1 / 33

สารบัญ

สารบัญ. หน้า. 3 4 4 5 7 8 9 10 11 11 12 14 15 16 17 18 20 21 22 23 24 24 25 30 32.

mitch
Download Presentation

สารบัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารบัญ หน้า 3 4 4 5 7 8 9101111121415161718202122232424253032 • บทนำ- สาเหตุที่ SCG นำแนวความคิดเรื่องการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร- SCG มีวิธีการนำระบบการจัดการความรู้ไปใช้ในองค์กรอย่างไรบ้าง- เครือซิเมนต์ไทย องค์กรแห่งนวัตกรรมและการเรียนรู้- แนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ของสำนักงาน การบุคคลกลาง SCG - Transition & Behavior - Communication - Process & Tools - Training & Learning - Recognition & Rewards - Measurementกิจกรรมต่างๆ ในการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง SCG - แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ - จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - กิจกรรม การสำรวจตัวเอง - กิจกรรม Knowledge Mapping - กิจกรรม ISO 9001 : 2008 - กิจกรรมจัดระบบงานให้สอดรับกับแผนกลยุทธ์หลักขององค์กร - กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - กิจกรรม After Action Review - กิจกรรมระบบบริการให้คำปรึกษา - กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน - กิจกรรม Book Briefing - KM Web Portal (http://scgelearning.cementhai.co.th) - Knowledge Sharing Board (KSB) - SCG Blog - Community of Practice (CoP) - เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - Knowledge Capturing - แนะนำเครื่องโหวต (Personal Response System)

  2. บทนำ เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG เป็นองค์กรที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบศตวรรษ เราได้นำเครื่องจักรและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมากจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ประกอบกับการที่ SCG ได้ดำเนินกิจการร่วมค้ากับผู้นำในตลาดสินค้าหลายประเภทจึงทำให้พนักงาน SCG ซึมซับเอาความรู้ทางเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดจากคู่ค้า มาสั่งสมไว้บวกกับประสบการณ์และความสามารถของวิศวกร SCG ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของตลาดในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านั้นกำลังจะสูญหายไปพร้อมๆ กับพนักงาน SCG ที่จากไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า เนื่องจากระบบการบริหารงานของ SCG เป็นรูปแบบ Decentralization ดังนั้น การรับรู้ข่าวสารของพนักงานก็ดี การเลือกใช้เครื่องมือการบริหารต่างๆ ก็ดี จึงมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจ ซึ่งรวมถึงวิธีการและขั้นตอนการนำระบบ Knowledge Management มาใช้ด้วย แต่บนความแตกต่างนั้นยังมีจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละธุรกิจ กล่าวคือมีการแต่งตั้งคณะทำงานด้าน KM ขึ้นใน SCG ซึ่งประกอบด้วยพนักงานระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน โดยที่สมาชิกมาจากตัวแทนผู้ปฏิบัติงานด้าน KM ของแต่ละธุรกิจ โดยคณะทำงานนี้จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ด้าน KM ของเครือฯ และจัดกิจกรรมหลักที่พนักงาน SCG ทุกคนมีส่วนร่วม นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งคณะทำงานอื่นๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ KM ภายใน SCG ได้แก่คณะทำงาน Innovation ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันวิสัยทัศน์เรื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมของ SCG คณะทำงาน Inno People ที่มีบทบาทในการสร้างคนพันธุ์ใหม่ของ SCG ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วองค์กรในปัจจุบันและในอนาคต คณะทำงาน Eager to Learn ที่มีบทบาทในการจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงาน SCG เป็นบุคคลที่ใฝ่หาความรู้และแบ่งปันอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้าง Facilitators เป็นจำนวนหลายรุ่น ทั้งจากโครงการ Inno Facilitator และโครงการ Constructionism เพื่อสร้างพนักงานที่ทำหน้าที่เป็น Change Agent กระจายอยู่ในแต่ละธุรกิจ บทความนี้เรียบเรียงขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกกล่าวเล่าเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ ที่มีแนวทางการดำเนินงานแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจของ SCG โดยทำการรวบรวม Process และ Practices ของการ Implement ระบบการจัดการความรู้ของแต่ละธุรกิจ เพื่อเป็นกรณีศึกษาของชนรุ่นหลัง โดยแบ่งออกเป็นตอนๆ ตามแต่ละธุรกิจ สำหรับเอกสารที่อยู่ในมือของท่านนี้ เป็นรายละเอียดของการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง สังกัด CorporateFunction บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

  3. การจัดการความรู้ของเครือซิเมนต์ไทย KM in SCG สาเหตุที่เครือซิเมนต์ไทยนำแนวความคิดเรื่องการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กร เครือซิเมนต์ไทยมีวิสัยทัศน์ในเรื่องการสร้างนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นให้พนักงานใช้ศักยภาพที่มีอยู่ สรรค์สร้าง High Value of Products and Servicesและเรื่องการเป็นผู้นำทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลไว้สนับสนุนกลยุทธ์ดังกล่าว เครือซิเมนต์ไทยจึงนำแนวความคิดเรื่องการจัดการความรู้มาใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารถสร้างนวัตกรรม และเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เครือซิเมนต์ไทยมีวิธีการนำระบบการจัดการความรู้ไปใช้ในองค์กรอย่างไรบ้าง เครือซิเมนต์ไทยแบ่งธุรกิจกออกเป็น 5 ธุรกิจ กับ หน่วยงานส่วงกลาง โดยมีตัวแทนจากแต่ละธุรกิจและหน่วยงานส่วนกลางมาเป็นคณะทำงานจัดการความรู้เครือซิเมนต์ไทย เพื่อกำหนดนโยบายต่างๆ และร่วมมือเพื่อศึกษาหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการจัดการเรียนรู้ แต่การดำเนินงานจัดการความรู้ในระดับหน่วยงาน แต่ละธุรกิจจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด สำหรับหน่วยงานส่วนกลางได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อสนับสนุนและดำเนินกิจกรรมเพื่อการจัดการความรู้สำหรับหน่วยงานส่วนกลางเอง และและธุรกิจต่างๆ ในเครือซิเมนต์ไทยที่ต้องการการสนับสนุนจากส่วนกลาง โดยมีความรับผิดชอบในภารกิจดังต่อไปนี้ - ให้ความรู้แก่พนักงาน SCGในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อให้ทราบถึง ความสำคัญ ประโยชน์ที่ได้รับ วิธีการดำเนินกิจกรรมและการใช้เครื่องมือต่างๆของ KM - พัฒนาเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้ และจัดการฐานข้อมูลความรู้ เพื่อก่อให้เกิด การนำความรู้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ - สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ใน SCGมีการสร้าง จัดเก็บ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ซ้ำ หรือนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นความรู้ใหม่ ที่ เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจของ SCG

