E N D
สึนามิ • สึนามิเป็นคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดขึ้นในทะเลเป็นคลื่นยักษ์ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่ง โดยที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วสูง ความยาวคลื่นมากจนมีพลังรุนแรงเดินทางได้ในระยะไกล ซึ่งเกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงจนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ เป็นปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นเขตที่มีแนวของการเกิด แผ่นดินไหวและภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอยู่มาก
สาเหตุ สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเลแผ่นดินไหว หรืออุกกาบาตพุ่งชน
ลักษณะการเกิดคลื่นสึนามิลักษณะการเกิดคลื่นสึนามิ 1 1 2 2 3 3
ข้อแตกต่างระหว่างคลื่นน้ำธรรมดากับคลื่นสึนามิข้อแตกต่างระหว่างคลื่นน้ำธรรมดากับคลื่นสึนามิ
ว่ากันว่าสัตว์ทั้งหลาย เป็นเครื่องเตือนภัยแผ่นดินไหวที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากสัตว์หลายๆ ประเภทมีประสาทสัมผัสที่ไวกว่ามนุษย์เป็นสิบเป็นร้อยเท่า อย่างเช่นสุนัข นก หรือปลาโลมาเหล่านี้จะได้ยินความถี่เสียงที่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน ซึ่งก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวบนบก จะพบว่าสุนัขมักจะเกิดอาการกระวนกระวาย ไม่เชื่อฟังท่านเหมือนเคย วิ่งเหมือนต้องการจะหนีหรือตื่นกลัวอะไรบางอย่างหรือพวกนก จะบินกันอย่างแตกตื่น ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ปลาโลมาเป็นร้อยๆ ตัว ว่ายเกยตื้นมาตายบริเวณชายหาดของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สึนามิในประเทศไทย แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (มีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดียบริเวณด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้พื้นที่บริเวณเกาะสุมาตราได้รับความเสียหาย แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย-ออสเตรเลีย ลงข้างใต้แผ่นยูเรเซีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยได้แก่ ตรัง สตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต และระนอง นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
สึนามิในประเทศญี่ปุ่นสึนามิในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 การเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ญี่ปุ่น วัดระดับความรุนแรงได้ 8.9 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นธรณีภาคแปรซิฟิกกับแผ่นธรณีภาคอเมริกาเหนือ บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากกรุงโตเกียวราว 400 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปราว 24 กิโลเมตร ซึ่งเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ขนาดสูง 10 เมตร กระหน่ำพื้นที่เมืองเซนได ในจังหวัดมิยากิ ในเวลาต่อมา โดยเกลียวคลื่นขนาดมหึมากลืนรถยนต์ เรือ อาคารบ้านเรือนจำนวนมาก
ระบบเตือนภัยสึนามิ ศูนย์เตือนภัยสึนามิภาคพื้นแปซิฟิก (PTWC) ตั้งอยู่ใกล้ฮอนโนลูลู ฮาวาย • ทุ่นลอย (Buoy) อุปกรณ์ลอยน้ำสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือค้ำจุน ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทนแดด และทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ไม่เป็นสนิม รวมทั้งมีสมอและสายโยงยึดสมอ ที่มีความเหนียวทนทานสูง ทุ่นลอยมีหลายชนิด • เครื่องบันทึกความดันน้ำ (Bottom Pressure Recorder: BPR)อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่วัดความดันที่เปลี่ยนแปลงของน้ำบริเวณพื้นมหาสมุทร เพื่อใช้สำหรับการคำนวณหาระดับความ สูงของน้ำด้านบน ระบบนี้สามารถตรวจจับคลื่นสึนามิ ที่มีแอมพลิจูดเล็กเพียง ๑ เซนติเมตรได้ รวมทั้งยังสามารถ บันทึกข้อมูลวัน และเวลาที่บันทึกข้อมูล ค่าแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบและติดตามสถานภาพ ของอุปกรณ์ด้วย
การรับมือภัยคลื่นสึนามิการรับมือภัยคลื่นสึนามิ • 1.ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวหรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที • 2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดสึนามิตามมาได้ • 3.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบข่าวว่าจะเกิด สึนามิพัดเข้ามา • 4.คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากทางการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาด • 5.ติดตามการเสนอข่าวของทางการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง • 6.หากบ้านเรือนอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องสึนามิ • 7.ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนใกล้กับชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง