1 / 42

อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ( Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment ). อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

nellie
Download Presentation

อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี(Convention Against Torture and Other Cruel Inhumanor Degrading Treatment or Punishment) อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 • ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการทรมาน • การทรมานถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ และถือเป็นความผิดที่สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ • การกระทำที่เป็นการทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของประเทศไทย ซึ่งผู้กระทำจะมีความผิดอาญา ความรับผิดทางแพ่ง และถูกลงโทษทางวินัย

  3. สาระสำคัญของอนุสัญญาฯสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ 1. ความหมายของการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นฯ 2. ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้อง 3. ข้อห้ามและพันธกรณีอื่นๆ 4. กรณีศึกษาภายในประเทศและภายนอกประเทศ

  4. 1. ความหมายของการ “ทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดใด บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”

  5. องค์ประกอบของการทรมานองค์ประกอบของการทรมาน • การกระทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส • กระทำโดยเจตนา โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด • กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

  6. 1. “อย่างสาหัส”

  7. 2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.1)เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม เช่น การซ้อมเพื่อให้รับสารภาพ ซัดทอด หรือข้อมูลอันอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการขยายผลการสอบสวน เป็นต้น 2.2)เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษบุคคลหรือบุคคลที่สามสำหรับการกระทำหรือการถูกสงสัยว่าได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การลงโทษผู้ต้องขังด้วยการเฆี่ยนตี ขังห้องมืด เนื่องด้วยการทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง

  8. 2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.3)เพื่อความมุ่งประสงค์ข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม 2.4)เนื่องมาจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม หรือบนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ เช่นการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ • นอกจากมูลเหตุชักจูงใจที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ประการหากเป็นการกระทำโดยมูลเหตุชักจูงใจอื่นๆในลักษณะเดียวกันก็อาจเป็นการทรมานได้

  9. เงื่อนไขในข้อสองนี้มีเพื่อจำกัดขอบเขตของการทรมานให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เพื่อไม่ให้การกระทำของหน่วยงานรัฐที่เป็นการสร้างอันตราย หรือความเจ็บปวดแก่ประชาชนมีผลเป็นการทรมานทั้งหมด ดังนั้นกรณีที่เรือนจำต่างๆ มีสภาพต่ำกว่ามาตรฐานสากลอาจไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน หากรัฐไม่ได้กระทำไปเพื่อต้องการลงโทษผู้ต้องหาให้อยู่ในสภาพดังกล่าวแต่เป็นไปเพราะข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ หรือบุคลากร

  10. องค์ประกอบของการทรมานองค์ประกอบของการทรมาน 3. กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

  11. ตัวอย่างของการทรมาน • การบังคับให้ผู้ต้องขังเปลือยกาย กระทำการ หรือแสดงลักษณะในทางเพศ

  12. ตัวอย่างของการทรมาน

  13. ตัวอย่างของการทรมาน • การตัดอวัยวะสำคัญ ถอนฟัน ดึงเล็บ

  14. ตัวอย่างของการทรมาน • การใช้ไฟฟ้า หรือบุหรี่จี้ที่อวัยวะเพศ หรืออวัยวะอื่นๆ

  15. ตัวอย่างของการทรมาน

  16. ตัวอย่างของการทรมาน

  17. ตัวอย่างของการทรมาน • การจับผู้ต้องขังมัดไว้กับกระดาน คลุมหน้าผู้ต้องขังไว้ด้วยผ้า และเทน้ำลงไปเพื่อให้ผู้ต้องขังสำลัก (Waterboarding)

  18. ตัวอย่างของการทรมาน

  19. ความหมายของการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี • การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CID) เป็นข้อห้ามเช่นเดียวกับการทรมาน • เพียงแต่ระดับของการกระทำมีความรุนแรงน้อยกว่าการทรมาน • อนุสัญญาฯไม่ได้นิยามศัพท์ CID ไว้ และในการตีความตามกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังไม่มีคำจำกัดความโดยเฉพาะ • แต่ตามกฎหมายไทยนั้นไม่ได้มีการแยกระหว่างการกระทำทั้งสองประเภท ระวางโทษจึงไม่มีความแตกต่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานความผิด

  20. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 1)คณะกรรมการต่อต้านการทรมานเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยูโกสลาเวียนิ่งเฉย และไม่กระทำการใดที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่ชาว Romani ถูกชาวมอนเตรเนโกร ทำร้ายกว่า 200 คน เนื่องจากโกรธแค้นที่ชายชาว Romani คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงชาวมอนเตรเนโกร เป็นการกระทำที่เป็นการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