  4. เครือซิเมนต์ไทย องค์กรแห่งนวัตกรรมและการเรียนรู้ SCG หรือเครือซิเมนต์ไทย เป็นองค์กรหนึ่งที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ตามคำนิยามของนักวิชาการ เช่น Peter Senge (1990)ระบุว่าองค์กรใดจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ บุคลากรในองค์กรนั้นจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ - คิดอย่างเป็นระบบ คิดรอบด้านอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งตรงกับ Competency ของ SCG คือ Strategic Perspective - มีใจใฝ่เรียนรู้ ซึ่งตรงกับ Competency ที่ว่า Personal Mastery และ Eager to Learn - รู้จักพัฒนากรอบความคิดของตนเอง ไม่ยึดติด พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงกับ Competency ข้อ Adaptability - มีวิสัยทัศน์แห่งอนาคตร่วมกัน ซึ่งจะไม่ทำให้คนในองค์กรเดินหลงทิศทาง ซึ่งตรงกับCompetency Achievement Oriented - มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ซึ่งตรงกับ Competency ที่ว่า Team Leadership ของ SCG David Garvin (1993)ได้นิยามว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีความสามารถในการพัฒนาหรือแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และถ่ายโอนความรู้นั้นไปสู่พนักงาน ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจขององค์กร ซึ่งหมายความว่าองค์กรจะต้องมี Innovation ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและสามารถไปใช้หาผลประโยชน์ต่อองค์กรได้ ซึ่ง SCG ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม ที่จะทำให้เรามีความสามารถเหนือคู่แข่งขันได้ จึงได้กำหนดนโยบายองค์กรมุ่งสู่ Innovation มีการกำหนดให้ Innovation เป็น Competency ข้อหนึ่งของพนักงาน SCG และกำหนดคุณสมบัติของ Inno People ไว้ดังนี้

  5. คนกล้า 5 ประการของ Inno People มีดังนี้ - กล้าเปิดใจรับฟัง (Open Minded) - กล้าคิดนอกกรอบ (Thinking out of the Box)- กล้าพูดกล้าทำ (Assertive) - กล้าเสี่ยงกล้าท้าทาย (Risk Taking) - กล้าเรียน ใฝ่รู้ (Eager to Learn) นอกจากนี้ SCG ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้นำ หรือ Inno Leader ไว้อีก 3 ประการ ดังนี้ - ผู้นำการเปลี่ยนแปลง - ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง - ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการเป็นแบบอย่าง

  6. แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง (น.บค.) วัตถุประสงค์ พัฒนาระดับความรู้ความสามารถและทักษะการทำงาน ในภารกิจที่รับผิดชอบของพนักงาน ในสำนักงานการบุคคลกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยการนำความรู้ที่มีอยู่ ในหน่วยงานหรือในแต่ละบุคคลมาใช้ซ้ำหรือนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นความรู้ใหม่ขององค์กร ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามนโยบายคุณภาพของ น.บค. ที่ว่า “มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนา คุณภาพบุคลากรและระบบบริหารงานบุคคลอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทาง ธุรกิจ และความพึงพอใจของลูกค้า” กรอบแนวคิด Objective พัฒนาระดับความรู้ความสามารถและทักษะการทำงานในหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานน.บค. KM ProcessandActivities 1. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง 2. บริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 3. ชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือความรู้ที่สำคัญของ น.บค. และยังขาดความรู้อะไร 4. สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database 5. สร้างช่องทางเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน 6. การเรียนรู้ของพนักงาน และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร 7. จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้8. จัดทำ “ระบบพี่เลี้ยง” (Mentoring System) 9. จัดทำ “ระบบที่ปรึกษา” (Expert System)สำหรับให้คำปรึกษาหรือตอบคำถาม10. จัดทำโครงการ “ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากพนักงานที่ใกล้จะเกษียณ”11. จัดทำกิจกรรม “ทบทวนการกระทำหลังเสร็จสิ้นภารกิจ” (After Action Review)12. จัดทีมงานให้บริการ “บันทึกและจัดเก็บความรู้” ด้วยมัลติมีเดีย เทคโนโลยี13. ขอการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2008 14. ทำให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ 15 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างเครื่องมือด้าน E-Learning และKM KM Tools 1. Knowledge Database on Web Server with Streaming Technology2. KM Web Portal& Web Applications : - Wiki / Blog / Webboard / Chat Room / e-CoP / e-Classroom - Search Engine3.Knowledge Capturing Tools: - AcuLearn / SnagIT / Camtasia / MS-Producer / E-Maggazine4. Knowledge Management Tools : - Story Telling / Show & Share - Book Briefing - Knowledge Mapping - Community of Practices (CoP) Infrastructure 1. SCG Intranet2. MS-SharePoint3. E-Mail

