1 / 39

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับความเชื่อมโยงสู่เมืองเกษตรสีเขียว

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับความเชื่อมโยงสู่เมืองเกษตรสีเขียว. นายสุรชัย คุ้มสิน ผู้อำนวยการ สำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ วันที่ 19 กันยายน 255 7 โรงแรมโกลด์เมาท์เท่น วังน้ำเขียวรีสอร์ท จ.นครราชสีมา.

Download Presentation

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กับความเชื่อมโยงสู่เมืองเกษตรสีเขียว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11กับความเชื่อมโยงสู่เมืองเกษตรสีเขียว นายสุรชัย คุ้มสิน ผู้อำนวยการสำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันที่ 19 กันยายน 2557โรงแรมโกลด์เมาท์เท่น วังน้ำเขียวรีสอร์ท จ.นครราชสีมา

  2. ประเด็นนำเสนอ • ประเด็นท้าทายต่อการพัฒนาภาคเกษตร • ทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • แผนฯ 11 กับการปรับตัวสู่การเติบโตสีเขียว • แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรสู่เมืองเกษตรสีเขียว

  3. 1. ประเด็นท้าทายต่อการพัฒนาภาคเกษตร บริบทการเปลี่ยนแปลง กฎกติกาใหม่ของโลก ประชาคมอาเซียน ปัจจัยภายนอก ผลต่อภาคเกษตรในอนาคต ประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน • กฎ กติกาใหม่ของโลกในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก เช่น การค้า การลงทุน การเงิน สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ความสามารถในการแข่งขัน ความอ่อนแอในภาคเกษตร สังคมสูงอายุ ความมั่นคงอาหารและพลังงาน ปัจจัยภายใน • สุขภาพเกษตรกรมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารเคมี • โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ • ต้นทุนการผลิตสูง • พึ่งพาต่างประเทศมาก • การแย่งใช้ทรัพยากรจากภาคการผลิตอื่น • การแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้าน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลต่อแรงงานภาคเกษตร และผลิตภาพในการผลิต ความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม พฤติกรรมการบริโภค ฐานทรัพยากร คุณภาพชีวิตเกษตรกร ให้ความสำคัญกับสุขภาพและอาหารปลอดภัยมากขึ้น ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง/ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการบำรุงรักษาเกิดความเสื่อมโทรมโดยเฉพาะปัญหาดินเสื่อมสภาพ กว่า 190 ล้านไร่ หรือร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศ Climate Change การใช้พลังงานที่ผลิตจากพืช มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งอุทกภัย/ภัยแล้ง/ศัตรูพืช มีผลต่อผลผลิตการเกษตร แนวโน้มราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากพืชมากขึ้น

  4. ปัจจัยภายใน: ความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าคู่แข่ง ผลิตภาพการผลิตรวม (TFP)รายสาขาการผลิต ในแต่ละช่วงแผนพัฒนาฯ ของประเทศ ในช่วง 26 ปี ภาคเกษตร มีผลิตภาพการผลิตรวม อยู่ในระดับต่ำเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.6 ที่มา : สศช. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภาพการผลิตรวมของภาคเกษตร (TFP) • ทรัพยากรดินมีจำกัดและเสื่อมโทรมมากขึ้นเช่น ดินกรด ดินตื้น ดินดาน ดินเค็ม ดินทรายจัด ดินเปรี้ยวจัด เป็นต้น ประมาณ 202 ล้านไร่ • ปัญหาภัยธรรมชาติภาคเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติและโรคศัตรูพืชระบาดมาโดยตลอด เช่น มหาอุทกภัย ปี 2554 ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นพื้นที่กว่า 11.2 ล้านไร่ ปัญหาภัยแล้ง ปี 2555 มีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งมากถึง 50 จังหวัด เป็นต้น • โลจิสติกส์สินค้าเกษตรมีต้นทุนสูงกว่าร้อยละ 21 ของ GDP เนื่องจากสินค้าเกษตรมีขนาดใหญ่ ช่วงอายุสั้น อัตราการสูญเสียสูง และระบบการจัดการโลจิสติกส์ยังขาดการพัฒนา ส่วนใหญ่ขนส่งทางถนน 38% มีวิ่งเที่ยวเปล่าสูง และระยะทางไกลทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูง • ประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรของไทยยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งขันเช่น ข้าว มีผลผลิตเฉลี่ย 451 กิโลกรัมต่อไร่ ในปี 2556 ซึ่งน้อยกว่าประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามที่มีผลผลิตเฉลี่ย 902 กิโลกรัมต่อไร่ • ราคาสินค้าเกษตรมีความผันผวน เป็นวัฎจักรกระทบรายได้เกษตรกร  เกิดความยากจน ปี 2550 คนยากจน 5.4 ล้านคน และครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกร

  5. ปัจจัยภายใน: ความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าคู่แข่ง ผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจไทย ปี 2552-2554 ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตรายสำคัญอื่นๆ ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556

  6. ปัจจัยภายใน: ความอ่อนแอของภาคเกษตร/เกษตรกรรายย่อย • การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในสังคมเกษตรที่ต่างคนต่างอยู่มากขึ้น • ปัญหาสุขภาพของเกษตรกร มีแนวโน้มความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากพิษภัยของสารเคมีเพิ่มสูงขึ้น • โครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรไม่เพียงพอต่อการเพิ่มผลิตภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ชลประทานที่มีเพียง 28 ล้านไร่ หรือร้อยละ 22 ของพื้นที่เกษตร • ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งปัจจัยการผลิตและขนส่งตามราคาพลังงาน • พึ่งพาต่างประเทศมาก เช่น การนำเข้าปุ๋ยและสารเคมีประมาณปีละ 80,000 ล้านบาท • ทรัพยากรถูกแย่งชิงจากภาคการผลิตอื่น ทั้งที่ดินและน้ำ • การเปิดเขตการค้าเสรีมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน

  7. ปัจจัยภายใน: ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงมาก ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556

  8. ปัจจัยภายใน: สัดส่วนแรงงานเกษตรลดลงและอายุมากขึ้น ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555

  9. ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้เกินระดับที่จะฟื้นคืนตัวได้ ตามธรรมชาติ • วิกฤตการขาดแคลนน้ำ • วิกฤตพลังงาน-อาหาร • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก • การกีดกันทางการค้าด้วยมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจัยภายนอก: กฎ กติการใหม่ของโลก การปรับเปลี่ยนกฎ กติกาใหม่ที่เกิดขึ้นในโลก มีผลต่อการผลิต การค้าและการลงทุนของประเทศ เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน สังคมสีเขียว/คาร์บอนต่ำ ปัจจัยภายในประเทศ ปัจจัยภายนอกประเทศ • มลพิษส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน • ความขัดแย้งระหว่างรัฐ เอกชน ชุมชนเพิ่มขึ้น • การใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมตามผังเมือง สร้างปัญหาจราจรแออัด ของเสียมากเกินความสามารถในการกำจัด • การใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น • กระแสคัดค้านการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่

  10. ปัจจัยภายนอก: การเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ข้อผูกภันภายใต้ AEC (สินค้าเกษตร) • ภาษีระหว่างกันเป็น 0 ภายในปี 2558 • ยกเว้น sensitive list (<5%), • highly sensitive list (ลดภาษีลงในระดับที่ตกลงกัน) • คุณภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร • HCCP, GAP, GAHP, GHP, GMP, มาตรฐานสุขอนามัย สารพิษตกค้าง • การวิจัยและการถ่ายโอนเทคโนโลยี • พันธมิตรสหกรณ์การเกษตร SMEs และวิสาหกิจชุมชน

  11. 2. ทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย • สร้างสังคมเป็นธรรม ทุกชีวิตมั่นคง ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนลดลง การทุจริตคอรัปชั่นลดลง • พัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรม ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลง สิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เศรษฐกิจเติบโต คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขเพิ่มขึ้น เรียนรู้ตลอดชีวิต ปรับตัวเท่าทันการ เปลี่ยนแปลง เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สุขภาวะดีขึ้น สังคมสงบสุข • พัฒนาการผลิตและบริการ บนฐานความรู้และการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งปรับโครงสร้างการผลิตและบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถการประกอบธุรกิจ รักษาปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้พอต่อความต้องการบริโภค • สร้างความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีระบบเตือนภัยรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  12. สังคม อยู่ร่วมกันอย่าง มีความสุข เสมอภาค เป็นธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อ การเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ยุทธศาสตร์ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ พัฒนาคนสู่สังคมแห่ง การเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ สร้างความเชื่อมโยง กับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและสังคม 1 2 4 5 6 3 4 ยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน ยุทธศาสตร์ ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหาร และพลังงาน

