1 / 37

กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา

เราอยากให้ เด็กสาธิต. วิชาการที่เต็มที่ อยู่ในคนที่เต็มคน. กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา. 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้รูปแบบ. COMPETENCY MODEL. แนวทางการพัฒนา.

Download Presentation

กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เราอยากให้ เด็กสาธิต วิชาการที่เต็มที่ อยู่ในคนที่เต็มคน กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา 1

  2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้รูปแบบ COMPETENCY MODEL

  3. แนวทางการพัฒนา พัฒนาเติมเต็มตามศักยภาพ Collaboration Participation C P Technology Overlearning E C Y Critical Thinking Nurture Executive Yardstick Motivation Efficiency 3

  4. C = Cultivated, Critical Thinking ผู้เรียนมีลักษณะของการเป็นผู้มีการศึกษาที่ดี มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ใช้การสอนแบบบรรยายในแต่ละเรื่องเฉพาะเนื้อหาสาระที่สำคัญ และฝึกให้นักเรียนค้นคว้า อภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ให้มากขึ้น การฝึกให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง O = Overlearning การทบทวนบทเรียนซ้ำๆภายหลังที่ได้เรียนบทเรียน นั้นๆไปแล้ว คือ การมอบหมายงาน หรือการบ้านให้นักเรียนได้ฝึกทบทวนความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

  5. M = Motivation การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง ผู้สอนต้องหาวิธีการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ให้เกิดความสนใจในเรื่องที่กำลังจะเรียนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การใช้สื่อเทคโนโลยี การใช้เกมส์ เป็นต้น P = Participation การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทั้งผู้เรียน และผู้สอนจะต้องมีกิจกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะบทบาทของผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมมากที่สุด และทุกคนมีส่วนร่วมที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันโดยมีผู้สอนเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ

  6. E = Executive การมีทีมบริหารที่จะคอยขับเคลื่อนให้ผู้สอนและผู้เรียนประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการวางกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม บุคลากร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการจัดการเรียนรู้ จะต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง T = Technology มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ การบริหารงาน เพราะในโลกปัจจุบัน สื่อ เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การใช้ความคิด และค่านิยมของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันแหล่งความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นคลังความรู้ที่สามารถสืบค้นได้ด้วยเทคโนโลยี หรือ ใช้เทคโนโลยี มาพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ สืบค้นล่วงหน้า ทบทวนความรู้เดิม ตลอดจน อำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ เทคโนโลยียังสามารถนำมาใช้ ในการพัฒนาระบบบริหารงาน ให้มีความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  7. E = Efficiency ความมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนที่ดี มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ที่ดี คือหากผู้เรียนและผู้สอนใช้เวลาและความพยายามพอสมควรและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มาก พัฒนาตนเองได้ดี มีคุณลักษณะ ตามปรัชญาของโรงเรียน เราถือว่าประสิทธิภาพในการสอนดี N = Nurture การดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนทุกคน ให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย โดย ผู้สอนจะต้องเอาใจใส่นักเรียนทุกคน เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีการวิเคราะห์ความสามารถของผู้เรียน ทั้งความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถทางร่างกาย และสภาวะจิตใจ ของผู้เรียน เพื่อให้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เหมาะสม และให้คำปรึกษา หรือช่วยแก้ปัญหาผู้เรียนได้

  8. C = Collaboration ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือในการทำงาน โดยเฉพาะความร่วมมือของผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ ร่วมกัน และเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ยังรวมถึง ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นผู้บริหาร ผู้ปกครองนักเรียน ที่จะต้องมีความจริงใจและร่วมมืออย่างจริงจังในรูปแบบกัลยาณมิตร จึงจะนำพาทุกฝ่ายไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมายที่วางไว้ Y = Yardstick การวัดผลและประเมินผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน เพราะการวัดและประเมินผล เป็นปัจจัยสำคัญ ในการบ่งบอกคุณภาพและความสามารถของผู้เรียน ผู้สอนจึงจะต้องมีวิธีการวัดผลที่หลากหลาย และวัดตามศักยภาพของผู้เรียน โดยไม่มีอคติ และต้องนึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ต้องเข้าใจว่าคนเรา มีความถนัดและความ สามารถไม่เท่ากัน ผู้สอนจะใช้เกณฑ์ๆเดียววัดคนหลายๆคนพร้อมกัน และต้องการให้ได้มาตรฐานตามความคิดของผู้สอนทุกๆคนนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น การวัดและประเมินผล จึงควรมีความยืดหยุ่นและมีวิธีการที่หลากหลาย จึงจะพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพโดยแท้จริง

  9. กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การอ่าน คณิตศาสตร์ การเขียน ความคิดสร้างสรรค์ การร่วมมือ

  10. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม • ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา • การสื่อสารและการร่วมมือ

  11. ทักษะชีวิตและการทำงานทักษะชีวิตและการทำงาน • ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว • ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง • ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม • การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด • ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

  12. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี • พื้นฐานด้านสารสนเทศ • พื้นฐานด้านสื่อ • พื้นฐานด้านไอซีที

  13. หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นหลักสูตรเชิง สหวิทยาการ (Interdisciplinary)มีการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ และยึดโครงงานเป็นฐาน เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในโลกที่เป็นจริง และสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ เน้นทักษะ การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ประเมินผลตามสภาพจริงและนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง

  14. ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือการเรียนรู้และกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเนื้อหาวิชาทั้งภายในและระหว่างวิชา

  15. ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน เชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ฝึกคิด และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับทักษะพื้นฐาน และทักษะในศตวรรษที่ 21 ร่วมด้วย

  16. ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการ เรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานแบบร่วมมือ • ครูสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลที่รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน

  17. ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการ เรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถใช้เทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดียเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนรู้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาเป็นรายบุคคลตามศักยภาพของผู้เรียน

  18. การสอนนำการเปลี่ยนแปลงการสอนนำการเปลี่ยนแปลง

  19. คนยุคใหม่ต้องมีคุณภาพคนยุคใหม่ต้องมีคุณภาพ

  20. คณาจารย์ยุคใหม่

  21. 15

  22. ระบบช่วยเหลือนักเรียน+การเรียนรู้เน้นการคิดระบบช่วยเหลือนักเรียน+การเรียนรู้เน้นการคิด

  23. ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายวิชาการ • พัฒนานักเรียนตามพฤติกรรม • กวดขัน/แก้ปัญหานักเรียนที่มีความเสี่ยง • จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อเสริมศักยภาพ • พัฒนานักเรียนตามศักยภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • อาจารย์ประจำวิชาดูแลงานที่มอบหมาย/ประสานงานผู้ปกครอง • อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบความประพฤติ ความรับผิดชอบ ฝ่ายบริการ ฝ่ายบริหาร • จัดสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ • จัดสถานที่เรียนรู้นอกห้องเรียนที่เหมาะสม • สนับสนุน ส่งเสริม จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง • มีบุคลากรที่มีคุณภาพ • ส่งเสริม สร้างขวัญและกำลังใจ • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

  24. การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่นักเรียนการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่นักเรียน

  25. กระบวนการดำเนินงานด้านวินัยนักเรียนกระบวนการดำเนินงานด้านวินัยนักเรียน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ 1. การรู้จักนักเรียนมีข้อมูลเป็นรายบุคคล/เพื่อน/ครอบครัว 2. การสำรวจข้อมูลวินัยนักเรียนพื้นฐาน • 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา • 4. การส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพ 5. การนำไปใช้ให้เกิดผล สรุปรายงานและส่งต่อข้อมูล

  26. เชื่อไหมว่านี่คือบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบันเชื่อไหมว่านี่คือบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน

  27. นโยบายของนักเรียนหอพักนโยบายของนักเรียนหอพัก ปัจจุบัน โรงเรียนจัดหอพักให้นักเรียนพักตามนโยบาย 3 หอพัก คือ หอพักหญิงในโรงเรียนสาธิต ฯ หอพักชื่นชม หอพักของมหาวิทยาลัย และ หอพักในกำกับ หอพักสินทรัพย์ นักเรียนหอพักต้องไม่มาโรงเรียนสาย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นักเรียนหอพักต้องมีกิจกรรมเสริมทางวิชาการ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นักเรียนหอพักต้องได้รับการฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และมีความประพฤติดี นักเรียนหอพัก ต้องเป็นหอพักสีขาว ปราศจากสิ่งเสพติดทุกชนิด

  28. การสื่อสารข้อมูลกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ผ่านระบบสารสนเทศและเว็บไซต์ http://www.satit.msu.ac.th/ http://www4(3,2).satit.msu.ac.th/e-school/index.php

  29. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครองและนักเรียนระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครองและนักเรียน การ Login เข้าระบบสำหรับนักเรียน User : รหัสนักเรียน Password : รหัสนักเรียน การ Login เข้าระบบสำหรับผู้ปกครอง User : รหัสนักเรียน Password : รหัสประชาชนนักเรียน

  30. ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด.ช.แจ็ค เทียนสี ณ ร้อยเอ็ด 10 ธ.ค.2520 34512000xxxx เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรศัพท์

  31. ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนสนิท ด.ญ.วันเหลิม คงเชื้ออ้วน ด.ช.สัจจโก้ ญาติเอือมระอา 086-6461919 089-9650560 ด.ช.วีวี่ บุญมากก๊าก 084-0270058

  32. 2. การสำรวจข้อมูลวินัยนักเรียน 4.6)รายงานพฤติกรรม

  33. การดูแลพื้นฐานวินัยนักเรียนการดูแลพื้นฐานวินัยนักเรียน 1. พบปะนักเรียนเลือกหัวหน้าห้อง กรรมการห้อง จัดป้ายหน้าห้อง 2. จัดเวรทำความสะอาดห้องเรียน จัดล็อคเกอร์ 3. ตรวจสอบข้อมูล เด็กบ้าน เด็กหอ หอใน หอชื่นชม หอพักในกำกับ(มีนักเรียนพักหอนอกต้องแจ้งสำรวจว่าได้ขออนุญาต อย่างถูกต้องหรือไม่) ต้องลดความเสี่ยงในการพักอาศัยเอง 4. สำรวจทรงผม การแต่งกาย การปฏิบัติตัวของนักเรียน 5. แจ้งข้อตกลงแนวปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียน สิ่งสำคัญ คือ เราจะร่วมกันทำโรงเรียนให้น่าอยู่อย่างสร้างสรรค์ 6. .ใส่ไอเดียดีลงไปจะได้เป็นแบบอย่างให้แก่พวกเรา

  34. คู่มือผู้ปกครอง สำหรับการประสานงาน ติดต่อสื่อสารกับโรงเรียน

  35. รายละเอียดของคู่มือผู้ปกครองรายละเอียดของคู่มือผู้ปกครอง สายด่วนผู้รักษาการผู้อำนวยการ  081-369-5075 e-mail : arunkaewman808@gmail.com

  36. สมุดจดการบ้าน

  37. ขอบพระคุณทุกท่าน • ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย • เพื่อพัฒนาโรงเรียนสาธิตฯ ของเราสู่โรงเรียนต้นแบ

More Related