  7. บริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้บริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 1. ปรับวัฒนธรรมขององค์กร ให้สอดรับกับการไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เช่น กำหนดให้พนักงานมี ความใฝ่รู้ (Eager to Learn) เป็น Core Competency ของพนักงาน SCG ทุกคน 2. ผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างหรือ Role Model ที่ดี ในการเป็น Change Agent ให้พนักงานเกิดการเปลี่ยน แปลงไปสู่เป้าหมายที่วางไว้3. สร้างบรรยากาศในการทำงานที่เอื้อประโยชน์ต่อการร่วมมือและแบ่งปันความรู้ 4. สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมกลุ่มย่อยๆ ที่สมาชิกที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมารวมตัวกันอย่างเป็น ทางการหรือไม่เป็นทางการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นช่องทางให้ความรู้ภายในองค์กรเกิดการไหลเวียน บรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับการแลกเปลี่ยน ผู้บริหารต้องเป็น Role Model

  8. Communicationสื่อสารสื่อสารให้พนักงานได้รับรู้ถึงประโยชน์และวิธีการดำเนินกิจกรรมKM ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น 1. อีเมล์ / เว็บไซต์ 2. โปสเตอร์ / ป้ายไฟวิ่ง / ป้ายผ้า (Banner)3. แผ่นพับ (Leaflet) /โบรชัว (Brochour) 4. ป้ายตั้งโต๊ะที่โรงอาหาร 5. นิตยสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ภายใน SCG6. SCG TV/ ถ่ายทอดสดผ่านอินทราเน็ต ตัวอย่างสื่อชนิดต่างๆ

  9. Process & Tools วางขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและสร้างเครื่องมือเพื่อเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมต่างๆ 1. สร้างโอกาสและช่องทางเพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น - มีการดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคล หน่วยงาน และองค์กร - ใช้วิธีแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานที่ดีกว่า (Better Practices)ระหว่างบุคคล หน่วยงานและองค์กร โดยจัดเป็น Forumและมีการบันทึกความรู้เก็บไว้ - แลกเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี ระหว่างบุคคล หน่วยงาน และ สถาบันฯ 2. ดำเนินการจัดหาเครื่องมือ Softwareหรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและเหมาะสม

  10. Training and Learning 1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้กับพนักงาน เพื่อให้เข้าใจความหมายและเล็งเห็นถึง ประโยชน์ในการจัดการความรู้ ตลอดจนวิธีการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของการจัดการความรู้2. แนะนำวิธีการติดตามข่าวสารและแหล่งความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ใน SCG ให้พนักงานทราบ 3. สอนให้พนักงานทราบถึงวิธีการใช้เครื่องมือการสืบค้น (Search Engine) เพื่อค้นหาความรู้ต่างๆ ที่ ต้องการ4. แนะนำวิธีการใช้เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การสร้าง Blog การใช้ Chat Room การUpload หรือ Download ไฟล์เอกสารที่ต้องการแลกเปลี่ยน การเข้ามีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติ หรือ Community of Practice (CoP) วิธีการดำเนินการ1. เรื่องการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ KM และแนะนำวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ใช้วิธีการแทรกเป็น หัวข้อบรรยายในหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตร BCD ใน Module การบริหารทรัพยากรบุคคล หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เป็นต้น2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือต่างๆ โดยจัดทำเป็นระบบสอนวิธีใช้งานบนเว็บ เช่น สอนการ สร้างและตกแต่ง Blog บน Blog เป็นต้น3. จัดบรรยายให้ความรู้แก่พนักงานที่หน่วยงานของพนักงาน เช่น กลุ่มพนักงานที่ทำโครงการร่วมกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มพนักงานในโครงการ Inno Facilitator รุ่นที่ 1-3 กลุ่มพนักงานที่ทำโครงการStandard Procurement Project เป็นต้น4. ให้ความรู้และแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางอีเมล์ Recognition & Rewards ในระยะยาวการให้แรงจูงใจในรูปแบบสิ่งของหรือเงินรางวัล ดูจะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากพนักงานมีความเข้าใจในคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ในสังคมแห่งการเรียนรู้ การให้ความรู้กับผู้อื่นจะได้รับการยอมรับและยกย่องชมเชย ซึ่งผู้ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นผู้ให้มากกว่ารางวัลอื่นใด แต่ในระยะแรกของการนำการจัดการความรู้ไปใช้ หรือกรณีริเริ่มโครงการใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นอยู่บ้าง เพื่อเป็นการชักจูงให้พนักงานเกิดความสนใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว

  11. Measurement • 1. การวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานโดยการเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงจากสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมกิจกรรม จากการสอบถามอย่างเป็นทางการโดยใช้แบบสอบถาม หรืออย่างไม่เป็นทางการโดยการพูดคุยกับพนักงาน • 2. การวัดประสิทธิภาพของสื่อต่างๆโดยดูจากปฏิกิริยาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของพนักงานที่มีการสื่อสารออกไปให้พนักงานทราบ • 3. การวัดกระบวนการหรือผลสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรม KM • วัดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น • Number of Members • Number of Contributors • Frequency of Login , Dwell Time (Duration time of using) • Frequency of Update , Download • No of Members to No of Contributors Ratio • วัดปริมาณ, คุณภาพของเนื้อหาหรือประโยชน์ที่ได้รับ (โดยการทำ Survey) • Number of Topic of Contents or Anecdotes • User rating of contribution value • Number of Problems Solved • Time spent gathering information • Time spent analyzing information • วัดผลสำเร็จของการทำ KM • Number of action plans to achieved • 4. การวัดความรู้และความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับKMเช่น ความหมาย ประโยชน์ วิธีการดำเนินกิจกรรม หรือวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเข้าถึงความรู้ที่พนักงานต้องการ • 5. การวัดความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อการจัดการความรู้เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การให้ของรางวัล เป็นต้น

  12. ภาพแสดงตัวอย่างรายงานUtilizationของระบบภาพแสดงตัวอย่างรายงานUtilizationของระบบ

