1 / 128

ภาษีอากร

ภาษีอากร. ภาษีอากร. ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเรียกเก็บเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ อากร หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บ ค่าภาคหลวง หมายความว่า เงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้รับอนุญาตในการทำกิจการบางประเภท ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ. 1. ภาษี. 1.1 ภาษีสรรพากร (หรือภาษีตาม ป. รัษฎากร)

nigel-west
Download Presentation

ภาษีอากร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีอากร

  2. ภาษีอากร • ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเรียกเก็บเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ • อากร หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บ • ค่าภาคหลวง หมายความว่า เงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้รับอนุญาตในการทำกิจการบางประเภท • ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ

  3. 1. ภาษี 1.1 ภาษีสรรพากร (หรือภาษีตาม ป. รัษฎากร) - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1.2 ภาษีศุลกากร 1.3 ภาษีสรรพสามิต

  4. 1.4 ภาษีส่วนท้องถิ่น - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน - ภาษีบำรุงท้องที่ - ภาษีป้าย 1.5 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 1.6 ภาษีรถประจำปี 1.7 ภาษีประจำปี 1.8 ภาษีตาม พ.ร.บ. การพนันฯ

  5. 2. อากร -อากรรังนกอีแอ่น - อากรแสตมป์ 3. ค่าภาคหลวง - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. แร่ - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้

  6. 4. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ - แสตมป์ยาสูบ ตาม ก.ม.ว่าด้วยยาสูบ - ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ ตาม ก.ม.ว่าด้วยไพ่ - ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้า ตาม ก.ม.ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน - ค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ก.ม.ว่าด้วยการส่งออกและนำเข้าสินค้า - ค่าธรรมเนียมการส่งออก ตาม ก.ม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การเกษตร - เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสีย ตาม ก.ม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง - ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นที่มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้เป็นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ

  7. โครงสร้างของภาษีอากร • 1. ผู้เสียภาษี • 2. ฐานภาษี • 3. อัตราภาษี • 4. วิธีเสียภาษี • 5. วิธีหาข้อยุติในปัญหาภาษีอากร • 6.การบังคับให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ ก.ม.ภาษีอากร

  8. ฐานภาษี • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษีได้แก่ เงินได้พึงประเมิน • ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ฐานภาษีได้แก่ สินค้าและบริการ • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฐานภาษีได้แก่ โรงเรือนและที่ดิน • ภาษีบำรุงท้องที่ ฐานภาษีได้แก่ ราคาประเมินของที่ดิน

  9. อัตราภาษี • คงที่ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • ถอนหลัง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่

  10. วิธีการเสียภาษี • โดยวิธีประเมินตนเอง • โดยวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงาน • โดยวิธีหัก ณ ที่จ่าย

  11. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • 1. บุคคลธรรมดา • 2. ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี • 3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง • 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

  12. ฐานภาษีได้แก่ เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ อัตราภาษี 1 - 100,000 ร้อยละ 5 100,001 - 500,000 ‘’ 10 500,001 - 1,000,000 ‘’ 20 1,000,001 - 4,000,000 ‘’ 30 4,000,001 - ขึ้นไป ‘’ 37

  13. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • 2. ‘’ จำกัด • 3. บริษัทจำกัด • 4. บริษัทมหาชนจำกัด

  14. ฐานภาษีได้แก่ รายได้ – ค่าใช้จ่ายที่หักได้ตาม ก.ม. = กำไรสุทธิ อัตราภาษีคงที่ร้อยละ 30 เว้นแต่ เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (SME) ซึ่งมีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท จะเสีย 1 - 1,000,000 ร้อยละ 15 1,000,001 - 3,000,000 ‘’ 25 3,000,001 - ขึ้นไป ‘’ 30

  15. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • คือ ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ และผู้นำเข้า อัตราภาษีคงที่ มี 2 อัตรา คือ 7 % สำหรับสินค้าและให้บริการทั่วไป 0 % สำหรับสินค้าส่งออก

  16. ภาษีธุรกิจเฉพาะ • ภาษีธุรกิจเฉพาะเก็บจากผู้ประกอบการค้า 8 ประเภท เท่านั้นคือ • 1. กิจการธนาคารพาณิชย์ • 2. กิจการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ • 3. บริษัทประกันชีวิต • 4. โรงรับจำนำ • 5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ • 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร • 7. การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ • 8. กิจการอื่นตามที่ พ.ร.ฎ. กำหนด

  17. ฐานภาษี คือ รายรับก่อนหักรายจ่าย อัตราภาษีมี 3 อัตรา คือ 1. กิจการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ 0.1% (แต่ได้รับยกเว้น) 2. บริษัทประกันชีวิต โรงรับจำนำ 2.5% 3. กิจการที่เหลือ 3.0%

