านบาท มะละกอแปรรูป 2,450 ตัน มูลค่า 51.8 ล้านบาท

  5. มะละกอ ... เป็นผลไม้ที่ช่วยเพิ่มความงามของบรรดาสาวๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะ อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ประกอบไปด้วย วิตามินเอ บี บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูล อิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ มะละกอยังมีสรรพคุณ ในการช่วย บำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายช่วยแก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุง ระบบประสาท และระบบสายตาได้

  6. การปลูก มะละกอสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินที่มีหน้าดินลึกและมีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรด-ด่างประมาณ 6-6.5 การปลูกอาจใช้การหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง โดยขุดหลุมปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะปลูก 2.5x2.5 เมตร ควรเลือกเมล็ดจากผลที่เกิดจากดอกกระเทย จะได้ต้นกระเทยเป็นส่วนใหญ่ หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อเริ่มออกดอกตัดให้เหลือเพียง 1ต้นต่อหลุม โดยเลือกต้นกระเทย หรือต้นตัวเมียไว้ ระยะแรกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง มะละกอให้ผลผลิตสูงใน 1-2 ปีแรก หลังจากนั้นผลผลิตจะน้อยลงผลจะมีขนาดเล็กลง ให้ตัดต้นออกเหลือโคนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้แตกยอดใหม่ไว้ 2-3 กิ่ง เพื่อให้ติดผลต่อ แต่ผลผลิตจะไม่สูงเท่าเดิม อาจเก็บผลผลิตได้อีก 1-2 ปี ก็ควรตัดทิ้งแล้วปลูกใหม่

  7. ประโยชน์

  8. สูตรหน้าใส นำมะละกอมาปั่นให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกให้ทั่วผิวหน้า เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ที่ช่วยขจัดเซลล์ที่ตายไปแล้วให้หมดได้ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำผ้าขนหนูค่อยๆ ซับใบหน้าจนแห้ง คุณจะรู้สึกว่าผิวหน้า สดใส เปล่งปลั่งขึ้น

  9. สูตรลบรอยด่างดำ โดยการนำมะละกอสุกมายีให้ละเอียด พอกหน้าทิ้งไว้สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออกจะช่วยให้ใบหน้าที่มีรอยด่างดำดูดีขึ้น

  10. สูตรผิวเนียน นำมะละกอสุกบดผสมกับน้ำมันบริสุทธิ์ และกลิ่นลาเวนเดอร์ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน แช่ในน้ำร้อนให้ส่วนผสมทั้งหมดพออุ่นๆ จากนั้นก็นำมาพอกหน้าแล้วอบด้วยผ้าห่มไฟฟ้า ถ้าไม่มีใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ แทนก็ได้ ทิ้งไว้สัก 25 นาทีแล้วล้างออก สูตรนี้ช่วยให้ผิวหน้าดูเนียนขึ้น

  11. พันธุ์ที่นิยมปลูก ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์สายน้ำผึ้ง

  12. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ 1. พันธุ์พื้นเมือง เป็นพันธุ์ที่มีการปลูกกันมานาน มีลักษณะดีคือต้นมีความแข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี พันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นและผลที่ไม่ค่อยแน่นอน การออกดอกและติดผลช้ากว่าพันธุ์อื่นๆ โดยทั่วไปลักษณะผลค่อนข้างเล็กและรูปร่างค่อนข้างกลมเนื้อบางช่องว่างในผลกว้าง ผลเป็นเหลี่ยมเห็นได้ชัดเจน ผลดิบมีเนื้อค่อนข้างเหนียว เมื่อผลสุกเนื้อจะออกสีเหลืองและค่อนข้างเละ จึงไม่นิยมบริโภคผลสุก มักนิยมใช้ประโยชน์จากผลดิบมากกว่า

  13. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 2. พันธุ์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความ ต้องการของตลาดยุโรปมีเปอร์เซ็นต์ความหวานประมาณ 12-14 องศาบริกส์ น้ำหนักผล 350 กรัม พันธุ์นี้ลักษณะใบมี 7 แฉกใหญ่ ใบก้วาง 50-80 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียว ปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร ระยะเวลาปลูกประมาณ 8 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้ให้ผลผลิต 30-35 กิโลกรัมต่อต้นในระยะ 18 เดือน และค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง (Ring Spot Virus)