  13. กิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้กิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ เพื่อนำนโยบายด้านการจัดการความรู้จากผู้บริหารไปดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผล วิธีดำเนินการ 1. ออกคำสั่งให้หัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการบุคคลกลางทุกท่านเป็นคณะทำงาน โดยตำแหน่ง และแต่งตั้งพนักงานอื่นๆ สมทบตามความเหมาะสม โดยมีผู้อำนวยการ สำนักงานการบุคคลกลางเป็นหัวหน้าคณะทำงาน 2. คณะทำงานจัดทำแผนการทำงานระยะปานกลาง 2-5 ปี และแผนปฏิบัติการ 1 ปี 3. แต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่บันทึกความรู้ (Knowledge Capturing) เพื่อปฏิบัติหน้าที่บันทึกและ จัดเก็บความรู้ 4. แต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลความรู้ และให้บริการค้นหาความรู้แก่พนักงาน ผ่าน Web Portal 5. คณะทำงานประชุมเพื่อชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือความรู้ที่สำคัญของหน่วยงาน ความรู้นั้น อยู่ที่ไหนหรืออยู่ที่ใครบ้าง ยังขาดความรู้อะไรอยู่อีกบ้าง และจะจัดการกับความรู้ทั้งที่ มีอยู่และที่ยังขาดอยู่อย่างไร 6. กำหนดมาตรฐานในการทำงานของพนักงานทุกคนให้ใช้ความรู้จากฐานข้อมูลความรู้ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบและช่วยกันนำความรู้ ประสบการณ์และอุปสรรค ที่พบจากการทำงานมาแบ่งปันให้กับพนักงานอื่นๆ ด้วย 7. กำหนดหลักเกณฑ์การยกย่องชมเชยหรือให้รางวัลแก่พนักงาน เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้านการจัดการความรู้ที่หน่วยงานจัดขึ้น 8. สื่อสารหรือบอกกล่าวให้พนักงานทุกคนรู้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรกำลังทำอะไรอยู่ ทำแล้วจะได้ประโยชน์อะไรต่อองค์กรและต่อตัวพนักงานเอง พนักงานจะต้องมี ส่วนร่วมโดยทำอะไรและทำอย่างไรกันบ้าง 9. จัดอบรมแก่พนักงานทุกคนเข้าใจในนโยบายด้านการจัดการความรู้ และปฏิบัติตาม กระบวนการต่างๆ โดยรู้จักใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด รวมทั้งการจัดอบรมเพื่อพัฒนาพนักงานให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้วย 10. สร้างเครื่องมือ (Knowledge Management Tools) และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงาน มีส่วนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร 11. บริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน เพิ้อสร้างวัฒนธรรมให้เป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างบรรยากาศให้พนักงานเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แล้วในองค์กร ผู้บริหารต้องแสดงความมุ่งมั่นและเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และผู้บริหารต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี(Role Model) แก่พนักงานในการปฏิบัติตนที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย

  14. กิจกรรม จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้กิจกรรม จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ วัตถุประสงค์ ส่งเสริมให้พนักงานพูดคุยกันมากขึ้นในบรรยากาศแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียด ดูเป็น ธรรมชาติเหมือนกับอยู่ที่บ้านของตัวเอง ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะแบ่ง ปันความรู้หรือความคิดใหม่ๆ เชิงนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กร วิธีดำเนินการ 1. ปรับปรุงผังที่นั่งใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่นั่งทำงานออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 4 ที่นั่ง เพื่อให้พนักงานได้ปรึกษาหารือหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ง่ายขึ้น 2. เปลี่ยนสีของเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นสีสดใส เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานให้สดชื่น ไม่ดูหมองมัว 3. แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ประมาณ 20% ให้เป็นพื้นที่ที่เรียกว่า “Inno Zone”โดยจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่นั่งสบาย เพื่อใช้เป็นที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ที่สำหรับ รับชมข่าวสารหรือต่างๆ ทางโทรทัศน์หรือ เคเบิ้ลทีวี มีมุมหนังสือหรือวารสารที่ น่าสนใจเตรียมไว้ให้พนักงานได้เข้ามานั่งอ่าน นอกจากนั้น ที่มุมนี้ยังสามารถ จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม Show & Shareเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน กิจกรรมต้อนรับพนักงานใหม่ กิจกรรมวันเกิดพนักงาน เป็นต้น 4. จัดกิจกรรมให้พนักงานประกวดการออกแบบตกแต่งโต๊ะทำงาน หรือห้องทำงาน ของตนเอง เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานให้มีชีวิตชีวาตามความชอบหรือตาม รสนิยมส่วนตัว เรียกว่า กิจกรรม Change YOD(Change Your Own Desk)โดย มีการประกวดและให้รางวัลแก่พนักงานที่ตกแต่งโต๊ะทำงานได้สวยงามและตรงกับ แนวคิดของกิจกรรมนี้มากที่สุด ภาพการจัดสถานที่ทำงานและบรรยากาศในการทำงาน

  15. กิจกรรม การสำรวจตัวเอง วัตถุประสงค์ 1. เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (Individual KM) 2. เพื่อให้เห็นแนวทางในการพัฒนาตัวเอง 3. เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการสร้าง Knowledge Mapping และระบบ Competecy วิธีดำเนินการ 1. สร้างแบบฟอร์มสำรวจตามตัวอย่างด้านล่าง หรือจัดทำโปรแกรมระบบงาน คอมพิวเตอร์เพื่อรองรับข้อมูลและนำไปประมวลผลต่อไป 2. ให้พนักงานกรอกข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลในระบบงานคอมพิวเตอร์ 3. ผู้บังคับบัญชาใช้ข้อมูลนี้เพื่อการ Coaching , Counselling และพัฒนาพนักงาน 4. ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  16. กิจกรรม Knowledge Mapping วัตถุประสงค์ 1. เป็นเครื่องมือด้าน KM ที่เชื่อมให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ขององค์กร บุคลากรในองค์กร และองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร 2. เพื่อให้ทราบว่า 2.1 ความรู้ที่องค์กรต้องการนั้น มีอยู่ที่พนักงานคนใดบ้าง 2.2 พนักงานแต่ละคน มีความรู้อะไรที่องค์กรต้องการอยู่บ้าง 2.2 องค์กรหรือพนักงานแต่ละคน ยังขาดความรู้อะไรบ้าง 2.3 จะต้องพัฒนาพนักงานในเรื่องใดบ้าง วิธีดำเนินการ 1. นำข้อมูลจากแบบฟอร์มที่พนักงานกรอกในการสำรวจตัวเอง มาทำตาราง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่องค์กรต้องการ กับรายชื่อพนักงาน ตามตัวอย่างด้านล่าง หรือจัดทำระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ (ข้อ 2 ด้านบน) 2. ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์เพื่อการบริหารความรู้ เช่น 2.1 มอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถของพนักงานแต่ละคน 2.2 พัฒนาพนักงานให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 2.3 แสวงหาความรู้ที่ยังขาด โดยวิธีการต่างๆ เช่น ซื้อเทคโนโลยี หรือจ้าง พนักงานที่มี Competency ตรงกับความต้องการมาทำงาน

