220 likes | 493 Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน. การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน. 1.งาน ด้านเอกสาร รายงาน หรือ สำนักงาน
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3การเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานการเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน 1.งานด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17 – 19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตาเนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
2. เป็นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมหราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟแวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
3.เป็นการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูน แอนิเมชัน (animation) ตัดต่อวีดีทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณและแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดีควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนานถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มทำงานใหม่
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามการใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามการใช้งาน คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามการใช้งาน - งานด้านเอกสาร รายงาน หรือสำนักงาน - งานด้านกราฟิก ออกแบบสิ่งพิมพ์ และสื่อมัลติมีเดีย - เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และบันเทิงเป็นหลัก
การรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนานที่สุดและมีระยะเวลารับประกันตกต่างจากชนิดอื่นการรับประกันอุปกรณ์ที่ยาวนานที่สุดและมีระยะเวลารับประกันตกต่างจากชนิดอื่น
การรับประกันสินค้า • ระยะเวลาในการรับประกัน • สติ๊กเกอร์รับประกัน • สติ๊กเกอร์รับประกันที่กำหนดเวลาเริ่มต้นในการรับประกัน • สติ๊กเกอร์รับประกันที่กำหนดเวลาสิ้นสุดในการรับประกัน
รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์ 1.ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk)บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง 2.เมนบอร์ด (Mainboard)ส่วนใหญ่จะรับประกัน1 ปีแต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้วเสียบการ์ดต่างลงไปอย่างแรงทำให้หักหรือสายวงจรขาด 3. ซีพียู (CPU)บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี 4.หน่วยความจำ (Ram)หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี 5.ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
6.ซีดีรอม (CD-ROM)รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ 7.การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card)รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า 8.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1). การเลือกซื้อเมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือไมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีบอร์ดส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดแสดงดังรูป
2).การเลือกซื้อแรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างการระบุคุณลักษณะของแรมดังรูป
3).การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป) - แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้ เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ - แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
4).การเลือกซื้อหน่วยประมวลผลกลาง ควรเลือกความเร็วของซีพียูที่เหมาะสมกับงานต่างๆ ดังนี้
5.การเลือกซื้อจอภาพ 1. ขนาดหน้าจอ ส่วนนี้เป็นส่วนแรกที่คุณจะต้องคำนึงถึงก่อนนะครับว่า คุณต้องการจอคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าไหร่? เพราะขนาดหน้าจอที่ใหญ่ก็ยิ่งจะช่วยให้มีพื้นที่ในการใช้งานบนหน้าจอมากขึ้น หรือถ้าคุณต้องการนำไปเพื่อเล่นเกมส์หรือชมภาพยนตร์ผ่านคอมพิวเตอร์ ขนาดหน้าจอที่ใหญ่ก็จะยิ่งทำให้ได้อรรถรสในการรับชมมากขนาดหน้าจอที่มีอยู่ในปัจจุบันก็คือ 15 นิ้ว, 17 นิ้ว, 18.5 นิ้ว, 19 นิ้ว, 20-27 นิ้ว 2. ความละเอียดหน้าจอ (Resolution)โดยยิ่งความละเอียดมากภาพยิ่งคมชัด แต่ความละเอียดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการ์ดจอที่ใช้งานด้วยนะครับ ซึ่งถ้าเป็น Notebook ขนาดหน้าจอปกติ (14 นิ้ว) จะมีความละเอียดอยู่ที่ 1366 x 768 ส่วนหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบ Wide Screen ความละเอียดที่ใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1440 x 900 ครับ ความละเอียดสูงๆ จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเมื่อใช้เล่นเกมส์ที่สามารถปรับความละเอียดสูงๆ ได้ดี
3. อัตราส่วนของจอ โดยปัจจุบันอัตราส่วนของจอภาพในปัจจุบันจะมี 16:9 16:10 และ 4:3 ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้เป็นอัตราส่วนของจอในแบบความยาวต่อความสูง โดยแบบ16:9 และ 16:10 เป็นจอแบบ Wide Screen ซึ่งเป็นหน้าจอเน้นความกว้าง เหมาะกับการทำงานที่ใช้พื้นที่ด้านข้างมาก เช่นโปรแกรมตกแต่งภาพ หรือไว้สำหรับชมภาพยนตร์ที่เป็นขนาดเหมือนในโรงหนัง คือมีความกว้างมากส่วน 4:3 เป็นแบบหน้าจอโทรทัศน์ปกติ
การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่อง ทำให้เกิดการลัดวงจร หรือมีฝุ่นเข้าไปในตัวเครื่อง ฝุ่นนี้จะเป็นตัวเก็บความชื้นทำให้วงจรคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้ • ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น • ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากอาจโดนแสงแดดหรือฝนสาดเข้ามาได้ • ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความจริง
ถ้าหากที่บานไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส (Uninterruptible power supply : UPS) • ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง การทำงานในโหมดนี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์และซีพียูทำงานน้อยลงเมื่อไม่มีการใช้เครื่องในระยะเวลาที่กำหนด • ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ • ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตซ์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เองจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน
อ้างอิง • http://www.manacomputers.com/how-to-buy-lcd-led-monitors/ • http://www.pantipplaza.com/page.php?aid=530&tmid=8&m=&bu=&lan • https://sites.google.com/site/kruyutsbw/3-6-khx-naeana-kar-dulae-raksa • http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/it/computer.html
จัดทำโดย 1.นายฐิติพงษ์สวภาพมงคล ม.6/6 เลขที่ 4 2.นายพงศธร สุขสุพรต ม.6/6 เลขที่17 3.นางสาวภัทรพร งามภักดี ม.6/6 เลขที่28 4.นางสาววรดา ถ้วยพุทธมนต์ ม.6/6 เลขที่29 5.นางสาววิไลวรรณ อยู่สราญ ม.6/6เลขที่30