1 / 68

โดย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล

การดูแลเยียวยาเด็กจากความรุนแรง. โดย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล. “ เด็กได้รับผลกระทบตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดภัยพิบัติ ”. เด็กมักได้รับการดูแลที่น้อยกว่า เพราะ คิดว่าเด็กไม่คิดมาก เด็กยังไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จะช่วยเหลือเด็กอย่างไร

Download Presentation

โดย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดูแลเยียวยาเด็กจากความรุนแรงการดูแลเยียวยาเด็กจากความรุนแรง โดย พญ. พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล

  2. “เด็กได้รับผลกระทบตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดภัยพิบัติ”“เด็กได้รับผลกระทบตั้งแต่วินาทีแรกที่เกิดภัยพิบัติ” เด็กมักได้รับการดูแลที่น้อยกว่า เพราะ • คิดว่าเด็กไม่คิดมาก เด็กยังไม่รู้เรื่อง • ไม่รู้จะช่วยเหลือเด็กอย่างไร • มองข้ามเด็กบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ

  3. เป้าหมาย : ป้องกันผลกระทบต่อเนื่อง: ผสมผสานการดูแลทางสังคมจิตใจ

  4. สาระสำคัญ • สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดความกดดันด้านจิตใจ • ลักษณะปฏิกิริยาด้านจิตใจของเด็กช่วงวัย 0-5 ปี 6-12 ปี และ 13-18 ปี • แนวทางการการเยียวยา

  5. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การสูญเสียพ่อแม่ เด็ก ๆ ที่สูญเสียพ่อ หรือแม่ หรือญาติใกล้ชิด จะมีความรู้สึกเสียใจ หวาดกลัวมีความกังวลสูง กังวลการใช้ชีวิตในอนาคตสูญเสียความเชื่อมั่น ต้องการที่พึ่งทางจิตใจ แสดงปฏิกิริยาด้านจิตใจ เช่น เศร้าโศก งอแง ถดถอย หรือเข้ามาใกล้ชิดคลอเคลีย กอด หรือสัมผัสเพื่อให้ได้ความรู้สึกที่ดีจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด

  6. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การบาดเจ็บของพ่อแม่ เด็กมีความกังวลใจ ไม่สบายใจต่อการบาดเจ็บ และอาจกระทบต่อความเป็นอยู่ การดูแลเด็กในชีวิตประจำวัน รวมทั้งปฏิกริยาของผู้ใหญ่ในครอบครัวต่อการบาดเจ็บ พิการ ส่งผลต่อความกังวลใจของเด็ก

  7. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก • การบาดเจ็บของตัวเด็กเอง เด็กต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากการบาดเจ็บ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ขึ้นกับความรุนแรง การสูญเสียอวัยวะ และวัยของเด็กต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านร่างกายของตนเอง

  8. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การสูญเสียทรัพย์สิน ส่งผลต่อความตึงเครียดของพ่อแม่ และกระทบต่อการดูแลเด็ก รวมทั้งการต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเป็นอยู่ ปัจจัยในการดำรงชีวิตประจำวัน

  9. ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก การเผชิญกับสถานการณ์ที่รุนแรง เด็กสามารถรับรู้ปฏิกิริยาความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่เด็กอาจไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ กระทบต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทางจิตใจ เกิดอาการตกใจ หวาดผวา ไม่เชื่อมั่นในสภาพแวดล้อม บางรายอาจฝังความรู้สึกหวาดกลัวต่อเหตุการณ์อย่างรุนแรง แสดงอารมณ์หวั่นไหว หวาดวิตก นอนไม่หลับ ฝันร้าย เหม่อลอยหรือเฉื่อยชา ซึ่งหากไม่ได้รับการเยียยาจะนำไปสู่การเกิดบาดแผลทางจิตใจ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้และบุคลิกภาพของเด็กในระยะยาวได้

  10. เด็กที่ได้รับผลกระทบ • เด็กที่ประสบเหตุโดยตรง • เด็กที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก • เด็กที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ • เด็กที่โรงเรียนเสียหาย • เด็กที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ (รับรู้เหตุการณ์)

  11. การบาดเจ็บด้านจิตใจ เด็กที่เผชิญเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญ ประกอบด้วย 1. พบเห็นหรือเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต หรือคุกคามต่อชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัส หรือคุกคามต่อสภาพร่างกายของตนเองและผู้อื่น 2. มีปฏิกิริยาตอบสนอง ประกอบด้วยอาการตื่นตระหนก หวาดกลัวอย่างรุนแรง ความรู้สึกสิ้นหวัง หรือความหวาดผวา ซึ่งเด็กอาจแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่สับสน หรือกระวนกระวาย

  12. สาเหตุความกดดัน • สูญเสียความมั่นคงในชีวิต • สูญเสียสัมพันธภาพ • สูญเสียสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและคุ้นเคย

  13. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการแสดงออกของเด็กที่ประสบหายนะภัยตามวัย ความเข้าใจของเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความตาย อารมณ์ที่เด็กมักแสดงออกต่อการสูญเสียคนที่รัก ขั้นตอนของความเศร้าโศก สัญญาณของการจัดการกับปัญหาที่มี/ไม่มีประสิทธิภาพ

  14. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการแสดงออกของเด็กที่ประสพหายนะภัย ปฏิกิริยาของเด็กขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายที่เด็กได้ประสพพบเห็นด้วย หากเพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต พลัดหลง หรือหายสาบสูญไป เด็กก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตใจมากขึ้น อายุของเด็กเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออก เช่น เด็กอายุหกขวบ อาจแสดงความกังวลใจโดยการไม่ยอมไปโรงเรียน ในขณะที่เด็กวัยรุ่นอาจแกล้งทำเป็นไม่เดือดร้อนใจ แต่อาจโต้เถียง หรือขัดแย้งกับพ่อแม่มากขึ้น และพฤติกรรมการเรียนแย่ลง การอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงเหตุการณ์โดยใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจได้จึงสำคัญมาก

  15. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปฎิกริยาด้านจิตใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปฎิกริยาด้านจิตใจ • ปัจจัยจากเหตุการณ์ • ปัจจัยจากตัวเด็ก • ปัจจัยจากครอบครัว • ปัจจัยจากสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม

  16. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปฎิกริยาด้านจิตใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปฎิกริยาด้านจิตใจ • ความรุนแรงของเหตุการณ์ • ความถี่ของเหตุการณ์ • ความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ • การเผชิญกับความน่ากลัว • การสูญเสียคนในครอบครัว • ผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์ เช่น ขาดที่อยู่อาศัย ต้องแยกจากครอบครัว ความเสียหายของโรงเรียน

  17. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการแสดงออกของเด็กที่ประสพหายนะภัยของเด็กวัย 1 - 5 ปี • มีอาการกลัว เช่น กลัวความมืด กลัวคนแปลกหน้า กลัวสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเขา กลัวเสียงดัง • แอบหลบอยู่ในมุมที่เขารู้สึกปลอดภัย • เด็กจะมีอาการโยเย วุ่นวาย กวนมากขึ้น ดื้อ บางคนอาจลุกลี้ลุกลน อยู่ไม่นิ่ง บางคนอาจกลายเป็นเด็กเงียบ ไม่ยอมพูด และบางคนอาจเล่าถึงเหตุการณ์ที่ประสบแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ติดผู้ใหญ่มากขึ้น • เด็กบางคนอาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ตีพี่/น้อง หรือถกเถียงตะโกนใส่ผู้ใหญ่ • มีอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ที่ไม่สามารถอธิบายถึงความรู้สึกเจ็บปวดของตนเองได้ • นิสัยการกิน การนอนของเด็กจะเปลี่ยนไป

  18. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการแสดงออกของเด็กที่ประสพหายนะภัย • กลัวการอยู่คนเดียว พยายามเกาะติดแจอยู่กับผู้ปกครอง ร้องไห้เมื่อถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวแม้เพียงชั่วครู่ • หยุดคิด หรือแสดงออกเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นไม่ได้ • การนอนผิดปกติไปจากเดิม รวมทั้งเวลาเข้านอน และพฤติกรรมก่อนเข้านอน กลัวการเผลอหลับไป ตื่นบ่อย หรือนอนมากในเวลากลางวัน • ฝันร้าย บางครั้งอาจกรีดร้องในขณะหลับ หรือตกใจตื่นแล้วร้องไห้ • พฤติกรรมคล้ายถดถอยไปเป็นเด็กกว่าเดิม (เช่น ปัสสาวะรดที่นอน เกาะติดพ่อแม่ กลับไปดูดนมขวดหลังจากที่เลิกไปแล้ว ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน

  19. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ ของเด็กวัย 6 – 11 ปี ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นถือเป็นการตอบสนองอย่างปกติของเด็กวัย 6 – 11 ปี • เด็กจะแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน ๆ • ต้องการให้พ่อแม่อยู่ใกล้ชิด และให้ความสนใจแทบตลอดเวลา • ขาดสมาธิ • มีพฤติกรรมกลับไปเป็นเด็ก ๆ อีก เช่น ร้องไห้ให้แม่ป้อนข้าว • ช่วยแต่งตัว พาเข้าห้องน้ำ อิจฉาน้องเล็ก ๆ • เด็กบางคนจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่ • อยากทำกิจกรรมต่าง ๆ แม้แต่กิจกรรมที่เคยทำให้รู้สึกสนุกสนาน • กลัวการนอนคนเดียว กลัวความมืด มีปัญหาการนอน เช่น • นอนไม่หลับ ฝันร้าย • เด็กจะรู้สึกสูญเสียอย่างลึกซึ้ง ถ้าเพื่อนเล่นที่เขาผูกพันพลัดพรากจากไป • มีอาการทางกายที่เกิดจากความเครียด เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ • คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดผื่นที่ผิวหนัง หรือมีอาการ • ปวด แต่บอกไม่ได้ว่าปวดตรงไหน

  20. ปฏิกิริยาทางอารมณ์ ของเด็กวัย 12 – 14 ปี ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นถือเป็นการตอบสนองอย่างปกติของเด็กวัย 12 – 14 ปี • เด็กจะไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่เขาเคยทำได้ ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน • การเรียน หรือสิ่งที่เคยรับผิดชอบมาก่อน • มีพฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว • หรือเพื่อน ๆ เลิกสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ • มีพฤติกรรมก่อกวน ต่อต้านผู้ใหญ่ เด็กบางคนเป็นเด็กดีที่บ้าน • เพราะไม่อยากเป็นภาระของพ่อแม่ แต่กลับไปสร้างปัญหาที่โรงเรียน • เช่น มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับเพื่อน ลักขโมย • มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ทดลองดื่มสุรา หรือใช้ยาเพื่อจัดการกับ • ความรู้สึกสูญเสีย ความกลัว และความกังวลที่เกิดขึ้น • มีอาการทางกายที่เกิดจากสาเหตุทางจิตใจ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง • คลื่นเหียนอาเจียน มีผื่นที่ผิวหนัง ท้องอืดท้องเฟ้อ มีอาการปวดโดย • บอกไม่ได้ว่าปวดตรงไหน • มีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนมากเกินไป ฝันร้าย

  21. ความเข้าใจของเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความตาย • ช่วงอายุ 3 – 5 ขวบ ในช่วงอายุนี้ เด็กจะคิดถึงความต้องการของตนเองก่อน (หนูจะอยู่กับใคร?) เด็กอาจมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธความสูญเสียค่อนข้างมาก และอาจพูดแบบไร้เดียงสาว่า “เดี๋ยวเขาก็กลับมา” • ช่วงอายุ 5 – 9 ขวบ ในช่วงอายุนี้ เด็กสามารถที่จะเข้าใจความตายในทางกายภาพได้ จึงมักจะถามคำถามต่าง ๆ หลายประการ หรืออาจมีอารมณ์รุนแรง แต่ในบางครั้งก็อาจดูเหมือนไม่เดือดเนื้อร้อนใจ หรือยังคงเล่นสนุกต่อไปเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นการป้องกันตัวเองตามธรรมชาติของเด็กที่จะจัดการกับความเจ็บปวดทีละเล็กทีละน้อย

  22. ความเข้าใจของเด็กในช่วงอายุต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความตาย อายุ 9 ขวบ หรือมากกว่า เด็กในช่วงอายุนี้จะสามารถพัฒนาความเข้าใจถึงผลกระทบ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นติดตามมาภายหลังความตาย และความเข้าใจเช่นนี้ทำให้ความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งขึ้นสำหรับเขา