  17. กิจกรรม ISO 9001 : 2008 วัตถุประสงค์ 1. สร้างระบบมาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน HRM เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า 2. จัดเก็บความรู้จากการปฏิบัติงาน(Working Knowledge) และนำมาใช้ซ้ำ เพื่อสร้าง คุณค่าต่อสินค้าและบริการของหน่วยงาน วิธีดำเนินการ 1. จัดตั้งคณะทำงานฯ จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อเรียนรู้หลักการและแนวทางการดำเนินงาน 2. แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายจัดการ (QMR)เพื่อติดตาม สนับสนุนกิจกรรมและเป็นผู้นำใน การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการทำงานที่กำหนดขึ้น 3. จัดทำระบบเอกสารและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเอกสาร (Document Controler)เพื่อ รักษามาตรฐานการทำงานด้านเอกสารทั้งที่เป็นกระดาษและอิเล็กโทรนิค 4. จัดทำมาตรฐานการทำงานและกระบวนการที่สามารถทวนสอบได้ โดยจัดทำเป็น ระบบเอกสาร เช่น Procedure Manual , Work Instruction 5. แต่งตั้งผู้ตรวจติดตามภายใน (Internal Auditors)และฝึกอบรมเพื่อให้ดำเนินการตรวจ ติดตามภายใน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกระบวนการที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อคณะจัดการผ่าน QMR6. จัดทำข้อตกลงร่วม (Interface Agreement)กับ Supplierหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ คุณภาพของสินค้าและบริการในกระบวนการต่างๆ 7. พัฒนาระบบ e-ISOเพื่อ Operateและกระบวนการต่างๆ ตามข้อกำหนด เช่นการ ตรวจติดตามภายใน การปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และ Controlระบบเอกสาร 8. ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้าและบริการของแต่ละหน่วยงาน 9. มีการทำ Management Reviewปีละ 2 ครั้งเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน การแก้ไขสิ่ง ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ให้การสนับสนุนทรัพยากรที่ขาดแคลน รวมถึงการพัฒนา ปรับปรุงสินค้าและบริการให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น

  18. ภาพตัวอย่างหน้าจอระบบ e-ISO ภาพตัวอย่างหน้าจอระบบ e-Action Plan

  19. กิจกรรม จัดระบบการทำงานให้สอดรับกับแผนกลยุทธ์หลักขององค์กรและเอื้ออำนวยต่อ การจัดการความรู้กิจกรรม จัดระบบการทำงานให้สอดรับกับแผนกลยุทธ์หลักขององค์กรและเอื้ออำนวยต่อ การจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการดึงความรู้และศักยภาพในตัวพนักงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยใช้วิธีการแบ่งงานตามความสามารถ 2. เพื่อเป็นการถ่ายโอนความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง วิธีดำเนินการ 1. ออกแบบผังองค์กรใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งลักษณะงานตามแผนกลยุทธ์หลักของ SCG (โปรดดูรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบในเว็บไซต์ http://chr.cementhai.co.th) 2. มีระบบ Coaching ที่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สอนงานให้กับพนักงานในหน่วยงาน หรือ สอนงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ ที่มาเรียนรู้งาน/ดูงาน 3. มีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ที่กำหนดให้พนักงานใหม่ในช่วง 1 ปีแรก ต้องมีพี่ เลี้ยงซึ่งเป็นพนักงานที่มีทัศนคติที่ดีต่อบริษัทและผู้บังคับบัญชา ผ่านการอบรมการ เป็นพี่เลี้ยงที่ดี เพื่อเป็นที่ปรึกษาและแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานใหม่ 4. มีระบบ Job Rotation คือมีการสลับเปลี่ยนหมุนเวียนงานในหน้าที่รับผิดชอบอยู่เป็น ระยะๆ เพื่อให้พนักงานเกิดการตื่นตัวและเรียนรู้งานในหน้าที่ใหม่ และเป็นการเสริม สร้างประสบการณ์ให้กับพนักงานหรือแสวงหาจุดที่เหมาะสมกับตนเองได้เป็นอย่างดี 5. มีการขอตัวพนักงานที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่ต้องการมาช่วยงานชั่วคราว เช่น มีการรับนักเรียนทุนที่เพิ่งจบการศึกษามาช่วยงานในหน่วยงานเป็นระยะเวลาสั้นๆ 6. มีการจัดทำแผนงานระยะปานกลาง 1-3 ปี และแผนการปฏิบัติงานประจำปี ที่ระบุ กิจกรรมซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์หลักขององค์กร มี KPI เป้าหมาย ระยะเวลาและผู้รับ ผิดชอบในแต่ละกิจกรรม โดยสร้างระบบ e-Action Plan ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการจัด ทำแผนงาน การติดตามแผนงาน การจัดผังองค์กรของสำนักงานการบุคคลกลาง ปี 2550

