1 / 19

Privilege Society

N. S. MD SAYS. NEWS UPDATE. Privilege Society. INSIDE CUSTOMS. Global News. All about Logistics. SNP Joke. ข่าวสาร SNP ฉบับที่ 134 WWW.SNP.CO.TH. S. S. S. “เงินชดเชย”. N. N. N.

neila
Download Presentation

Privilege Society

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S MD SAYS NEWS UPDATE Privilege Society INSIDE CUSTOMS Global News All about Logistics SNP Joke ข่าวสาร SNP ฉบับที่ 134 WWW.SNP.CO.TH

  2. S S S “เงินชดเชย” N N N เงินชดเชย ถือเป็นเงินอุดหนุนประเภทหนึ่งที่รัฐบาลของประเทศไทยมอบให้แก่ผู้ส่งออกในรูปของบัตรภาษีหรือคูปองภาษี ผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรภาษีหรือคูปองภาษี สามารถนำไปจ่ายคืนให้กระทรวงการคลังเมื่อผู้ประกอบการมีภาระภาษีต้องจ่าย เช่นอากรขาเข้า ภาษีการค้าต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษีสรรพสามิต หลักการของเงินชดเชย เกิดจากแนวคิดที่ว่า สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อการส่งออก ต้องผ่านกระบวนการการผลิตหลายขั้นตอนและมีภาษีหลายซับหลายซ้อนซ่อนอยู่มากมาย ไม่ว่าจะภาษีที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ การใช้สาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือแม้แต่บุคคลที่อยู่ในกระบวนการผลิตที่มีภาษีต้องชำระ ภาษีหลายซับหลายซ้อนเหล่านี้เป็นภาษีที่มีเจตนาเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่ทันทีที่สินค้าเหล่านั้นส่งออก ภาษีที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็ฝังตัวอยู่ในสินค้าส่งออกทันทีเช่นกัน การฝังตัวของภาษีเหล่านี้ย่อมทำให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้น จนทำให้ผู้ส่งออกของไทยอาจสู้ราคากับผู้ส่งออกประเทศอื่นไม่ได้ แนวคิดการคืนภาษีในรูปแบบบัตรภาษี หรือคูปองภาษี หรือเงินชดเชยจึงเกิดขึ้นจากหลักการข้อนี้ อย่างน้อยก็เพื่อปลดเปลื้องภาระภาษีให้แก่ผู้ส่งออกในภายหลัง ไปบ้าง P P P ต่อหน้า 2

