470 likes | 609 Views
ก๊าซพิษและการจัดซื้อ. พนักงานฝ่ายบุคคลจะวางแผนจัดซื้อต้องแจ้งให้ The office of health and safety ทราบ The office of health and safety จะอนุญาตให้จัดซื้อได้ โดยจะส่งพนักงานผู้เชี่ยวชาญในห้องปฎิบัติการ หลังจากแน่ใจว่าก๊าซนั้นปลอดภัย
E N D
ก๊าซพิษและการจัดซื้อ • พนักงานฝ่ายบุคคลจะวางแผนจัดซื้อต้องแจ้งให้ The office of health and safety ทราบ • The office of health and safety จะอนุญาตให้จัดซื้อได้ โดยจะส่งพนักงานผู้เชี่ยวชาญในห้องปฎิบัติการ หลังจากแน่ใจว่าก๊าซนั้นปลอดภัย • พื้นที่ที่จะใช้ก๊าซพิษนั้น จะต้องเป็นห้องเดี่ยวๆแยกจากห้องอื่นๆ • 2352
ก๊าซไวไฟ (Flammable gases) • กระบอกสูบที่เต็มหรือว่าง จะต้องไม่เก็บไว้ในห้องปฎิบัติการ • ขนาดของกระบอกสูบจะต้องไม่เกิน 200 ลูกบาศก์ฟุต • ท่อจะต้องเหมาะสมกับก๊าซ เช่น ไม่ใช้ท่อพลาสติกในระบบความดันสูง • เมื่อปฏิบัติงานเสร็จ วาล์วที่อยู่บนกระบอกสูบต้องปิดให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องปฏิบัติการ
การเก็บรักษากระบอกสูบการเก็บรักษากระบอกสูบ • ควรเก็บข้างนอกหรือแยกต่างหากจากห้อง • การเก็บไว้ข้างนอกต้องป้องกันฝน และบริเวณที่เก็บต้องปลอดภัย เข้าออกได้สะดวก • กระบอกสูบที่มีก๊าซและไม่มีก๊าซต้องจัดเก็บให้สามารถเห็นได้ชัดเจน • ก๊าซไวไฟที่บรรจุในกระบอกสูบต้องไม่อยู่ใกล้กับตัวออกซิไดส์
การควบคุมและการจัดเก็บกระบอกสูบอัดก๊าซการควบคุมและการจัดเก็บกระบอกสูบอัดก๊าซ • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการต้องได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญของ Office of health and safety • กระบอกสูบอัดก๊าซจะต้องใช้พาหนะในการเคลื่อนย้ายที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ • กระบอกสูบอัดก๊าซต้องไม่มีการเคลื่อนย้ายจนกว่าจะแน่ใจว่าวาล์วนั้นปิดสนิทและมีความปลอดภัย
การควบคุมและการจัดเก็บกระบอกสูบอัดก๊าซการควบคุมและการจัดเก็บกระบอกสูบอัดก๊าซ • กระบอกก๊าซต้องน่าเชื่อถือและปลอดภัยทุกครั้งที่จะใช้งาน • วาล์วหลักๆของกระบอกก๊าซ ควรเปิดสำหรับรับก๊าซที่ต้องการให้ไหลเข้ามาเท่านั้น • เมื่อพบรอยรั่วของกระบอกก๊าซต้องรีบตรวจสอบทันที • ห้องปฏิบัติการที่มีการใช้ก๊าซพิษ ควรมีหน้ากากป้องกันเตรียมไว้ให้พร้อมด้วย
กระบอกที่ไม่ใช้งานแล้ว (Empty Cylinders) • ควรมีการติดฉลากและพร้อมจะเคลื่อนย้ายได้ โดยฉลากต้องมีขนาดใหญ่ ติดแน่น ไม่หลุดง่าย • วาล์ว ปิด/เปิด ควรนำลวดติดป้ายไปพันไว้ เพื่อบอกว่าเป็นวาล์วอะไร • การส่งคืนกระบอกเปล่า ต้องได้รับการจัดส่งกระบอกใหม่มาก่อน • กระบอกเปล่าที่ยังไม่มีป้ายและฉลากต้องไม่นำมาใช้ ควรติดป้ายบอกว่า “Contents Known” • กระบอกที่ใช้บรรจุก๊าซพิษต้องได้รับการจัดการให้เป็นไปตามที่สถาบันสุขภาพและความปลอดภัยกำหนดไว้
การควบคุมความดันและวาล์วเปิด/ปิดต่างๆการควบคุมความดันและวาล์วเปิด/ปิดต่างๆ • ก๊าซชนิดต่างๆกันควรมีวาล์วเฉพาะเป็นของตัวเอง • กระบอกและวาล์วต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจาก National Compressed Gas Association • วาล์วต้องสะอาด เวลาไปสัมผัสต้องไม่ลื่นหรือแน่นจนเกินไป • วาล์วตามจุดเชื่อมต่างๆต้องแข็งแรงและมีขนาดของตัวหมุนที่เหมาะสม • ควรเปิดวาล์วอย่างช้าๆและหลีกเลี่ยงการยืนหน้าตัวควบคุม เพราะความดันของกระบอกอาจกระแทกแก้วออกมาได้ ทำให้เกิดอันตราย
การทดสอบรอยรั่ว • จะใช้สารละลาย เช่น สบู่ สังเกตรอยรั่วภายใต้ความดัน โดยอาจจะมีฟองอากาศเล็ดลอดออกมาจากรอยรั่ว • Cylinders ควรจะทดสอบรอยรั่วทั้งก่อนและหลังการติดตั้งเครื่องมือ
SAFE USE OF LABORATORY EQUIPMENT AND FACILITIES
Electrical • เครื่องมือทางไฟฟ้าที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจะต้องต่อสายดิน • จะต้องเสียบปลั๊กกับเต้ารับ จะทำให้มีความปลอดภัย • สายไฟจะต้องสั้นและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และต้องอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเดินและการตกหล่นของเครื่องมือน้อยที่สุด • การเดินสายไฟจะต้องหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่างๆ ถ้าไม่หลบหลีกจะต้องแน่ใจว่า การเดินสายไฟมีความเหมาะสม ซึ่งอาจจะปรึกษาบริษัทที่เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า
Heating Devices • อุปกรณ์ที่ไม่ได้ควบคุมความร้อน จะต้องไม่ใช้ใกล้กับสารที่ติดไฟง่าย และบริเวณนั้นต้องไม่มีคนอยู่ • Hot plates และ Heating mantles ต้องมีส่วนที่ล้อมรอบและมีระบบควบคุมความร้อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
Personnel Safety • บุคลากรทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรมในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะอย่างที่ออกแบบมาเพื่อ เก็บ / ขนส่ง และรักษาผลิตภัณฑ์ • ถุงมือ / รองเท้า / ผ้ากันเปื้อน และอุปกรณ์ป้องกันดวงตา จะต้องสวมใส่เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการสัมผัส
Centrifuges • ผู้ที่จะใช้เครื่องต้องผ่านการอบรมการใช้เครื่องอย่างถูกวิธี • การ centrifuges ทำให้เกิด “Physical Hazard” คือ เกิดกลไกการแตกหรือแยกของเหลวที่ผ่านการอัดอากาศ โดยจะได้เป็นหยดน้ำเล็กๆ • ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบสภาพเครื่องทั้งก่อนใช้งานและหลังจากใช้งานแล้วทุกครั้ง • ขั้นตอนการใช้งานของเครื่องจะต้องกำหนดโดยผู้ควบคุมเครื่องและต้องสอดคล้องกับคู่มือปฏิบัติงานด้วย
Centrifuges • คู่มือปฎิบัติงานประกอบด้วย แนวทางการ centrifuges จุลินทรีย์ก่อโรค , อันตรายจากสารเคมี และวัตถุที่มีกัมมันตภาพรังสี • ห้องปฎิบัติการที่ centrifuges พวกจุลินทรีย์ก่อโรค ควรจะติดป้ายหรือข้อความเตือนให้ระวังอันตรายไว้ด้วย • ควรใช้หลอดที่เป็นพลาสติกเพราะจะได้ไม่แตกหักง่าย • หลอดที่จะนำมาปั่นเหวี่ยงไม่ควรใส่ของเหลวจนปริ่ม เพราะในขณะที่เครื่องทำงานจะเกิดแรงเหวี่ยง ทำให้ของเหลวพุ่งออกมาจากหลอดได้
Laser • หลักของการแบ่งประเภทเลเซอร์ แบ่งโดยใช้ระดับของความอันตราย โดยดูจากความเข้มในการแผ่รังสี • แบ่งตาม The American National Standards Institute (ANSI) • วิธีการใช้งานเลเซอร์ที่ปลอดภัย จะถูกกำหนดและควบคุมโดย The Office of Health and Safety
Ultraviolet Lights • แสงยูวี คือ คลื่นพลังงานแสงที่มองเห็นได้ ภายใต้ความเข้มของแสงและระยะเวลาที่สัมผัสเหมาะสม • เราสามารถใช้แสงยูวีทำลายจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ประสิทธิภาพของมันยอดเยี่ยมที่สุดเมื่อนำมาใช้เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่อยู่บนพื้นผิวและในอากาศ • ปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของเครื่องให้กำเนิดแสง และการรวมแสง สามารถทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
วิธีการป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากแสงยูวีวิธีการป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากแสงยูวี • ตาและผิวหนังต้องไม่สัมผัสกับแสงยูวีโดยตรง หากสัมผัสจะเกิดอาการต่างๆ ซึ่งความรุนแรงขึ้นกับปริมาณแสง ความยาวคลื่น และอาการแพ้แสงของแต่ละคน • ควรมีป้ายเตือนติดที่หน้าประตูห้องปฏิบัติการและห้องของสัตว์ทดลอง • ควรสวมแว่นตาที่มีที่ครอบตาปิดด้านข้างและป้องกันผิวหนังโดยสวมหมวก ถุงมือ เสื้อกาวน์ • เครื่องฉายแสงยูวีควรทำความสะอาดสม่ำเสมอและเปลี่ยนอุปการณ์ตามที่ผู้ผลิตได้แนะนำไว้
วิธีการป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากแสงยูวีวิธีการป้องกันเพื่อให้ปลอดภัยจากแสงยูวี
Microwave ovens • ควรระมัดระวังเมื่อนำไปใช้หลอมวุ้น เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ • ฝาปิดและฝาเกลียวของขวดควรคลายออก เมื่อจะนำมาอบ เพื่อป้องกันการระเบิด • ควรใส่ถุงมือป้องกันความร้อนและป้องกันการเกิดไฟไหม้ • ควรใส่เสื้อคลุมยาวเมื่อใช้เตาไมโครเวฟทุกครั้ง
Autoclaves • ต้องใช้งานตามที่คู่มือระบุไว้ • วิธีใช้แบบฉุกเฉินต้องติดไว้ข้างๆตัวเครื่องเสมอ • ผู้ใช้เครื่องต้องเป็นผู้ที่ฝึกมาอย่างดี • ควรสวมใส่เครื่องป้องกันตา ถุงมือกันความร้อน และผ้ากันเปื้อน • ไม่ควรเปิดฝาเร็วเกินไปเมื่อเครื่องทำงานเสร็จ เพราะอาจเกิดการประทุของของเหลวและก๊าซพิษ • ต้องบันทึกการใช้งานทุกครั้ง
การถอดอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการการถอดอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ • อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการต้องปราศจากสารเคมีอันตรายหรือจุลินทรีย์ที่อาจทำให้ติดเชื้อ • กรอกแบบฟอร์ม CDC.0593 ให้ครบถ้วนและติดลงบนอุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะถอดออก เพื่อบำรุงรักษา ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ • ปรึกษาผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการทุกครั้ง
การตรวจเช็คอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการการตรวจเช็คอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ • ต้องแจ้งพนักงานในห้องปฏิบัติการให้ทราบเกี่ยวกับ Biosafety level และให้ปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างเคร่งครัด • พนักงานที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพังในห้องปฎิบัติการ เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ • เมื่อพบอุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนหรือเสียหายจนใช้งานไม่ได้ ควรแจ้งให้ทางหน่วยงานได้รับทราบ • ควรใช้คู่มือประกอบการตรวจเช็คเสมอ ถ้าไม่ทราบวิธีการตรวจเช็ค ไม่ควรลองผิดลองถูก
Corridors • อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการไม่ควรเก็บไว้ที่ทางเชื่อม แต่มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เฟอร์นิเจอร์ วัสดุต่างๆ • ทางเชื่อมหรือทางเดิน ต้องใช้เป็นที่อพยพเจ้าหน้าที่ได้ในกรณีฉุกเฉิน • ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางใดๆ เพื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกู้ภัยจะได้ทำงานได้สะดวกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น • ตู้เย็นซึ่งไม่ได้บรรจุเชื้อโรค และสารรังสี อนุญาตให้วางได้
มาตรฐานในการกำหนดทางเดินในตึกมาตรฐานในการกำหนดทางเดินในตึก • ทางเดินจะต้องโล่ง โดยมีความกว้างอย่างน้อย 44 นิ้ว • รายการทั้งหมดต้องใส่ไว้ด้านเดียวของทางเดินเท่านั้น • ให้มีระยะอย่างน้อย 18 นิ้ว ระหว่างอุปกรณ์และกลอนข้างประตู • อุปกรณ์ต้องไม่กีดขวางประตูฉุกเฉิน • อุปกรณ์ต้องไม่ขยายออกไปมากกว่าผนังของหัวมุม • อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องต่ออยู่กับเครื่องรับที่ติดอยู่อย่างถาวร
DECONTAMINATION AND DISPOSAL OF LABORATORY WASTES
ระเบียบข้อบังคับ • วัตถุอันตรายทางชีวภาพทั้งหมด ต้องทำให้ปลอดภัย เก็บในภาชนะที่เหมาะสม • ขยะสารเคมีอันตรายและสารกัมมันตรังสี ต้องกำจัดโดยวิธีการที่กำหนดไว้โดย OSH • เครื่องแก้วและพลาสติก ต้องทิ้งในภาชนะที่จัดไว้ให้ • ขยะที่เป็นพิษต้องป้องกันไม่ให้ปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม • ผู้ปฏิบัติการต้องตรวจเช็ค ดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
Decontamination of reusible items • วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อนแล้วและจะนำกลับมาใช้อีก จะต้องทำความสะอาดสิ่งเจือปนก่อน • ต้องแยกชิ้นที่นำกลับมาใช้ได้และใช้ไม่ได้ออกจากกันอย่างชัดเจน • วัสดุและอุปกรณ์ที่นำกลับมาใช้ ต้องใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด พันด้วย autoclave tape ซึ่งจะนำไป autoclave ต่อไป • วัสดุและอุปกรณ์ที่จะทิ้ง ต้องใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด และติดฉลากให้ชัดเจน • หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้ เช่น OSH , SRP , NCID
Decontamination of disposable laboratory waste • วัสดุและอุปกรณ์ที่จะทิ้ง ต้องนำไป autoclave ยกเว้นชิ้นที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีอันตราย หรือ สารกัมมันตรังสี • เสื้อกาวน์ที่ใช้แล้วทิ้ง ถุงมือ หน้ากาก ให้ใส่ลงในถุง autoclave และนำไป autoclave ได้เลย • ก่อนปิดถุงให้เติมน้ำประมาณ 500 ml รัดถุงหลวมๆด้วย autoclave tape เพื่อให้ไอน้ำซึมผ่านออกไปได้ • ไม่ควรใช้ถุง autoclave กับเครื่องแก้ว ให้ใส่ในภาชนะโดยตรง เพราะบางครั้งถุงอาจจะละลาย ทำให้เครื่องแก้วเสียหายได้
Disposal of needles and sharps • เข็มและของมีคมอื่นๆ ต้องใส่ในภาชนะที่แข็ง ทนต่อการถูกเจาะ และมีฝาปิดสนิท • กระบอกฉีดที่ติดอยู่กับเข็ม ต้องแยกเข็มออกก่อน • ภาชนะที่ทิ้งของมีคมต้องมีการติดฉลากชัดเจน • การกำจัดเข็มและของมีคม ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างสูง เพราะเกิดอันตรายได้ง่าย • เข็มต้องไม่โค้งงอ แตกหัก หรือมีรอยตัด เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น