  13. 3 3 5) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สอดคล้อง วัตถุประสงค์1.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้อุดม สมบูรณ์ เอื้อต่อภาคการผลิต และเป็นฐานการ ดำรงชีวิตของประชาชนได้อย่างมีความสุข สามารถ เข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม 2.เพื่อขับเคลื่อนการผลิต/บริโภคไปสู่สังคมเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม3.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน/เตรียมพร้อมในการรองรับและ ปรับตัวต่อผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป้าหมาย 1.เพิ่มความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความ หลากหลายทางชีวภาพให้เพียงพอกับการรักษา ระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล 2.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและใช้ ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเป็นธรรม3.สร้างขีดความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือ และลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ปกป้อง และลดการสูญเสียพื้นที่เสี่ยงภัย ป ร ะ เ มิ น จ า ก 8 1. พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่อนุรักษ์ที่ได้รับการฟื้นฟู 2. จำนวนชนิดพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 3. สัดส่วนมูลค่าของสินค้าที่เป็นมิตรกับ สวล. ต่อสินค้าทั่วไป 4. สัดส่วนการใช้พลังงานต่อมูลค่ารวมของผลผลิตมวลรวมในประเทศ 5. ระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ดัชนีชี้วัด 6.จำนวนชุมชนที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สวล. 7.ปริมาณน้ำท่าและน้ำต้นทุน/มูลค่าความเสียหายจากพิบัติภัยธรรมชาติ 8.มีฐานข้อมูล/แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยจากภาวะโลกร้อน

  14. 5) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ต่อ) 6 แนวทางการพัฒนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ การควบคุมและลดมลพิษ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมอย่างบูรณาการ

  15. 3) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน 4 5 สอดคล้อง เป้าหมาย 1. เพิ่มมูลค่าผลผลิตภาคเกษตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2. ปริมาณผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความต้องการ และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล 3. เกษตรกรมีอาชีพและรายได้มั่นคงจากการผลิตทางการเกษตร 4. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและพลังงานทดแทน 5. สร้างความสมดุล มั่นคงด้านพลังงาน และความหลากหลายของพลังงานทางเลือก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างฐานภาคเกษตรให้เข้มแข็ง สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอสำหรับผู้บริโภคทุกคนภายในประเทศ มีราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนในชนบท 2. เพื่อให้ภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตที่ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร 3. เพื่อสร้างความสมดุลและมั่นคงของการใช้ผลิตผลการเกษตรเพื่อเป็นอาหารและพลังงาน 4. เพื่อจัดหาพลังงานให้มีความมั่นคงเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ ป ร ะ เ มิ น จ า ก 6 ดัชนีชี้วัด 4. ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร 5. รายได้สุทธิทางการเกษตร และความสามารถในการชำระหนี้สินของเกษตรกร 6. สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ และความสามารถในการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงาน 1. สัดส่วนมูลค่าผลิตผลภาคเกษตรต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 2. ปริมาณสินค้าเกษตรอาหารที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล 3. ผลผลิตต่อพื้นที่ของพืชอาหารและพืชพลังงาน และสัดส่วนพลังงานที่ผลิตได้จากพืชต่อพืชพลังงานที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง

  16. กรอบการพัฒนาการเกษตร ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พัฒนาฐานทรัพยากร 1. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน ยกระดับความสามารถการแข่งขัน 2. การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร 3. การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต 4. การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร 5. การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือน และชุมชน 6. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ และความเข้มแข็งภาคเกษตร 7. การปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน บริหารจัดการ

  17. แนวทางการพัฒนา พัฒนาฐานทรัพยากร • คุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง ที่ดินทำกิน • ฟื้นฟูคุณภาพทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ • บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ ยกระดับความสามารถการแข่งขัน R & D • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ รวมทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการและการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตร • ปรับปรุงบริการขั้นพื้นฐานเพื่อการผลิตให้ทั่วถึง เช่น ศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรหรือศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในชุมชน โครงสร้างพื้นฐาน • สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ • สนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคเกษตรที่เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน บริหารจัดการห่วงโซ่การผลิต