  21. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 2)ผู้พิพากษาระดับสูงประจำศาลอุทธรณ์กลางแห่งสหรัฐอเมริกา ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอัยการสูงสุด ได้ทำบันทึกข้อความในนามของคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งความเห็นไปยังนาย Alberto Gonzales ที่ปรึกษาประธานาธิบดี George W. Bush ว่าการกระทำที่จะถึงขั้นเป็นการทรมานนั้นต้องเป็นการทำอันตรายทางกายภายถึงขั้นที่อาจทำให้ตาย หรือทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลว หรือกระทำต่อจิตใจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทอย่างยาวนาน ซึ่งต่อมารัฐบาลของประธานาธิบดี Barack Obama ได้ยกเลิกความเห็นดังกล่าว

  22. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 3)ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการใช้เทคนิคการสอบสวนห้าประการอันประกอบด้วย • Wall-Standing - การบังคับให้ผู้ต้องหายืนข้างกำแพงแยกมือขึ้นเหนือศีรษะ กางขาออก และยืนด้วยนิ้วเท้าเป็นระยะเวลานาน • Hooding - การให้ผู้ต้องหาแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากไว้บนศีรษะตลอดเวลา • Subjection to Noise - การให้ผู้ต้องหาอยู่ในห้องที่มีเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน • Deprivation of Sleep - การบังคับให้อดนอน • Deprivation of Food and Drink - การบังคับให้อดน้ำและอาหาร

  23. ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID • เป็นเพียงการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม แต่ไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน โดยอธิบายว่า “ทรมาน” นั้นต้องเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอันเป็นการสร้างตราบาปโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง และโหดร้ายอย่างมาก ดังนั้นแม้เทคนิคการสอบสวนทั้งห้าประการนั้นจะกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ ชื่อ หรือข้อมูลใดๆ และถึงแม้จะกระทำอย่างเป็นระบบแต่การกระทำดังกล่าวหาได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ถึงระดับความรุนแรง และโหดร้ายที่จะเป็นการทรมานแต่อย่างใด

  24. การยกเว้นความรับผิด 1.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 1. การลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการทรมาน 2.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.2 ห้ามยกอ้างพฤติการณ์พิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศมาเป็นเหตุแห่งการทรมาน 3.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.3 คำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือทางการไม่สามารถยกขึ้นอ้างได้

  25. 2. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย • ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 4. กำหนดให้รัฐภาคีต้องรับประกันว่าการทำทรมานทั้งปวงเป็นความผิดอาญา และกำหนดระวางโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำเหล่านั้น • ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย “เฉพาะ” เอาผิดกับการทรมาน แต่กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกำลังดำเนินการอยู่ • ประเทศศรีลังกากำหนดระวางโทษสำหรับการทำทรมานไว้ที่ จำคุก 7-10 ปีซึ่งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานฯ ให้ความเห็นว่าเป็นโทษที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์กำหนดระวางโทษลดหลั่นตามความรุนแรงของการกระทำและผล โดยระวางโทษไว้สูงสุดที่โทษจำคุก 40 ปี

  26. 3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ 1) รัฐต้องไม่ผลักดันบุคคลออกไปยังรัฐอื่นที่อาจทำให้บุคคลนั้นตกอยู่ภายใต้การทรมาน (Non-refoulement) ข้อบทที่ 3 ของอนุสัญญาได้กำหนดให้ประเทศไทย “ต้องไม่ขับไล่ ส่งกลับ (ผลักดันกลับออกไป) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน”

  27. ดังนั้นตามพันธกรณีในข้อดังกล่าวประเทศไทยจึงพึงต้องตรวจสอบผลของการขับไล่ (expel) ส่งกลับ (return) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง (extradite) ว่าจะเป็นผลให้บุคคลที่ถูกกระทำดังกล่าวได้รับการทรมานหรือไม่ • การตรวจสอบก่อนส่งตัวดังกล่าวนั้นอย่างน้อยจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของรัฐ รวมถึงปัจจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐที่จะส่งตัวกลับ ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันควรเชื่อเช่นนั้น ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องไม่ส่งตัวบุคคลกลับ หรือผลักดันออกไป

  28. ซึ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่ารัฐภาคีมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานขึ้น และรัฐภาคีจะต้องไม่มีส่วนร่วม หรือเกี่ยวข้องในการทำทรมานไม่ว่าจะเป็นในฐานะ หรือส่วนใดก็ตาม