  3. ก่อนปี พ.ศ. 2524 การขอเงินชดเชยภาษีจะคำนวณจากน้ำหนักสินค้า (Net Weight) โดยกระทรวงการคลังคำนวณและประกาศไว้ล่วงหน้าซึ่งมีไม่กี่รายการ หากสินค้าใดไม่มีประกาศไว้แต่ผู้ส่งออกต้องการได้รับเงินชดเชย ผู้ส่งออกต้องไปยื่นสูตรการผลิตเพื่อพิสูจน์กับกระทรวงการคลัง เพื่อพิสูจน์ว่าสินค้าที่ส่งออกมีวัตถุดิบอะไรบ้าง มีกระบวนการการผลิตอย่างไร และมีภาษีซ้ำซ้อนอย่างไร การขอเงินชดเชยในสมัยนั้นจึงยุ่งยาก เพราะกว่าสูตรการผลิตแต่ละสูตรจะได้รับการอนุมัติและส่งเรื่องไปให้กรมศุลกากรจ่ายเงินชดเชย ก็ต้องใช้เวลาไปหลายเดือนหรือเป็นปีทีเดียวต่อมา กระทรวงการคลังตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยการให้เงินชดเชยเป็นอัตราร้อยละจากมูลค่าสินค้า F.O.B. แทน มีการประกาศเป็นอัตราตามพิกัดสำหรับสินค้าเป็นพัน ๆ รายการล่วงหน้า โดยจัดทำเป็นพระราชบัญญัติศุลกากรฉบับปี พ.ศ. 2524 ที่มีความชัดเจน ลดขั้นตอน และง่ายต่อผู้ส่งออกในการขอเงินชดเชยโดยไม่ต้องมายื่นสูตรการผลิตเพื่อพิสูจน์ หลักการและเหตุผลเหล่านี้ ตัวแทนออกของที่มีความรู้ต่างรู้ดี แต่ประเด็นที่ผมนำมากล่าวในที่นี้คือ หลายปีที่ผ่านมา ผมพบผู้ส่งออกจำนวนมาก ไม่ได้ใช้สิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีใด ๆ เลยขณะส่งออก แม้แต่การยื่นขอเงินชดเชยดังกล่าว หลายกรณีผมสามารถย้อนหลังขอคืนให้ได้แต่อีกหลายกรณีก็ทำไม่ได้เมื่อผมเดินลึกลงไปถึงสาเหตุ ผมก็พบว่า ตัวแทนออกของของผู้ส่งออกเหล่านี้รู้เรื่องนี้ดี แต่เพราะรู้ดี ก็เลยคิดว่าผู้ส่งออกรู้เรื่องเงินชดเชยดีเช่นกัน เมื่อผู้ส่งออกแจ้งว่า ใบขนสินค้าขาออกฉบับนี้ไม่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีใด ๆ ตัวแทนออกของก็ถือว่ายุติตามนั้น และดำเนินการไปโดยไม่ใช้สิทธิ์ แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือการส่งออกใด ๆ ของประเทศไทยในปัจจุบัน สินค้าส่วนใหญ่จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกสามารถเลือกใช้สิทธิ์ใดสิทธิ์หนึ่งก็ได้ แต่ถ้าไม่เลือกหรือเลือกไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาเหตุผลดูว่า “ทำไม” หรือถ้าเลือกแล้วก็ต้องมีผู้รู้นำมาเปรียบเทียบดูว่า สิทธิ์อื่นให้ประโยชน์ดีกว่าหรือไม่ผมจึงหวังว่า ท่านผู้ประกอบการจะไม่พลาดเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ปัจจุบันมีมากเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นการคืนอากร เงินชดเชย การส่งเสริมการลงทุน ข้อตกลงการค้าเสรี หรืออื่น ๆ อีกมาก สิทธิชัย ชวรางกูร S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. NEWS UPDATE S ทองอนาคต กับ อนาคตตลาดทองไทย ในยามที่ราคาทองคำ ยังคงผันผวนอยู่สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์แรกที่ TFEX เริ่มเปิดซื้อขาย GOLD FUTURES ขนาด 10 บาท ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดและถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นตัวชูโรง สร้างกระแส ทำให้ตลาดซื้อขายอนุพันธ์บ้านเรา ได้แจ้งเกิดเต็มๆเสียที ท่ามกลางความกังวลของเหล่าผู้ค้าทองคำทั้งรายย่อย รายใหญ่ ถึงผลกระทบที่จะตามมา ว่าอาจทำให้ตลาดทองคำบ้านเราสูญพันธ์ ผลกระทบจริงๆ คงมีแน่ แต่ภาพรวมตลาด น่าจะเป็นเชิงบวกสำหรับผู้ค้ามากกว่า ทั้งในส่วนของผู้ค้าทองคำจริง และ GOLD FUTURES ที่เรียกว่าเป็นทองอนาคต  ทองคำจริงๆ สัมผัสได้ยังไง ก็เป็นที่อุ่นใจของผู้ครองครองมากกว่า จึงเป็นตลาดสำหรับผู้มีทุนจริงๆ ขณะที่ทองอนาคต เป็นตลาดสำหรับการเก็งกำไร  สำหรับผู้ที่มีทุนน้อยกว่า ให้วาดฝันว่าได้ครอบครองทองคำปริมาณขนาดนี้  ด้วยการจ่ายเงินก้อนเพียงน้อยนิดที่มี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าห่วงมาก เดิมที TFEX ออก GOLD FUTURES ขนาด 50 บาท ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 5 หมื่นกว่าบาท เมื่อปรับลดขนาดลงมาเป็น 10 บาท ก็เหลือเงินลงทุนเริ่มต้นแค่หลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น ข้อมูลล่าสุดที่ทราบ GOLDFUTURES 10 บาท ใช้เงินประกันขั้นต้น (Initial Margin) 11,400  บาท เทียบกับการซื้อทองคำ 10 บาท ที่แถวราคาปัจจุบันราว 180,000 บาท แล้ว เท่ากับใครมีเงินที่เคยซื้อทองคำแท่ง 10 บาท วันนี้จะซื้อ GOLD FUTURES ได้ถึง 150 บาทเลยทีเดียว  ผมว่าเหมือนกลยุทธการตลาดของเครื่องไฟฟ้าสมัยนี้ ที่ลดราคาลงมาถึงระดับที่คนส่วนใหญ่สามารถเอื้อมถึง คว้ามาใช้ได้ อย่างที่เห็น เดี๋ยวนี้ แทบจะทุกครัวเรือน ต่างมี คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ อย่างน้อยก็บ้าน 2 - 3 เครื่องเข้าไปแล้ว การเปิดตัว GOLD FUTURES ขนาด 10 บาท ผลกระทบช่วงแรกต่อผู้ค้าทองคำแท่งย่อมมีบ้าง เพราะจะมีเม็ดเงินบางส่วน ที่ไม่สามารถเอื้อมถึงขนาด 50 บาท กระโดดเข้าไปเล่นในตลาดใหม่ ซึ่งมองว่า น่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่า แต่นั่น ไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับฝั่งผู้บริโภค N P ต่อหน้า 2

  5. เหรียญมี 2 ด้าน ไม่มีการลงทุนใดๆไม่มีความเสี่ยง ผลตอบแทนที่มากขึ้น 10 เท่า ย่อมต้องนำมาซึ่งความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 10 เท่าด้วย หากเราไม่สร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุนรายย่อยเหล่านี้ทราบ ตลาดอาจจะโต พร้อมๆไปกับภาคครัวเรือนที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น จากการขยายฐานลูกค้า ในยุคทุนนิยมเต็มรูปแบบ ที่ประเทศไทยรับเอาวัฒนธรรมการเงินใหม่มาใช้แบบนี้ อนุพันธ์ทางการเงิน เพิ่มอำนาจของเงินที่มีอยู่ในมือผู้ถือเป็นสิบหรืออาจจะเป็นร้อยเท่า เพราะสามารถใช้เงินจำนวนน้อยๆ ซื้อของในปริมาณมากๆได้ เหมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาตลาด ดึงสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน แล้วสุดท้าย ก็จะพังลงอย่างรวดเร็วก่อนวัฏจักรที่ควรจะเป็นเช่นกัน  GOLD FUTURES เป็นอนุพันธ์ทางการเงิน เปิดตัวครั้งแรกด้วยจำนวน 50 บาท ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ถูกจำกัดวงอยู่ในกรอบแคบๆ เมื่อขยับลงมาเหลือ 10 บาท การขยายวงของผู้มีส่วนร่วมย่อมมากขึ้น และแน่นอนที่สุด ผู้ที่ยังอ่อนประสบการณ์จะเข้ามาในตลาดมากขึ้นด้วย ใครที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนี้ ขอให้ศึกษาทำความเข้าใจก่อน ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เพราะลำพังฟัง TFEX เจ้าของผลิตภัณฑ์พูด ก็คงพูดแต่ข้อดี ไม่มีข้อเสียแน่ เจ้าของร้านทองกลัวการมาของมัน เพราะเกรงจะเสียตลาด แต่คนที่น่าห่วงดูจะเป็นคนที่ไม่กลัวการมาของมันมากกว่า ไทยรัฐออนไลน์ S N P ต่อหน้า 3

  6. เร่งภารตะสรุปผลเปิดตลาดบริการและลงทุน หวังใช้ประโยชน์ต้นปี 54 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 27 หารือข้อสรุปการเปิดตลาดบริการและการลงทุน พร้อมผลักดันการจัดทำกฎเฉพาะรายสินค้ากว่า 100 รายการ ต่อยอดการลดภาษีสินค้าที่เริ่มไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 อาเซียนและอินเดียมีความเชื่อมั่นในความพร้อมของไทย โดยมอบให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าอาเซียน-อินเดีย (AITNC) ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553 ณ กรุงเทพฯ แม้ไทยและอินเดียจะเริ่มลดภาษีสินค้าระหว่างกันภายใต้ FTA อาเซียน-อินเดีย ไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องเจรจากันต่อ ทั้งเรื่องการเปิดตลาดบริการ ลงทุน และกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายการ (PSR) สำหรับการค้าบริการและการลงทุน อาเซียนจะเจรจาเพื่อหาข้อสรุปรูปแบบการเปิดตลาดบริการและการลงทุน และกติกาที่ใช้รองรับการเปิดตลาด เช่น คุณสมบัติของธุรกิจและคนที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาด มาตรการปกป้องคุ้มครองการอำนวยความสะดวกในการลงทุนและนักลงทุน การส่งเงินทุนและผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนกลับประเทศได้ ทั้งนี้ อาเซียนและอินเดียจะต้องรายงานความคืบหน้า และผลที่ได้จากการเจรจาครั้งนี้ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดีย ที่จะมีขึ้นปลายเดือนสิงหาคมนี้ ณ เวียดนาม เพื่อเห็นชอบให้อาเซียนและอินเดีย ใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดบริการและลงทุนได้ทันในปี 54 ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ คือ การจัดทำกฎเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Rules: PSRs) โดยอาเซียนเห็นตรงกันว่าเกณฑ์ PSRs ที่จะทำการตกลงควรง่ายกว่าเกณฑ์ CTSH+RVC 35% ซึ่งเป็นเกณฑ์ถิ่นกำเนิดทั่วไปที่ใช้อยู่ในการเปิดเสรีการค้าอาเซียน-อินเดีย และพร้อมที่จะยื่นรายการ PSRs ให้อินเดียพิจารณากว่า 100 รายการ ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ของทำด้วยไม้ ไม้อัด โทรทัศน์สี ไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์แอร์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ เพิ่มมากขึ้นกว่า 10,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่าจะจัดทำ PSRs สินค้ากลุ่มแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2553 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ S N P ต่อหน้า 4

  7. พาณิชย์แบน "เหล้า-บุหรี่" พ้นFTA ชิลี-อียู / ห่วงอีก 2 สินค้าเจอพิษอาฟต้า ในการเจรจาเปิดการค้าเสรี(เอฟทีเอ) กับประเทศชิลี และกลุ่มสหภาพยุโรป(อียู) กรมการค้าต่างประเทศจะเสนอให้ปรับสินค้าประเภทสุราและบุหรี่ออกจากการเจรจา หลังจากนายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ แสดงความเป็นห่วงว่าข้อตกลงในการเปิดการค้าเสรีสินค้าดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายในประเทศได้ ขณะที่การเปิดเสรีการค้าอาเซียน หรืออาฟต้าของทั้ง 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นไปตามข้อตกลง โดยปัญหาทางการเมืองที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุน และการส่งออกแต่อย่างใด เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้ หลังเปิดการค้าเสรีภายใต้กรอบอาฟต้าพบว่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวสูงขึ้นกว่า 55% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนถึงโอกาสการลงทุนที่ยังเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการ ดังนั้นนักธุรกิจไทยควรใช้สิทธิประโยชน์ตามความตกลงต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาว และพม่า ก่อนที่จะตั้งโรงงานผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีภายใต้กรอบอาฟต้า คือ กรมฯ กำลังเฝ้าระวังการนำเข้าปาล์ม น้ำมันและกาแฟอย่างใกล้ชิด หลังจากที่ได้ประเมินแล้วพบว่าสินค้าทั้ง 2 ประเภทอาจได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบให้ตั้งกองทุนเยียวผู้ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอเป็นปีละ 70 ล้านบาท S N P ต่อหน้า 5