  14. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 3. พันธุ์ท่าพระ 50 เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการใช้มะละกอพันธุ์แขกดำเป็นต้น แม่พันธุ์แล้วทำการผสมกับมะละกอพันธุ์ฟลอริดา ทอเลอแรนท์ (Florida Tolerant) ลักษณะเป็นมะละกอต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1.30 เมตร ลำ ต้นแข็งแรง ใบมีสีเขียวเข้ม มีความทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวนได้ดี (Papaya Ringspot Virus ; PRV) มีการเจริญเติบโตไดัดีแม้จะปลูกในพื้นที่ซึ่งมีการ ระบาดของโรคอย่างรุนแรงก็ตาม เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอและให้ผล ผลิตค่อนข้างเร็วโดยให้ผลผลิตได้เพียง 3 เดือนหลังจากการย้ายปลูก โดยผล แรกมีการสุกในระยะเวลา 6-7 เดือน ผลมีขนาดปานกลางและมีลักษณะยาว ตรง น้ำหนักเฉลี่ย ประมาณ 1.5 กิโลกรัม เมื่อผลดิบมีสีเขียวเข้มและผิวผลไม่ เรียบแต่เนื้อกรอบเหมาะสำหรับนำมาทำส้มตำเมื่อสุกเนื้อจะมีเปลี่ยนเป็นสี เหลืองส้มและมีรสชาติหวามหอมน่ารับประทาน

  15. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 4. พันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย แต่เมื่อโตแล้วจุดประอาจหายไปหรือยังอยู่ ก้านใบยาวมีสีน้ำตาล สีม่วงเข้ม หรือ สีเขียวอ่อน พวกที่มีการใบสีเขียวอ่อนหรือสีเขียว ที่บริเวณลำต้นจะมีจุดสีม่วงปรากฏอยู่ การออกดอกและติดผลค่อนข้างเร็วพันธุ์นี้มีดอกตัวผู้มาก (ประมาณ 80%) และมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศเมียน้อย (ประมาณ 20%) ผลขนาดปานกลาง ผลมีส่วนหัวเล็กและเรียวไปสู่ส่วนท้ายซึ่งใหญ่ (บริเวณปลายผลโปร่งออก) ผิงผลเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อแน่น แข็งหนา และกรอบ ผลมีช่องว่างระหว่างพูชัดเจน เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมชมพู มีรสชาติหวาน เมล็ดมีขนาดใหญ่มีเทาถึงเหลือง เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 8-9 เดือน

  16. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 5. พันธุ์แขกดำ มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ความสูงประมาณ 2-4 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะสั้นและแข็งแรง ก้านใบตั้งตรงยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบหนากว่าพันธุ์อื่นๆ มีเส้นใบ 9-11 แฉก มีการออกดอกติดผลเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ส่วนหัวและปลายผลมีขนาดเท่ากัน ผลยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ผลในขณะที่ยังดิบเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนา เนื้อหนาประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลสุกมีสีส้มอมแดง เนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างภายในผลแคบ มีเปอร์เซ็นต์ความหวามประมาณ 9-13 องศาบริกซ์ น้ำหนักผลประมาณ 0.60-1.70 กิโลกรัม เหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ

  17. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 6. พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ แขกดำ มีการปลูกที่แถบอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรี เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป ลักษณะเตี้ย ใบสีเขียวเข้ม ผลมีขนาดปานกลาง มีลักษณะ กลมยาว น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัมต่อผล เมื่อผลสุก เนื้อมีสีเหลืองเข้ม รสหวาน เปอร์เซ็นต์น้ำตาลประมาณ 13.44 องศาบริกซ์ เมล็ดมีขนาดใหญ่สีดำ เหมาะสำหรับ รับประทานสุก