  29. แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะได้รับการจับตามองจากนานาชาติ เรื่องการผลักดันคนกลับออกไปอย่างเช่นในกรณี เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยผลักดันกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง ซึ่งลี้ภัยมาจากรัฐกะเหรี่ยง และได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบแม่ลาหลวง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ข้ามแม่น้ำสาละวินกลับไป หรือปัญหาการผลักดันผู้แสวงหาที่พักพิง หรือผู้อพยพชาวโรฮิงยาออกสู่น่านน้ำสากล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 รวมทั้งปัญหาการผลักดันผู้อพยพชาวม้งลาวกลับลาวเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552

  30. แต่เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พนักงานอัยการ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ Non-refoulement ที่จะไม่ส่งคนหรือผลักดันคนชาติอื่นออกนอกประเทศ หากมีข้อมูลที่เชื่อได้ว่าบุคคลที่จะผลักดันออกไปนั้นอาจได้รับอันตราย หรือถูกทรมาน

  31. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานของไทยจะสอบถามถึงความยินยอมของผู้ที่จะถูกส่งออกไป ถ้าผู้นั้นไม่ยินยอมที่จะกลับไปด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย โดยหลักเจ้าพนักงานไทยก็จะไม่ส่งออกไป เพราะตระหนักดีว่าหลักการดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยพึงเคารพ นอกจากนี้การส่งกลับคนออกนอกประเทศนั้น นอกจากนี้เจ้าพนักงานไทยจะตรวจสอบถึงช่องทางที่ส่งบุคคลออกไปว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งการดำเนินงานของเจ้าพนักงานไทยตามมาตรการดังกล่าวเป็นที่ชื่นชมจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมทั้ง UNHCR ด้วย

  32. 3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ (ต่อ) 2) ในเรื่องเขตอำนาจศาลนั้นอนุสัญญาฯกำหนดว่าศาลภายใน ประเทศต้องมีเขตอำนาจดำเนินคดีอาญาทรมานในกรณีต่อไปนี้ 2.1 เมื่อความผิดเหล่านั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตใดที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน หรือบนเรือหรืออากาศยาน ที่จดทะเบียนในรัฐนั้น 2.2 เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนชาติของรัฐนั้น 2.3 เมื่อผู้เสียหายเป็นคนชาติของรัฐนั้น หากรัฐนั้นเห็นเป็นการสมควร • ยังมีปัญหาไม่สามารถทำได้ครบถ้วน เพราะกรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 มีเงื่อนไขกำหนด

  33. 3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ(ต่อ) 3) ต้องจัดการอบรมบุคลากรที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับข้อห้ามการทรมาน 4) ทบทวนกฎเกณฑ์ คำสั่ง วิธีการ และแนวทางในการไต่สวน การควบคุมตัว ตลอดจนการจับและการกักขังเพื่อป้องกันการทรมาน 5) ผู้เสียหายต้องได้รับการเยียวยาอย่างเพียงพอและเป็นธรรม 6)หลักฐานที่ได้จากการทรมานไม่สามารถใช้ในการดำเนินคดีได้

  34. กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศกรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ ไม่มีกรณีการถูกทรมานของประเทศไทยที่มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐและมีกรณีให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มีกรณีที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงดังนี้ • กรณีการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม เช่น ใน 3 จังหวัด ภาคใต้ มีการคุมขังชาวมุสลิมกับสุนัขซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของชาวมุสลิมหรือกักขังในที่คุมขังที่มีสภาพแออัด ตีตรวน • กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่อุ้มหายไป เมื่อญาติไปถาม เจ้าหน้าที่กลับบอกว่าปล่อยตัวไปแล้ว ต่อมาพบศพผู้ตาย มีร่องรอยถูกทำร้าย หลังสูญหายไป 2 – 3 วัน

  35. กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศกรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ • มีกรณีร้องเรียนว่ามีการทรมาน เมื่อสำนวนถูกส่งไปที่ DSI แล้วถูกส่งต่อไปที่ ป.ป.ช. แต่ ป.ป.ช.กลับพิจารณาว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ผู้ร้องจึงถูกดำเนินคดีกลับฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งเป็นปัญหาอีกมุมหนึ่งของผู้เสียหาย • กรณีเกิดในประเทศเยอรมัน ที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ทรมานผู้ต้องหาคนหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของตัวประกันเพื่อจะช่วยเหลือตัวประกันวัย 11 ขวบ ให้รอดพ้นจากความตาย เมื่อผู้ต้องหาฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลตัดสินว่าการที่ตำรวจไปข่มขู่ว่าจะทรมานผู้ต้องหาอย่างนั้นเป็นการกระทำที่เรียกว่า CID เพราะฉะนั้นประเทศเยอรมันต้องถูกปรับเงิน 3,000 ยูโร

  36. Q & A

More Related