400 likes | 584 Views
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับบริการส่งเสริมการวิจัย ของ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย นเรศวร. ดร . ศศิธร ติณะมาศ สุภ ชัย ธนานุวัตรพงศ์. ความเป็นมา. 2554 บริการส่งเสริมการวิจัย เป็นบริการส่วนหนึ่งของบริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้า ประกอบด้วย
E N D
การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับบริการส่งเสริมการวิจัยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับบริการส่งเสริมการวิจัย ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร ดร. ศศิธร ติณะมาศ สุภชัย ธนานุวัตรพงศ์
ความเป็นมา 2554 บริการส่งเสริมการวิจัย เป็นบริการส่วนหนึ่งของบริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้า ประกอบด้วย • บริการตรวจสอบค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิงของวารสาร(Journal Impact Factor) • บริการวิเคราะห์การอ้างอิง (Citation Analysis) • บริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย (Literature Search Service) 2555 โครงการพัฒนาระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการและวิจัยของ บุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวรในบริการส่งเสริมการวิจัยและ บรรจุในแผนปฏิบัติงานประจำปีของห้องสมุด 2556 จัดตั้งบริการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ Clinic@Libraryบรรจุไว้ ในแผนปฏิบัติงานประจำปี
วัตถุประสงค์ • เพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับใช้ในการให้บริการส่งเสริมการวิจัยของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร • เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูลนักวิชาการนักวิจัยที่เผยแพร่ผลงานในฐานข้อมูลสากลของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
ขั้นตอนและวิธีการ • ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา • ระยะที่ 2 วิเคราะห์ความต้องการและศึกษาความเป็นไปได้ • ระยะที่ 3 ออกแบบและพัฒนาระบบ • ระยะที่ 4 ทดสอบระบบและติดตั้ง • ระยะที่ 5 ประเมินผลการใช้งาน
ขั้นตอนและวิธีการ (ต่อ) ระยะที่ 3 ออกแบบและพัฒนาระบบ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 1. ระบบบริหารจัดการผู้ใช้ (Customer relationship management) 2. ระบบลงทะเบียนการใช้งาน (Online registration system) 1) ระบบบริหารจัดการฝึกอบรม และ 2) ระบบขอรับคำปรึกษาด้านวิชาการ Clinic@Library 3. ระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยที่เผยแพร่ ในฐานข้อมูลสากล (NU Scholarly Research Report : NUSRR)
1. ระบบบริหารจัดการผู้ใช้ (Customer relationship management) • พัฒนาระบบฐานข้อมูลการให้บริการช่วยการค้นคว้าโดยจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล และกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ (e-form )ได้แก่ 1) บริการ Journal Impact Factor 2) บริการ Citation Analysis 3) บริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย และ 4) Ask a Librarian • จัดเก็บข้อมูลลงระบบฐานข้อมูล MySQL และใช้ภาษา PHP
E-mail reference@nu.ac.th • สำหรับรับคำขอบริการ Journal Impact Factor
บริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัยบริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย
2. ระบบลงทะเบียนการใช้งาน (Online registration system) • - ระบบบริหารจัดการฝึกอบรม • ( Training management system) • - ระบบลงทะเบียนขอรับบริการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ • ( Clinic@Library )
2. ระบบลงทะเบียนการใช้งาน (Online registration system) ปรับปรุง ต่อยอด E-form Clinic@Library Training Management System
อยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สถิติสำหรับการทำอยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สถิติสำหรับการทำ วิจัยด้านการแพทย์
ตัวอย่าง จดหมายโต้ตอบจากระบบส่งถึงวิทยากร 28 มกราคม 2557 13.30-15.30น. อยากขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้สถิติงานวิจัยด้านการแพทย์
ตัวอย่าง จดหมายโต้ตอบจากระบบส่งถึงผู้เข้ารับการปรึกษา 28 มกราคม 2557 13.30-14.00น.
3. ระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยที่เผยแพร่ • ในฐานข้อมูลสากล(NU Scholarly Research Report : NUSRR)
3. ระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยที่เผยแพร่ • ในฐานข้อมูลสากล(NU Scholarly Research Report : NUSRR) ISI Scopus NUSRR
หน้าสืบค้นหลักของฐานข้อมูล NU Scholarly Research Report
ขั้นตอนและวิธีการ (ต่อ) • ระยะที่ 4 ทดสอบและใช้งาน - ระบบบริหารจัดการฝึกอบรม ตัวปรับปรุงเริ่มใช้งาน ตุลาคม 2555 ปัจจุบัน มีผู้เข้าอบรม 2806 คน และจำนวนการจัดอบรม 179 ครั้ง - ระบบขอรับคำปรึกษาด้านวิชาการ เริ่มใช้งาน กันยายน 2556 ปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการปรึกษา 20 คน - ระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล เริ่มใช้งาน ธันวาคม 2555 ปัจจุบัน มีข้อมูลผลงานวิชาการทั้งหมด 2659 ผลงาน และจำนวนผู้เข้าใช้งาน 4422 ครั้ง
ขั้นตอนและวิธีการ (ต่อ) • ระยะที่ 5 ประเมินผลการใช้งาน • รวบรวมสถิติการใช้งานImpact factor, บริการสืบค้นเพื่อการวิจัย, บริการ Citation Analysis ปี 2554-2556 และ Clinic@Libraryปี 2556 • ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูล NUSRR • ประชากร ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา • เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามออนไลน์ ส่งผ่าน e-mail • สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติการใช้บริการปี 2556
สถิติการใช้บริการ ปี 2556
สรุปผลการศึกษา • สรุปผลสถิติการให้บริการส่งเสริมการวิจัย ทั้ง 4 บริการ พบว่าบริการที่มีปริมาณผู้ใช้งานมากที่สุดของบริการส่งเสริมการวิจัย คือ บริการตรวจสอบค่า Journal Impact Factorส่วน บริการวิเคราะห์การอ้างอิง และบริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย ยังมีปริมาณน้อย เนื่องจากเป็นบริการที่จัดให้เฉพาะอาจารย์เท่านั้น และส่วนใหญ่อาจารย์มักจะสามารถค้นข้อมูลด้วยตนเองได้อย่างเชี่ยวชาญอยู่แล้ว • บริการใหม่อีกประเภท คือ บริการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ มีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะอาจารย์
สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูล NU Scholarly Research Report • สถานภาพผู้ใช้บริการเป็น อาจารย์ มากที่สุด และรองลงมาเป็น บุคลากรสาย • สนับสนุน และ นศ ปริญญาตรี น้อยที่สุด คือ นศ ปริญญาโทและเอก • ตำแหน่งของผู้ใช้บริการ จำนวนมากที่สุด เป็นผู้เข้าใช้ข้อมูล รองลงมาเป็น • อาจารย์ เจ้าของผลงาน และ บุคลากรห้องสมุด ส่วนที่น้อยที่สุด คือผู้บริหารคณะ, • สำนัก, ศูนย์ฯ และบุคลากรด้านวิจัยของคณะ • ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอยู่ใน • ระดับมาก
สรุปผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ฐานข้อมูล NU Scholarly Research Report • ด้านเทคนิคของระบบ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ระบบมีความง่ายและชัดเจนต่อการใช้งาน (User Friendly) แต่ยัง ขาดช่องทางในการติดต่อและสอบถามปัญหา หรืออาจเพิ่มช่องทางสื่อสารอื่นๆ เช่น เครือข่าย social network • ด้านความถูกต้องของระบบ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล แต่พบว่ามีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ไม่ปรากฎในฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น จึงอาจต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของข้อมูลผลงานวิจัยในระดับชาติ หรือผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในแหล่งอื่นๆ
ข้อเสนอแนะ • ห้องสมุดควรมีการประชาสัมพันธ์บริการส่งเสริมการวิจัย ให้ผู้ใช้ภายในมหาวิทยาลัยได้รับทราบ • ควรปรับปรุงวิธีการให้บริการ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด • ควรปรับปรุงการทำงานของระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการและวิจัยที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เพิ่มข้อมูลจำนวนการอ้างอิงผลงานวิชาการและวิจัยในระดับชาติ หรือผลงานวิจัยที่เผยแพร่อยู่ในแหล่งอื่นๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ • นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับบริการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในการขอใช้บริการผ่านระบบเครือข่าย ให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต • ทำให้ห้องสมุดมีฐานข้อมูลนักวิจัยและฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญไว้ให้บริการสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัย • นำมาเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ และใช้ในการอ้างอิงสำหรับการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัยได้