100 likes | 258 Views
การค้าทางทะเลของไทยที่ใช้เส้นทาง ผ่านอ่าวเอเดนและนอกชายฝั่งโซมาเลีย. ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. ความสำคัญของมหาสมุทรกับเศรษฐกิจ (สมุททานุภาพทางเศรษฐกิจ). พื้นที่โลกร้อยละ 70 เป็นทะเลที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และท่าเรือของโลก
E N D
การค้าทางทะเลของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านอ่าวเอเดนและนอกชายฝั่งโซมาเลียการค้าทางทะเลของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านอ่าวเอเดนและนอกชายฝั่งโซมาเลีย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ความสำคัญของมหาสมุทรกับเศรษฐกิจ(สมุททานุภาพทางเศรษฐกิจ)ความสำคัญของมหาสมุทรกับเศรษฐกิจ(สมุททานุภาพทางเศรษฐกิจ) • พื้นที่โลกร้อยละ 70 เป็นทะเลที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และท่าเรือของโลก • ทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ กว่าร้อยละ 60-70 อยู่ในทะเลและใต้พื้นทะเล • พื้นที่ชายฝั่งและอ่าว-เกาะแก่งในทะเล เป็นทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของทุกประเทศ • มหาสมุทรและทะเลเปิดเป็นเส้นทางที่ไม่ต้องลงทุนในการก่อสร้าง • สินค้าร้อยละ 90-95 ขนส่งทางทะเลและเป็นต้นทุนที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ • การค้าโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการขนส่งทางทะเลเพิ่มมากขึ้นทำให้มีการปกป้องเส้นทางเดินเรืออาจเป็นประเด็นความขัดแย้งทางทหาร • ประเทศต่างๆ แข่งขันในการพัฒนาท่าเรือ-กองเรือและปกป้องหรือต้องการยึดครองพื้นที่ทางทะเลเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ • เขตแดนทางทะเลไม่ชัดเจนทำให้มีการละเมิดและอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของ
เส้นทางเดินเรือสำคัญของโลกเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก อ่าวเอเดน
ปัญหาภัยคุกคามของโจรสลัดในอ่าวเอเดน ประเทศโซมาเลีย • บริเวณนอกชายฝั่งโซมาเลีย ที่มีความยาว 3,300 กิโลเมตร ผ่านอ่าวเอเดนเป็นเส้นทางที่เรือขนส่งน้ำมันกว่า 12% ของทั้งหมด • ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตั้งแต่เดือนมกราคม2554 มีเรือถูกโจรสลัดโซมาเลียโจมตี 92 ลำ ในจำนวนนี้ 36 ลำถูกโจรสลัดยึดไป และยังมีอีก 14 ลำที่จนถึงขณะนี้ก็ยังถูกควบคุมอยู่ พร้อมด้วยลูกเรือกว่า 250 คนที่ถูกจับเป็นตัวประกัน • มีการเรียกร้องให้สหประชาชาติ จัดกองกำลังลาดตระเวนเข้ามาในอ่าวเอเดน เพื่อเฝ้าระวังและกวาดล้างโจรสลัด
เลี่ยงเส้นทางอันตรายค่าขนส่งพุ่งเลี่ยงเส้นทางอันตรายค่าขนส่งพุ่ง • เลี่ยงไปใช้เส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปเพื่อเข้าสู่ยุโรปและอเมริกาเหนือแทน แต่ปัญหาคือต้องใช้เชื้อเพลิงเพิ่มเติมอีก 750 ตัน อันจะมีผลให้ต้นทุนดำเนินการและราคาสินค้าสูงขึ้น • เสียเวลามากขึ้น 12 วัน • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 750เมตริกตัน
ปัญหาการจู่โจมเรือสินค้าของโจรสลัดทวีความรุนแรงมากขึ้นปัญหาการจู่โจมเรือสินค้าของโจรสลัดทวีความรุนแรงมากขึ้น • หลายประเทศในเอเซียให้ความสำคัญตระหนักในการแก้ไขปัญหา เช่น สิงคโปร์มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ • เรือสินค้าของไทยต้องผ่านบริเวณอ่าวเอเดนไม่น้อยกว่า 30 เที่ยวต่อเดือน และเรือของเอกชนไทยก็ถูกเคยโจรสลัดยึด • รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และร่วมมือกับประเทศอื่นในการปราบปรามโจรสลัดบริเวณประเทศโซมาเลีย • ขอให้ประเทศที่มีศักยภาพทางด้านการค้าและทหารส่งเรือรบเข้าไปคุ้มกันเรือสินค้าทุกลำที่วิ่งผ่าน
ปัญหาโจรสลัดโซมาเลียเป็นปัญหาของไทยปัญหาโจรสลัดโซมาเลียเป็นปัญหาของไทย ท่องเที่ยว 10.82% ลงทุน 17% • ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเกี่ยวข้องกับประเทศไทยและคนไทยเพราะสินค้าส่งออกของไทยร้อยละ 30%ใช้เส้นทางนี้ • พื้นที่ที่โจรสลัดกำลังปฏิบัติการอยู่เป็นเส้นทางเดินเรือ (SLOC : Sea LinesOf Communication) • เป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางไปยุโรปและฝั่งตะวันออกของอเมริกา • เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากไทยกับ ยุโรปและแอฟริกาตะวันออก • เมื่อเกิดภัยจากโจรสลัดค่าประกันภัยและค่าระวางเรือสินค้าของไทยที่ผ่านเส้นทางนี้สูงขึ้นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะถูกผลักภาระมายังผู้ส่งออกและนำเข้าของไทย ส่งออก บริโภคภายใน 52.4% 52.2% นำเข้า 9.5% เกษตร 36.1% การใช้งบฯรัฐบาล 17.1-19.8% สัดส่วนโครงสร้าง GDP ของไทย
ประมาณการณ์ความต้องการขนส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าของไทยในอนาคตประมาณการณ์ความต้องการขนส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าของไทยในอนาคต ล้านเมตริกตัน/ปี สัดส่วนการส่งออก-นำเข้า : คู่ค้าหลักด้านอ่าวไทย 39.6 %คู่ค้าหลักด้าอันดามัน 60.4%
แนวทางการแก้ไขปัญหาโจรสลัดโซมาเลียแนวทางการแก้ไขปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย จากการประชุมInternational Conference on Piracy around Somalia ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา มีแนวทางการแก้ไขปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย • ประณามการกระทำอันเป็นโจรสลัด และสนับสนุนข้อมติเกี่ยวกับโจรสลัดของ UNSC • สนับสนุนการดำเนินการของกองกำลัง CTF 150 NATO และ EU ในการรักษาความสงบทางทะเล • เรียกร้องให้นานาชาติให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในของโซมาเลียโดยให้การสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ความตกลง Djibouti • ให้การสนับสนุนประเทศในภูมิภาคและองค์การระหว่างประเทศในการต่อสู้ปัญหาโจรสลัด โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบกฎหมายภายในและกฎหมายทะเล • การสนับสนุนรัฐบาลชชั่วคราวโซมาเลีย (TFG) ในการให้ความช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของโซมาเลีย อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาโจรสลัดที่ต้นเหตุ
END ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tanitsorat.com หรือ www.fti.or.th