710 likes | 876 Views
รายได้ประชาชาติ. รายได้ประชาชาติ หรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติ. มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี. มูลค่า : P x Q. สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services).
E N D
รายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติ • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศผลิตได้ในระยะเวลาหนึ่งโดยปกติคิดระยะเวลา1ปี มูลค่า : P x Q
สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย(Final Goods and Services) • สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อการบริโภคหรือสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อไปมิใช่เพื่อการขายต่อ
ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ Expenditure Approach สินค้าและบริการ Product Approach สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ครัวเรือน ครัวเรือน ผู้ผลิต ปัจจัยการผลิต ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต Income Approach
มูลค่าสินค้าและบริการมูลค่าสินค้าและบริการ = ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ = รายได้ที่นำไปซื้อสินค้าและบริการ
วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านมูลค่าของสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต" (Product Approach)
วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ)วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้รวมที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับในระยะเวลาหนึ่งเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้" (Income Approach)
วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ)วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตใช้ไปในการบริโภคสินค้าและบริการและการลงทุนเรียกว่า"การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย" (Expenditure Approach)
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต (Product Approach) • เป็นการหามูลค่าของผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน(Net National Product at factor Cost : NNP at factor cost)
ขั้นตอนการคำนวณ • คำนวณมูลค่า "ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) • จากค่า GDP จะนำมาหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด" (Gross National Product at market price : GNP at market price)
ขั้นตอนการคำนวณ (ต่อ) • คำนวณหาค่า "ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด" (Net National Product at market price : NNP at market price) • ปรับค่า NNP ในราคาตลาดให้เป็น NNP ในราคาทุนซึ่งในที่นี้คือรายได้ประชาชาติ (National Income : NI) นั่นเอง
ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้นในราคาตลาด(Gross Domestic Product at market price : GDP at market price) • มูลค่ารวมตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในอาณาเขตของประเทศนั้นๆภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่คำนึงว่าผู้ผลิตจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือไม่
การคำนวณค่าGDP • คิดเฉพาะมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทุกชนิดที่หน่วยธุรกิจขายให้แก่ผู้บริโภคในระยะเวลา1ปี • คิดจากมูลค่าเพิ่ม(Value added method) มูลค่าเพิ่มคือ ผลต่างระหว่างมูลค่าขายหักด้วยมูลค่าวัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลาง
Value added method ขั้นการผลิต ต้นทุนการผลิต มูลค่าของผลผลิตแต่ละขั้น มูลค่าเพิ่มของการผลิตแต่ละขั้น ชาวไร่ฝ้าย - 25 25 โรงงานปั่นด้าย 25 55 30 โรงงานทอผ้า 55 100 45 โรงงานผลิตเสื้อ 100 200 100 ร้ายขายปลีก 200 250 50 รวม 380 630 250
ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น พ.ศ.2543
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นในราคาตลาด(Gross National Product at market price : GNP at market price) • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาดที่ผลิตขึ้นจากการใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปีโดยทรัพยากรของประเทศที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายนี้จะอยู่ภายในประเทศหรือภายนอกประเทศก็ได้
GNP = GDP บวกมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศหักด้วยมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ
พิจารณา มูลค่าสินค้า ราคาสินค้า = ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร 100 = 50 + 10 + 10 + 30 แรงงาน ที่ดิน ทุน ผู้ประกอบการ รายได้
มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศ รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ ร้าน Pizza ในอเมริกา ( Pizza ราคา 100 บาท ) แรงงานคนไทย มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตไทย = 50 บาท
มูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ ผู้ประกอบการต่างชาติ มูลค่าสินค้าที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตต่างประเทศ = 30บาท รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย ร้าน Pizza ในไทย ( Pizza ราคา 100 บาท )
GNP = GDP บวกมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของประเทศหักด้วยมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศโดยใช้ปัจจัยการผลิตของต่างประเทศ
GNP = GDP +[ รายได้ของปัจจัยการผลิตไทยในต่างประเทศ- รายได้ของปัจจัยการผลิตต่างประเทศในไทย] GNP = GDP +[รายได้สุทธิจากต่างประเทศ]
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาตลาด(Net National Product at market price : NNP at market price) • มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในราคาตลาดซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของประเทศในระยะเวลา 1 ปีภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการใช้ทุนของการผลิตสินค้าดังกล่าว
NNP at market price=GNP at market price- ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุน (ค่าเสื่อมราคา) ค่าใช้จ่ายในการใช้ทุนหรือค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินถาวรคือค่าใช้จ่ายต่างๆที่สำรองไว้เป็นค่าซ่อมแซมค่าเสื่อมราคาและค่าทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิในราคาทุน(Net National Product at factor cost : NNP at factor cost ) หรือ รายได้ประชาชาติ (Nation Income : NI ) NI หรือ NNP ณ ราคาทุน=NNPราคาตลาด- ภาษีทางอ้อม NI หรือ NNP ณ ราคาทุน=NNPราคาตลาด- ภาษีทางอ้อมหัก เงินช่วยเหลือ
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้(Income Approach) • การรวมรายได้ประเภทต่างๆที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
1. ค่าตอบแทนแรงงาน(Compensation of Employees) • ค่าตอบแทนในรูปของตัวเงินรวมถึงสิ่งตอบแทนอื่นๆที่คนงานได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าตอบแทนในรูปตัวเงินรวมถึงค่าตอบแทนที่จ่ายในรูปสิ่งของ
2. รายได้ของบุคคลในรูปค่าเช่า(Rental Income of Persons) • ค่าเช่าที่เอกชนหรือบุคคลธรรมดาได้รับจากการให้เช่าทรัพย์สินเพื่อการผลิตรวมถึงการประเมินค่าเช่าในกรณีที่บุคคลผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้อยู่อาศัยเอง • ค่าเช่าที่องค์การธุรกิจได้รับไม่นำมาคิดรวมเพราะคิดรวมแล้วในยอดกำไรขององค์การธุรกิจ
3. รายการดอกเบี้ยสุทธิ(Net Interest) • ดอกเบี้ยที่บุคคลได้รับจากองค์การธุรกิจและสถาบันการเงินต่างๆหักด้วยดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะและหักด้วยดอกเบี้ยหนี้ของผู้บริโภค
4. กำไรของบริษัท(Corporation Profit) หรือกำไรของนิติบุคคลที่จัดสรรก่อนหักภาษี • กำไรที่บริษัทได้รับจากการผลิตสินค้าและบริการโดยกำไรที่นำมาคิดรวมนี้จะต้องเป็นกำไรของบริษัทก่อนหักภาษีและก่อนจัดสรรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
กำไรของบริษัท= ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินปันผล + กำไรที่มิได้จัดสรรเพื่อ สงวนไว้สำหรับบริษัท
5. รายได้ขององค์การธุรกิจที่มิใช่นิติบุคคล(Proprietors' Income) • กำไรและรายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปของบริษัทเช่นกิจการเจ้าของคนเดียวการประกอบอาชีพอิสระห้างหุ้นส่วนสหกรณ์ประเภทต่างๆ
6. รายได้ของรัฐบาล(Government Income) • รายได้จากทรัพย์สินและการประกอบการเช่นค่าเช่าดอกเบี้ยและเงินปันผลหรือกำไรจากการดำเนินกิจการรัฐวิสาหกิจ
รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติรายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ • เงินโอน(Transfer Payments) : เงินต่างๆที่บุคคลองค์การธุรกิจหรือรัฐบาลจ่ายให้แก่ประชาชนโดยที่ผู้รับไม่มีส่วนร่วมในการผลิตหรือไม่ก่อให้เกิดผลทางการผลิตสินค้าและบริการเป็นเพียง "การโอนอำนาจซื้อ" (Purchasing Powers)จากผู้ให้ไปยังผู้รับเท่านั้น
ประเภทของเงินโอน • เงินโอนส่วนบุคคล • เงินโอนนิติบุคคล • เงินโอนจากรัฐบาล
รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ(ต่อ)รายได้ที่ไม่นำมาคิดรวมในรายได้ประชาชาติ(ต่อ) • เงินที่ได้รับจากการชำระหนี้หรือจากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว • เงินที่ได้รับจากการกระทำผิดกฎหมาย
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย(Expenditure Approach) • การคำนวณรายได้ประชาชาติโดยนำเอารายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกันในระยะเวลา 1 ปี • ขั้นตอนการคำนวณเหมือนด้าน Product Approach
GDP = Cd + Id + Gd + Xd โดย Cd คือ รายจ่ายของภาคเอกชนเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ Id คือ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ Gd คือ รายจ่ายของรัฐบาลเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายใน ประเทศ Xd คือ รายจ่ายของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
ในทางปฏิบัติ ข้อมูลที่เก็บได้คือ ค่า C, I, GและX เมื่อ C = Cd + Cm I = Id + Im G = Gd + Gm X = Xd + Xm และm : Import
GDP = Cd + Id + Gd + Xd GDP = (C - Cm) + (I - Im) + (G - Gm) + (X - Xm) GDP = (C + I + G + X) - (Cm + Im + Gm + Xm) มูลค่าสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศ (M) GDP = C + I + G + ( X - M )
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย(Expenditure Approach) การคำนวณ GDP • รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(Personal Consumption Expenditures : C) • รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน(Personal Investment Expenditures : I) • รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการภาครัฐ(Government Purchases of Goods and Services : G) • การส่งออกสุทธิ(Net Export : X - M)
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน(Personal Consumption Expenditures : C) • รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นใหม่ในงวดที่คิดรายจ่ายนั้นโดยเอกชนบุคคลธรรมดาและสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไร • ประกอบด้วย รายจ่ายสำหรับสินค้าถาวร สินค้าไม่ถาวร และการบริการ • รวมถึงรายจ่ายที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงินด้วย
รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศของเอกชน(Personal Investment Expenditures : I) • รายจ่ายของเอกชนองค์การธุรกิจและสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยไม่หวังกำไรในการซื้อทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการลงทุน
รายจ่ายเพื่อการลงทุน ประกอบด้วย • รายจ่ายในการก่อสร้างอาคารสถานที่ทำการสำนักงานขึ้นใหม่รวมถึงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยขึ้นใหม่ของบุคคลธรรมดาด้วย • รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือถาวรที่ใช้ในการผลิต • ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ(Change in business inventories)
ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 12 - 10 = +2 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 12 บาท ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ปี 44 ขายสินค้าได้ 98 บาท GDPผลผลิต= GDPรายจ่าย = 100 98 + 2 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตเหลืออยู่ 2 บาท จึงต้องนำไปรวมในการคิด GDP ด้านรายจ่ายด้วย
สมมติว่าทุกปี จะผลิตสินค้ามูลค่า 100 บาท 1 มค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 10 บาท 7 - 10 = - 3 31 ธค. 44 มีสินค้าคงเหลือ 7 บาท ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ปี 44 ขายสินค้าได้ 103 บาท GDPผลผลิต= GDPรายจ่าย = 100 103 - 3 แสดงว่าปี 44 มีสินค้าที่ผลิตไม่พอกับความต้องการต้องนำสินค้าที่ผลิตในปีก่อนๆ ออกมาขายจำนวน 3 บาท จึงต้องนำไปหักออกในการคิด GDP ด้านรายจ่าย ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือส่วนเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ = สินค้าคงเหลือปลายปี- สินค้าคงเหลือต้นปี
รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการภาครัฐ (Government Purchases of Goods and Services : G) • รายจ่ายประเภทเงินเดือนค่าจ้างค่าเบี้ยเลี้ยงค่าล่วงเวลา • รายจ่ายสุทธิในการซื้อสินค้าและบริการจากองค์การธุรกิจ • รายจ่ายสุทธิในการลงทุนและรายจ่ายในการป้องกันประเทศ