  18. แนวทางการพัฒนา (ต่อ) ยกระดับความสามารถการแข่งขัน(ต่อ) พัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า • สนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ • สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานที่กำหนด • ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ • ส่งเสริมภาคเอกชนและองค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการระบบสินค้าเกษตร การเพิ่มมูลค่า และการจัดการด้านการตลาด ร่วมกับสถาบันเกษตรกร ระบบตลาด สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร • เร่งพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลการเกษตร • ส่งเสริมระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาที่สร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ด้านรายได้ ด้านอาชีพ • สร้างแรงจูงใจให้เยาวชนหรือเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกร • พัฒนาสถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้เป็นกลไกสนับสนุนการพึ่งตนเอง

  19. แนวทางการพัฒนา (ต่อ) สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร (ต่อ) • ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้และการพัฒนาด้านอาหารศึกษาทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง • สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่เกื้อกูลกันในระดับชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ด้านความมั่นคงอาหาร • ส่งเสริมการนำวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน • วิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจากพืชพลังงาน • จัดให้มีระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นทั้งอาหารและพลังงาน • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานชีวภาพที่เกี่ยวเนื่อง ด้านความมั่นคงพลังงานในชุมชน

  20. ผลการดำเนินงานพัฒนาภาคเกษตร ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

  21. ยุทธศาสตร์ประเทศ: สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

  22. ประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศประเด็นยุทธศาสตร์ประเทศ

  23. ทิศทางการพัฒนาในระยะต่อไปทิศทางการพัฒนาในระยะต่อไป คสช. มีนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมให้มีตลาดกลางผลิตผลการเกษตร เพื่อลดการผูกขาดหรือระบบนายทุนที่ไม่เป็นธรรม โดยใช้แนวทางเดียวกับระบบสหกรณ์ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนไปพร้อม ๆ กัน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่น และประเทศชาติอย่างยั่งยืน การพัฒนาอาชีพและรายได้ ให้มีการยกระดับ/พัฒนาในทุกกลุ่ม มีเงินทุนสนับสนุนทั้งจากรัฐบาล ภาคเอกชน ธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เพื่อให้มีการกระจายรายได้ในทุกระดับ และลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

  24. ทิศทางการพัฒนาในระยะต่อไป(ต่อ)ทิศทางการพัฒนาในระยะต่อไป(ต่อ) ด้านการวิจัยและพัฒนา จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และเน้นการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่ต้องซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก เพื่อให้เกิดงานในประเทศ มีสินค้าส่งออก โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่ารายได้ต่อเกษตรกร เช่น ปาล์ม ยาง พืชพลังงาน ฯลฯ นอกเหนือจากการปลูกข้าว หรือผลิตผลพืชหลักอื่นๆ ส่งเสริมให้มีการร่วมลงทุนจากต่างประเทศทั้งในการวิจัยและพัฒนา การผลิตภายในประเทศเป็นหลัก ในลักษณะการร่วมลงทุนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนา สู่กระบวนการผลิตและจำหน่าย เป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในสินค้าทุกประเภทที่มีความจำเป็น เตรียมการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ปี 2558 สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมอัตลักษณ์ของรัฐสมาชิก ให้ความสำคัญกับการรักษาพื้นที่ป่า โดยเฉพาะตามแนวชายแดนของประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย

  25. 3. แผนฯ 11 กับการปรับตัวสู่ การเติบโตสีเขียว การปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมสู่การผลิตแบบ Green/Low Carbonและใช้พลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน การปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน เศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Creative and Green Economy) การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานและขนส่ง ไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการบริการด้านสุขภาพ การปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน การฟื้นฟู ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต และการใช้ประโยชน์จาก CDM การใช้ประโยชน์จากมาตรการ สร้างรายได้จากการอนุรักษ์: REDD, PES, Biodiversity Offsets การปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากการเป็นภาคีในประชาคมอาเซียน

  26. การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเติบโตสีเขียวที่ผ่านมาการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเติบโตสีเขียวที่ผ่านมา

