651 likes | 1.13k Views
สถานการณ์อนามัยวัยเจริญพันธ์และวัยรุ่น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. สถานการณ์วัยรุ่นและเยาวชน. 1 ใน 4 อยู่ในวัยเรียน วิถีชีวิตของความเป็นเมืองเพิ่มขึ้น (ซึมซับและรับรู้ข่าวสารจากเพื่อนจากสื่อ) ทักษะการกลั่นกรองข้อมูล มุมมองพ่อแม่ /ผู้ปกครอง/ครู
E N D
สถานการณ์อนามัยวัยเจริญพันธ์และวัยรุ่นสถานการณ์อนามัยวัยเจริญพันธ์และวัยรุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานการณ์วัยรุ่นและเยาวชนสถานการณ์วัยรุ่นและเยาวชน • 1 ใน 4 อยู่ในวัยเรียน • วิถีชีวิตของความเป็นเมืองเพิ่มขึ้น (ซึมซับและรับรู้ข่าวสารจากเพื่อนจากสื่อ) • ทักษะการกลั่นกรองข้อมูล • มุมมองพ่อแม่ /ผู้ปกครอง/ครู • ช่องว่างการสื่อสารประกอบกับเหตุการณ์รอบตัวไม่น่าเป็นแบบอย่าง
ปัญหาของวัยรุ่นและเยาวชนที่สำคัญปัญหาของวัยรุ่นและเยาวชนที่สำคัญ • เรื่องเพศ อันนำไปสู่ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอดส์ (ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น) • ปัญหายาเสพติดและความรุนแรง
สาเหตุของปัญหา • ในส่วนตัวของวัยรุ่น พบว่า ขาดทักษะชีวิต (Life Skill) • ในส่วนของสิ่งแวดล้อม วัตถุนิยม โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีคอมฯและการสื่อสาร การรับเอาวัฒนธรรมและแบบแผนชีวิตของตะวันตก • การเข้าถึงระบบบริการต่าง ๆ ที่จะสร้างทักษะชีวิตหรือภูมิคุ้มกัน ซึ่งโครงสร้างเน้นการรักษาทางกาย เน้นเชิงรักษามากกว่าป้องกัน
งานวิจัยและข้อมูลพิจารณางานวิจัยและข้อมูลพิจารณา
วัยรุ่นไทยทำแท้งสูงที่สุดในโลกข้อมูลข่าว โดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์
การสำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทยยุคใหม่การสำรวจพฤติกรรมวัยรุ่นไทยยุคใหม่ • ประมาณการว่าจะมีวัยรุ่นทำแท้งถึงปีละ 3 แสนคน หรือวันละราว 1,000 คน • 4.2% บอกว่าเคยคิดขายตัว (ถ้าอนุมานกันจริง ๆ ก็คาดว่ามีเด็กกว่า 15% คิดขายตัว เพราะมองว่าเรื่องนี้ไม่น่าตำหนิ ) • กองโรคเอดส์ของกระทรวงสาธารณสุขก็รายงานว่า กว่า 50% ของคนที่เป็นโรคเอดส์เป็นวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-34 ปี และส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
สำนักวิจัยเอแบค โพล สำรวจพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นอายุ 15-25 ปี จำนวน 1,627 คน • พบพฤติกรรมเชิงชู้สาวกับบุคคลเพิ่งรู้จักตามห้างสรรพสินค้า ผับ และ เธค กล่าวคือ วัยรุ่น 40.2% ยอมรับให้จับมือและโอบเอวได้ • มี 13.9% ที่บอกว่ายอมรับได้หากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เพิ่งรู้จัก • ที่น่าตกใจคือ บุคคลที่ตอบคำถามครั้งนี้ระบุว่าเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ถึง 42.4% โดยกว่าครึ่งเคยมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน
อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีวีระศักดิ์ เคยทำวิจัยแล้วพบว่า • เด็กนักเรียนไทยระดับมัธยมกว่า 50% มีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะ “เซ็กซ์เอื้ออาทร” ระหว่างเพื่อนจนกลายเป็นคำนิยมของเด็กไทยแล้ว ในขณะที่อีกการวิจัยหนึ่งพบว่า • ผู้หญิง 29.9% เคยทำแท้งตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี 2.7% เคยทำขณะเป็นนักศึกษา 70% • มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 20 ปี 5% มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 15 (ต่ำสุด 11 ขวบ) • ในกลุ่มอายุ 15-23 ปี มีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนคู่นอนเพิ่มขึ้น 50%
ในกรณีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้นในกรณีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้น • วัยรุ่นไทยกับอเมริกันดื่มพอ ๆ กัน คือ 84 และ 78% ตามลำดับ • วัยรุ่นไทยเสพยาบ้ามากกว่าอเมริกัน 2 เท่าตัว • ดื่มแล้วขับสูงกว่าวัยรุ่นอเมริกัน 3 เท่าตัว โดย 43% ไม่สวมหมวกกันกระแทก
ส่วนเรื่องตั้งครรภ์ • วัยรุ่นอเมริกาเคยตั้งท้องร้อยละ 5 ขณะที่วัยรุ่นไทยตั้งครรภ์สูงกว่าร้อยละ 10 (จึงไม่น่าแปลกใจว่าสถิติการทำแท้งจะสูงต่อไป เพราะไหนจะมีความสำส่อนแล้วยังมีการข่มขืนมากขึ้น มีความหลงผิดของสาวยุคใหม่ คือเกิดความฟุ้งเฟ้อ หากินเป็นโสเภณีชั้นสูงเป็นเครื่องตอบสนองความใคร่ โดยขาดจิตสำนึกของการรักตัวเอง ขณะที่ผู้ใหญ่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนชอบเด็กและใช้เงินซื้อความสุขทาง)
สรุป • วัยรุ่นไทยจึงมีพฤติกรรมเสี่ยงที่น่าห่วงจนเกรงว่ากว่าจะเติบใหญ่จะไม่เหลือคนดี ๆ ไว้สร้างชาติ ต่างจากสมัย 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 (ซึ่งวัยรุ่นที่รวมพลังสร้างชาติใหม่สามารถเติบใหญ่เป็นผู้บริหารบ้านเมืองไทย)
คำถาม ? • วัยรุ่นยุคใหม่จะเติบโตไปเป็นผู้บริหารที่ดี ๆ อย่างรุ่นก่อนหรือไม่ • ถ้าคำตอบคือ ได้ ก็จะได้สบายใจ แต่ใครจะรับรองล่ะ ? • และถ้าคำตอบ คือ ไม่ จะทำอย่างไรดี
ผลวิจัยของตัวแทนเยาวชนจากเวทีสิทธิเด็ก พบว่า • ปัญหาวัยรุ่นท้องไม่พร้อมมีเพิ่มมากขึ้น โดยแม่ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี มีถึง ๘๐,๐๐๐ คนในปี ๒๕๕๑ นำไปสู่การทำแท้งซึ่งพบถึงร้อยละ ๔๖.๘ ของผู้หญิงทำแท้งที่มีอายุต่ำกว่า ๒๕ ปี รวมถึงปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งมีถึงปีละ ๘๐๐ คน การมีเพศสัมพันธ์ช่วงอายุที่น้อยลงโดยผู้ชายต่ำสุดอายุ ๙ ปีและผู้หญิง ๑๐ ปี รวมถึงปัญหาการข่มขืนที่มีเด็กต่ำกว่า ๑๕ ปีตกเป็นเหยื่อเฉลี่ยสูงถึงวันละ ๒ ราย (ไทยรัฐ, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒.)
จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า • วัยรุ่นกำลังเผชิญกับความเสี่ยง เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม รวมถึงการต้องออกจากสถานศึกษาเนื่องจากประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการเรียนรู้เพศศึกษาอันจำกัดของวัยรุ่น เพราะเพศศึกษาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจ สามารถคิดวิเคราะห์ในการป้องกันตัวเอง และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตามการสอนหลักสูตรเพศศึกษาในสถานศึกษายังมีความจำกัดอยู่มาก เนื่องจากปัญหาของผู้บริหารหรือครูผู้สอนบางท่านยังคิดว่า การสอนเพศศึกษาแบบให้ข้อมูลรอบด้านแก่ผู้เรียนอาจเป็นการชี้โพรงให้กระรอก คิดว่าเป็นการกระตุ้นให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น แต่หากดูจากผลการสำรวจพฤติกรรมทางเพศในประเทศไทย พบว่า วัยรุ่นอายุ ๑๘-๒๔ ปี ร้อยละ ๘๐ ของวัยรุ่นเพศชาย ร้อยละ ๖๓ ของวัยรุ่นเพศหญิงเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว และในกลุ่มเดียวกันนี้ เกินกว่าร้อยละ ๓๐ ของวัยรุ่นเพศชายเคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า ๑๖ ปี ขณะที่ตัวเลขของวัยรุ่นหญิงคิดเป็นร้อยละ ๙ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๒.)
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า วัยรุ่นไทยกว่าครึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ดังนั้นหากผู้ใหญ่จะมองว่าการสอนเรื่องเพศศึกษาให้กับวัยรุ่นเหมือนเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แล้วตัดสินใจไม่สอน อาจยิ่งทำให้วัยรุ่นเผชิญกับความเสี่ยงกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคเอดส์ รวมถึงปัญหาต่างๆ มากขึ้น
ปัญหาขณะนี้คือ วัยรุ่นยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้อง เช่น วัยรุ่นส่วนมากไม่ทราบว่ายาคุมมีกี่เม็ด เคยมีการเดาสุ่มของวัยรุ่นว่ายาคุมมี ๗๐ เม็ด และถามว่าการกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้องเริ่มกินเมื่อไร บางคนตอบว่าวันจันทร์ บ้างตอบว่าเริ่มกินตอนกลางคืน และถามว่าหากไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับคู่รักของตนเองจะสามารถติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะเขาเป็นแฟนเรา คงไม่มีเชื้อ และเขายังอายุน้อย
พฤติกรรมเสี่ยงเอดส์ เพิ่มในโลก Online เอแบค วิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “พฤติกรรมเสี่ยงของคนเมืองและการยอมรับผู้ป่วยโรคเอดส์ในสังคมไทย : กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวโน้มปี 2548 กับปี 2553” กลุ่มตัวอย่าง 1,269 ตัวอย่าง ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล
สถานการณ์โรคเอดส์ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนปี 2551 พบกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปีจำนวน 26 รายมีอัตราป่วยเท่ากับ 3.84 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2550 พบว่า 32% ของผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเยาวชน จากการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่เฝ้าระวังภาคใต้ตอนบนพ.ศ. 2551 ส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกับแฟน/คู่รักร้อยละ 75.0-100.0 มีการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟน/คู่รักต่ำ เพียงร้อยละ 11.8-28.1 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และใช้ถุงยางอนามัยต่ำ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในกลุ่มวัยรุ่นภาคใต้ตอนบนเป็นไปอย่างเหมาะสม
ข้อเสนอแนะ • เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรร่วมมือกับศูนย์ประสานประชาคมเอดส์จังหวัด (Provincial Coordinating Mechanism : PCM) ในการส่งเสริมช่องทางการเข้าถึงถุงยางอนามัยในชุมชนให้มากขึ้น โดยติดตั้งตู้อัตโนมัติจำหน่ายถุงยางอนามัย • เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประสานความร่วมมือกับโรงเรียน (กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ) ในการถ่ายทอดความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องทางด้านเพศเพื่อเยาวชนสามารถปรับใช้กับสถานการณ์เฉพาะหน้า
ปัญหายาเสพติดและความรุนแรงปัญหายาเสพติดและความรุนแรง
น้องชาย คุณหญิงแอ๋ว ถูกโจ๋แทงสาหัส (สาเหตุ นั่งใช้บริการในร้านดังกล่าวได้ไม่นานนักหลังจากที่ได้เรียกเก็บเงิน และมีการจ่ายไปเรียบร้อยแล้วได้เดินออกมาจากร้านเพื่อขึ้นรถพร้อมกับ เพื่อนกลับบ้านปรากฏว่ามีชาย 2 คนซึ่งนั่งอยู่ในร้านเช่นกัน ได้เดินตามออกมาไม่พูดพล่ามทำเพลงใช้มีดปักไปตรงหน้าอกของนายจตุพันธ์ได้รับ บาดเจ็บสาหัส ) • โหดโยนลูกเลี้ยง ลงใต้ถุน ขวบเศษดับอนาถ (สลด! ดช.แบะเบาะวัยขวบเศษ ถูกพ่อเลี้ยงวัยรุ่น 17 ปี จับโยนจากบ้านยกใต้ถุนสูง ที่เมืองคอน อาการโคม่า ถูกส่งโรงพยาบาลได้ 4 วันก็สิ้นใจ เผยไอ้โหดยังขู่แม่เด็กให้ปกปิดเรื่อง อ้างเด็กตกเตียง)
สลด ลูกคลั่งแทงพ่อร่างพรุนดับอนาถ ที่เมืองคอน (ถูกมีดปลายแหลมขนาดความยาวประมาณ 6 นิ้ว แทงเข้าบริเวณลำตัวพรุนจำนวน 11 รู ฟุบจมกองเลือด ญาติรีบนำส่ง รพ.จุฬาภรณ์ แต่อาการสาหัสเสียชีวิตขณะนำส่งรพ. • 2 ทรชนทำร้ายหญิงสาวก่อนรุมข่มขืนยับเยินครั้งนี้ เปิดเผยเมื่อเวลา 00.30 น. วันที่ 1 เม.ย. ร.ต.ท.สุริยา แป้นเกิด ร้อยเวร สภ.เมืองนครศรีธรรมราช (น.ส.เปิ้ล พร้อม น.ส.ปู (นามสมมติ) อายุ 21 ปี เพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบัน ขี่รถจยย. กลับจากกินข้าวต้มตอนดึกที่ตลาดท่าวัง ต.ท่าวัง อ.เมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างทางถูก 2 คนร้าย เป็นชาย ขี่รถ จยย.ไล่ตาม และฉุด น.ส.เปิ้ลไปทำร้าย บังคับขืนใจจนสำเร็จความใคร่ทั้ง 2 คน ขณะนี้ น.ส.เปิ้ล ซึ่งได้รับบาดเจ็บนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช)
สาเหตุของ Teenage Pregnancy • พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น • การขาดความรู้และทักษะในการคุมกำเนิด • Age Discrepancy Relationship • Sexual Abuse • Dating Violence • Socioeconomic Factors • Childhood Environment • ปัจจัยสนับสนุน โดยเฉพาะสื่อประเภทต่างๆ และ Internet.
พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น • Peer pressure (ภาวะกดดันจากกลุ่มเพื่อน)เป็นปัจจัยที่กดดันให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร • ยาเสพติด หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทบางชนิด ได้แก่ Alc. กัญชา ยาบ้า ส่งเสริมให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ
2. การขาดความรู้และทักษะในการคุมกำเนิด • การรับรู้ของวัยรุ่นเกี่ยวกับยาคุมกำเนิด พบว่า วัยรุ่นรู้จักเฉพาะ ยากินและถุงยางอนามัย และมีความเชื่อผิด ๆ หรือไปตระหนักเกินเหตุ (over Concern) กับผลแทรกซ้อนของยา ไม่รู้วิธีใส่ถุงยางอนามัย ไม่ทราบว่าถ้าลืมกินยา ต้องทำอย่างไรต่อไป • ยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่นมีที่ใช้ แต่อัตราการใช้ต่ำกว่าความเป็นจริง • การคุมกำเนิดแบบ dual Protection คือ ใช้ยาคุมกำเนิด และถุงยางคุมกำเนิดร่วมด้วย เพื่อป้องกันทั้งการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
3. Age Discrepancy Relationships (ความสัมพันธ์หรือไว้วางใจผู้ชายที่สูงวัยกว่า) จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า • วัยรุ่นหญิงที่มีความสัมพันธ์กับวัยรุ่นชายวัยเดียวกัน โอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีอายุมากกว่า • ส่วนใหญ่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น สามีจะมีอายุมากกว่า • Abused mother นั้นจะมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่า และมีสามีอายุมากกว่า • แม่วัยรุ่น จะมีประวัติการเคยถูกข่มขืน (Rape)
4. Sexual Abuse (ประสบการณ์ทางเพศ) • 11-12 % ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีสาเหตุโดยตรงจากการถูกข่มขืน(Rape) • 60 % ของแม่วัยรุ่นเคยมีประสบการณ์ทางเพศที่ไม่พึงประสงค์ (unwanted sexual experiences) • ส่วนใหญ่การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ < 15 ปี เป็นไปโดยไม่สมัครใจ • 70 % ของแม่วัยรุ่น มีประวัติการถูกลวนลามทางเพศในวัยเด็ก ในขณะที่กลุ่มที่คลอดบุตรขณะที่อายุมากกว่า 20 ปี ถูกลวนลามทางเพศเพียง 20 % • ประเทศต่าง ๆ โลกมักจะกำหนดเป็นกฎหมายว่าการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวได้
5. Dating Violence (ความรุนแรง) • ร้อยละ 70 ของแม่วัยรุ่น มีประสบการณ์ของ adolescent domestic violences • ร้อยละ 70 ของแม่วัยรุ่นเคยถูกทำร้ายหรือถูกตีโดยเพื่อนชาย • ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 18 ปี มีโอกาสที่เพื่อนชายกระทำรุนแรง เป็น 2 เท่าของผู้หญิงที่อายุมากกว่า 18 ปี • 56-62 % ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือแม่วัยรุ่น มีประวัติเคยได้รับความรุนแรงในครอบครัว จากพ่อและแม่
6. Socioeconomic Factors มีหลายการศึกษา พบว่า แม่วัยรุ่น มักจะมาจากครอบครัวที่มี เศรษฐกิจฐานะยากจน (ประเทศยากจนมีอัตราวัยรุ่นมากสูงกว่าประเทศร่ำรวย)
7. Childhood Environment (สิ่งแวดล้อมเมื่อยังเป็นเด็ก) • หญิงที่ Abuse, domestic violence Family strife (ครอบครัวแตกแยก) ในวัยเด็ก มักจะตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นวัยรุ่น • 1 ใน 3 ของ Teenage pregnancy สามารถป้องกันได้ โดยการขจัดสาเหตุของ Abuse, domestic violence Family strife • ผู้ชายที่เกิดในครอบครัวที่แม่ถูกทุบตี ทำร้ายหรือตัวเองถูกกระทำรุนแรง มักจะทำให้เด็กหญิงท้อง • ผู้หญิงที่เกิดในครอบครัวที่พ่อบ้านเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จะมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่า และมักจะตั้งครรภ์ในวัยรุ่น • ถ้าแม่หรือพี่น้องมีบุตรตั้งแต่ teenage จะเสี่ยงต่อ Teenagr pregnancy ด้วย • Low educational expectation • หญิงที่ถูกเลี้ยงดูอุปถัมภ์ เสี่ยงต่อ Teenage สูงกว่า