  18. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 7. พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า ในระยะออก ดอกก้านใบมีสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนข่าว ก้านใบล่างมีลักษณะเอน ลงสู่พื้น ใบมีขนาดกว้างแต่บาง ที่ลำต้นมีลักษณะข้อยาว ผลมีส่วน หัวเรียวไปสู่ส่วนท้ายที่ใหญ่ ส่วนหัวและปลายผลมีลักษณะแหลม มีความยาวประมาณ 29 เซนติเมตร แต่อาจถึง 50 เซนติเมตร ผล มีร่องระหว่างพูเป็นเหลี่ยมชัดเจน เปลือกผลมีสีเขียว เนื้อหนา ประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อมีสีส้ม รสชาติหวาน มี เมล็ดประมาณ 350 เมล็ดต่อผล เหมาะสำหรับบริโภคสุก

  19. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 8. พันธุ์จำปาดะ มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง ใบ และก้านมีสีเขียวอ่อน การออกดอกละติดผล ค่อน ข้างช้ากว่าพันธุ์โกโก้และแขกดำ ผลมีขนาดใหญ่ ลักษณะยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุก เนื้อมีสี เหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นๆ ลักษณะเนื้อ ไม่แน่น

  20. ลักษณะของมะละกอพันธุ์ต่างๆ ( ต่อ ) 9. พันธุ์โซโล (Sunrise Solo) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลุกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 12-14 เดือน ผลแรกอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1-1.5 เมตร ผลเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศ รูปร่างคล้ายพันธุ์โกโก้แต่ค่อนข้างกลมกว่าขนาดผลยาวประมาณ 15 ซ.ม. และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณผลละ 450 กรัม เนื้อมีรสชาติหวาน

  21. การเตรียมต้นกล้ามะละกอการเตรียมต้นกล้ามะละกอ การเตรียมต้นกล้าอาจใช้วิธี 2 วิธี - การเพาะเมล็ดลงถุง - การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ และการเพาะเมล็ดลงกะบะเพาะ หรือตระกล้าพลาสติกแล้วจึงย้ายปลูกลงถุง

  22. การเตรียมปลูกมะละกอ • การเตรียมแปลงปลูก • การเตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องในที่ราบลุ่ม • การปลูกมะละกอในที่ดอน

  23. การกำหนดระยะปลูก ระยะปลูก 4x3 เมตร 3x3 หรือ 2.50x3 เมตร หลังเลือกระยะปลูกเหมาะสมกับแปลงปลูก แล้วใช้เชือกขึงกำหนดระยะระหว่างต้นและ ระยะระหว่างแถว แล้วปักไม้เป็นจุดๆ เอาไว้

  24. การเตรียมหลุมปลูก หลุมปลูกส่วนใหญ่มีขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 50x50x50 เซนติเมตรขณะ ขุดหลุมให้แยกดิน หน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่งหลัง จากนั้นผสมปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ร๊อคฟอสเฟต 100 กรัม และดินหน้า แล้วกลบลงในหลุมให้ เต็ม

  25. กำหนดระยะปลูก ปักไม้ไผ่รวกยาว 1 เมตร ในหลุม เพื่อบอกตำแหน่ง ระยะปลูก

  26. การปลูก - ปลูกจากเมล็ดโดยตรง - การปลูกด้วยต้นกล้า

  27. ปลูกจากเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ โดยการคัดเลือกมะละกอที่แข็งแรง ไม่ลีบ คลุกยาฆ่าแมลง แล้วนำไปหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด หลังมะละกองอกเป็นต้นกล้าแล้ว เลี้ยงจนได้ต้นประมาณ 3 ต้น และเมื่อต้นมะละกอออกดอกแล้ว ก็จะเก็บต้นที่ให้ดอกกะเทยไว้เพียงต้นเดียว ต้นอื่นๆ ก็ตัดทิ้ง

  28. การปลูกด้วยต้นกล้า วิธีนี้จะต้องเตรียมต้นกล้าให้โตพร้อมที่จะปลูก จึงนำต้นกล้าวางลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วกรีดถุงพลาสติกที่ใส่ต้นกล้ามะละกอ จากก้นถุงขึ้นมายังปากถุงเป็น 2 แนว ตรงข้ามกันแล้วดึงถุงพลาสติกออก และกลบดินให้เต็มจนพูนเป็น โคกหลังจากนั้นปักไม้ผูกเชือกยึดต้นกันลมโยก และทำร่มเงา เสร็จแล้วรีบ รดน้ำตามทันทีให้ชุ่ม หากทิ้งไว้อาจทำให้ต้นมะละกอเฉาได้