  20. กิจกรรม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn and Share Forum) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ประเภท Tacit Knowledgeจากคนหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ 2. เพื่อจัดเก็บความรู้และประสบการณ์จากคนหนึ่งไว้ในสื่อที่สามารถนำไปเผยแพร่ได้ง่าย 3. เป็นการให้รางวัลหรือยกย่องพนักงานที่เป็นผู้ให้ความรู้กับผู้อื่น 4. กระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร วิธีดำเนินการ 1. กำหนดระยะเวลาจัดงานที่แน่นอน เช่น จัดให้มีทุกเช้าวันจันทร์ โดยใช้เวลาไม่เกิน 1.5 ชั่วโมงต่อครั้ง 2. กำหนดประเภทของรายการ ได้แก่ - Book Briefing- เรื่องเล่าจากประสบการณ์การไปดูงานหรือจากการไปเข้าอบรมจากภายนอก - สอนความรู้หรือทักษะของผู้เล่า - อื่นๆ เช่น การชี้แจงข่าวสารข้อเท็จจริง นโยบาย ฯลฯ 3. อาจจะมีการจัดหาของรางวัลเล็กน้อยให้แก่ผู้เล่า 4. อาจจะมีอาหาร หรือเครื่องดื่มไว้คอยบริการแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5. อาจจะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Vote หาผู้ชนะรางวัล “เรื่องเล่าดีเด่น” และรวบรวมเพื่อ จัดงานใหญ่ในรอบ 6 เดือน หรือ 1 ปี โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงมาร่วมเป็นเกียรติ 6. บันทึกความรู้เก็บไว้ในสื่อที่สามารถเก็บหรือเผยแพร่ได้ง่าย 7. สนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานอื่น ที่จัดในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ

  21. กิจกรรม After Action Review (AAR) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อบันทึกบทเรียน (lessons Learned)ที่ได้รับภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจใดๆ แล้ว ทำให้ทราบว่า การกระทำใดเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำต่อในภารกิจต่อไป หรือการกระ ทำใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะกระทำ หรือถ้าจะทำต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนใดบ้าง 2. เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและวิธีแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่าง การทำงาน และผลกระทบจากการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อนำมา บันทึกไว้สำหรับผู้ปฏิบัติงานรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาหรือนำไปเป็นแบบอย่างต่อไป วิธีดำเนินการ 1. หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจใดๆ แล้ว ควรหาเวลาทบทวนสิ่งที่ตนเองหรือทีมงานปฏิบัติ โดยจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายสาเหตุและวิธีแก้ปัญหา ข้อดีและข้อเสียของวิธี แก้ไขปัญหาต่างๆ และสรุปเป็นบทเรียนสำหรับการทำงานในโอกาสต่อไป 2. บันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้ในสื่อที่สามารถจัดเก็บและนำไปเผยแพร่ได้ง่าย 3. เผยแพร่ความรู้ต่างๆ ที่บันทึกไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้ที่เข้ามาอ่านด้วย ตัวอย่างการทำ After Action Review

  22. กิจกรรม ระบบบริการให้คำปรึกษากิจกรรม ระบบบริการให้คำปรึกษา วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ หรือที่เกี่ยวกับตัวเงินจำนวนมาก หรือกระทบต่อคนจำนวนมาก เป็นวิธีการปฏิบัติการป้องกันปัญหาใน“เชิงรุก” ก่อนที่ จะเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหาอื่นตามมา ซึ่งอาจจะนำความเสียหายมาสู่องค์กรได้ วิธีดำเนินการ การพัฒนาระบบงานบนเว็บ ที่สามารถทำงานได้ดังนี้ - ผู้ที่เกิดข้อสงสัยในการทำงานอาจจะ Searchดูข้อคำถามจากบุคคลอื่นที่มีคำถาม ในลักษณะเดียวกันที่ถามไว้ก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ - คำถามต่างๆ จะถูก Postไว้ในระบบ เพื่อรอให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหมวดหมู่ เข้ามาตอบคำถาม โดยผู้เชี่ยวชาญจะได้รับแจ้งว่ามีคำถามทางอีเมล์ - เมื่อผู้เชี่ยวชาญไม่สะดวกที่จะตอบคำถามนั้น ก็อาจจะส่งคำถามต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ท่านอื่นทำการตอบคำถามแทนได้ - คำถามที่ถูกตอบแล้วจะถูก Postเข้ามาในระบบ เพื่อให้ผู้ถามหรือผู้สนใจสามารถ เข้ามาอ่านคำตอบได้ตลอดเวลา และสามารถนำไปเป็นบรรทัดฐานในการทำงานได้ - ถ้าผู้ถามยังไม่เข้าใจในคำตอบ หรืออาจมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็สามารถเขียนคำถาม ต่อเนื่องจากคำถามเดิมได้ โดยไม่ต้องเริ่มต้นขึ้นคำถามใหม่ - มีระบบรายงานเพื่อให้ทราบถึงจำนวนคำถามในแต่ละหมวดหมู่ จำนวนคำถาม ที่อยู่ระหว่างรอคำตอบ เป็นต้น ภาพตัวอย่างหน้าจอ ระบบบริการให้คำปรึกษา