  23. ขั้นตอนของความเศร้าโศกขั้นตอนของความเศร้าโศก ลำดับขั้นต่อไปนี้อาจไม่เรียงตามลำดับเสมอไป และบางครั้งอาจ คาบเกี่ยวกัน หรือ เกิดซ้ำซ้อนกันได้ • ปฏิเสธ(Denial)เด็กจะพยายามสร้างจินตนาการว่าคนที่ตายไปแล้วจะกลับมาอีก • ความโกรธ(Anger)เด็กอาจโกรธคนที่ตายไป หรืออาจโกรธคนอื่น ๆ โดยไม่มีเหตุผล • การต่อรอง(Bargain)เด็กอาจจะร้องขอ หรือเสนอข้อแลกเปลี่ยนต่อพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ขอให้นำคนที่ตนรักกลับคืนมา

  24. ขั้นตอนของความเศร้าโศกขั้นตอนของความเศร้าโศก • ความรู้สึกผิด และซึมเศร้า(Guilt / Depression)บ่อยครั้งเด็กจะรู้สึกว่าตัวเองมีส่วนรับผิดชอบในการที่คนที่ตัวเองรักต้องตายจากไป หรือรู้สึกแย่ที่เคยปฏิบัติตัวไม่ดีต่อเขาเมื่อตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ • การยอมรับ(Acceptance)หรือการทำใจได้แล้ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจ แต่ในทางกลับกัน ความเศร้าโศก “อย่างปกติ” อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปนานถึงหนึ่ง หรือสองปีทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ และความเศร้าโศกจากการสูญเสียคนที่รักอาจไม่มีวันจบสิ้นตลอดไป

  25. สัญญาณของการจัดการกับปัญหาที่มีประสิทธิภาพสัญญาณของการจัดการกับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ • ระดับความเครียดต่ำ • จะต้องไม่สับสน หรือหมดความรู้สึกทางอารมณ์(emotion numbing) • ความทรงจำที่รบกวนลดน้อยลง • บุคคลนั้นสามารถพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และมีมุมมองอื่นๆเพิ่มขึ้น • บุคคลนั้นสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน และตอบคำถามต่าง ๆได้

  26. บุคคลนั้นยังสามารถ : • ทำกิจกรรม / ทำงานต่าง ๆ ต่อไปได้หรือไม่? • ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้หรือไม่? • ตอบสนองต่อสังคมหรือไม่

  27. ปัจจัยจากตัวเด็ก • อายุของเด็ก • เพศ ไม่พบความแตกต่าง • ทักษะการปรับตัว ความสามารถในการเผชิญกับความกดดันและการจัดการกับอารมณ์และเครียด • ความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุการณ์ ลักษณะอารมณ์และพฤติกรรม ความสูญเสีย ด้อยโอกาส • ความเข้มแข็งทางจิตใจ ความสัมพันธ์การสนับสนุนจากคนรอบข้าง ความสามารถ เชื่อมั่นในตนเอง

  28. ปัจจัยจากครอบครัว ปฎิกริยาของพ่อแม่ • ความสามารถของพ่อแม่ในการดุแลเด็กระหว่างและหลังเกิดเหตุการณ์ • ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อเด็ก • ความสามารถในการสื่อสารกับลูกให้เข้าใจสถานการณ์ การทำหน้าที่ของครอบครัว • การรักษาขอบเขตของครอบครัว • การตอบสนองทางอารมณ์

  29. ปัจจัยจากสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เครือข่ายความสัมพันธ์ • ช่วยสนับสนุนเด็ก ลดความตึงเครียดให้เด็กและครอบครัว • รักษาความรู้สึกถึงความผูกพันธ์ที่มี ชุมชน • ภาวะผู้นำ ความเหนียวแน่นของชุมชน การสนับสนุนครอบครัว บริการในชุมชน การเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ วัฒนธรรม • ความยอมรับด้านอารมณ์การแสดงออกของเด็ก

  30. Psychiatrist Services by mental Health professionals Peer or Group Support programmes Routine created Mourning expressed Economic recovery Healthy Coping Mechanisms Encouraged Volunteers involved Normal Reaction to grief and loss Psycho-Social Support

  31. สภาวะจิตใจ • ปฏิกิริยาตอบสนองต่ออันตราย ความหวาดกลัวต่ออันตราย กลัวจะเกิดเหตุการณ์ ไวต่อการรับรู้ข่าวสาร กลัวที่จะแยกจากสมาชิกในครอบครัวและคนคุ้นเคย • ปฏิกิริยาความโศกเศร้า ผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ หรือสูญเสียคนที่รัก ทรัพย์สิน นำไปสู่ความรู้สึกเศร้า ซึ่งเป็นปฏิกิริยาปกติ ที่มีความแตกต่าง และอาจคงอยู่ระยะเวลาหนึ่ง • ความโศกเศร้าที่เป็นบาดแผลทางใจ เป็นความเศร้าโศกที่รุนแรง ถูกรบกวนด้วยภาพ การระลึกถึงอย่างเจ็บปวด ปฏิกิริยาคงอยู่เป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตตามปกติ

  32. สภาวะจิตใจ • ภาวะซึมเศร้า มีความหดหู่ เศร้าใจจากการสูญเสีย ร่วมกับอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หมดความสนใจในกิจกรรม รู้สึกตนเองไม่มีค่า สิ้นหวัง คิดทำร้ายตนเอง • ภาวะทางร่างกาย เกิดอาการ ความเจ็บปวดที่ไม่ปรากฏโรคด้านร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก เป็นลม • บาดแผลทางใจและความทรงจำ ปฏิกิริยาด้านจิตใจที่เกิดจากความทรงจำที่เป็นบาดแผลทางใจ ยังต้องเห็นสถานที่ ภาพ เสียง ที่กระตุ้นความทรงจำ รวมทั้งวันเวลา ข่าวสารที่กระตุ้น • ภาวะความทุกข์ยากหลังภัยพิบัติ เป็นผลที่กระทบตามมา เช่น ขาดที่พึ่ง ไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องละทิ้งถิ่นที่อยู่

  33. สัญญาณเตือน • ปฏิกิริยาทางอารมณ์ และการแสดงออกของเด็กที่ประสบหายนะ • ภาวะเครียดภายหลังเหตุการณ์ร้าย (Post Traumatic Stress Disorder:PSTD) • แบบประเมินสภาพจิตใจเด็ก และวัยรุ่นผู้ประสบภัย • Pediatric Symptom Checklist- Parent Form (PSC-P) • Strength and Difficulties Questionnaire (SDQ) • การตอบสนองที่มีปัญหา

  34. สัญญาณเตือน • มีความเครียดอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีช่วงเวลาที่สงบ หรือไม่มีเวลาพักผ่อนเลย • hyper arousal, inability to regulate feelings • ร้องไห้ตลอดเวลา หรือหวาดกลัวมาก • มีอาการสับสนอย่างรุนแรง ซึ่งยังคงปรากฏหลังปลอดภัยแล้ว มีความทรงจำที่น่ากลัว และต้องการหลีกเลี่ยง, รู้สึกทรมาน, หรือรบกวนการนอน • numbing, flashbacks, disturbing thoughts/ images • ไม่ตอบสนอง • สับสนเรื่องบุคคล เวลา หรือสถานที่

  35. สัญญาณเตือน • หลีกหนีสังคมอย่างที่สุด • หลบเลี่ยงผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ต้องการติดต่อกับใคร • ขาดความสามารถที่จะคิด ตัดสินใจ ดำเนินชีวิต มากกว่าประสบการณ์ทางอารมณ์ เป็นบาดแผลทางจิตใจ • ถูกครอบงำด้วยอารมณ์อย่างฝังแน่น • ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยามากเกินจำเป็น มีพฤติกรรมเสี่ยง

  36. หลักเบื้องต้น • ลักษณะบาดแผลทางจิตใจ • คุกคามความปลอดภัย หวาดกลัว • ควบคุมไม่ได้ • รู้สึกว่า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ • การตอบสนองทางจิตใจต้องพยายามที่จะ • เพิ่มความรู้สึกปลอดภัย • เพิ่มความรู้สึกว่า สามารถควบคุมได้ • เพิ่มความสามารถในการโต้ตอบ และติดต่อสื่อสาร • ลดความรู้สึกว่า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ • ลดความรู้สึกเครียด และ hyper arousal

  37. ระยะเตรียมการ • มอบหมายคณะทำงานเยียวยาจิตใจ ให้มีผู้รับผิดชอบการเยียวยาจิตใจเด็ก • ประสานการดำเนินงาน กับบุคลากรในพื้นที่ เช่น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เป็นต้น • เตรียมความพร้อมในการพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบ

  38. Psychological First Aids E : Engagement • ในการจัดกิจกรรมผู้จัดต้องอยู่ในระดับเดียวกับระดับสายตาของเด็ก • ช่วยให้เด็กสามารถบอกเล่าความรู้สึก ความกังวล ความสงสัยไม่มั่นใจผ่านกิจกรรมการเล่น หลีกเลี่ยงการกระตุ้นด้วยคำพูดที่น่าหวาดกลัว