  27. แนวทางการขับเคลื่อนภาคเกษตรสู่การเติบโตสีเขียวแนวทางการขับเคลื่อนภาคเกษตรสู่การเติบโตสีเขียว ศึกษาวิจัยและทดลองตามขั้นตอน ระบบ GAP เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างง่ายเกี่ยวกับการดำเนินงาน/ประโยชน์ของGAP สนับสนุนเครือข่ายที่มีอยู่ให้เป็นศูนย์รวมทุกด้านเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน พัฒนาแหล่งน้ำ/จัดสรรที่ดินให้เพียงพอ และสร้างกลไกรักษาระดับราคาเพื่อสนับสนุนเชิงพาณิชย์ สนับสนุนการรวมกลุ่มเครือข่ายการผลิต/ตลาด ช่วยเหลือด้านการลงทุน ฝึกอบรมกระบวนการผลิต และการตรวจสอบรับรอง สนับสนุนเอกชนให้จัดตลาดนัดสีเขียวในชุมชน และการทำธุรกิจบนเว็บไซต์ เร่งขยายตลาดต่างประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ประชาสัมพันธ์ ร่วมกับขยายช่องทางการตลาดที่ชัดเจนและกระจายสู่ตลาดทั่วไปมากขึ้น พัฒนาระบบขอรับรองมาตรฐานทุกประเภทไว้ด้วยกัน ผลักดันร่าง พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุง สนับสนุนการจัดระบบตรวจรับรองและระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ร่วมกับให้เกษตรกรร่วมรับภาระค่าใช้ในการตรวจรับรองบางส่วน เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนในอนาคต สนับสนุนการวิจัยพัฒนาร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน และรวบรวมองค์ความรู้ให้เป็นระบบ เข้าถึงง่าย ผ่านกลไกการดำเนินงานที่มีอยู่ ร่วมกับพัฒนาและเตรียมบุคลากร ให้มีความรู้/เข้าใจเกี่ยวกับการผลิต ช่องทางการตลาด และการตรวจรับรอง ผลักดันผ่านคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ และคณะทำงานบูรณาการเกษตรอินทรีย์จังหวัด

  28. แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการแบบไร้ของเสีย (Zero Waste) สร้างตลาดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมือง การพัฒนาเมืองสีเขียวคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างระบบหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ บริหารจัดการของเสีย สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง พัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด/CSR เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาระบบการใช้ผลผลิตระหว่างภาคการเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เกษตร นำของเสียและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงาน ส่งเสริมการทำเกษตรปลอดการเผา นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อลดปริมาณเศษพืชและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พัฒนากลไกและเครื่องมือในการบริหารจัดการ ท่องเที่ยว ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคบริการการท่องเที่ยว ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวและการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก ความรู้ และทักษะด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  29. แนวทางการพัฒนาเมือง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 • เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ • พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เอกชน ชุมชน สถาบันศึกษาและภาครัฐร่วมกันกำหนดกรอบการพัฒนา มาตรฐานขององค์ประกอบที่จำเป็นของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาพื้นที่แต่ละแห่งให้เหมาะกับขนาดของชุมชน • ทบทวน ปรับปรุงและตรากฎหมาย และสิทธิประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมือง เขต และนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ • สนับสนุนการอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืนในลักษณะเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน • เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • พัฒนาเมืองแบบกระชับ ที่ใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการใช้เทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งและอาคารที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน • กำกับการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองอย่างจริงจัง ทั้งในและนอกเขตเมือง กำหนดมาตรการควบคุมการขยายตัวของเมืองและพื้นที่ชุมชนในเขตชลประทาน • จัดการสิ่งแวดล้อมเมืองอย่างบูรณาการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งน้ำเสียและขยะมูลฝอย ภายใต้หลักการ 3R และส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน • สร้างแรงจูงใจและสนับสนุนด้านภาษี เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทนควบคู่กับการปรับปรุงกฎระเบียบให้มีการประหยัดพลังงานในอาคาร

  30. เมืองน่าอยู่ • สนับสนุนการจัดหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค โดยกำหนดเป็นนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติและเมืองน่าอยู่ พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเมือง แนวทางการพัฒนาเมือง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (ต่อ) • เมืองสร้างสรรค์ • ส่งเสริมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ โดยพัฒนาปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ ของพื้นที่ทั้งด้านกายภาพ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจของธุรกิจสร้างสรรค์

  31. 4. แนวคิด: เมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม/เมืองที่ปล่อยคาร์บอนสู่สิ่งแวดล้อมต่ำ