  8. ญี่ปุ่นจี้ไทยสางปมมาบตาพุด หวั่นลงทุนสะดุด-ฉุดแผนผลิตอีโคคาร์ จากการเข้าพบเพื่อเจรจาของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ(เจซีซี) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม จากการหารือร่วมกันทางนักลงทุนญี่ปุ่นได้แสดงความเป็นห่วงว่าปี 2556 จะเกิดปัญหากับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ หลังการลงทุนหลายโครงการในพื้นที่มาบตาพุดที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่สามารถดำเนินการกิจการได้ เพราะต้องรอการประกาศรายชื่อประเภทกิจการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(บอร์ด สวล.) ซึ่งล่าสุดมีการเลื่อนออกไปอีก 2 เดือน นอกจากนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาบุคลากรและชิ้นส่วนรถยนต์ที่อาจจะเกิดการขาดแคลนในปี 2556 เนื่องจากไทยจะกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญ หลังรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ ซึ่งจะทำให้มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น ในขณะที่บอร์ดคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือ สวล. ยังไม่ประกาศประเภทกิจการรุนแรงออกมา เพราะเอกสารยังไม่ครบสมบูรณ์ ถ้าประกาศออกมาเร็วอาจแก้ปัญหาหนึ่งได้ แต่อาจเกิดปัญหาใหม่ตามมาเช่นกัน ซึ่งทางออกในเรื่องนี้มีหลายวิธี เบื้องต้นสามารถให้แต่ละกระทรวงประกาศประเภทกิจการรุนแรงของแต่ละกระทรวงภายใต้กฎกระทรวงเองได้ ด้านนายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานเจโทร กล่าวว่า ถ้าการแก้ปัญหามาบตาพุดยังไม่จบ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต เพราะในพื้นที่มาบตาพุดมีการลงทุนจากญี่ปุ่นหลายโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ถ้าเกิดการชะงักก็จะกระทบกับนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มอีโคคาร์ จึงต้องการให้เร่งแก้ปัญหาให้จบใน 2 เดือน ทั้งนี้เจโทรและเจซีซียังเตรียมนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจและข้อเสนอแนะของนักลงทุนญี่ปุ่นในไทยต่อรัฐบาลไทย ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมด้วย แนวหน้า/ 22 กรกฎาคม 2553 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  9. Privilege Society S ตอน “เมื่อ C/O ระบบ Manual ถูกกระชับพื้นที่” นโยบายของรัฐบาลแทบทุกชุดที่ส่งเสริมการส่งออก ทำให้หน่วยงานของรัฐบาลแทบทุกแห่งต้องปรับปรุงขั้นตอนการทำงานของตนให้กระชับ ฉับไว หรือเรียกได้ว่า ต้องทำทุกๆทางเพื่อทำให้การให้บริการต่อผู้ส่งออกใช้เวลาให้น้อยที่สุด กรมการค้าต่างประเทศ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ส่งออก ในฐานะหน่วยงานที่ออก “ใบรับรองแหล่งกำเนิดทางสินค้า” หรือที่เราเรียกกันว่า C/O ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งนะครับ ที่มีการพัฒนาระบบและขั้นตอนการทำงานของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายต่อผู้ส่งออกให้ได้มากที่สุดในทุกๆด้านของการให้บริการ การขอ C/O ในอดีต เราจะทำกันในระบบ Manual คือ ผู้ส่งออกต้องซื้อแบบพิมพ์จากกรมการค้าต่างประเทศตามสิทธิประโยชน์ที่ตนเองประสงค์ที่จะใช้ (หากท่านมีผู้ซื้ออยู่หลากหลายประเทศ ท่านก็ต้องซื้อแบบฟอร์มต่างๆตุนเอาไว้เยอะกว่าชาวบ้านหน่อย) หลังจากนั้น ทำการพิมพ์ข้อมูลที่จำเป็นลงในแบบพิมพ์ จากนั้นประทับตราเซ็นชื่อ รวบรวมเอกสารที่จำเป็นเช่น INVOICE และ B/Lจัดชุด ก่อนนำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่อนุมัติ ณ สถานที่ที่กรมฯกำหนดไว้ ถ้าผู้ส่งออกอยู่ในเขตกทม. ก็ต้องวิ่ง C/O ไปที่สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี ท่าเรือคลองเตย หรือสุวรรณภูมิในกรณีที่ส่งออกทางแอร์ หากผู้ส่งออกสามารถทำได้ถูกต้องตามหลักการที่กรมฯประกาศไว้ ก็ได้ C/O พร้อมส่งออกไปให้ผู้ซื้อที่ต่างประเทศได้เลย แต่หากมีข้อผิดพลาด ก็ต้องวิ่งกลับไปแก้ เสียแบบฟอร์มเพิ่มอีกหนึ่งใบ ประทับตราเซ็นชื่อและวิ่งกลับไปยื่นใหม่อีกรอบหนึ่งนั่นเอง N P ต่อหน้า 2