  29. การปฏิบัติดูแลรักษามะละกอหลังปลูกการปฏิบัติดูแลรักษามะละกอหลังปลูก ในการปลูกมะละกอนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติดูแลเพื่อให้มะละกอเจริญ เติบโต ให้ผล ผลิตสูง ดังนั้น ผู้ปลูกจะต้อง รู้จักวิธีการปฏิบัติ นับ ตั้งแต่การให้น้ำการ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัด แต่งกิ่ง และการตัดแต่งผลอ่อน

  30. ศัตรูและการป้องกันกำจัดศัตรูและการป้องกันกำจัด มะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบ กวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวน ทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบ และทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรค ที่พบมาก คือ โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรก โนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไร แดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ

  31. การจัดการและการตลาด • การเก็บเกี่ยวผลผลิต • การหีบห่อและการขนส่ง • ตลาดมะละกอ

  32. การเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บผลมะละกอนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะความแก่อ่อนของผลที่จะเก็บเกี่ยวมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของมะละกอและอายุการเก็บรักษาด้วย ดังนั้น จึงต้องเก็บผลมะละกอในระยะที่เหมาะสม คือ ถ้าจะเก็บเพื่อบริโภคผลดิบ ควรให้มะละกอแก่จัด แต่อย่าให้ห่าม ถ้าจะเก็บเพื่อกินผลสุก ควรปล่อยให้ผลสุกเต็มที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดแบ่งระยะแก่ของผลมะละกอไว้ 6 ระยะ

  33. 1. ระยะแก่จัดสีเขียว ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อผลแน่น

  34. 2. ระยะเริ่มเปลี่ยนสีผล จะมีพื้นผิวสีเขียวเข้มและจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ บริเวณเนินสันทางด้านปลายผล

  35. 3. ระยะสุกหนึ่งในสี่ผล จะมีพื้นผิวสีเขียว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มชัดเจนบริเวณเนิน สันด้านปลายผล

  36. 4. ระยะสุกสองในสี่ ผิวของผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ประมาณครึ่งผล

  37. 5. ระยะสุกสามในสี่ ผิวของผลจะมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เนื้อผลนิ่ม เมื่อใช้มือกดจะยุบตัวลง

  38. 6. ระยะสุกเต็มที่ ผิวจะมีสีเหลืองเกือบเต็มผล จะมีสีเขียว ปะปน บ้างเล็กน้อย

  39. การหีบห่อและการขนส่ง ในการหีบห่อเพื่อส่งขายนั้น จะต้องระมัดระวัง อย่าให้มะละกอกระทบกระเทือนมาก และจะต้อง มีการระบายอากาศที่ดี ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่ แล้วจะบรรจุใส่เข่ง ภายในเข่งจะห่อหุ้มด้วยใบ ตองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำภายในเข่ง ให้ชุ่ม แล้วมัดให้แน่น ในขณะที่ขนส่งต้อง ระมัดระวังอย่าวางเข่งซ้อนทับกัน ถ้าจำเป็น ต้องวางซ้อนกัน ควรใช้ไม้คั่นระหว่างเข่ง home

  40. ตลาดมะละกอ การตลาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูก มะละกอ แต่ผู้ปลูกจะต้องวางแผนการตลาดตั้งแต่ ตอนปลูก จึงจะทำให้ผู้ปลูกได้ผลตอบแทนที่คุ้ม ค่า โดยผู้ปลูกจะต้องศึกษาสภาพการจำหน่าย มะละกอของตลาดก่อนปลูก ว่าตลาดมีความ ต้องการมะละกอพันธุ์ใด ผลดิบหรือผลสุก ราคา ที่จำหน่ายจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ home