  39. สิ่งที่ควรทำเพื่อช่วยเหลือเด็กในการเผชิญกับประสบการณ์หายนะภัยสิ่งที่ควรทำเพื่อช่วยเหลือเด็กในการเผชิญกับประสบการณ์หายนะภัย • ฟังเมื่อเด็กพูดถึงความกลัวของเขา • เปิดโอกาสให้เด็กบอกว่าเขารู้สึกอย่างไร และคิดอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น • พยายามให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสใช้เวลาอยู่กับเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะเวลานอน • ให้ความอบอุ่น สะดวกสบายทางร่างกายกับเด็กเป็นพิเศษ อาจด้วยการสัมผัส หรือโอบกอด

  40. สิ่งสำคัญในการสื่อสารกับเด็ก ได้แก่ • การสนับสนุนให้กำลังใจ • คนที่เด็กรู้สึกไว้วางใจ • ความรู้สึกผ่อนคลาย • ก้าวผ่านประสบการณ์ • การสื่อสารในกลุ่ม • การสื่อสารด้วยวิธีอื่น ๆ

  41. ทักษะการสื่อสารขั้นพื้นฐาน 12 ทักษะ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ • น้ำเสียง • การแสดงสีหน้า • การพูดคุยที่ผ่อนคลาย • การสบตา • การสร้างความรู้สึกผูกพัน (ความเอื้ออาทร) • การสร้างบรรยากาศ และการจัดที่นั่ง

  42. ทักษะการสื่อสารขั้นพื้นฐาน 12 ทักษะ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ 7. คำถามปิด 8. คำถามเปิด 9. การใช้ภาษาง่าย ๆ 10. การดูผลสะท้อนกลับ 11. การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 12. การพูดคุยในภาษาท้องถิ่น

  43. ผู้ฟังที่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้ผู้ฟังที่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้ • มองเด็กที่กำลังพูดตลอดการสนทนา • แสดงความใส่ใจด้วยการพยักหน้า ยิ้ม • ท่าทีให้กำลังใจ และการใช้เสียงในลำคอสั้น ๆ ให้เด็กรู้ว่า คุณฟังเขาอยู่ เช่น อืม • เห็นอกเห็นใจ มีความอดทนในการฟัง และยอมรับสิ่งที่เด็กเล่า • ให้ความสนใจเรื่องที่เด็กเล่า ฟังอย่างตั้งใจ และท่าทีการฟังที่เหมาะสม • ถามเด็กเพื่อให้เข้าใจเรื่องที่เด็กเล่า • บางครั้ง ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องให้คำแนะนำ • ไม่ขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังเล่าเรื่องอยู่ • ไม่ตัดสิน หรือวิจารณ์ในสิ่งที่เด็กเล่า • บอกให้เด็กรู้ว่า เรื่องที่เด็กเล่าจะเป็นความลับ

  44. ในทางตรงข้าม ผู้ฟังที่ไม่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้ • ไม่มอง ไม่ใส่ใจเด็กที่กำลังพูดอยู่ • ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ • ไม่ฟังสิ่งที่เด็กพูด • ขัดจังหวะการเล่าเรื่องของเด็กบ่อย ๆ ด้วยคำถาม หรือคำวิจารณ์ • วิจารณ์ พูดกระทบกระเทียบ หรือตัดสินสิ่งที่เด็กเล่า • การพูดมากเกินไปแทนที่การฟัง • โต้แย้งเด็ก • ทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปด้วย เช่น การพูดโทรศัพท์ • หัวเราะในสิ่งที่เด็กเล่าอย่างไม่เหมาะสม ไม่จริงจังกับเรื่องที่เด็กเล่า

  45. สัมพันธภาพและการสื่อสารสัมพันธภาพและการสื่อสาร • เข้าหาเด็กด้วยท่าทางที่อ่อนโยน ไม่จู่โจม หากเด็กไม่พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์หรือพูดเล่า ก็ไม่ควรผลักดันบังคับ • ควรเริ่มต้นโดยการฟังเด็กก่อน เพื่อประเมินความเข้าใจ ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ของเขา เช่นถามคำถามต่อไปนี้ “หนูอยู่ที่ไหน หรือทำอะไรอยู่ตอนที่เกิด …..” “มันเป็นยังไง” “หนูว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้น” “ตอนนี้หนูคิดถึงมันว่ายังไง หรือ รู้สึกยังไง” “เวลาที่หนูรู้สึกอย่างนั้น หนูทำยังไง” เป็นต้น • การให้เด็กได้วาดรูป หรือได้มีกิจกรรมการเล่น ถือเป็นการระบายความรู้สึกของเด็กอีกทางหนึ่ง ควรแสดงความเข้าใจ เห็นใจที่เด็กรู้สึกเช่นนั้น