  10. แค่ผมเขียนอธิบายก็ใช้เวลามากถึงเกือบ 10 บรรทัดแล้วนะครับ กรมฯเองก็คงเล็งเห็นความล่าช้าที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ส่งออกชาวไทยจุดนี้อย่างชัดเจนเช่นไม่ต่างกัน ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Data Interchange) หรือเรียกสั้นๆว่า EDI ก็จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกต่อท่านๆทั้งหลาย ไอ้เจ้าระบบ EDI นี้ ทำให้ผู้ส่งออกไม่จำเป็นต้องซื้อแบบพิมพ์เตรียมเอาไว้เลย แถมพอกรอกข้อมูลเสร็จ เพียงแค่กฎ Enter ข้อมูลก็จะถูกส่งไปที่ฐานข้อของกรมฯและถูกตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้นทันทีภายในเวลาไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น หากมีข้อผิดพลาด ผู้ส่งออกจะสามารถรับรู้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาวิ่งไปที่กรมฯเลยแม้แต่นิดเดียว หลังจากผ่านการตรวจสอบจากระบบแล้ว ก็ถึงคราวของเจ้าหน้าที่ตรวจให้อีกรอบหนึ่ง ซึ่งหากผ่านการตรวจแล้ว หน้าจอจะแสดงผลให้ท่านทราบว่าถึงเวลาไปรับเอกสารตัวจริงแล้ว โดยที่ท่านยังไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆแนบไปด้วยเลยแต่อย่างใด ซึ่งหลังจาก C/O ได้รับการอนุมัติแล้ว ท่านมีเวลา 10 วัน ในการนำ INVOICE, B/L และ สำเนา C/O เข้าไปรายงานย้อนหลังที่กรมฯ มาตรการแบบนี้ทำให้ปัญหาการได้ B/L จาก Forwarder หรือ สายเรือ ช้า หมดไปอย่างง่ายดายเลยทีเดียว การเปลี่ยนระบบจาก Manual สู่ EDI นั้น กรมฯได้ให้เวลาผู้ส่งออกปรับตัวมาสักระยะหนึ่งแล้วนะครับ แม้จะเคยมีกระแสข่าวหลุดออกมาว่า D-Day ในการยกเลิกระบบ Manual ในเดือน มิถุนายน ที่ผ่านมา แต่สุดท้าย ก็ยังคงเป็นเพียงกระแสข่าวลือเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องก้าวไปข้างหน้าครับ กรมฯท่านก็คงคิดเช่นนี้เหมือนกันแหละครับ เพราะตอนนี้ ท่านผู้ส่งออกที่ยังยื่นขอ C/O ในระบบ Manual อยู่นั้น เริ่มโดนมาตรการกระชับพื้นที่จากกรมฯกันแล้วนะครับ เมื่อวานมีสายรายงานมาว่า บริเวณหน้าห้องรับ C/O ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ของ กรมการค้าต่างประเทศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกระดาษ A 4 แผ่นหนึ่งแปะไว้ตัวเบ้อเริ่ม ประกาศเสียงดังชัดเจนด้วยถ้อยคำประมาณว่า S N P ต่อหน้า 3

  11. “ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคมเป็นต้นไป C/O ที่ยื่นขอผ่านระบบ EDI จะได้รับการตรวจก่อน หลังจากนั้นค่อยทำการตรวจระบบ Manual ทีหลัง” Ship หายกันล่ะครับทีนี้ ผมเข้าใจครับว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ต้องเกิดขึ้นแน่ไม่ช้าก็เร็ว และท่านก็พยายามผ่อนผันยืดระยะเวลาให้พวกเราปรับตัวกันพอสมควรแล้ว แต่ผมอดสงสัยไม่ได้จริงๆ เลยครับ หากท่านจะเริ่มมาตรการกระชับพื้นที่แบบนี้ ทำไมไม่เริ่มที่ส่วนท่าเรือหรือที่สนามบินน้ำก่อน หรือพวกท่านไม่ทราบครับว่า ที่พวกผมแหกตา วิ่งไปขอ C/O ถึงสุวรรณภูมิ ก็เพราะว่าพวกผมอยากให้ C/O มันออกไวๆจะได้ทันแนบเอกสารไปกับเครื่องได้เลย ไม่ต้องเสียค่า Courier ส่งเฉพาะ C/O ไปให้มันเปลืองเงินพวกผมอีกรอบหนึ่ง หากเป็นมาตรการจากกรมฯจริง ผมก็คงไม่พูดว่าท่านผิด เพียงแต่ผมคิดว่าท่านก็ใจร้ายไปหน่อย ที่เริ่มมาตรการกระชับพื้นที่ ที่สุวรรณภูมิเป็นที่แรก แต่หากไม่ใช่นโยบายของกรมฯ กระดาษแผ่นนั้นไม่ว่าใครคิด ใครพิมพ์ ผมว่าเอาลงเถอะครับ แล้วทดแทนด้วยประกาศจากกรมให้ชัดเจนไปเลยครับ ว่าจะยกเลิก Manual ตอนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร จนกว่าจะพบกันใหม่ครับ โดย...... Mr. Privilege S N P ต่อหน้า 4

  12. S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  13. INSIDE CUSTOMS S ตอน ผ่านง่าย จบยาก กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว กรมศุลกากรของไทยได้ทำการสังคายนาระบบการผ่านพิธีการขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว ฉับไวขึ้น การพัฒนาดังกล่าวในที่สุดนำมาซึ่งระบบสุดหรูที่เราเรียกกันว่า “ระบบไร้เอกสาร” หรือเวอร์ชั่นอังกฤษว่า Paperless ระบบดังกล่าวนี้ ทำให้เวลาเฉลี่ยของการผ่านพิธีการศุลกากรทั้งในส่วนส่งออกและนำเข้าลดลงอย่างชัดเจน ทำให้กรมศุลกากรใช้บุคคลากรของหน่วยงานตนน้อยลงพอสมควรในการผ่านพิธีการ โดยเฉพาะขาออกนี่ บอกตรงๆครับ ไม่คอขาดบาดตายจริงๆ ไม่เจอเจ้าหน้าที่แน่ๆ ฟังดูเลิศหรู อลังการยิ่งกว่าดาวล้านดวงอีกนะครับ ไอ้เจ้า Paperless ของเรา การพัฒนาระบบของศุลกากร ประกอบเข้ากับอัตราภาษีศุลกากรเพื่อการนำเข้าที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทำให้เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรมีงานทำน้อยลงระดับหนึ่งครับ ทำให้กรมฯท่านนำเอาเจ้าหน้าที่เหล่านั้น มาอุดรอยรั่วตรงขั้นตอน “การตรวจสอบย้อนหลัง” ซึงในเวอร์ชั่นอังกฤษเราเรียกว่า Post Audit นั่นแหละครับ นี่แหละความสุดยอดของระบบ ตอนผ่านพิธีการปล่อยให้ผ่านกันแบบง่ายๆ เรียกว่า ลด แลก แจก แถม กันเลยทีเดียว แต่พอ Post Audit กฎตรึงเป๊ะ ลั่นเปรี๊ยะ เชียว มาตรการแบบนี้ ดีเหลือเกินครับ สำหรับท่านผู้ประกอบการที่มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งวัฒนธรรมอันดีงามของระบบศุลกากรในประเทศไทยของเรา แต่สำหรับท่านผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ไอ้ระบบที่ว่านี้ ก็คงเปรียบเสมือนนรกดีๆนี่เองนะครับ N P ต่อหน้า 2

  14. ลำพังแค่เจ้าหน้าที่ Post Audit ส่งรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาตรวจโรงงานท่าน บางครั้ง แค่ท่านเห็นจำนวน ลมก็แทบจับแล้วครับ ท่านเล่นมากันทีเป็นทีม แล้ววิธีการที่มา บอกได้คำเดียวว่าอึ้ง ทึ่ง เสียว เพราะบางทีท่านเล่นยกเอกสารกลับไปเป็นกล่องๆ และแจ้ง Notice กลับมาว่าท่านมีความผิดแบบมอกระจาย เฮ้อ เป็นลมดีกว่า การเลือก Partner ที่จะมาเป็นตัวแทนออกของ ของท่านผู้ประกอบการจึงมีบทบาทมากเหลือเกินนะครับ สำหรับการทำธุรกิจระหว่างประเทศในปัจจุบัน หากท่านไม่มีความรู้และเลือก Partner ที่ไม่มีความรู้เหมือนกัน จินตนาการออกใช่มั้ยครับ ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การผ่านพิธีการศุลกากรทั้งนำเข้า-ส่งออกได้อย่างง่ายๆ ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะไม่มีความผิด ฉะนั้นบางครั้ง การที่ตัวแทนออกของที่ขาดความรู้ ความเข้าใจแนะนำท่านให้ทำอะไร ท่านอย่าเชื่อง่ายนักนะครับว่า มันจะถูกเสมอไป ขอดูหลักฐานเป็นประกาศ หรือคำสั่งของกรมฯท่านก่อนดีกว่าเพื่อความชัวร์ เชื่อผมเถอะ และหากท่านจนใน ด้วยไม่รู้ว่า จะไปหาประกาศ คำสั่งต่างๆของกรมฯได้จากที่ไหน SNP NEWS ก็น่าจะเป็นผู้ช่วยท่านในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก ถามเข้ามาเถอะครับ ไม่ว่าเรื่องอะไร มาแชร์ความรู้ ปัญหา และประสบการณ์ร่วมกัน แล้วพบกันครับ ปล: ผมแอบกระซิบบอกหน่อยนึงครับ ปีนี้ท่านใดนำเข้า Uninterruptible Power Supply หรือ UPS ที่ใช้กับ Computer เข้ามาจากต่างประเทศแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 10% อยู่ ระวังตัวนะจ๊ะ ปล2: วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 ศุลกากรประกาศเป็นวันหยุดนะครับ หากจะปล่อยของวันนั้นอย่าลืมขอล่วงเวลากันไว้ล่วงหน้านะจ๊ะ จะได้ไม่ต้อง Knock Door กัน โดย......ชิปปิ้งสีเทา S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  15. Global News S • สารพันปัญหา กับ FTA อาเซียน-จีน • จบลงไปแล้วกับการสัมมนาเชิงวิชาการ ณ บริษัท S.N.P. Shipping Co., Ltd. เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมากับหัวข้อ “สารพันปัญหากับ FTA อาเซียน-จีน” ซึ่งการสัมมนาเชิงวิชาการในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ Form E ที่ถูกต้อง รวมถึงสารพันปัญหาที่สร้างปัญหาให้กับผู้นำเข้าแทนที่จะได้รับประโยชน์ และทางแก้ไขอีกด้วย • ซึ่งจากการสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการผู้เข้าร่วมเข้าใจมากขึ้นว่า ปัญหาหลักๆ นั้น มาจาก 1. การจัดพิกัดผิด 2. การใส่รายละเอียดใน Form E ไม่ถูกต้อง 3. ความเข้าใจในการซื้อขายผ่านประเทศที่สาม ซึ่ง ปัญหาดังกล่าวเหล่านั้น ได้รับการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการแจ้งให้ทราบถึงประกาศกระทรวงการคลังต่างๆ ที่สามารถอ้างอิงถึงได้ ในกรณีที่เกิดปัญหา หรือ ปัญหาที่จริงๆ แล้วไม่สมควรจะเป็นปัญหา เพียงแต่เกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน • นอกจากนี้ ท่านผู้ประกอบการหลายๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า สินค้าที่นำเข้ามาโดยมีราคา FOB ที่ไม่เกิน USD 200 นั้น ไม่จำเป็นต้องขอเอกสาร Form E ในการลดหย่อนภาษี เพียงแต่ต้องให้ทางผู้ส่งออกทำหนังสือรับรองว่าสินค้าดังกล่าวมีถิ่นกำเนิดจากประเทศนั้นๆ ภายใต้ประเทศภาคีที่มีความตกลง ACNFTA เท่านั้น และทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากร • ในส่วนของหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับ Form Eนั้น เป็นไปดังนี้ • ต้นฉบับ – สีน้ำตาลอ่อน และสำเนา-สีเขียวอ่อน • ออกโดยหน่วยงานราชการของประเทศผู้ส่งออก • ต้องมีตราประทับและลายมือชื่อผู้มีอำนาจ (โดยทางกรมศุลกากรไทยจะมีการตรวจสอบลายมือชื่อ) N P ต่อหน้า 2

