230 likes | 381 Views
ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า. Management Community Environment for Health for All. วัตถุประสงค์. กระตุ้นชุมชน ให้มีเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และ สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของตน โดย :-
E N D
ชื่อโครงการวิจัย : การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า Management Community Environment for Health for All
วัตถุประสงค์ กระตุ้นชุมชน ให้มีเข้าใจถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และ สรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของตนโดย:- • ชุมชน(รวมหน่วยงานรัฐ)ในพื้นที่รู้วิธีจัดการขยะของเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ชุมชนมีส่วนร่วมกับเทศบาลตำบลศาลายา ในการจัดการขยะ • ชุมชนรู้วิธีพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่สุขภาพ และเข้มแข็ง ของคนในชุมชน • ชุมชนสร้างคู่มือ “จัดการสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณขยะมูลฝอย และน้ำเสียในครัวเรือน”
หลักการและเหตุผล เขตเทศบาลตำบลศาลายา • พื้นที่รวม 13.5 ตารางกิโลเมตร / หรือ 8,437.5 ไร่ • พุทธมณฑล 2,500 ไร่ (30 %) • มหาวิทยาลัยมหิดล 1,239 ไร่ (15 %) • ถนนและพื้นที่ส่วนอื่นๆ 4,698. ไร่ (55 %) • ที่ตั้ง สถานศึกษา / หน่วยราชการส่วนขยาย/ พุทธสถาน/ สถานท่องเที่ยว • ประชากร เป็นประชากรแฝง (ตามทะเบียน ~ 8,974 คน)
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ • มีผู้เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงถึง 116.69 ต่อแสนประชากร(ไม่ผ่านเกณฑ์) • ขยะมูลฝอย 20-25 ตัน/วัน (ม.มหิดล ~ 4 ตัน/วัน) • เกิดแหล่งน้ำเสีย และน้ำคู-คลองเกิดเน่าเสีย • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน 1. ปัญหาความหนาแน่นของประชากรและการขยายตัวของชุมชน 2. ปัญหา ขยะ (ที่ย่อยสลายได้ ขยะทั่วไป ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และ ขยะอันตราย) 3. ปัญหาด้านน้ำ (มลภาวะทางน้ำ น้ำท่วม ขาดน้ำบริโภค) 4. ปัญหามลภาวะทางอากาศ 5. ปัญหาการจราจรติดขัด 6. ปัญหาความเสี่ยงต่อการเกิดวินาศภัย 7. ปัญหาความสวยงามของเมือง
ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ทางตรงและอ้อม 1. กองขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค และแพร่เชื้อโรคอย่างดี 2. กองขยะมูลฝอย เป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ 3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ทำให้พื้นสกปรกขาดความสวยงาม และสกัดกั้นการไหลของน้ำ 4. น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย จะส่งผลต่อระบบนิเวศของน้ำ 5. ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ
แหล่งขยะมูลฝอยชุมชน • ชุมชน : สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ ตลาดสด สถานที่ท่องเที่ยว ย่านธุรกิจการค้า ที่พักอาศัย และโรงพยาบาล ในชุมชน • การเกษตร จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และจากการเพาะปลูก • ขยะมูลฝอยอุตสาหกรรม
แหล่งกำเนิดน้ำเสีย • น้ำเสียจากชุมชน เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนในชุมชน จาก • ตลาดสด ร้านอาหาร • อาคารบ้านเรือน • สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ โรงแรม โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ • ร้านค้าพาณิชย์กรรม • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม • น้ำเสียจากการเกษตร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดขยะ-น้ำเสียปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการเกิดขยะ-น้ำเสีย - ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ - ฤดูกาล: เปิดภาคการศึกษา ฤดูกาลท่องเที่ยว ฤดูผลไม้เป็นต้น - อุปนิสัยของประชาชนในชุมชน - ความหนาแน่นของประชากรและลักษณะชุมชน - สภาวะทางเศรษฐกิจ - การบริการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย - สภาพการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ - กฎหมายข้อบังคับ - ความร่วมมือของประชาชน
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงานกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงาน • กลุ่มบุคคลและองค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ เขตเทศบาลตำบลศาลายา คือ • หมู่ที่ 3 • หมู่ที่ 4 บางส่วน • พื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 6
ระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มนักวิจัย • ชุมชน 12 ชุมชน พื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 5, หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 4 บางส่วน และ หมู่ที่ 3 • ส่วนราชการ/สถานศึกษา /องค์กรการกุศล 19 หน่วยงาน • สถานประกอบการ: ร้านอาหาร / ตลาดสด / หอพัก • นักเรียน/ นักศึกษา(อยู่ภายใต้ รร.)