  32. แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรสู่เมืองเกษตรสีเขียวแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรสู่เมืองเกษตรสีเขียว • มีความอุดมสมบูรณ์ / ลดความเสื่อมโทรม • บริหารจัดการด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานทรัพยากรมีความยั่งยืน • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต / ลดต้นทุนการผลิต • บริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ • วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ / สร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่ • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ • การสร้างเครือข่าย / การรวมกลุ่ม / การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) • การพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น • มีความมั่นคงด้านอาหาร • มีที่ดินทำกิน • มีรายได้ในระดับที่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพการเกษตร • ไม่มีหนี้สิน เกษตรกรเข้มแข็งมีคุณภาพชีวิตที่ดี

  33. 1) ปฏิรูปฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน การเข้าถึงและมีส่วนร่วมของเกษตรกรและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ การแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน การสร้างระบบการวิจัยพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ทั้งพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การจัดการพันธุกรรมพืชและสัตว์ในท้องถิ่น และเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีแปรรูปการเกษตรในเชิงประยุกต์ที่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ การจัดการองค์ความรู้แบบบูรณาการ ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ผ่านแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่เช่น ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ที่เป็นต้นแบบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร ศูนย์ศึกษาฯ ต่างๆ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร ศูนย์ข้าวชุมชน โรงสี/โรงงานแปรรูป แหล่งน้ำ และระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศครัวเรือนเกษตรกรรายแปลง • การจัดระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมเกษตรกรในทุกสาขาอาชีพ และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

  34. 2) ปฏิรูปการผลิตและตลาดที่เป็นธรรมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • การจัดระบบการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ • การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกรและเครือข่ายให้มีอำนาจต่อรองการผลิตและตลาด รวมทั้ง การเข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรม • การผลักดันการผลิตและแปรรูปสินค้าให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่ม • การสร้างหลักประกันรายได้เกษตรกรและดูแลระบบเกษตรพันธะสัญญาและการค้าให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ • สร้างและขยายระบบประกันความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ทั่วถึง ทั้งภัยธรรมชาติและความเสี่ยงจากความผันผวนราคาสินค้าเกษตร ที่จะส่งผลต่อรายได้เกษตรกร • การเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและระบบเกษตรกรรมยั่งยืนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงจากบริบทต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเกษตรกร สามารถพึ่งตนเองและสร้างความมั่นคงทางอาหาร

  35. ขอบคุณ www.nesdb.go.th

  36. BACK UP

  37. ปัจจัยภายนอก: การเข้าร่วมประชาคมอาเซียน เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนของประเทศสมาชิกมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น มีการเดินทางระหว่างกันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกได้ โดย 1 2 • เสริมสร้างขีดความสามารถแข่งขัน • e-ASEAN • นโยบายภาษี • นโยบายการแข่งขัน • สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา • การคุ้มครองผู้บริโภค • พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • เป็นตลาดและฐานการ ผลิตร่วม • เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี • เคลื่อนย้ายบริการเสรี • เคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี • เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี • เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี AEC ปี 2015 4 3 • การพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างเสมอภาค • ลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่า-ใหม่ • สนับสนุนการพัฒนา SMEs • การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก • ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ • สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย • จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค

  38. ปัจจัยภายใน: ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำถูกบุกรุกทำลายและลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 171 ล้านไร่ ในปี 2504 (ร้อยละ 53) ของพื้นที่ประเทศ) เหลือ 107.6 ล้านไร่ ในปี 2552 (ร้อยละ 33.6) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง/ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการบำรุงรักษา เกิดความเสื่อมโทรมโดยเฉพาะปัญหาดินเสื่อมสภาพ จำนวน 190 ล้านไร่ หรือร้อยละ 60 ของพื้นที่ประเทศ

  39. ปัจจัยภายใน: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • อุทกภัย ปี 54 เกิดความเสียหายกว่า 64 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับผลกระทบประมาณ 1.2 ล้านราย เป็นพื้นที่เสียหายกว่า 11.2 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 9.2 ล้านไร่ พืชไร่ 1.5 ล้านไร่ และพืชสวน/อื่นๆ 0.5 ล้านไร่ ด้านประมง มีชาวประมงได้รับผลกระทบกว่า 1.2 แสนราย ด้านปศุสัตว์ มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2.1 แสนราย • ภัยแล้ง ปี 55 มีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งถึง 50 จังหวัด 497 อำเภอ 3,417 ตำบล 36,388 หมู่บ้าน แบ่งเป็นภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด และภาคตะวันออก 6 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด

More Related