  16. ต้องออกให้ในวันที่ส่งออกหรือหลังวันส่งออกแต่ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันส่งออก • * กรณีออกหลังวันส่งออกต้องประทับตรา “Issued retroactively” ในช่อง 12 • การแก้ไข – ขีดฆ่าแล้วเขียนหรือพิมพ์ใหม่ ลงลายมือชื่อรับรองพร้อมตราประทับ และช่องว่างขีดเส้นปิดกั้น • (ไม่สามารถออกใหม่ได้เนื่องจากเลขที่ของ Form E จะถูกเปลี่ยน) • กรณีสูญหาย หรือถูกทำลาย สามารถออกสำเนาแทนให้ได้ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ออกฉบับเดิม และต้อง • ประทับ “Certified true copy” ในช่อง 12 พร้อมลงวันที่ ออกฉบับเดิม • Form E มีอายุ 4 เดือน และ6 เดือนถ้าขนส่งผ่านประเทศที่ไม่ใช่ภาคี ACFTA • หลายๆ ครั้งมีผู้ประกอบการหลายท่านสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของการ ใส่ข้อมูลในช่องที่ 8 เกี่ยวกับเกณฑ์การได้ • ถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งก็ได้รับคำตอบในการสัมมนานี้แล้วดังนี้ • “X” คือการผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศภาคีผู้ส่งออกทั้งหมด • “...%” คือสัดส่วนที่แสดงมูลค่าการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศ ACFTA โดยไม่น้อยกว่า 40% ของ FOB • “Product Specific Rules” คือ กฎเฉพาะรายสินค้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินค้าบางพิกัดนั้นไม่ได้รับการยกเว้น • ซึ่งก่อนการออก Form E จำเป็นต้องทำการตรวจสอบเสียก่อน • ทั้งนี้ท่านวิทยากรยังเน้นย้ำอีกว่า นอกจากรายละเอียดที่กล่าวไปแล้วนั้น เรื่องของการซื้อขายผ่านประเทศที่สามก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายท่านเข้าใจผิดว่าการซื้อขายผ่านประเทศที่สามเช่น ฮ่องกง สามารถได้รับการยกเว้นภาษีจากการใช้ Form E ภายใต้สิทธิ์ ACFTA ด้วย ซึ่งตามกฎและข้อตกลงของกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าระหว่างประเทศนั้น ยังไม่อนุมัติให้ลดหย่อนภาษีในกรณีซื้อขายประเทศที่สาม เช่น ฮ่องกง ได้ ซึ่งมีกระแสตอบรับมาตลอดว่าสมควรให้มีการลดหย่อนภาษีได้ แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อหาข้อยุติของข้อเรียกร้องนี้อยู่ • อย่างไรก็ดี การสัมมนา ในหัวข้อ “สารพันปัญหา กับ FTA อาเซียน-จีน” ได้ดำเนินผ่านไปด้วยดี โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างได้รับข้อมูลซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ซึ่งหากมีผู้สนใจ และต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสิทธิประโยชน์ FTA อาเซียน – จีน สามารถติดต่อสอบถามเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ คุณต้นวงศ์ หมั่นผจง โทร 02-333-1199 ต่อ 111 หรือที่ info@snp.co.th S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  17. All about Logistics S ยุทธศาสตร์ด่านหน้า...พาจีนสู่ผู้นำโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 ที่ประเทศจีนได้ทำการเปิดประเทศ จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ยุทธศาสตร์ที่ประเทศจีนยึดถือเพื่อการพัฒนาประเทศแต่เพียงหนึ่งเดียวนั้น มีชื่อเรียกว่า ยุทธศาสตร์ด่านหน้าในสมัยก่อนยุทธศาสตร์ด่านหน้าเป็นชื่อเรียกยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการสงคราม แต่ในปัจจุบัน จีนได้ปรับเปลี่ยนมาเพื่อใช้ในการมุ้งเน้น การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเข้มข้น ในแง่โลจิสติกส์นั้น นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาประเทศเพื่อเปิดตลาดไปยังเอเชีย และยุโรป เนื่องจากภูมิศาสตร์และที่ตั้งของประเทศจีนนั้นมีความได้เปรียบในด้านพรมแดนที่ติดทั้งสองทวีป แต่อย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญของยุทธศาสตร์ด่านหน้านั้นก็คือ ความมั่นคงของประเทศ และความสงบสุขของประชาชนชาวจีนทุกคน แล้วทำไมต้องใช้ชื่อ ยุทธศาสตร์ด่านหน้า? เนื่องจากประเทศจีนมุ่งเน้นการพัฒนาจังหวัดทางชายฝั่ง เรื่อยไปจนถึงจังหวัดทางตอนกลาง และตะวันตกตามลำดับ เสมือนเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาจากจังหวัดรอบนอก ซึ่งมีพรมแดนติดกับเอเชีย และยุโรป แล้วจึงค่อยๆขยายการพัฒนาเข้ามาสู่ตอนกลางของประเทศ โดย 5 นโยบายหลักที่ถูกกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ด่านหน้า ประกอบด้วย 1.    การพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในประเทศ 2.    การสร้างหลักประกัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนชาวจีน N P ต่อหน้า 2