  23. กิจกรรม ระบบเพื่อนช่วยเพื่อนกิจกรรม ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ประเภท Tacitจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง 2. เสริมสร้างความสัมพันธ์และการยอมรับซึ่งกันและกัน วิธีดำเนินการ กำหนดให้กิจกรรมนี้ เป็นนโยบายที่หน่วยงานให้การสนับสนุนการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น การให้เวลาอย่างอิสระแก่พนักงานวันละ 30 นาที ที่พนักงานสามารถใช้เวลานี้ในช่วง เวลาใดก็ได้ในแต่ละวันเพื่อเป็นตัวของตัวเองในการที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หรือสอน ให้ความรู้แก่ผู้อื่น หรืออาจจะใช้เวลาในช่วงนี้คิดทบทวนหรือบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน แต่ละวัน การแก้ไขปัญหา การพบปะผู้คน การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือใช้เวลานี้จดบันทึก ไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว หรือ Blogของตนเอง กิจกรรม Book Briefing วัตถุประสงค์ 1. ส่งเสริมให้พนักงานมีนิสัยรักการอ่าน 2. ส่งเสริมวัฒนธรรม Eager to Learn3. เพื่อจัดเก็บความรู้ในสื่อที่สามารถแผยแพร่ได้ วิธีดำเนินการ 1. คัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามความสนใจ เช่น หมวด Innovationหมวด Marketingหมวด HRMเป็นต้น 2. ประกาศเพื่อหาผู้สนใจอ่านหนังสือ โดยสามารถสมัครเป็นทีม เล่มละ 2-3 คนก็ได้ 3. จัดกำหนดการการนำเสนอตลอดทั้งปี และประกาศให้ผู้สนใจเข้ารับชมการนำเสนอ 4. บันทึกเนื้อหาลงในสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารถแผยแพร่ได้ง่าย 5. จัดเตรียมของรางวัลให้กับผู้อ่านหนังสือ หรือเตรียมอาหารเครื่องดื่มไว้บริการผู้เข้าร่วม 6. จัดให้มีการโหวตเพื่อคัดเลือก “Book Briefingดีเด่น” และประกาศรางวัลในรอบ 6 เดือนหรือ 1 ปี 7. รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ไว้ในฐานข้อมูลความรู้ขององค์กร ตัวอย่างการทำ Book Briefing

  24. กิจกรรม KM Web Portal (http://km.cementhai.co.th) วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นจุดเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้สำหรับพนักงาน SCG วิธีดำเนินการ การพัฒนาระบบงานบนเว็บ ที่สามารถทำงานได้ดังนี้ - ระบบบริหารผู้ใช้ (User Management) เช่น การลงทะเบียน การกำหนดสิทธิต่างๆ การเก็บข้อมูลของผู้ใช้ - ระบบจัดการเนื้อหาความรู้(Contents Management) ได้แก่ การสร้าง การจัดเก็บ การค้นหา และการนำไปใช้งาน - ระบบจัดการการเรียนรู้(Learning Management) ได้แก่การจัดห้องเรียน การจัดผู้ เรียน การจัดวิชาเรียน การทดสอบ การประเมินผล การติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน - ระบบชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice) ได้แก่ การสร้างชุมชน (CoP) การจัดการสมาชิกของชุมชน การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในชุมชน การจัดการ เนื้อหาความรู้ของชุมชน การทำประชามติ เช่น การทำ Vote , การทำ Poll , การทำ แบบสอบถาม (E-Questionnaire) - ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Learn and Share) Webboard (Knowledge Sharing Board) Blog/Chat roomWiki/Video Clip Sharing - ระบบแผนที่ความรู้(Knowledge Mapping) เพื่อให้ทราบว่าความรู้ที่ต้องการ สามารถ หาได้จากที่ใดหรือจากบุคคลใดได้บ้าง - ระบบรายงาน(Report) เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ Utilization ของระบบ และพฤติกรรม การใช้งานของผู้ใช้ ภาพตัวอย่างหน้าจอ Knowledge Web Portal

  25. เว็บไซต์สำหรับงาน e-Learning และ Knowledge Managementhttp://scgelearning หรือ http://km

  26. ประโยชน์ใช้งานของ http://scgelearning หรือhttp://km งานด้าน e-Learning • ทำหน้าที่เป็น LMS หรือ Learning Management System - บริหารข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งาน ว่าใครเข้ามาเรียนรู้เรื่องอะไร เมื่อไร มีผลเป็นอย่างไรบ้าง - บริหารจัดการเนื้อหาบทเรียน แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ มีบทคัดย่อให้ผู้ใช้ได้อ่านก่อนเข้าเรียนรู้ - จัดการกับข้อสอบก่อนและหลังการเรียน หรือ E-Examination - จัดการระบบประเมินผล หรือ E-Questionnaire - มีระบบ Collaborative ระหว่างผู้เรียน และผู้สอน เช่น Webboard และ Chat Room - มีระบบรายงานต่างๆ เช่น รายการพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น • ทำหน้าที่เป็น CMS หรือ Content Management System - มีโปรแกรมสำหรับสร้างเนื้อหาบทเรียน โดยสามารถวาง Multimedia Object ต่างๆ ได้ เช่น รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ตัวอักษรชนิดต่างๆ ตาราง และอื่นๆ ซึ่งเพียงพอสำหรับ การสร้างเนื้อหาบทเรียนต่างๆ ได้ - จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาบทเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน - มีระบบ Search Engine เพื่อให้การค้นหาเนื้อหาบทเรียนเป็นไปอย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ • ทำหน้าที่เป็นห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) - สามารถสร้างประชาคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Communication) สำหรับกลุ่มผู้เรียนใดๆ เป็นการเฉพาะ โดยจัดหา Utility ต่างๆ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียน - สามารถถ่ายทอดสดรายการสำคัญๆ จากห้องสัมมนา ไปสู่โต๊ะทำงานของพนักงานได้ - สร้าง Web Portal สำหรับให้พนักงาน SCG เข้าถึงได้ที่ http://scgelearning หรือ http://km งานด้าน Knowledge Management • มีระบบจัดเก็บความรู้ไว้เป็นหมวดหมู่ และสามารถค้นหาผ่าน Search Engine ได้อย่างสะดวก • มีเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน SCG เช่น - Blog ซึ่งเป็นเสมือนกับ Diary Online ที่พนักงานสามารถเป็นเจ้าของ โดยผู้อ่านสามารถ เขียนความคิดเห็นหรือให้ความรู้ต่อยอดได้ - มี Webboard เพื่อให้แลกเปลี่ยนความรู้หรือข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ระหว่างพนักงาน โดย แยกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน - มีห้องพูดคุยหรือ Chat Room ที่พนักงานสามารถนัดเวลาพบปะเพื่อคุยกันสดๆ แบบ Real Time และยังสามารถ Upload ไฟล์เอกสารให้กันและกันได้อย่างสะดวก - มีโปรแกรมสำหรับสร้างเนื้อหาความรู้แบบ Multimedia ได้อย่างง่ายๆ เพื่อให้พนักงานใช้เป็น เวทีสำหรับนำเสนอความรู้ผ่านระบบงานนี้เช่นระบบ Video Clip Sharing ระบบ Wiki เป็นต้น • สามารถสร้าง Community of Practices หรือ COP สำหรับให้พนักงานที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมีเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจัดเตรียม Utility ที่อำนวยความสะดวกให้อย่างพร้อมสรรพ เช่น เว็บบอร์ด ห้องพูดคุย โหวต/โพล แบบสอบถาม ปฏิทินกิจกรรม ประกาศ/ข่าวสาร ฯลฯ

