340 likes | 566 Views
โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ. นโยบายรัฐบาล. มอบให้กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนมาตรการสร้างสุขภาพลดอัตราการป่วย ตายจากโรคไม่ติดต่อ และจัดทำยุทธศาสตร์ การบริหารราชการแผ่นดิน ๔ ปี ในประเด็นนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และ”อาหารฮาลาล”
E N D
โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ
นโยบายรัฐบาล มอบให้กระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนมาตรการสร้างสุขภาพลดอัตราการป่วย ตายจากโรคไม่ติดต่อ และจัดทำยุทธศาสตร์ การบริหารราชการแผ่นดิน ๔ ปี ในประเด็นนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และ”อาหารฮาลาล” กรมอนามัยดำเนินการจัดทำโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ ประชาชน และญาติผู้ป่วย มีความรู้และมีทางเลือกในการบริโภคอาหารสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคติดต่อทางเดินอาหาร ส่งผลให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
พื้นที่เป้าหมาย รพศ./รพท./รพช. ทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และรพ.ของศูนย์อนามัย ในเขตการสาธารณสุขที่ ๑๔
วิธีการดำเนินงาน การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการสำหรับโรงพยาบาล มีแนวทางดังนี้ 1. นโยบาย มีการกำหนดนโยบายและมาตรการการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการสู่การปฏิบัติ และมีแผนปฏิบัติงานรองรับ 2.อาหารปลอดภัย วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารในโรงครัวของโรงพยาบาลต้องปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สารกันรา บอแรกซ์สารกำจัดศัตรูพืช และน้ำมันทอดซ้ำ
วิธีการดำเนินงาน(ต่อ) 3. สถานที่ประกอบอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล - สถานที่ประกอบอาหารของโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร - มีการบริการอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง - มีบริการอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยอื่นๆ เช่น อาหารลด หวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ ในเมนูอาหาร - มีเมนูชูสุขภาพสำหรับผู้ป่วยทั่วไปและเจ้าหน้าที่ - มีอาหารฮาลาลให้บริการแก่ผู้ป่วยมุสลิม (เฉพาะโรงพยาบาลเป้าหมายปี 55)
วิธีการดำเนินงาน(ต่อ) 4. อาหารเพื่อสุขภาพในร้านอาหารในโรงพยาบาล -ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในโรงพยาบาล ผ่านเกณฑ์ CFGT - ร้านอาหารในโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์รับรองร้านอาหารเมนูชูสุขภาพ/เมนูไร้พุง ๒๑๑ - จัดการประชุมตามแนวทาง Healthy meeting โดยเน้นอาหารว่างเพื่อสุขภาพ
วิธีการดำเนินงาน(ต่อ) 5. การสื่อสาร / การให้สุขศึกษาแก่ญาติและผู้ป่วย • โรงพยาบาลควรจัดให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ทั้งอาหารเฉพาะโรค อาหารลดหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก ผลไม้ รวมทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ • ติดตามเยี่ยมบ้าน ดูแลกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วย หลังการให้บริการความรู้ คำแนะนำ ด้านอาหาร และโภชนาการที่ได้รับขณะอยู่ในโรงพยาบาล • ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร • จัดนิทรรศการเรื่องอาหาร เน้นให้มีการแสดงส่วนประกอบและปริมาณที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้เองที่บ้าน • อบรมให้ความรู้ อสม.ให้เป็นแกนนำในการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและอาหารเพื่อสุขภาพ
ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกโรงพยาบาล ความเข้าใจในเกณฑ์การประเมินของผู้รับผิดชอบยังคลาดเคลื่อน ที่ผ่านมาเกณฑ์การประเมินยังไม่นิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
แบบประเมินโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการแบบประเมินโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ
เกณฑ์การให้คะแนน รายละเอียดการให้คะแนน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ระดับดีเด่น ได้คะแนน 200 คะแนน ระดับดี ได้คะแนน 180-199 คะแนน ระดับพัฒนาได้ ได้คะแนน 160-179 คะแนน