  18. 3.    การมุ้งเน้นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม3.    การมุ้งเน้นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.    การพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจในการเจรจา 5.    นโยบายกระตุ้นการพัฒนาความเจริญมวลรวมภายในประเทศ เช่นด้านสารสนเทศ และการคมนาคม จะเห็นได้ว่า ประเทศจีนให้ความสำคัญของ การพัฒนาโลจิสติกส์เป็นสำคัญ โดยกำหนดให้ การพัฒนาโลจิสติกส์ ได้รับการระบุเป็นวาระสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 มีระยะเวลา 5 ปี จุดประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับนี้ เป็นไปเพื่อความก้าวหน้าด้านโลจิสติกส์ทั้งในและนอกประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ด่านหน้าเป็นสำคัญ ฉบับหน้า เราจะมาดูกันว่า แล้วยุทธศาสตร์ด่านหน้า กับการเร่งพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศจีนนั้น มีความเกี่ยวเนื่อง หรือส่งผลกระทบในด้านดี หรือ เสีย อย่างไรกับประเทศไทย *******************************************************************************Sathinun S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  19. SNP Joke S “ผีข้าวมันไก่” มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเธอเป็นลูกค้าประจำของร้านข้าวมันไก่ ตอนนั้นเป็นเวลาโพล้เพล้ แสงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า เจ้าของร้านก็รีบทำให้เด็กผู้หญิงเพราะเริ่มมืด แล้วเธอยังต้องเดินไปบ้านเธออีกไกล เด็กผู้หญิงก็รีบเดินกลับไปบ้าน ด้วยหวังว่าจะได้อร่อยกับข้าวมันไก่ แต่เมื่อเธอมาถึงบ้าน และเปิดดูในกล่องข้าว ปรากฏว่ามีแต่ข้าว ไม่มีไก่แม้แต่ชิ้นเดียว!!! เธอแปลกใจมาก หลังจากนั้นเธอก็เดินออกไปเพื่อซื้อข้าวมันไก่อีกครั้ง แต่คราวนี้เธอจับตามองดูเจ้าของร้านอย่างใจจดใจจ่อ เพราะกลัวว่าเจ้าของร้านจะโกงเธอ แต่ทุกอย่างก็เป็นไปตามปกติ เธอก็รีบเอาข้าวมันไก่กล่องนั้นกลับบ้านทันที เมื่อมาถึงบ้านเธอก็รีบเปิดกล่องข้าวมันไก่ทันที แต่แล้ว....ก็ไม่พบไก่แม้แต่ชิ้นเดียวเหมือนเดิม อากาศรอบข้างตอนนั้นเงียบสงัด เยือกเย็น ทันใดนั้นเธอก็ได้ยินเสียง แง้มประตู เธอเริ่มกลัว แต่ทว่าเสียงนั้นเป็นเสียงพ่อของเธอกำลังเปิดประตูบ้านเดินเข้ามา เธอจึงส่งเสียงเรียกพ่อของเธอเด็กผู้หญิง : (เสียงสั่น) “พ่อจ๋า พ่อมาดูอะไรนี่สิพ่อ หนูซื้อข้าวมันไก่มา 2 กล่อง แต่มันไม่มีไก่แม้แต่ชิ้นเดียว ทั้งๆ ที่เจ้าของร้านเขาก็ใส่ไก่มาให้แล้ว” (เสียงเครือเหมือนจะร้องไห้ด้วยความกลัว)พ่อของเธอทำหน้าแปลกใจ แล้วครุ่นคิดอย่างรอบคอบ ทันใดนั้นพ่อของเธอก็กลับกล่องข้าวมันไก่แล้วเปิดดูทันทีพ่อ : “อีเด็กโง่ ทีหลังเปิดกล่องให้ถูกด้านสิวะ ไก่มันอยู่ฝั่งนี้ต่างหาก” ที่มาจาก >http://variety.teenee.com/foodforbrain/27911.html N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related