  27. ภาพFunctionการทำงานระบบ SCG e-Learning เริ่มต้นใช้งาน Chat Room Knowledge Sharing Board

  28. Show and Share Community of Practice Blog

  29. กิจกรรม Knowledge Capturing วัตถุประสงค์ เพื่อบันทึกความรู้จาก Tacit Knowledge ให้ออกมาเป็น Explicit Knowledge ผ่านสื่อMultimedia ได้แก่ ซีดี เว็บไซต์ หรือถ่ายทอดสดผ่าน SCG Intranet วิธีดำเนินการ 1. จัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบัน SCG ใช้ Software AcuLearn ซึ่งประกอบด้วย - AcuStudio/Live โดยติดตั้งที่ Notebook เพื่อใช้ปฏิบัติการบันทึกความรู้ในภาคสนาม เช่น ที่เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในห้องอบรม/สัมมนา ในสถานที่ทำงานหรือสถานที่ ใดๆ ที่ต้องการจัดเก็บความรู้ - AcuManager โดยติดตั้งที่ Web Server เพื่อใช้จัดการกับเนื้อหาความรู้ (Contents) ที่ บันทึกโดย AcuStudio/Live เช่น การถ่ายทอดสดรายการต่างๆ ไปยังคอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่าย SCG Intranet หรือ นำเสนอแบบ Web On-Demand บน KM Web Portal ซึ่งจัดทำระบบที่ง่ายต่อการค้นหาของผู้ใช้ เช่น แบ่งหมวดหมู่อย่างชัดเจน หรือจัดทำระบบ Search Engine ที่ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว - AcuStream โดยติดตั้งที่ Streaming Server ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับ Network Traffic ระหว่าง Campus ต่างๆ ใน SCG เช่น บ้านโป่ง ระยอง ท่าหลวง แก่งคอย ลำปาง และ ทุ่งสง เป็นต้น 2. จัดหาอุปกรณ์ ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ ที่มี Specifications ที่เหมาะสม กับการใช้งาน 3. เตรียมบุคลากรที่มีความสามารถ ด้านการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว และมีความสามารถด้านการ เขียนเว็บเพ็จ และคอมพิวเตอร์กราฟิค/มัลติมีเดีย 4. บันทึกรายการที่ต้องการจัดเก็บความรู้ โดยเลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม เช่น การถ่าย ทอดสด การจัดทำเป็นซีดี หรือการนำเสนอบนเว็บ เป็นต้น 5. จัดเก็บความรู้ดังกล่าวไว้ใน Knowledge Database เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

  30. Web On-Demand

  31. แนะนำเครื่องโหวต หรือ Personal Response System (PRS) PRS หรือชื่อเต็มๆ ว่า Personal Response System เป็นอุปกรณ์พร้อม Software ที่ใช้สำหรับลงคะแนนเสียงหรือ Vote หรือตอบคำถาม ที่ทราบผลทันทีดังนั้นเราจึงนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้หลายอย่าง เช่น1. งานฝึกอบรม - ใช้สำหรับทดสอบความรู้ของนักเรียน ทั้ง Pre-Test และ Post-Test - ใช้สำหรับทดสอบความเข้าใจของนักเรียนเป็นระยะๆ ระหว่างที่อาจารย์กำลังสอน ซึ่งทำให้ อาจารย์ทราบ Feedback ว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจจะได้อธิบาย ให้เข้าใจก่อนที่จะผ่านบทเรียนนั้นไป - ใช้สำหรับทำแบบประเมินภายหลังจากที่สิ้นสุด Class แล้ว เหมือนกับการทำแบบสอบถาม ตอนจบการสัมมนา นั่นเอง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาใช้ในการปรับปรุงการจัด Class ในครั้ง ต่อๆไป2. งานแถลงนโยบาย- ใช้สำหรับ Vote เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับฟัง - ใช้ตอบคำถาม - ใช้ตอบแบบประเมิน3. งานแข่งขันตอบคำถาม - ใช้ตอบคำถาม ที่สามารถทราบผลแพ้-ชนะได้ทันที4. งานประชุม/สัมมนา - ประชุมผู้ถือหุ้น - ประชุมเพื่อทำการคัดเลือกบางสิ่งบางอย่าง - ใช้แสดงผลจากการสำรวจเพื่อประกอบหัวข้อการอภิปราย5. งานสำรวจ/วิจัย - ใช้ตอบคำถาม - ใช้แสดงความคิดเห็น - ใช้นำเสนอผลการวิจัยอุปกรณ์พร้อม Software ที่เปิดให้บริการกับหน่วยงานต่างๆ ของ SCG ประกอบด้วย - เครื่องโหวตหรือ Clicker ที่มีลักษณะคล้าย Remote Control  จำนวน 103 เครื่อง - อุปกรณ์ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง USB Port หรือ Serial Port พร้อม A/C Adapter จำนวน 2 ชุด(สามารถแยกใช้งานได้พร้อมกัน 2 งาน) - อุปกรณ์ภาครับหรือ Sensor สำหรับรับสัญญาณ Infrared จากเครื่องโหวตพร้อมขาตั้ง จำนวน4 ชุด - สายนำสัญญาณ เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ อุปกรณ์ภาครับ จำนวน 5 เส้น - Software ได้แก่ Driver และ PRS Software จำนวน 2 ชุด - กระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์ จำนวน 2 ใบ

  32. ภาพตัวอย่างการใช้งาน PRS

More Related