การดำเนินการและรวบรวมข้อมูลการดำเนินการและรวบรวมข้อมูล 1. การประชุมนักวิจัย • เพื่อค้นหาปัญหา (ขยะ น้ำเสีย) • อบรมให้องค์ความรู้ • เลือกวิธีการแก้ปัญหา (ผลิตน้ำชีวภาพ) 2. แบบสอบถาม • แบบสอบถามชุมชน • แบบสอบถามส่วนบุคคล • แบบสอบถามผู้ประกอบการ
การดำเนินการ 1. การบรรยายและแสดงสาธิต • เชิญ กฟผ. บรรยาย ชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืนเพื่อ ศก. พอเพียง • น้ำเสีย + ลดขยะสด : ผลิตน้ำสกัดชีวภาพ 44 จุด • สร้างมูลค่าวัสดุเหลือใช้ : อบรมงาน ชีวศิลป 2 ครั้ง 2. สร้างกิจกรรมต่อเนื่อง:นักวิจัยทุกภาคส่วนร่วมกับเทศบาลจัดกิจกรรมเทน้ำสกัดชีวภาพ 8,000 ลิตร คลองน้ำไหล-คูน้ำใสเพื่อพ่อหลวง ในวโรกาสเฉลิมพระชนน์มายุครบ 80 พรรษา (23 พย. 2550) 2 พื้นที่
ผลงานการวิจัย 1. ชุมชนเรียนรู้ การจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยน้ำสกัดชีวภาพในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และบำบัดน้ำเสีย ตัดวงจรชีวิตยุงและแมลงวัน ฯ และเป็นปุ๋ย 2. แปรเศษกระดาษเป็นงานชีวศิลป์ 3. กลุ่มยุวชนกลับว้สดุเหลือใช้ 4. กลุ่มนักเรียนสาธิตการผลิตน้ำสกัดชีวภาพ
การใช้ประโยชน์ 1. งานชีวศิลป์ จากกระดาษป่นของโรงพิมพ์ 2. คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน 3. นำน้ำสกัดชีวภาพไปใช้บำบัดน้ำทิ้งในอุตสาหกรรมผลิตอาหารประเภทข้าวเกียบ
การสนับสนุน 1. เทศบาล • ถัง • กากน้ำตาล • ฯลฯ 2. กฟผ. • เอกสารชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืน • EM 50 ลิตร • กากน้ำตาล 2 ถัง (50 กก.) • ศูนย์เรียนรู้ ชีววิถี…การพัฒนาที่ยังยืน 3. ศูนย์ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
ความคืบหน้าเมื่อเทียบกับแผนงานความคืบหน้าเมื่อเทียบกับแผนงาน 1. 2. 3.
ปัญหาอุปสรรค์ 1. นักวิจัยตัวแทนบางหน่วยงาน มีความร่วมมือแต่ไม่มีภารหน้าที่ ทางสิ่งแวดล้อม 2. เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร มีผลต่อภารหน้าที่ของนักวิจัย 3. สมาชิกชุมชนส่วนหนึ่ง(ใหญ่) อาศัยชั่วคราว (ที่เช่า / ห้องเช่า) 4. ขาดทักษะในการประสานงานกับผู้บริหาร
การประเมินผลและการติดตามโครงการ • ความร่วมมือจาก ปชช. ในการจัดการขยะในครัวเรือน และหน่วยงานที่ผลิตขยะ และมีการนำผลผลิตไปใช้จัดการสิ่งแวดล้อม ในชุมชน • ขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลศาลายาลดลง • สิ่งแวดล้อมดีขึ้น น้ำเสียในคูน้ำ และในคลองลดลง ( ทดสอบค่า pH ของน้ำ) • ยุงลดน้อยลง • แมลงวันลดน้อยลง • อัตราคนไข้เลือดออกลดลง • ต้นไม้ที่ใช้ผลิตผลจากการจัดการขยะ เจริญงอกงามดี • แต่ละชุมชนอาจเกิดรายได้จากการขจัดขยะ ฯลฯ
การมีส่วนร่วม • การมีส่วนร่วม หมายถึง การปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการเป็นผู้รับผลจากการพัฒนา และให้กลายเป็นผู้กระทำในกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการเข้าสู่ภาวะทันสมัย อย่างไรก็ตามได้มีผู้ให้ความหมายคำว่า การมีส่วนร่วม ที่หลากหลาย และมีความแตกต่างกันไปตามความเข้าใจและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
ตารางที่ 1 แสดงปริมาณออกซิเจนในน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา ปี พ.ศ. 2547 - 2548
ตารางที่ 2 แสดงปริมาณออกซิเจนในน้ำในคลองจากแม่น้ำท่าจีน ในเขตเทศบาลตำบลศาลายา ปี พ.ศ. 2549 – 2550 (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2550)