  18. ก.ม. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต • 1. พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต • 2. พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต • 3. พ.ร.บ. สุรา • 4. พ.ร.บ. ยาสูบ • 5. พ.ร.บ. ไพ่

  19. สินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต • 1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน • 2. เครื่องดื่ม • 3. เครื่องไฟฟ้า • 4. แก้วและเครื่องแก้ว • 5. รถยนต์ • 6. เรือ • 7. ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง • 8. สินค้าอื่นๆ เช่น พรม, รถจักรยานยนต์, หินอ่อน, แบตเตอรี่ ฯลฯ • 9. สถานบริการ เช่น สนามแข่งม้า, โรงภาพยนตร์, ไนท์คลับ, คาบาเร่, ดิสโกเธค, สถานอาบอบนวด, สนามกอร์ฟ

  20. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีตาม ป.รัษฎากร ถือว่าเป็นภาษี ทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานผู้บริโภค คือเป็นภาษีที่ จัดเก็บจากการขายสินค้าและการให้บริการ • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ขายสินค้าและ ผู้ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในราชอาณาจักร รวมถึงผู้นำเข้าสินค้า แต่ผู้ประกอบการสามารถเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้

  21. ผู้ประกอบการที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนแล้ว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ หรือที่เรียกว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียน แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้

  22. ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากยอดมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ตามอัตราภาษีที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันคืออัตรา ร้อยละ 7 ซึ่งในอัตราร้อยละ 7 นี้จะมีภาษีส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยร้อยละ 10 ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท จะมีภาษีส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ 70 สตางค์

  23. การคำนวณภาษี ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะนำภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเรียกว่า ภาษีขาย แล้วลบด้วยภาษีที่ตนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บ ซึ่งเรียกว่า ภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ก็ต้องชำระภาษีเพิ่ม แต่ ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็สามารถขอคือภาษีได้ เพราะฉะนั้น การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นการเก็บภาษีจาก มูลค่าของสินค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน

  24. กิจการขนาดย่อม • ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน1,800,000บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ม.81/1) แต่หากผู้ประกอบการดังกล่าวประสงค์จะขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนก็สามารถทำได้ (ม. 81/3 (2))

  25. ฎ. 3492/49 เมื่อโจทก์เพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ ๑๔ ก.ย. ๔๑ ภาษีซื้อค่ากระแสไฟฟ้าระหว่างเดือน ม.ค. ๔๐ ถึงเดือน ส.ค. ๔๑ จึงไม่ใช่ภาษีซื้อที่โจทก์ซึ่งยังมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอาจนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตาม ม.๘๒/๓ ประกอบ ม. ๗๗/๑ (๑๘) และ ม. ๘๒/๔ วรรคสี่ แม้ว่าโจทก์จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากซื้อสินค้าหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์แล้วก็ตาม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  26. การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่มีผลแตกต่างกันคือการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่มีผลแตกต่างกันคือ - ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย (ถ้าไม่เป็น ไม่ต้องทำ) - ผู้ประกอบการจดทะเบียน สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการได้ (ถ้าไม่เป็น เรียกเก็บไม่ได้) - สามารถนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นเรียกเก็บมาหักหรือขอคืนได้ - ราคาสินค้าเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะสูงขึ้นกว่าตอนไม่จดทะเบียน

  27. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ • 1. ผู้ประกอบการ • 2. ผู้นำเข้า • 3. ผู้ที่ ก.ม. กำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ

  28. ผู้ประกอบการ มีองค์ประกอบคือ • 1. เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือ นิติบุคคล • 2. ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ • 3.ประกอบกิจการในราชอาณาจักร

  29. มาตรา ๗๗ /๑ (๘) • “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และยังหมายถึงการที่สินค้าถูกเปลี่ยนมือจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งด้วย เช่น - การแถมสินค้า - การแจกสินค้า หรือให้สินค้าเป็นรางวัล - การให้ทดลองใช้สินค้า - การนำสินค้าไปใช้

  30. มาตรา ๗๗/๑ (๑๐) • “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง การใช้บริการของตนเอง

  31. ประกอบกิจการขนส่งในประเทศประกอบกิจการขนส่งในประเทศ (ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ม. 81(1) (ณ) ) บริษัท ก. ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ (เป็นกิจการให้บริการ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  32. บริษัท ก. กรุงเทพฯ ลูกค้า เชียงใหม่ สั่งซื้อสินค้า โรงงาน กรุงเทพฯ

  33. บริษัท ก. (ประเทศไทย) ลูกค้า (Hong Kong) สั่งซื้อสินค้า โรงงาน (MALAYSIA)