  46. สัมพันธภาพและการสื่อสารสัมพันธภาพและการสื่อสาร • ให้ความมั่นใจกับเด็ก โดยบอกว่า ตอนนี้เขาปลอดภัยแล้ว เราจะมาช่วยเขาเพราะเราคือ …. (บอกลักษณะงานของตน) • ให้คำตอบข้อมูลกับเด็กตามความจริง แต่หากมีการบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตของคนในครอบครัวหรือเพื่อน คนที่เด็กรัก ควรประเมินก่อนว่า เด็กอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับทราบข่าวนั้นได้ • ดูแลให้เด็กได้รับข่าวสารจากสื่ออย่างเหมาะสม ภายใต้คำแนะนำของพ่อแม่

  47. สัมพันธภาพและการสื่อสารสัมพันธภาพและการสื่อสาร • อธิบายให้เด็กทราบว่าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดจากความกลัว ความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติ และผู้ใหญ่จะสามารถเข้าใจเขาได้ • ให้เด็กกล่าวถึงความรู้สึกของตนต่อเหตุการณ์ โดยการพูด การวาดรูป หรือการเล่น ซึ่งเป็นการระบายความรู้สึกของเด็กทางหนึ่ง และแสดงความเข้าใจ เห็นใจที่เด็กรู้สึกเช่นนั้น • รับฟังถึงการเผชิญปัญหา และการแก้ปัญหาที่ผ่านมาของเด็ก และชี้ให้เด็กเห็นถึงความเข้มแข็ง และกล้าหาญของเขาในการเผชิญกับการสูญเสีย

  48. สัมพันธภาพและการสื่อสารสัมพันธภาพและการสื่อสาร • ให้เด็กมีส่วนร่วมในชุมชนตามกำลัง เพื่อส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงศักยภาพของตนว่ายังคงมีอยู่และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน • ชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของใคร สิ่งที่ควรทำคือการนำชีวิตกลับสู่ปกติโดยเร็ว การตำหนิตนเอง หรือบุคคลอื่น เป็นอุปสรรคสำคัญ ในการนำชีวิตกลับสู่ปกติ • เปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้รวมกลุ่มกันพูดคุย แสดงความรู้สึก ทั้งความกลัว ความรู้สึกสูญเสีย ความวิตกกังวล ให้กลุ่มได้แสดงความเข้าใจ และความรู้สึกเห็นใจซึ่งกันและกัน และตระหนักว่า สิ่งที่ตนเผชิญอยู่ เพื่อนคนอื่นก็เผชิญอยู่เช่นกัน

  49. Psychological First Aids S : Skill • ใช้กิจกรรมที่เหมาะกับวัยของเด็ก ต.ย. เรียนรู้ปฏิกิริยาร่างกายเมื่อเผชิญความเครียด การผ่อนคลาย การยอมรับและจัดการกับอารมณ์ การสร้างความคิดเชิงบวก สร้างอนาคต • ขณะทำกิจกรรมต้องตั้งใจฟังและสังเกตเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม • สำหรับวัยรุ่นต้องคำนึงถึงการยอมรับ การตอบสนองโดยไม่มองว่าเขาเป็นแค่เด็ก

  50. หลักในการจัดกิจกรรม • ผู้จัดกิจกรรมต้องประสานงานเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กที่จะเข้ากลุ่ม ทำความเข้าใจก่อนเริ่มกิจกรรม มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ แนะนำทีมงานและแจ้งกำหนดการ พื้นฐานของเด็กให้ครูและนักเรียนได้ทราบ • กิจกรรมที่จัดขึ้นไม่ใช่เพียงการเล่นเกมส์และไม่ได้เน้นเฉพาะความสนุกสนานเท่านั้น • ในการดำเนินกิจกรรมต้องคำนึงถึงสิทธิเด็ก (Child right) ความเชื่อเรื่องศาสนา,คำสอนของครอบครัว,และความแตกต่างด้านวัฒนธรรม • ไม่บังคับให้เด็กทำกิจกรรมที่เด็กไม่ต้องการ

More Related