150 likes | 268 Views
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. เป็นการเน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มโดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งภายในกลุ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิด. 1. หลักการ การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. 2. นิยาม การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม.
E N D
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมการสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมการสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เป็นการเน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มโดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งภายในกลุ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิด 1. หลักการ การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
2. นิยาม การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม
3. ตัวบ่งชี้การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม รู้จักการวิเคราะห์ และการประเมินการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการกลุ่ม
4. การนำ การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไปใช้ • 1.ผู้สอนต้องเตรียมการสอน และมอบหมายงานกลุ่มให้ผู้เรียนให้เหมาะสมกับวัยความสามารถและเวลาเรียน 2. งานที่มอบหมายควรอยู่ในขอบเขตของหลักสูตร และเสริมความรู้ ความเข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง 3. ในกรณีที่มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน ผู้สอนต้องกำหนดปริมาณงานและความยากง่ายของงานให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
4. การนำ การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไปใช้(ต่อ) 4. ขณะที่ผู้เรียนทำงานกลุ่ม ผู้สอนต้องดูแลผู้เรียนให้ร่วมรับผิดชอบการทำงานกลุ่มทั่วทุกคน บางครั้งอาจต้องกระตุ้นผู้เรียนบางคนที่ไม่สนใจทำงานกลุ่ม • 5. ผู้สอนต้องเอาใจใส่ดูแล ให้คำปรึกษาช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียน และย้ำระเบียบวินัยในการทำงานกลุ่ม ถ้าเกิดความวุ่นวายในกลุ่ม 6. ผู้สอนควรได้สรุปความรู้ความคิด ประเด็นสำคัญของงานที่ผู้เรียนทำ ให้ผู้เรียนได้รับตรงกัน หลังจากที่ผู้เรียนเสนอผลงานกลุ่มแล้ว
4. การนำ การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไปใช้(ต่อ) 7. ผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมกลุ่มหลายๆลักษณะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้มากที่สุดโดยอาจแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนได้เล่นเกม ทำการทดลอง แสดงบทบาท ฝึกทักษะแข่งขันตอบปัญหาศึกษาจากชุดการสอน แก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์จำลอง เป็นต้น 8. การจัดกลุ่ม จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เวลา ลักษณะเนื้อหาและกิจกรรมที่จะจัด จากประสบการณ์การสอนพบว่า ขนาดกลุ่มย่อยมีสมาชิก ประมาณ 4-5 คนจะเหมาะสม เพราะทุกคนในกลุ่มจะร่วมกันคิดแก้ปัญหา หรือทำงานที่รับมอบหมายโดยทั่วถึงกันทุกคน เพราะให้ความร่วมมือต่อกลุ่มเป็นอย่างดี
การสอนโดยเน้นกระบวนการคิดการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด
1. หลักการการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางสติปัญญา ที่ต้องอาศัยสิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการคิดที่หลากหลายหลักการ เป็นรูปแบบที่จอยส์และวีลพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของกอร์ดอนที่กล่าวว่าบุคคลทั่วไปมักยึดติดกับวิธีคิดแก้ปัญหาแบบเดิมๆของตนโดยไม่ค่อยคำนึงถึงความคิดของคนอื่นทำให้การคิดของตนคับแคบและไม่สร้างสรรค์บุคคลจะเกิดความคิดเห็นที่สร้างสรรค์แตกต่างไปจากเดิมได้หากมีโอกาสได้ลองคิดแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ไม่เคยคิดมาก่อนหรือให้บุคคลจากหลายกลุ่มประสบการณ์มาช่วยกันแก้ปัญหาจะได้วิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นดังนั้นกอร์ดอนจึงเสนอให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดแก้ปัญหาด้วยแนวความคิดใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิมไม่อยู่นสภาพที่เป็นตัวเองสภาพการณ์เช่นนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นกอร์ดอนได้เสนอวิธีการเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมยเพื่อใช้ในการกระตุ้นความคิดใหม่ๆไว้ 3 แบบคือการเปรียบเทียบแบบตรงการเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของและการเปรียบเทียบคำคู่ขัดแย้ง
2. นิยามการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด เป็นการเรียนการสอนที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคในการสอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3.ตัวบ่งชี้การสอนโดยเน้นกระบวนการคิด3.ตัวบ่งชี้การสอนโดยเน้นกระบวนการคิด ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดได้หลากหลาย
4. การนำ การสอนโดยเน้นกระบวนการคิดไปใช้ ขั้นตอน ขั้นที่ 1ขั้นนำ ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงานต่างๆที่ต้องการให้ผู้เรียนทำตามปกติที่เคยทำเสร็จแล้วให้เก็บผลงานนั้นไว้ก่อน ขั้นที่ 2ขั้นการเปรียบเทียบแบบตรงสอนเสนอคำคู่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างคำคู่ที่ผู้สอนเลือกมาควรมีลักษณะที่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรืองานที่ผู้เรียนทำในขั้นที่ 1
4. การนำ การสอนโดยเน้นกระบวนการคิดไปใช้ ขั้นที่ 3ขั้นการเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ สอนให้ผู้เรียนสมมติตัวเองเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งและแสดงความรู้สึกออกมา ขั้นที่ 4ขั้นการสร้างคำคู่ขัดแย้ง ผู้สอนให้ผู้เรียนนำคำหรือวลีที่ได้จากการเปรียบเทียบในขั้นที่ 2 และ 3 มาประกอบกันเป็นคำใหม่ที่มีความหมายขัดแย้งกันในตัวเอง
4. การนำ การสอนโดยเน้นกระบวนการคิดไปใช้(ต่อ) ขั้นที่ 6ขั้นนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน ผู้สอนให้ผู้เรียนนำงานที่ทำไว้ในขั้นที่ 1 ออกมาทบทวบใหม่และลองเลือกนำความคิดที่ได้มาใหม่จากกิจกรรมขั้นที่ 5 มาใช้ในงานของตนทำให้งานของตนมีความสร้างสรรค์มากขึ้น ขั้นที่ 5ขั้นอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้ง ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้งที่ได้
แหล่งที่มา • http://www.krutermsak.in.th/index.php/2013-02-14-03-15-32/2-uncategorised/26-2013-02-22-06-08-19 • http://www.l3nr.org/posts/259322 • http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ElwW9ZzfxB4J:www.satriwit3.ac.th/files/20110029_11090918181257.ppt+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th • http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Xpbp2DKxrtIJ:naza253366.blogspot.com/p/student-centered-instruction-2554119.html+&cd=21&hl=th&ct=clnk&gl=th • http://www.l3nr.org/posts/157681