  34. - ค่าสร้างเขื่อนในไทย 500 ล้านบาท บริษัท A. (ประเทศไทย) - ค่าสร้างเขื่อนในลาว 1000 ล้านบาท

  35. กรณีการให้บริการในราชอาณาจักร นอกจากจะหมายถึงการให้บริการและมีการใช้บริการในราชอาณาจักรแล้ว ก.ม. ยังกำหนดให้หมายความรวมถึง (1) บริการที่ทำในราชอาณาจักร โดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศ หรือในราชอาณาจักร (ม.77/2วรรคสอง) (2) การให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรด้วย (ม.77/2 วรรคสาม)

  36. บริษัท ก. รับจ้างออกแบบโรงงานไฟฟ้า บริษัท A สหภาพพม่า

  37. บริษัท B สวีเดน ว่าจ้างสำรวจราคาสินค้า บริษัท ข

  38. รับสมัครสอบ บริษัท C U.S.A. บริษัท ค.

  39. บริษัท ก. (ประเทศไทย) บริษัท A (Japan) ส่งเครื่องจักรไปซ่อม

  40. บริษัท ข. (ประเทศไทย) บริษัท B (U.S.A.) เช่าเครื่องจักร

  41. ว่าจ้างขายหุ้น บริษัท C ญี่ปุ่น บริษัท ค.

  42. บริษัท ก. (ประเทศไทย) จ้างเป็นนายหน้า บริษัท A (Canada)

  43. บริษัท ข. (ประเทศไทย) จ้างส่งเสริมการขาย บริษัท B. (France) และรับจองห้องพัก

  44. ผู้นำเข้า • มาตรา77/1 (11)“ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า

  45. ผู้ที่ ก.ม.กำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ม. 82/1 • ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ม. 82/1 (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ตัวแทน • ในกรณีการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ถ้าภายหลังได้มีการโอนไปให้บุคคลอื่น ม. 82/1 (2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ผู้รับโอนสินค้าหรือบริการ

  46. 3. ในกรณีสินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้นอากร(ซึ่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย) ถ้าภายหลังต้องเสียอากรขาเข้า ม. 82/1 (3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ที่มีความรับผิดตาม กม.ศุลกากรฯ และผู้รับโอนสินค้า 4. ในกรณีที่มีการควบกิจการเข้าด้วยกัน ม. 82/1 (4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ที่ควบเข้ากัน และ ผู้ประกอบการใหม่ 5. ในกรณีโอนกิจการ ม. 82/1 (5) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้โอน และ ผู้รับโอน

  47. กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ม.77/3 • มีอยู่ 2 กิจการใหญ่ ๆ คือ 1. กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2) เช่น การธนาคาร, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร 2. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/3) เช่น กิจการของ ธปท., ธ.ออมสิน, ธ.อาคารสงเคราะห์, บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม นอกจากนี้แล้ว ยังมีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย ตาม ม. 81, 81/1

  48. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม.81,81/1 • 1. การขายสินค้า(ที่ไม่ใช่การส่งออก) และการให้บริการ ตาม ม. 81(1) • 2. การนำเข้าสินค้า ตาม ม. 81(2) • 3. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินฐานภาษีกิจการขนาดย่อม (ไม่เกิน 1,800,000 บาท/ปี) ตาม ม. 81/1

  49. ฎ. 586/2540 • โจทก์ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจาก โจทก์โดยตรง โจทก์จะคิดเฉพาะราคาสินค้า แต่ถ้าลูกค้าต้องการให้โจทก์ส่ง สินค้าไปให้แก่ลูกค้า โจทก์จะคิดราคาเพิ่มขึ้น การรับขนสินค้าของโจทก์เป็น การให้บริการเป็นครั้งคราว ไม่ใช่การประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวร แม้โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ก็ถือเป็นการ ทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่ง ในราชอาณาจักร โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๑/๑ (ณ) โจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  50. ฎ. 2219/2543 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๑ (๑) (ณ) จะต้องเป็นการประกอบกิจการ ขนส่งสินค้าให้แก่บุคคลอื่นเป็นปกติธุระ กล่าวคือ เป็นการให้บริการ แก่บุคคลทั่วไป แม้โจทก์จะมีรถยนต์ของตนเองและได้รับอนุญาต ให้เป็นผู้ขนส่งน้ำมันและประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ตาม แต่กรณี ของโจทก์เป็นการรับขนส่งสินค้าซึ่งเป็นน้ำมันให้เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ น้ำมันของโจทก์เท่านั้น มิใช่รับขนส่งสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป รายรับค่าขนส่งจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

More Related