  41. ปาเปนคืออะไร ? ปาเปนเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในยางมะละกอซึ่งปกติจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็น Proteolytic enzyme อยู่ 4 ชนิด คือ Papain, Chymopapain A และ B และ Papaya peptidase A โดย Chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ รองลงมา คือ Papain ซึ่งมีประมาณต่ำกว่าร้อยละ 10 และ papaya peptidase A มีปริมาณน้อยที่สุด เอนไซม์ Chymopapain มีความอยู่ตัว ทนความร้อนและทนต่อสภาพกรดได้ดี และเป็นตัวการ สำคัญที่ทำให้เนื้อมีความนุ่ม สายพันธุ์มะละกอที่สามารถผลิตน้ำยางสดได้สูงคือ สายพันธุ์ จำปาดำ และแขกดำ โดยจะพบยางมะละกอในส่วนที่เป็นใบก้าน และผลดิบ ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจ เป็นไปได้ ในการกรีดเอายางมะละกอมาใช้ประโยชน์ เพื่อการอุตสาหกรรมในอนาคต

  42. ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์และเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยปาเปนจะทำหน้าที่ละลายโปรตีนในผลิตภัณฑ์ และให้สารละลายใสไม่ขุ่นเมื่อเก็บไว้นานหรือที่อุณหภูมิต่ำ • ในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์และปลา จะทำให้เนื้อสัตว์นั้นนุ่มเปื่อยเมื่อนำมาประกอบอาหาร • . ในอุตสาหกรรมยาและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้เป็นองค์ประกอบของยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาพวกแผลติดเชื้อ เนื่องจากปาเปนมีคุณสมบัติให้เลือดแข็งตัวและยังสามารถใช้ฆ่าพยาธิในลำไส้ด้วย • ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสมปาเปนในน้ำยาแช่หนังจะทำให้หนังเรียบ และนุ่ม • ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ปาเปนฟอกไหมให้หมดเมือก • ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ

  43. แนวทางการส่งเสริม1. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพผลผลิต2. ส่งเสริมให้เกษตรกรป้องกันกำจัดโรคแมลงพาหะนำโรคใบจุดวงแหวน3. ส่งเสริมให้มีการใช้พันธุ์ต้านทานโรคใบจุดวงแหวน

  44. ปัญหาและอุปสรรค 1. มะละกอมีคุณภาพต่ำ ขนาดของผลไม่ได้มาตรฐาน2. มะละกอที่จำหน่ายมักเน่าเสียจากการขนส่งและโรคแมลง ซึ่งติดมากับผลก่อนเก็บเกี่ยว

  45. น้ำมะละกอ ส่วนผสม มะละกอสุกครึ่งลูก น้ำเชื่อมครึ่งถ้วย เกลือป่นหนึ่งส่วนสี่ช้อนชา น้ำต้มสุก 3 ถ้วย วิธีทำ 1. ปอกเปลือกมะละกอ ล้างให้หมดยาง ฝานเอาเมล็ดออก หั่นชิ้นเล็ก 2. ใส่เนื้อมะละกอ ลงในโถปั่นใส่น้ำต้ม น้ำเชื่อม เกลือ ปั่นให้ละเอียด 3. ตักน้ำแข็งใส่แก้ว เทน้ำมะละกอใส่ เสิร์ฟเย็นๆ หรือจะแช่เย็น แล้วดื่มโดยไม่ใส่น้ำแข็ง

  46. สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็น ไซม์ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร กระป๋องในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลด อาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัด

  47. คุณค่าทางอาหาร มะละกอสุกนับว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน มี วิตามินเอมาก ช่วยบำรุงสายตา และยังประกอไปด้วยน้ำตาล วิตามิน บีหนึ่งและบีสอง วิตามิน ซีเกลือแร่ต่างๆ อีกไม่น้อย เป็นต้นว่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งมีกากหรือเส้นใสอาหาร มากมะละกอดิบมีน้ำย่อย ”ปาเปน" ช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อได้ ดี นิยมใช้ทำเป็นอาหารมาก เช่น ส้มตำแกงส้ม ผัดกับไข่ก็ได้ผู้ที่ ท้องผูกเป็นประจำ รับประทานมะละกอสุกทุกวันจะทำให้การขับถ่าย สะดวก คล่องเพราะอุจจาระจะมีลักษณะอ่อนนิ่มอยู่เสมอนั้นเอง

  48. สมุนไพรช่วยระบายท้อง มะละกอ ส่วนที่ใช้ ผลสุก ขนาดและวิธีใช้ กินมะละกอสุกเป็นผลไม้ ในปริมาณมาก จะช่วยระบายท้องได้ดี

  49. มะละกอ- สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย บำรุงผิว

More Related