8. ปัจจัยสนับสนุน ต่าง ๆ ได้แก่ • อิทธิพลของสื่อต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์บ้าง หรือนิตยสารบางประเภท กระตุ้นให้เกิด Sexual activity • Internet ที่สามารถเข้าถึง สื่อลามกต่าง ๆ หรือการขายบริการทางการเพศ
อนามัยการเจริญพันธ์ ในมิติของสิทธิมนุษยชน • ในปี 1994 ICPD ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของ Sexual and Reproductive health ในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน และเน้นในประเด็นของ ความเท่าเทียมของหญิงชาย (gender equity) • แผนปฏิบัติการณ์ของ ICPD นั้นเน้นให้รัฐบาลของประเทศต่างๆได้ขยายบริการให้เข้าถึงความต้องการของวับรุ่นและเยาวชนในเรื่องของ Sexual and Reproductive health โดยเคารพในสิทธิของวัยรุ่นและเยาวชนในเรื่องเพศอนามัยการเจริญพันธ์ความเป็นส่วนตัว (Privacy) และการรักษาความลับ (Confidentiality) และปรับทัศนคติของผู้ให้บริการสาธารณสุข ที่จะไม่ปิดกั้นกับรับรู้ข่าวสารและบริการทางด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และร้องขอให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ขจัดอุปสรรคทางด้านกฎหมายรวมถึงมาตรการทางสังคมต่างๆ ที่ทำให้วัยรุ่นและเยาวชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการศึกษา และบริการทางด้านอนามัยการเจริญพันธ์ • ปี 1999 ICPD + 5 กำหนดว่า วัยรุ่นและเยาวชนมีสิทธิที่จะได้รับบริการและเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่นในมาตรฐานสูงสุดรวมถึงเรื่องการได้รับข้อมูลข่าวสาร การศึกษาการได้รับคำปรึกษา และการส่งเสริมสุขภาพ • Article 24 ได้กำหนดสิทธิของเด็กในการเข้าถึงและได้รับบริการรวมถึงการให้คำปรึกษาและบริการทางด้านการวางแผนครอบครัวด้วย • June 2003 UN Committee กำหนดว่า ประเทศสมาชิกควรจัดให้วัยรุ่นและเยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงเรื่องการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดอันตรายจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ HIV/AIDS โดยการเข้าถึงข่าวสารต้องไม่ขึ้นกับสถานภาพสมรสหรือต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อผู้หญิง (1979) สนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในการได้รับข้อมูลข่าวสาร และบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และในปี 1999 ได้กำหนดว่า คำว่า ผู้หญิง ที่ปรากฏในอนุสัญญา หมายรวมถึง เด็กผู้หญิง และวัยรุ่นและเยาวชนที่เป็นผู้หญิงด้วย
สถานการณ์วัยเจริญพันธ์และวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราชสถานการณ์วัยเจริญพันธ์และวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช www.themegallery.com
สาเหตุที่วัยรุ่นไม่คุมกำเนิดสาเหตุที่วัยรุ่นไม่คุมกำเนิด • ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษาและชีววิทยาการเจริญพันธุ์ (ไม่รู้ว่าจะตั้งครรภ์เมื่อใด) • มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการร่วมเพศกับการตั้งครรภ์ (ร่วมเพศครั้งเดียวไม่ท้อง) • วัยรุ่นชายไม่ใช้ถุงยางอนามัย(ขัดขวางความรู้สึกทางเพศ) • การบริการคุมกำเนิดยังเป็นบริการของคู่สมรสหรือผู้ที่แต่งงานแล้ว (วัยรุ่นไม่กล้าเพราะการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ต้องปกปิด)
ความต้องการของวัยรุ่นความต้องการของวัยรุ่น 1) ป้องกัน . . . . . ต้นแบบ / ชี้แนะ 2) บริการให้คำปรึกษา / รักษา
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรุนแรงในระหว่างการนัดพบของคู่รักวัยรุ่น : กรณีวัยรุ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย เสาวนีย์ ไชยาวรรณ ม.วลัยลักษณ์ 2550
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตราการเกิดความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดความรุนแรงในระหว่างการนัดพบของคู่รักวัยรุ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างได้จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนอาชีวศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 516 ราย
การเก็บข้อมูลดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ • แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล • แบบประเมินบุคลิกภาพ (Maulsley Personality Inventory Questionnaires) • แบบวัดการใช้ความรุนแรงในคู่รัก (Conflict Tactice Scale Questionnaires)
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย • เพศหญิงร้อยละ 52 และเพศชายร้อยละ 48 • อายุ 16 - 18 ปีมากที่สุดร้อยละ 44 • ร้อยละ 60 บิดามารดาอยู่ด้วยกัน • วัยรุ่นอาศัยอยู่กับบิดามารดาร้อยละ 78 • มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวร้อยละ 88 • มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักร้อยละ 36 • นัดพบในสถานที่ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองร้อยละ 40
ผลการวิจัย พบว่า • ใช้ช่วงเวลานัดพบระหว่าง 16.00 - 20.00 น. ร้อยละ 52 • ใช้แอลกอฮอล์และ/หรือสารเสพติดระหว่างการนัดพบร้อยละ 13 • คู่รักวัยรุ่นทุกรายถูกกระทำความรุนแรงอย่างน้อย 1 ด้าน • ทุกรายได้รับความรุนแรงด้านจิตใจ • คู่รักวัยรุ่นร้อยละ 77 ได้รับความรุนแรงด้านร่างกาย • และร้อยละ 48 ได้รับความรุนแรงด้านเพศ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง พบว่า • เพศ อายุ สถานภาพสมรสของพ่อแม่ การอาศัยอยู่กับพ่อแม่ การศึกษา บุคลิกภาพ การมีหรือไม่มีเพศสัมพันธ์ สถานที่ เวลา การใช้แอลกอฮอล์และ/หรือสารเสพติดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ • การเข้าถึงบริการของกลุ่มวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มที่มีปัญหาความรุนแรงของคู่รักวัยรุ่น • การจัดการควรมุ่งเน้นการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของกลุ่มคู่รักวัยรุ่นที่มี เพศสัมพันธ์ • ผู้วางนโยบายสุขภาพควรให้ความสนใจกับประเด็นปัญหาความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น • ควรมีการรณรงค์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในสังคมตระหนักถึงปัญหาและให้ความร่วมมือในการป้องกันความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น
อัตราหญิงคลอดบุตรอายุน้อยกว่า 20 ปี จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ฝากครรภ์ช้า (เมื่ออายุเกิน 12 สัปดาห์)86% ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ (20%) พยายามทำแท้ง (ส่วนใหญ่เป็นหมอเถื่อนหรือทำเอง) การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น(อายุต่ำกว่า 20 ปี) • เสียชีวิต • ติดเชื้ออย่างรุนแรง • เป็นหมันถาวร ผลต่อสุขภาพกาย ผลต่อสุขภาพจิต สังคมเศรษฐกิจ • เกิดภาวะแทรกซ้อนในทุกช่วงการตั้งครรภ์สูงกว่าวัยอื่น • (แท้ง คลอดยาก ตกเลือดหลังคลอด) • ทารกน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2500 กรัม) ประมาณ 24% • มารดาหยุดเรียน บางรายไม่มีโอกาสเรียนต่ออีก • รายจ่ายสูงกว่ารายรับ • ครอบครัวยากจนยิ่งขึ้น • ฝ่ายชายมักบอกเลิกเมื่อตั้งครรภ์ • แม่เด็กมีอารมณ์แปรปรวน,เครียด ซึมเศร้า • ทารกถูกทอดทิ้ง หรือถูกทำร้าย หลายรายถึงแก่ชีวิต
ทารกน้ำหนักน้อยเกิดจากแม่วัยรุ่น (19.3%)
10 ประเด็นที่ทำให้คนไทยล้าหลัง…ในมุมมองของ วิกรม กรมดิษฐ์
คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมากคนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก • การศึกษาไม่ทันสมัย • มองอนาคตไม่เป็น • ไม่จริงจังต่อความรับผิดชอบในหน้าที่ • การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่